WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

จับตาแผนบูม ศก.คสช.ธปท.ย้ำถึงเวลาเอกชนแกนหลักช่วยฟื้นเศรษฐกิจไทย

     บ้านเมือง : ธปท.เผย 3 ปัจจัยลงทุนภาคเอกชน ความเชื่อมั่นในนโยบายของภาครัฐ และการเร่งใช้จ่ายของภาครัฐ หนุนการเติบโตของจีดีพีให้โตได้ 2.5% ขณะที่ต้องติดตามว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าจะมีนโยบายด้านเศรษฐกิจออกมาเพิ่มเติมหรือไม่

     นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้มีโอกาสเติบโตได้ 2-2.5 % หากเศรษฐกิจในไตรมาส 3 และ 4 ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 4-5 โดยยังต้องติดตามว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะมีนโยบายด้านเศรษฐกิจออกมาเพิ่มเติมหรือไม่ หากผลของนโยบายส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจได้เร็วภายในไตรมาส 3/57 ตอบโจทย์ของประเทศ ทำได้จริง และสร้างแรงกระตุ้นให้เอกชนลงทุนเร็ว จีดีพีก็มีโอกาสขยายตัวได้มากกว่า 1.5 % ซึ่งเป็นค่ากลางที่ ธปท. คาดการณ์ไว้

     ขณะนี้มี 3 ปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจคือ การลงทุนภาคเอกชนอาจมาเร็วกว่าที่คาด จากความเชื่อมั่นในนโยบายของภาครัฐ การเร่งใช้จ่ายของภาครัฐ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเร็วกว่าที่คาด

    "ภาคเอกชนมีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะมีสัดส่วนเมื่อรวมกับการบริโภคถึง 70 % ขณะที่ภาครัฐมีสัดส่วน 15 % ขณะนี้เอกชนมีความพร้อม เพราะความกังวลทางการเมืองลดลงแล้ว อาจจะมีบางส่วนที่ยังลังเล หากการลงทุนภาคเอกชนมาเร็วขึ้นก็จะช่วยหนุนการฟื้นตัวของจีดีพีได้"

     นางรุ่ง กล่าวต่อว่า ค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวแข็งค่าต่อเนื่องอยู่ที่ 32.20 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ มาจากปัจจัยภายนอก คือเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก หลังจากรายงานการประชุมล่าสุดของคณะกรรมการกำกับนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟด ออกมาระบุว่า อยู่ระหว่างการพิจารณายุตินโยบายผ่อนคลายทางการเงิน (QE) แต่ยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหลายเดือน

     นอกจากนี้ นักลงทุนขานรับผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการในอินโดนีเซีย ที่ระบุว่า นายโจโก วิโดโด ผู้สมัครประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้รับชัยชนะ ซึ่งนักลงทุนมองว่า นายวิโดโดมีภาพลักษณ์ที่ดี ทำให้การเมืองอินโดนีเซียเข้มแข็งขึ้น ส่งผลให้เงินสกุลภูมิภาคเอเชียแข็งค่าขึ้น และเงินบาทก็แข็งค่าสอดคล้องกับภูมิภาค ส่วนเงินทุนเคลื่อนย้าย พบว่ามีการไหลเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น เพราะนักลงทุนมีความมั่นใจ แต่มีการทำกำไรออกบ้างเป็นระยะ

     ก่อนหน้านี้ นายวศิน วณิชยวรนันต์ รองกรรมการ ผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ทิศทางเศรษฐกิจและธุรกิจไทยในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มฟื้นตัวจากสัญญาณที่มีนัยสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 3 เรื่อง คือ การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 พร้อมจัดทำงบประมาณปี 2558 ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 การเร่งอนุมัติโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ (BOI) มูลค่ากว่า 7 แสนล้านบาท และการช่วยเหลือเกษตรกรเรื่องการคืนเงินโครงการจำนำข้าวแก่ชาวนา จำนวน 9.2 หมื่นล้านบาทนั้น จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้จีดีพีในครึ่งปีหลังเป็น 4.3%

    โดยมีผลทำให้จีดีพีเฉลี่ยทั้งปี 2557 ปรับจาก 1.8% ขึ้นเป็น 2.3% ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อปัจจัยหลักของการเติบโตของจีดีพี อันได้แก่ การใช้จ่ายของภาครัฐ การลงทุนของภาคเอกชน การบริโภคของประชาชน ส่วนการส่งออกสุทธิที่เป็นปัจจัยที่ 4 ของการเติบโตของจีดีพีนั้น จะสามารถกระเตื้องขึ้นได้เป็น 3% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดีกว่าปี 2556 ที่ติดลบอยู่ 0.2%

