WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASIAวรตม ศวะศรยานนทบล.เอเชีย เวลท์ คาดปัจจัยภายในประเทศยังกดดันตลาด แนะนำลงทุน TCAP

     บล.เอเชีย เวลท์ คาดตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายในประเทศ ทั้งตัวเลขการส่งออกที่ติดลบ และ NPLs ของธนาคารที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 1/58 ด้านปัจจัยภายนอกที่เริ่มผ่อนคลายลงหลังจากตัวเลข Non-farm payroll ออกมาดีขึ้นแต่ก็ไม่ดีมากพอจน Federal Reserve จะต้องรีบขึ้นดอกเบี้ย แต่การเจรจาแก้ปัญหาหนี้ของกรีซก็ย้งไม่จบและยังมีความเสี่ยงว่าจะล้มเหลวด้วย มองกรอบดัชนีสัปดาห์นี้ เคลื่อนไหวที่1,490-1,530 จุด พร้อมแนะนำ TCAP ราคาเป้าหมายที่ 38 บาท

    นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์กล่าวว่า Trading Idea ของ บล.เอเชีย เวลท์ แนะนำลงทุนในหุ้น TCAP ของบริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนชาต ที่ประกอบธุรกิจทางการเงินครบวงจร เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจประกัน ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ และธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ โดยให้บริการผ่านธนาคารธนชาตเป็นหลัก

     ซึ่งเรามองว่า ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ ของ TCAP เป็นสัดส่วนที่ใหญ่ ของพอร์ตสินเชื่อ ซึ่งจะได้ประโยชน์ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยลดจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างขึ้น เนื่องจาก อัตราดอกเบี้ยในส่วนของพอร์ตสินเชื่อ จะไม่ได้ลดลงตามตลาด ในขณะที่ในฝั่ง Funding อัตราดอกเบี้ยจะลดลงตามตลาด แม้ธุรกิจ สินเชื่อยานยนต์จะยังชะลอตัวอยู่นับตั้งแต่สิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก แต่ในช่วงที่ผ่านมาผลประกอบการในส่วนนี้เริ่มเป็นบวกและมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดีในระยะต่อไป

     “TCAP มีคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี และมีหนี้สงสัยจะสูญ หรือ NPLs ไม่มากนักแถมกลับลดลงสวนทางคู่แข่งในไตรมาส 1/58 ทำให้ TCAP มีฐานะการเงินที่เข้มแข็ง และหากมองทางด้านเทคนิคPrice chart ของ TCAP ที่เป็น Sideway มา 3 เดือน เพิ่งปรากฏสัญญาญซื้อรายวัน หรือ Daily buy signal เราจึงแนะนำซื้อ โดยเรามองราคาเป้าหมายทางพื้นฐานปีนี้ไว้ที่ 38 บาท หรือมีupside ที่ประมาณ 10%” นายวรุตม์ กล่าว

     นายวรุตม์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านภาวะตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นยังได้รับแรงกดดันทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยภายในประเทศ ตัวเลขส่งออกที่ติดลบในไตรมาส 1/58และ NPLs ของธนาคารที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 1/58 ที่ยังจะก่อให้เกิดความวิตกกังวลต่อเศรษฐกิจไทยอยู่ และส่งผลกดดันตลาดในสัปดาห์นี้ก่อนการประกาศตัวเลข GDP ของไทยสำหรับไตรมาส 1/58 ของสภาพัฒน์ฯ ปลายสัปดาห์

      ด้านบริษัทจดทะเบียนฯสัปดาห์นี้ใกล้จะหมดฤดูการประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 แล้ว ซึ่งจากที่ประเมิน มีหลายธุรกิจที่มีผลประกอบการที่ดีและโดดเด่นอยู่มาก เนื่องจาก ธุรกิจมีการฟื้นตัว หรือTurnaround เช่น PTTGC, WORK, และ THCOM และธุรกิจโรงแรม และอาหาร ขณะเดียวกัน ธุรกิจกลุ่มแบงก์ ผลประกอบการออกมา มี NPLs เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ TMB, KTB, KBANK, และSCB อีกทั้งการปล่อยสินเชื่อยังคงชะลอตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ SME ที่เกี่ยวกับการส่งออก ผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้ไม่เป็นไปตามเป้า อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการโดยรวมแล้วยังน่าจะเป็นไปตามนักวิเคราะห์คาด ซึ่งจะต้องติดตามตัวเลขสรุปที่ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเปิดเผยต่อไป นอกจากนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่า แม้จะดีต่อภาคส่งออกในระยะต่อไป แต่ส่งผลให้ต่างชาติขายทำกำไรออกในระยะสั้น เพื่อจำกัดผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน

