WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOAประสาร ไตรรตนวรกลผู้ว่า ธปท.เผยแผนพัฒนาระบบชำระเงิน ฉบับที่ 3 (58-59) เน้นส่งเสริม-พัฒนาระบบเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทาง ศก.ทุกภาคส่วน

     ธปท.เผยเร่งผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบการชำระเงินอย่างต่อเนื่อง ระบุแผนกลยุทธ์ฯ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการในปัจจุบัน เป็นฉบับที่ 3 ครอบคลุมระยะเวลา ปี 2558-2559 มุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาให้ระบบการชำระเงินสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกภาคส่วน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงความต้องการ มั่นคง ปลอดภัย

     ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย สุนทรพจน์ของ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. ที่ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน BOT Conference on Thailand’s Payment 2015 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด'ผนึกกำลังผลักดันเศรษฐกิจไทย ก้าวสู่ Digital Economy”Digital Economy หรือ 'นโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม'เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศในหลายด้าน เช่นเดียวกับในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศมีความก้าวหน้าพัฒนาได้รวดเร็วขึ้น และเกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วน

     – ภาครัฐ สามารถยกระดับการให้บริการประชาชนและภาคธุรกิจ ให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นผ่านบริการออนไลน์ และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐได้ดีขึ้น รองรับการบริหารจัดการงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

     – ภาคธุรกิจ สามารถใช้เทคโนโลยีมาเพิ่มความรวดเร็วและลดต้นทุนในการทำธุรกิจในหลาย ๆ ด้ำน เช่น การปรับปรุงกระบวนการภายในบริษัทให้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการและวางแผนธุรกิจ รวมถึงเพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วยการขายสินค้าทางออนไลน์ หรือ e-Commerce

    – ประชาชน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากบริการของภาครัฐและภาคเอกชนที่ทันสมัย เข้าถึงได้ง่ายและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลและแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้สะดวกขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลงทุกภาคส่วนจึงควรเตรียมความพร้อมให้สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

    สำหรับ ธปท. เอง ก็มีการเตรียมพร้อมรองรับเรื่องนี้ในหลายด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาระบบการชำระเงินของไทย“ระบบกำรชำระเงิน” ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง รองรับการโอนเงิน การรับจ่ายเงินระหว่างบุคคล ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และเป็นช่องทางการหมุนเวียนเงินไปหล่อเลี้ยงทุกภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจ หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ก็คงจะเทียบระบบการชำระเงินได้กับ “ถนนการเงิน” ที่เข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ และเป็นปัจจัยสำคัญที่นำพาความเจริญไปสู่พื้นที่นั้นๆ โดยมีทั้งถนนสายหลัก อย่างทางหลวงแผ่นดินที่รองรับรถปริมาณมาก ๆ เปรียบได้กับระบบการชำระเงินหลักของประเทศอย่างระบบบาทเนตที่ ธปท. ดำเนินการ ซึ่งเป็นชุมทางใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางในการโอน เงินระหว่างสถาบันการเงินและเป็นหัวใจของระบบการเงิน มีการโอนเงินผ่านบาทเนตเฉลี่ยวันละหลายพันล้านบาท หรือถนนสายรองลงมา อย่างระบบเช็คเคลียริ่ง หรือระบบเอทีเอ็มพูล ซึ่งช่วยให้การโอนย้ายเงินข้ามธนาคารเป็นไปอย่างสะดวกคล่องตัว ไปจนถึงถนนในซอยที่เข้าถึงแหล่งชุมชนและประชาชนรายย่อย ซึ่งเปรียบได้กับบริการที่อยู่ใกล้ตัวเรำ อย่างบัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่เงินสด นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ หรือระบบที่รองรับการโอนเงินข้ามประเทศอีกด้วย

   ลองจินตนาการว่า เศรษฐกิจของประเทศจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างไร หากเงินไม่สามารถหมุนเวียนไปหล่อเลี้ยงภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้ Alan Greenspan อดีตผู้ว่าการ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้เคยกล่าวถึงความสำคัญของระบบการชำระเงินไว้อย่างน่าสนใจว่า “หากต้องการทำให้ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เป็นอัมพาต ก็เพียงแค่หยุดระบบการชำระเงินเท่านั้น” (“…We’d always thought that if

you wanted to cripple the U.S. economy, you’d take out the payment systems.”, จากหนังสือ The Age of Turbulence, Sep 2007)