    ด้านการใช้จ่ายของภาครัฐส่งผลให้มีเม็ดเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบ ซึ่งส่งผลเชิงบวกโดยตรงต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีโครงการที่น่าจะเปิดประมูลได้ในช่วงปี 2557-2558 มูลค่ารวมประมาณ 4.8 แสนล้านบาท ประกอบด้วยโครงการที่เกี่ยวกับเส้นทางคมนาคมเป็นหลัก

    ในขณะที่การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนในช่วงครึ่งปีหลังก็จะเพิ่มสูงขึ้นจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งส่วนหนึ่งของเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบนี้ได้มาจากการจ่ายค่าค้างชำระโครงการจำนำข้าวให้แก่ชาวนา มูลค่า 9.2 หมื่นล้านบาท ดันให้ธุรกิจค้าปลีก และสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโตตามกันไป

     นอกจากนี้ ในภาคการส่งออกแม้จะมีการปรับประมาณการเติบโตของปี 2557 ลดลงจาก 5% เป็น 3% แต่ยังถือเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในครึ่งปีหลัง เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ทั้งนี้ยังมีโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ รออนุมัติอีกกว่า 4 แสนล้านบาทในปีนี้ ซึ่งหากสามารถผลักดันโครงการต่างๆ ออกมาได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยให้เศรษฐกิจครึ่งปีหลังสดใสยิ่งขึ้นไปอีก

ธปท.ชี้จีดีพีไทยมีลุ้นขยายตัว 2%

            ไทยโพสต์ : บางขุนพรหม * ธปท.หนุนรัฐติดเครื่องลงทุนเชื่อช่วยกระตุ้นจิตวิทยาภาคเอกชน ดันจีดีพีปีนี้โตได้ถึง 2% แจงบาทแข็งช่วงสั้น หลังดอลลาร์อ่อนค่ารับเฟดส่อตรึงดอกเบี้ยระดับต่ำยาว

    นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การลงทุนของภาครัฐ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะต้องไม่ ล่าช้าจนเกินไป หรือไม่ควรปล่อยให้ถึงช่วงเดือน ธ.ค. เพราะจะไม่ ส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐ กิจไทยในปีนี้ โดย ธปท.เห็นว่าหากรัฐบาลสามารถประกาศแผนการลงทุนที่ชัดเจน มีการตรวจสอบความโปร่งใส และระบุเม็ดเงินลงทุนในแต่ละโครงการได้ แม้ว่าจะยังไม่สามารถลงทุนได้ทันในปีนี้ ก็จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นเอกชน ให้เริ่มมีการลงทุน และการบริโภคได้ทันที ทำให้จีดีพีในปีนี้มีโอกาสเติบโตในระดับ 2-2.5% ได้

     อย่างไรก็ตาม เบื้องต้น ธปท.ยังคงประมาณการการขยายตัวของจีดีพีไว้ที่ 1.5% เนื่องจากเห็นว่าเป็นระดับที่เหมาะสมหลังจากที่เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีขยายตัวติดลบ 0.6% และไตรมาส 2 ที่อยู่ระหว่างรอสรุปตัวเลขที่ชัดเจน ซึ่งจีดีพีปีนี้อาจจะขยายตัวได้มากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลจะมีอะไรออกมาเพิ่มหรือไม่ และจะส่งผลต่อการฟื้นตัวเอกชนอย่างที่คาดไว้หรือไม่ ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจโตได้เกิน 2% นั้น ธปท.มองว่ามี 3 แนวทาง คือ 1.การลงทุน ภาคเอกชนมาเร็วกว่าที่คาด 2.การเร่งรัดเบิกจ่ายภาครัฐ และ 3.เศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะปรับ ตัวดีขึ้นกว่าที่ประเมิน ขณะที่ตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 3-4 จะต้องเติบโตเฉลี่ย 4-5%

     "จีดีพี 1.5% ไม่ถือว่าน้อย เพราะเป็นการเติบโตจากการชะ ลอตัว และในอนาคตก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีโอกาสที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ที่เศรษฐกิจไทยจะโตได้เกิน 2% ในปี้นี้ ซึ่งหลักๆ จะมาจากผลดีของมาตรการรัฐต้องมาเร็ว ซึ่งหากเริ่มในเดือน ธ.ค.อาจจะช้าเกินไป ซึ่งการลงทุน ภาครัฐ จะเร็วจะช้าไม่ได้หมาย ความจะต้องเห็นชัดเจนว่ารัฐเริ่มลงมือโครงการต่างๆ ตั้งแต่ปีนี้ ซึ่งขณะนี้เอกชนมีความพร้อม และไม่มีความกังวลเกี่ยวกับการเมือง โดยการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนถือว่าสำคัญ มีสัดส่วนสูงถึง 70% เมื่อเทียบกับภาครัฐที่ 15%" นางรุ่งกล่าว.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!