WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOAดอน นาครทรรพ copyสกัด'เงินร้อน'เก็งกำไรธปท.ลดปริมาณบอนด์ระยะสั้น 1 แสนล. ศก.แข็งปึ้ก!ไตรมาส 1 ลุ้นทะลุ 3% ดัชนี MPI มี.ค.สูงสุด

       แนวหน้า : นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาคธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทย หรือจีดีพี ยังขยายตัวได้ดี โดยคาดว่าไตรมาสแรกปีนี้ จีดีพี จะขยายตัวได้มากกว่า 3% กว่าเล็กน้อย โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวสูงขึ้น การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดี แต่เศรษฐกิจไทยยังมีปัจจจัยที่ต้องจับตามอง โดยเฉพาะด้านต่างประเทศ ทั้งการเลือกตั้งในยุโรป และนโยบายการค้าสหรัฐ ที่ต้องจับตา รวมไปถึงการลงทุนภาคเอกชนในประเทศที่ยังติดลบ และยังชะลอการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ด้านการลงทุนของไทย หากภาคเอกชนยังไม่ลงทุน การที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้สูงตามที่รัฐบาลคาดว่าจะเติบโตได้ 3.5-4% ต่อปีนั้น มองว่าเป็นไปได้ยาก

      สำหรับ ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาขยายตัวดีต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกที่ขยายตัวดี โดยการส่งออกเดือนมีนาคม มีมูลค่า 20,752 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 10.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และทัศนูปกรณ์ เพื่อใช้เป็นชิ้นส่วนการผลิตอุปกรณ์ที่รองรับ Internet of Things ชิ้นส่วนรถยนต์ และสมาร์ทโฟน ฯลฯ

     ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนนั้นแม้ว่า ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จะปรับตัวแข็งค่าขึ้น แต่ยังสอดคล้องกับทิศทางของภูมิภาค โดยในช่วงครึ่งเดือนแรกนั้น ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ และยืนยันว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้น ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของไทยในปีนี้ ซึ่งเชื่อว่า ในช่วง 1-2 เดือนนี้ การส่งออก ยังขยายตัวดี สะท้อนจากการนำเข้าที่เติบโตสูง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนนั้น มองว่าในช่วงเดือน เมษายน ยังคงชะลอตัวลง"

      นายดอนกล่าวถึงมาตรการเก็งกำไรว่า ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติมองไทยเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย จึงมีเงินร้อนเข้ามาลงทุน ในตลาดพันธบัตรระยะสั้นเป็นจำนวนมาก ส่วนมาตรการลดการประมูลพันธบัตร(บอนด์) ระยะสั้นที่ประกาศออกไปก่อนหน้านี้นั้น หวังว่า เงินร้อนที่เข้ามาเก็งกำไรจะลดน้อยลง เพราะที่ผ่านมา มีเงินร้อนเข้ามาพัก เพื่อหวังที่จะทำให้ค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงไปมากกว่ากลไกตลาด

      "เรายืนยันว่า เงินที่มาพักชั่วคราวเพื่อหวังเก็งกำไรค่าเงินบาทนั้นเป็นสิ่งที่เรา ไม่ต้องการ"

     ทั้งนี้ จากการที่ ธปท. ปรับลดวงเงิน การออกพันธบัตรระยะสั้นเพื่อลดช่องทางในการ ใช้พันธบัตรระยะสั้นเป็นที่พักเงินในเดือนที่ผ่านมา นั้น จากการประเมินเบื้องต้น ถือว่าบรรลุผลในการสื่อสารให้ตลาดทราบว่า ธปท. ไม่ได้นิ่งนอนใจกับเงินร้อนที่เข้า ออกเร็วในระยะสั้น

      โดยในเดือนนี้ ธปท. ยังคงนโยบายการปรับลด supply ของพันธบัตรระยะสั้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยกำหนดวงเงินการออกพันธบัตรระยะ 3 และ 6 เดือน ไว้ที่ 30,000 ล้านบาทต่อสัปดาห์ ซึ่งแม้จะเป็นปริมาณการออก เท่ากับเดือนก่อนหน้า แต่ก็เป็นจำนวนน้อยกว่า พันธบัตรที่ครบกำหนด ทำให้สุทธิแล้ว supply ของพันธบัตรระยะสั้นในเดือนพ.ค. จะปรับลดลงประมาณ 1 แสนล้านบาท (พันธบัตร 3 เดือน และ 6 เดือนครบกำหนด สัปดาห์ละ 45,000 ล้านบาท และ 40,000 ล้านบาทตามลำดับ) ทั้งนี้ ธปท. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และอาจปรับวงเงินตามความเหมาะสม รวมทั้งพิจารณาใช้มาตรการอื่นเมื่อจำเป็น

      นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผย ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ ขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ของประเทศ ว่า การเบิกจ่ายงบลงทุนด้านโครงสร้าง พื้นฐานคมนาคมตามแผน 7 ปี วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ทำได้ตามแผนที่วางไว้ โดยในปีงบประมาณปี 2560 จะมีการเบิกจ่ายได้จำนวน 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง

ธปท.ย้ำศก.แข็งปึ้ก!ไตรมาส 1 ลุ้นทะลุ 3% ดัชนี MPI มี.ค.สูงสุด

     ไทยโพสต์ * ธปท.ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้น ลุ้นไตรมาส 1 โตทะลุ 3% อานิสงส์ส่งออก-ท่องเที่ยว-ลงทุนกระเตื้อง ด้าน สศอ.เผยดัชนี MPI เดือน มี.ค.พุ่งสูงสุดในรอบปี มั่นใจเริ่มเป็นบวกตั้งแต่ เม.ย.

     นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า  เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดี คาดว่าไตรมาส 1/2560 จะขยายตัวได้มากกว่า 3% จากแรงขับเคลื่อนหลักจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวสูงขึ้น และการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดี

     อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทย ยังมีปัจจัยที่ต้องจับตามอง โดยเฉพาะด้านต่างประเทศ ทั้งการเลือกตั้งในยุโรป และนโยบายการค้าของสหรัฐ อีกทั้งการลงทุนภาคเอกชนในประเทศที่ยังติดลบ และยังชะลอการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

      ขณะเดียวกัน ยังมีความกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่คาดว่าจะขึ้นอีก 2 ครั้งในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นมาอยู่ที่ 1.5% เท่ากับดอกเบี้ยนโย บายของไทย และจะทำให้ความน่าสนใจในการลงทุนเพื่อเข้ามาแสวงหาผลตอบแทน (Search for Yield) ในไทยลดน้อยลง

     สำหรับ ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ขยายตัวดีต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกที่ขยายตัวดีในหลายหมวดสินค้าการท่องเที่ยวกลับมาขยายตัวจากเดือนก่อน การบริโภคเอกชนที่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะสินค้าคงทน สอดคล้องกับรายได้ครัวเรือนและความเชื่อมั่นที่ปรับตัวดีขึ้น และการใช้จ่ายภาครัฐโดยเฉพาะรายจ่ายลงทุน

     นายวีรศักดิ์ ศุภประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐ กิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มี.ค.2560 อยู่ที่ระดับ 124.46 อัตราขยายตัวจากเดือน ก.พ.2560 ที่อยู่ระดับ 111.00 และถือว่าสูง สุดในรอบ 1 ปี เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.2559 อยู่ที่ระดับ 101.83

     เมื่อดูแนวโน้มทิศทางจากไตรมาสแรกแล้ว เชื่อว่าดัชนี MPI ไตรมาส 2 น่าจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้ หากไม่มีปัจจัยลบจากเหตุ ความไม่สงบในต่างประเทศ โดยน่าจะเห็นเป็นบวกได้ตั้งแต่เดือน เม.ย.นี้ จากอุตสาหกรรมหลายสาขาที่กลับมาเป็นบวก เช่น ฮาร์ด ดิสก์ไดร์ฟ เนื้อไก่แช่แข็ง ตามเศรษฐกิจและการค้าของโลกมีแนวโน้มดีขึ้นทั้งสหรัฐ ยุโรป และเอเชีย ประกอบกับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐที่จะเริ่มเห็นเม็ดเงินลงทุนจริงช่วงไตรมาส 2/2560

     ทำให้ สศอ.มองว่า MPI ปี 2560 น่าจะขยายตัวได้ดีกว่า เป้าหมายที่ปัจจุบันคาดไว้ 0.5- 1.5% และผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ภาคอุตสาหกรรมทั้งปีน่าจะโตกว่า1-2%.