     นายวรุตม์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับปัจจัยภายนอกประเทศที่กดดันตลาดก่อนหน้านี้เริ่มผ่อนคลายลง หลังจากตัวเลข Non-farm payroll ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-farm payroll) ของสหรัฐฯ ที่ได้ประกาศในวันศุกร์ถือว่าออกมาดีพอสมควร แต่ไม่ได้ดีเกินไป ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวดีขึ้นแล้วแต่ยังไม่เพียงพอที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะต้องรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเร็ววัน ขณะที่ตลาดคาดการณ์ล่าสุดว่า Fed จะปรับขึ้นในช่วงเดือนกันยายนเป็นอย่างเร็วที่สุด ซึ่งจะกระทบต่อตลาดหุ้น

     ด้านยุโรป ปัญหาหนี้สาธารณะ และปัญหาสภาพคล่องในกรีซ ที่รัฐบาลกรีซ ยังคงปฏิเสธเงื่อนไขหนี้เงินช่วยเหลือสำคัญทั้ง 3 ประการ ที่ทางเจ้าหนี้ ระบุ คือ การลดและตัดทอนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ,การปฏิรูปตลาดแรงงาน, และการลดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ซึ่งการปฏิเสธครั้งนี้ อาจทำให้ทั้ง ECB และIMF ไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติมให้กับกรีซ และอาจจะทำให้กรีซผิดนัดชำระหนี้ที่จะครบกำหนดจ่าย(Default) ให้กับ IMF ในเดือน พฤษภาคม นี้ได้ อย่างไรก็ตาม หากกรีซเกิด Default ขึ้นมาจริง ๆ ก็จะเป็นผลลบระยะสั้นต่อตลาดหุ้น แต่จะไม่กระทบกับภาคธนาคารเอกชนในประเทศอื่น ๆ ในยุโรป เพราะไม่ได้ให้สินเชื่อกับกรีซแล้วตั้งแต่ปี 2012

    “เรามองกรอบดัชนีสัปดาห์นี้ ที่ 1,490-1,530 จุด โดยแนะนำให้ผู้ลงทุนระยะสั้นใช้ กลยุทธ์ ลงซื้อ ขึ้นขาย กำหนดจุดขายและ stop loss อย่างมีวินัย ส่วนผู้ลงทุนระยะยาวค่อยๆ เข้าเก็บหุ้นพื้นฐานดีที่มี story เฉพาะตัว หรืออยู่ใน theme ปันผลสูง หรือ turnaround ชัดเจน ในเวลาตลาดลง”นายวรุตม์ กล่าว

บล.เอเชีย เวลท์ มองกรอบหุ้นไทยสัปดาห์นี้ 1490-1530 จุด แรงกดดันใน-นอกปกคลุม

    นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บล.เอเชีย เวลท์ กล่าวว่า ภาวะตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นยังได้รับแรงกดดันทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยภายในประเทศ ตัวเลขส่งออกที่ติดลบในไตรมาส 1/58 และ NPLs ของธนาคารที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 1/58 ที่ยังจะก่อให้เกิดความวิตกกังวลต่อเศรษฐกิจไทยอยู่ และส่งผลกดดันตลาดในสัปดาห์นี้ก่อนการประกาศตัวเลข GDP ของไทยสำหรับไตรมาส 1/58 ของสภาพัฒน์ฯ ปลายสัปดาห์

        ด้านบริษัทจดทะเบียนฯสัปดาห์นี้ใกล้จะหมดฤดูการประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 แล้ว ซึ่งจากที่ประเมิน มีหลายธุรกิจที่มีผลประกอบการที่ดีและโดดเด่นอยู่มาก เนื่องจาก ธุรกิจมีการฟื้นตัว หรือ Turnaround เช่น PTTGC, WORK, และ THCOM และธุรกิจโรงแรม และอาหาร ขณะเดียวกัน ธุรกิจกลุ่มแบงก์ ผลประกอบการออกมา มี NPLs เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ TMB, KTB, KBANK, และ SCB  อีกทั้งการปล่อยสินเชื่อยังคงชะลอตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ SME ที่เกี่ยวกับการส่งออก ผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้ไม่เป็นไปตามเป้า อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการโดยรวมแล้วยังน่าจะเป็นไปตามนักวิเคราะห์คาด ซึ่งจะต้องติดตามตัวเลขสรุปที่ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเปิดเผยต่อไป  นอกจากนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่า แม้จะดีต่อภาคส่งออกในระยะต่อไป แต่ส่งผลให้ต่างชาติขายทำกำไรออกในระยะสั้น เพื่อจำกัดผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน

       สำหรับ ปัจจัยภายนอกประเทศที่กดดันตลาดก่อนหน้านี้เริ่มผ่อนคลายลง หลังจากตัวเลข  Non-farm payroll ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-farm payroll) ของสหรัฐฯ ที่ได้ประกาศในวันศุกร์ถือว่าออกมาดีพอสมควร แต่ไม่ได้ดีเกินไป ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวดีขึ้นแล้วแต่ยังไม่เพียงพอที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะต้องรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเร็ววัน ขณะที่ตลาดคาดการณ์ล่าสุดว่า Fed จะปรับขึ้นในช่วงเดือนกันยายนเป็นอย่างเร็วที่สุด ซึ่งจะกระทบต่อตลาดหุ้น

     ด้านยุโรป ปัญหาหนี้สาธารณะ และปัญหาสภาพคล่องในกรีซ ที่รัฐบาลกรีซ ยังคงปฏิเสธเงื่อนไขหนี้เงินช่วยเหลือสำคัญทั้ง 3 ประการ ที่ทางเจ้าหนี้ ระบุ คือ การลดและตัดทอนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, การปฏิรูปตลาดแรงงาน, และการลดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ซึ่งการปฏิเสธครั้งนี้ อาจทำให้ทั้ง ECB และ IMF ไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติมให้กับกรีซ และอาจจะทำให้กรีซผิดนัดชำระหนี้ที่จะครบกำหนดจ่าย (Default) ให้กับ IMF ในเดือน พฤษภาคม นี้ได้ อย่างไรก็ตาม หากกรีซเกิด Default ขึ้นมาจริง ๆ ก็จะเป็นผลลบระยะสั้นต่อตลาดหุ้น แต่จะไม่กระทบกับภาคธนาคารเอกชนในประเทศอื่น ๆ ในยุโรป เพราะไม่ได้ให้สินเชื่อกับกรีซแล้วตั้งแต่ปี 2012

      มองกรอบดัชนีสัปดาห์นี้ ที่ 1,490-1,530 จุด โดยแนะนำให้ผู้ลงทุนระยะสั้นใช้  กลยุทธ์ ลงซื้อ ขึ้นขาย กำหนดจุดขายและ stop loss อย่างมีวินัย ส่วนผู้ลงทุนระยะยาวค่อยๆ เข้าเก็บหุ้นพื้นฐานดีที่มี story เฉพาะตัว หรืออยู่ใน theme ปันผลสูง หรือ turnaround ชัดเจน ในเวลาตลาดลง

    ขณะที่ Trading Idea ของ บล.เอเชีย เวลท์ แนะนำลงทุนในหุ้น บมจ.ทุนธนชาต (TCAP) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนชาต ที่ประกอบธุรกิจทางการเงินครบวงจร  เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจประกัน ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ และธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ โดยให้บริการผ่านธนาคารธนชาตเป็นหลัก ซึ่งมองว่า ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ ของ TCAP เป็นสัดส่วนที่ใหญ่ ของพอร์ตสินเชื่อ ซึ่งจะได้ประโยชน์ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยลดจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างขึ้น เนื่องจาก อัตราดอกเบี้ยในส่วนของพอร์ตสินเชื่อ จะไม่ได้ลดลงตามตลาด ในขณะที่ในฝั่ง Funding อัตราดอกเบี้ยจะลดลงตามตลาด แม้ธุรกิจ สินเชื่อยานยนต์จะยังชะลอตัวอยู่นับตั้งแต่สิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก แต่ในช่วงที่ผ่านมาผลประกอบการในส่วนนี้เริ่มเป็นบวกและมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดีในระยะต่อไป

      TCAP มีคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี และมีหนี้สงสัยจะสูญ หรือ NPLs ไม่มากนักแถมกลับลดลงสวนทางคู่แข่งในไตรมาส 1/58  ทำให้ TCAP มีฐานะการเงินที่เข้มแข็ง และหากมองทางด้านเทคนิค  Price chart ของ TCAP ที่เป็น Sideway มา 3 เดือน เพิ่งปรากฏสัญญาญซื้อรายวัน หรือ Daily buy signal เราจึงแนะนำซื้อ โดยเรามองราคาเป้าหมายทางพื้นฐานปีนี้ไว้ที่ 38 บาท หรือมี upside ที่ประมาณ 10%

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!