  หน้าที่หลักประการหนึ่งของ ธปท. ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการรักษาเสถียรภาพของ ระบบเศรษฐกิจ ก็คือ การดูแลให้ “ถนนการเงิน” ของระบบเศรษฐกิจนี้มีสภาพดี ช่วยให้เงินวิ่งไปสู่ภำคเศรษฐกิจได้อย่ำงรวดเร็ว คล่องตัว ทั่วถึง และปลอดภัย สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   โดย ธปท. ดูแลถนนสายระบบการชำระเงินนี้ ผ่านบทบาทที่สำคัญ 3 บทบำทด้วยกันบทบาทแรก คือ การเป็นสถาปนิก ออกแบบ และวางโครงสร้าง เพื่อให้มั่นใจว่าถนนที่จะสร้างขึ้น ไม่ว่าสร้างขึ้นโดย ธปท. หรือภาคเอกชนก็ตาม จะเชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับความต้องการของผู้ขับขี่หรือผู้ใช้ท้องถนน เปรียบได้กับการกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศ ซึ่ง ธปท. มีคณะกรรมการระบบการชำระเงิน หรือ กรช. เป็นคณะกรรมการหลักที่รับผิดชอบในด้านนี้

   บทบาทที่สอง คือ การเป็นวิศวกร สร้างและบำรุงรักษาถนนสายหลักของประเทศ โดย ธปท. เป็นผู้พัฒนาและดำเนินการระบบการชำระเงินที่สาคัญอย่างระบบบาทเนตและระบบเช็คเคลียริ่ง ซึ่งจะเป็นชุมทางที่เชื่อมต่อกับถนนสำยรองหรือระบบกำรชำระเงินของภำคเอกชน ทั้งภำคธนำคำรและภำคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนำคำร หรือ Non-bank

   และบทบาทที่สาม คือ การเป็นตำรวจจราจร วางกฎกติกาในการใช้ถนน หรือ บทบาทในการเป็น ผู้กำกับดูแลผู้ให้บริการการชำระเงินทั้งธนาคาร และ Non-bank เพื่อให้ระบบการชำระเงินมีความมั่นคงปลอดภัย เป็นที่น่าเชื่อถือของผู้ใช้บริการ

   ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่ ธปท. ดูแลรักษาเสถียรภาพของระบบการชำระเงินนั้น ธปท. ยึดถือหลักการที่สำคัญ 4 ประการ ดังนี้ประการแรก คือ การมีฐานข้อมูลด้านระบบการชำระเงินที่ดีที่สุดของประเทศ จากการที่ ธปท. เป็นทั้งผู้ดำเนินการระบบการชำระเงินที่สำคัญ รวมถึงการจัดพิมพ์ธนบัตร และจัดการออกใช้ธนบัตร และเป็นผู้กำกับดูแลผู้ให้บริการการชำระเงินทั้งที่เป็นธนาคาร และ Non-bank จึงทำให้ ธปท. มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินที่ครบถ้วน จนอาจกล่าวได้ว่า ธปท. มีคลังข้อมูลด้านระบบการชำระเงินที่ดีและสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยให้ ธปท. ติดตามความเคลื่อนไหวและพัฒนาการในระบบการชำระเงินได้อย่างใกล้ชิด เหมือนกับ การติดตามสภาพการจราจรในถนนการเงิน ว่ามีรถติด หรือมีอุบัติเหตุตรงไหนหรือไม่ ซึ่งช่วยให้ ธปท. กำหนดนโยบายได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ธปท. ยังเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย รวมถึงประกอบการวางแผนทำงานธุรกิจของสถาบันการเงินและภาคธุรกิจ