ธปท. คาด GDP Q1/60 โตกว่า 3% เตรียมปรับคาดการณ์ส่งออกใหม่ บาทแข็งไม่เป็นอุปสรรค, ห่วงลงทุนเอกชน

       นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่า เศรษฐกิจ (GDP) ในไตรมาสแรกของปี 2560 จะขยายตัวได้มากกว่า 3% และสูงกว่าไตรมาส 4/2559 เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยไตรมาส 1/2560 การส่งออกขยายตัว 6.6% โดยเฉพาะเดือนมี.ค.ขยายตัว 10.8% มูลค่า 2.07 หมื่นล้านบาท สูงสูงที่สุดนับตั้งแต่ มี.ค.54 และมีแนวโน้มจะขยายตัวต่อเนื่องไปอีก 1-2 เดือน ขณะที่ช่วงครึ่งปีหลังยังต้องติดตาม โดยเฉพาะผลกระทบจากปัจจัยต่างประเทศ ทั้งมาตรการเศรษฐกิจสหรัฐ และปัญหาคาบสมุทรเกาหลี

      ทั้งนี้ แนวโน้มการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง มีโอกาสที่ ธปท.จะทบทวนประมาณการตัวเลขส่งออกใหม่จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ โดยก่อนหน้านี้การส่งออกขยายตัวมากในด้านมูลค่าแต่ในเดือน มี.ค.เห็นว่าในด้านปริมาณก็ขยายตัวดีขึ้น สะท้อนเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าขยายตัวได้ดี ขณะที่ค่าเงินบาทมีอัตราการแข็งค่าในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับสกุลอื่นในภูมิภาค แต่มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน

     "การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทไม่เป็นปัญหาต่อภาคการส่งออก โดยธปท. จะติดตามตัวเลขการส่งออกในเดือนต่อๆ ไปก่อนจะมีการทบทวนตัวเลขอีกครั้ง"นายดอนกล่าว

     พร้อมระบุว่า ปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจไทยยังมาจากการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐ การท่องเที่ยวที่กลับมาขยายตัว โดยไตรมาส 1/2560 มีจำนวนนักท่องเที่ยวรวมกว่า 9 ล้านคน ทั้งนี้ การบริโภคเอกชนมีทิศทางที่ปรับดีขึ้น สะท้อนจากการใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทน รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ที่มีปัจจัยหนุนจากรายได้ภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้นจากราคายางพาราและผลผลิตข้าวที่ออกมาดี

     อย่างไรก็ตาม การลงทุนเอกชนยังเป็นตัวกดดันการขยายตัวเศรษฐกิจ จะเห็นได้จากไตรมาส 1/2560 การลงทุนติดลบ 2.2% โดยเป็นผลมาจากการลงทุนไปก่อนหน้านี้ในช่วงปลายปีก่อน ซึ่งการส่งออกที่ขยายตัวก็เป็นการนำสต็อกสินค้าที่มีอยู่มาขาย แต่การนำเข้าที่ขยายตัว 15.9% จากกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก คาดว่าจะช่วยสนับสนุนให้มีการลงทุนเกี่ยวเนื่องกับการส่งออกมากขึ้น และการลงทุนภาครัฐที่มีความชัดเจนในครึ่งปีหลังจะช่วยให้การลงทุนกลับมาขยายตัวทั้งปี ที่ 2.4% ได้

ธปท.เผย ศก.ไทยมี.ค.โตต่อเนื่อง หลังส่งออก-ท่องเที่ยวขยายตัว แต่ลงทุนเอกชนยังหดตัว

      นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมี.ค.60 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกที่ขยายตัวดีในหลายหมวดสินค้า สอดคล้องกับอุปสงค์ต่างประเทศที่ดีขึ้นต่อเนื่อง การท่องเที่ยวที่กลับมาขยายตัวจากเดือนก่อน การบริโภคภาคเอกชนที่มีทิศทางปรับดีขึ้นโดยเฉพาะสินค้าคงทน สอดคล้องกับรายได้ครัวเรือน และความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้น และการใช้จ่ายภาครัฐโดยเฉพาะรายจ่ายลงทุน อย่างไรก็ดี การผลิตภาคอุตสาหกรรม และการลงทุนภาคเอกชนยังหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน

     ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงตามราคาอาหารสดและพลังงานเป็นสำคัญ สำหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลตามมูลค่าการส่งออกที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง

     สำหรับ มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวต่อเนื่อง โดยในเดือนนี้ขยายตัว 10.8% จากระยะเดียวกันปีก่อน และหากหักทองคำ ขยายตัว 12.1% ตามการขยายตัวในหลายหมวดสินค้า ได้แก่ 1.สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และทัศนูปกรณ์ เพื่อใช้เป็นชิ้นส่วนการผลิตอุปกรณ์ที่รองรับ Internet of Things (IoT) ชิ้นส่วนรถยนต์ และสมาร์ทโฟน 2.สินค้าที่มูลค่าการส่งออกเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันดิบ ขยายตัวทั้งด้านราคาตามราคาน้ำมันดิบที่สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อน และด้านปริมาณตามการขยายตัวของการส่งออกยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ จากอุปสงค์จีนและอาเซียนที่เพิ่มขึ้น