   ประการที่สอง คือ การนำมาตรฐานสากลมาใช้กับระบบการชำระเงินของไทย ธปท. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาถนนการเงินของไทยให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมสากลในหลาย ๆ ด้าน เช่น  การบริหารจัดการระบบการชำระเงินที่สำคัญอย่างระบบบาทเนต ซึ่งได้รับการประเมินจาก World bank และ IMF ว่ามีมาตรฐานการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีสอดคล้องกับมาตรฐานสากล (ภายใต้โครงการ Financial Sector Assessment Program: FSAP ปี 2552)

   ในปัจจุบัน ธปท. ได้นำหลักการสากลในการกำกับดูแลระบบการชำระเงินที่สาคัญ ที่เรียกว่า Principles for Financial Market Infrastructures ซึ่งประกาศโดย Bank for International Settlements หรือ BIS มาใช้เป็นแนวทางกำกับดูแลระบบการชำระเงินของไทย โดยนอกจากจะใช้กำกับดูแลระบบบาทเนตและระบบเช็คเคลียริ่งของ ธปท. แล้ว ยังครอบคลุมไปถึงระบบของภาคเอกชน อย่างระบบการโอนเงินระหว่างธนาคารและระบบเอทีเอ็มพูลของบริษัท National ITMX ด้วยการนำมาตรฐานสากลในการรับส่งข้อมูลทางการเงินหรือ ISO 51155 มาประยุกต์ใช้เป็นมาตรฐานกลางในการรับส่งคำสั่งการชำระเงินระหว่างภาคธุรกิจและสถาบันการเงินในไทย และจะใช้สำหรับ ระบบกลางอย่างระบบบาทเนตและระบบของ National ITMX ด้วย เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้สะดวกด้วยข้อความรูปแบบเดียวกัน รองรับข้อมูลประกอบการชำระเงิน (Remittance Information) ที่สามารถนำไปตรวจสอบหรือ Reconcile กับรายการซื้อขายสินค้าได้ รวมถึงรองรับการรับส่งข้อมูลการชำระเงินกับต่างประเทศในอนาคต ซึ่งหลายประเทศก็เริ่มใช้มาตรฐานนี้แล้ว

   หลักการสำคัญ ประการที่สาม คือ การกำกับดูแลผู้ให้บริการการชำระเงินให้มีเสถียรภาพ น่าเชื่อถือ ธปท. ยึดถือหลักการว่าระบบการชำระเงินต้องมีเสถียรภาพ ให้บริการได้ต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก เพราะอาจมีผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง ตัวอย่างเช่น ในช่วงที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ธนาคารหลายแห่งมีความเสี่ยง ที่จะไม่สามารถให้บริการได้ และมีการหารือกันถึงเรื่องการประกาศเป็นวันหยุดของสถาบันการเงิน ซึ่งหลังจากที่ ธปท. หารือกับสถาบันการเงิน ก็มีความเห็นตรงกันว่าการให้ระบบการเงินยังดำเนินการอยู่ได้จะเป็นสิ่งที่สำคัญให้ระบบเศรษฐกิจสามารถเดินต่อไปได้ จึงไม่ได้ประกาศให้เป็นวันหยุด แต่ก็ได้ให้ธนาคารทุกแห่งเฝ้าระวัง และหากธนาคารใดจำเป็นต้องปิดทำการบางส่วนก็ทำได้ แต่ก็ต้องพยายามรักษาระบบการชำระเงินของธนาคาร ให้สามารถบริการประชาชนให้ได้ดีที่สุด

   ธปท. ยังเน้นกำกับดูแลผู้ให้บริการการชำระเงินให้มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากสำหรับบริการที่เกี่ยวข้องกับการเงินและใกล้ชิดกับประชาชนนั้น ความเชื่อมั่นเป็นสิ่งสำคัญมาก โดย ธปท. กำกับดูแลผู้ให้บริการการชำระเงินทั้งธนาคาร และ Non-bank ตั้งแต่การพิจารณำให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อดูแล ความเสี่ยงที่สำคัญ การเข้าตรวจสอบธุรกิจของผู้ให้บริการรวมถึงระบบไอที เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ให้บริการมี ความน่าเชื่อถือ และมีการคุ้มครองผู้ใช้บริการที่เหมาะสม

   หลักการประการสุดท้าย ที่ ธปท. ยึดถือในการดูแลระบบการชำระเงิน คือ การผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบการชำระเงินอย่างต่อเนื่อง โดย ธปท. จัดทำแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน (Payment Systems Roadmap) ซึ่งเปรียบเสมือนแผนที่โครงสร้างถนนการเงิน เพื่อใช้ในการวางผังระบบการชำระเงินของประเทศ ทั้งระบบ ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้นำไปใช้พัฒนาถนนการเงินและสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา เช่น

   แผนกลยุทธ์ฯ ฉบับแรก ในปี 2545 มุ่งเน้นวางรากฐานที่สำคัญในระบบการชำระเงิน โดยมีผลลัพธ์ที่สำคัญ คือ การจัดตั้งบริษัท National ITMX ซึ่งเป็นระบบการชำระเงินของภาคเอกชนที่สำคัญ และการจัดทำมาตรฐาน Barcode สำหรับการชำระเงินตามใบแจ้งหนี้

   แผนกลยุทธ์ฯ ฉบับที่ 2 ในช่วงปี 2550 มุ่งเน้นพัฒนาระบบการชำระเงินที่ช่วยให้การหมุนเวียนเงินมีความรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมการใช้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (หรือ e-Payment) ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การพัฒนาระบบเช็คเคลียริ่ง จากการแลกเปลี่ยนตัวเช็คเป็นภาพเช็ค ช่วยให้ภาคธุรกิจได้รับเงินเร็วขึ้นภายใน 0 วันทำการทั่วประเทศ และการวางกฎเกณฑ์เพื่อดูแลผู้ให้บริการ e-Payment

   สำหรับ แผนกลยุทธ์ฯ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการในปัจจุบัน เป็นฉบับที่ 3 ครอบคลุมระยะเวลา ปี 2558-2559 มุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาให้ระบบการชำระเงินสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกภาคส่วน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงความต้องการ มั่นคง ปลอดภัย โดยมีการดำเนินการที่สำคัญ คือ การกำกับดูแลระบบการชำระเงินให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล การกำหนดนโยบายเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของบริการและคุ้มครองผู้ใช้บริการให้มีความเชื่อมั่น รวมถึงการที่ ธปท. เป็นผู้ประสานงาน (Facilitator) หรือผู้ผลักดัน (Catalyst) ให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบการชำระเงินต่าง ๆ ร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่หลากหลายทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคธนาคาร และ Non-bank นอกจากนี้ ธปท. ยังอยู่ระหว่างจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 3 (หรือ Financial Sector Master Plan III) เพื่อให้การพัฒนาระบบสถาบันการเงินและระบบการชำระเงินมี ความสอดคล้องกันอย่างเป็นเอกภาพ

    แม้ในปัจจุบัน ถนนการเงินของไทยจะยังอยู่ในสภาพดี ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ดี ในระดับหนึ่ง แต่หากมองไปข้างหน้าในยุคที่ก้าวเข้าสู่ Digital Economy ที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มศักยภาพของภาคธุรกิจและภาครัฐแล้ว ถนนแห่งนี้ยังต้องได้รับการพัฒนาอีกมาก อาจจำเป็นต้องขยายถนน สร้างถนนใหม่ ๆ หรือสร้างทางด่วน เพื่อให้รถสามารถวิ่งได้เร็วขึ้น รองรับรถที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และรถรุ่นใหม่ ที่ทันสมัยขึ้นได้

   การพัฒนาระบบการชำระเงินในระยะต่อไปของ ธปท. จะมุ่งเน้นการพัฒนาถนนการเงินที่ครอบคลุม และเข้าถึงผู้ใช้บริการกลุ่มต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคธุรกิจก้าวเข้าสู่การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างครบวงจร สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ของรัฐบาล โดย ธปท. จะร่วมกับพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อพัฒนาบริการและโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบการชำระเงิน ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการกลุ่มต่าง ๆ

   เรื่องแรก คือ การวางรากฐานของกฎหมายระบบการชำระเงิน โดย ธปท. ได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน หรือ Payment Systems Act ที่จะเป็นการยกระดับการกำกับดูแลระบบการชำระเงินของไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลเช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งจะมีประโยชน์หลายประการ ได้แก่