      3.สินค้าหมวดยานยนต์ ตามการส่งออกรถยนต์เชิงพาณิชย์ไปออสเตรเลียจากการที่ผู้ประกอบการหาตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดตะวันออกกลางที่ยังหดตัวต่อเนื่อง และการส่งออกรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ไปยุโรปและอาเซียน ตามการขยายกาลังการผลิตของผู้ประกอบการรายใหญ่ในช่วงก่อนหน้า และ 4.สินค้าหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและแผงกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จากการขยายกำลังการผลิตและการย้ายฐานการผลิตมาไทยในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าที่ปรับดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นการระบายสินค้าคงคลังโดยเฉพาะในหมวดยานยนต์ ส่งผลให้โดยรวมการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน

      ภาคการท่องเที่ยวขยายตัว 2.0% จากระยะเดียวกันปีก่อน และเมื่อปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้น 3.3% จากเดือนก่อน ตามจำนวนนักท่องเที่ยวจีนและมาเลเซียที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวยุโรปที่ไม่รวมรัสเซียชะลอการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงก่อนวันหยุดเทศกาลอีสเตอร์ ที่ในปีนี้ตรงกับเดือนเมษายน

      เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนมีทิศทางปรับดีขึ้น โดยการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนปรับดีขึ้นตาม การซื้อรถยนต์ ปัจจัยสนับสนุนมาจากรายได้ครัวเรือนโดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่ฟื้นตัวต่อเนื่องตามราคายาง และผลผลิตข้าว และความเชื่อมั่นผู้บริโภคทยอยปรับดีขึ้น รวมทั้งสถาบันการเงินมีมุมมองที่ลดความเข้มงวดมาตรฐาน การให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ลงบ้าง ส่วนการใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นตามราคาที่ปรับลดลงเป็นสำคัญ

      การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอน ยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนที่ขยายตัว 11.9%จากการใช้จ่ายในโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของกรมทางหลวงเป็นสำคัญ ขณะที่รายจ่ายประจำหดตัว 3.5% จากฐานที่สูงในปีก่อนที่มีการเบิกจ่ายตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบลเป็นสำคัญ

     เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งการลงทุนในภาคก่อสร้างและเครื่องจักรและอุปกรณ์หลังจากมีการเร่งลงทุนในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะในธุรกิจการค้า พลังงาน และโทรคมนาคม สะท้อนว่าการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนยังไม่เข้มแข็งนัก อย่างไรก็ตาม การลงทุนซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวต่อเนื่อง

     สำหรับ มูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัว 22.4% จากระยะเดียวกันปีก่อน และหากไม่รวมทองคำ ขยายตัว 21.4% ตามการขยายตัวของการนำเข้าโดยเฉพาะในหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางในกลุ่ม 1. เชื้อเพลิงและโลหะที่ขยายตัวทั้งด้านราคาจากราคาสูงที่ขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ และด้านปริมาณจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และ 2. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า สอดคล้องกับการส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง

      ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.76% ชะลอจาก 1.44% ในเดือนก่อนตามราคาอาหารสดที่ลดลง โดยเฉพาะราคาผักและผลไม้ที่ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวตามต้นทุนการผลิตโดยรวมและ อุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป สำหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลอยู่ที่ 1.2% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.1% ในเดือนก่อนจากภาคการผลิตและภาคก่อสร้างเป็นสำคัญ

      ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลตามดุลการค้าที่เกินดุลจากมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวสูง ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจาก 1. การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนไทยทั้งในตราสารหนี้และตราสารทุนของกองทุน FIF 2. การเพิ่มเงินฝากในต่างประเทศและชาระคืนเงินกู้ระยะสั้นเพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศของสถาบันรับฝากเงิน และ 3. การออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของภาคธุรกิจไทย

      นายดอน กล่าวว่า สำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 มีทิศทางขยายตัวดีขึ้น โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวอย่างทั่วถึงมากขึ้น การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะหมวดสินค้าคงทน ตามความเชื่อมั่นโดยรวมและรายได้ของครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมที่ปรับดีขึ้น ด้านการท่องเที่ยวปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ได้รับผลกระทบจากการปราบปรามทัวร์ผิดกฎหมาย ขณะที่ภาครัฐยังคงมีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแม้ชะลอลงบ้างหลังจากเร่งไปในไตรมาสก่อน

       อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนแผ่วลงบ้าง หลังบางธุรกิจได้เร่งลงทุนไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวจากไตรมาสก่อนตามราคาน้ามันขายปลีกในประเทศเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องจากดุลการค้าที่เกินดุลตามมูลค่าการส่งออกที่ปรับดีขึ้น

    อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!