   1) เป็นการยกระดับการกำกับดูแลระบบการชำระเงิน โดยเฉพาะหลาย ๆ เรื่องที่ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผลภายใต้กฎหมายปัจจุบัน เช่น การคุ้มครองการโอนเงินและการชำระดุล มิให้ถูกยกเลิกหรือเพิกถอนกรณีเกิดการล้มละลาย (payment finality) เพื่อป้องกันความเสี่ยงในระบบการเงิน การคุ้มครองเงินรับล่วงหน้า (float) ของผู้ใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) เป็นต้น

    2) เป็นการรวบรวมกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงิน ซึ่งมีอยู่อย่างกระจัดกระจายให้มาอยู่ในที่เดียวกัน ลดความซ้ำซ้อนในการกำกับดูแล

   3) เอื้อให้เกณฑ์การกำกับดูแลผู้ให้บริการต่าง ๆ มีความยืดหยุ่น เอื้อต่อการส่งเสริมและ กำกับดูแลนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งจะมีรูปแบบหลากหลายมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน

   4) ส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันของประเทศ เพื่อพัฒนาไปสู่ระดับภูมิภาค (Competitiveness)

   สำหรับ ภาคประชาชน : ธปท. มุ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาบริการการชำระเงินผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งของภาคธนาคาร และ Non-bank ที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวก รวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะบริการการชำระเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่าง smartphone และ tablet ที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของ คนในเมือง ในลักษณะ “anywhere anytime any device” และจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนในชนบทด้วย

   ในส่วนที่เกี่ยวกับภาคธุรกิจ : ธปท. ผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงิน ที่รองรับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาคธุรกิจ (e-Business) อย่างครบวงจรจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ การติดต่อซื้อขายสินค้า การชำระเงิน และนำส่งข้อมูล เช่น ข้อมูลภาษี ให้หน่วยงานภาครัฐซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ธปท. ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้พัฒนามาตรฐานกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการซื้อขายสินค้า (หรือ e-Invoicing) และมาตรฐานกลางข้อความการชำระเงิน (หรือ National Payment Message Standard) เพื่อให้ข้อมูลการค้ำและข้อมูลการชำระเงินเชื่อมโยงกันได้โดยอัตโนมัติแบบ Straight-Through Processing ซึ่งจะช่วยเพิ่ม ความรวดเร็วและลดต้นทุนในกระบวนการทางธุรกิจ

   นอกจากนี้ ธปท. จะผลักดันการพัฒนาระบบการชำระเงินที่รองรับการชำระเงินทางออนไลน์ ให้สะดวก ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนธุรกรรม e-Commerce ซึ่งจะเป็นช่องทางการทำการค้ำที่สำคัญในอนาคตของธุรกิจและ SME

   สุดท้าย คือ ภาครัฐ : ธปท. มุ่งส่งเสริมให้ภาครัฐรับ-จ่ายเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ภาครัฐให้บริการแก่ภาคธุรกิจและประชาชนได้สะดวก รวดเร็ว สามารถติดตามและตรวจสอบได้ง่าย โดย ธปท. ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากกรมบัญชีกลาง ซึ่งได้ผลักดันมาตรการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการใช้ e-Payment ในภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การปรับปรุงหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติให้ส่วนราชการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต และบัตรเครดิตได้สะดวกขึ้น

    "ผมตระหนักดีว่าการดำเนินการของ ธปท. ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รวมถึงการก้าวเดินไปข้างหน้า จะไม่สามารถสำเร็จลุล่วงได้เลย หากไม่ได้รับความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจจากพันธมิตรเชิงกลยุทธ์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน งานสัมมนาครั้งนี้ ธปท. ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการเสวนาโดยผู้กำหนดนโยบายในภาครัฐ และ ผู้ให้บริการการชำระเงิน การแชร์ประสบการณ์ของธุรกิจที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ ทั้ง e-Payment e-Commerce และ e-Business การแสดงนวัตกรรมของบริการการชำระเงินและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการออกบูธของผู้ให้บริการชำระเงิน "

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!