WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSpatteraนายกส.โบรกฯ มองแนวโน้ม SET ฟื้น H2/59,ปลัดคลังแนะเน้นเชื่อมโยงภูมิภาค

    นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะปรับตัวดีขึ้น รับผลดีจากการลงทุนของภาครัฐที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจภายในประเทศเติบโต และเศรษฐกิจโลกที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

     สำหรับ การเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทย(SET Index)ขณะนี้ถือว่ามาอยู่ในระดับต่ำมากแล้ว โดยปัจจุบันดัชนีเคลื่อนไหวที่ระดับ 1,250 จุด และไม่น่าจะปรับตัวลดลงไปมากกว่านี้ หากไม่มีปัจจัยอื่นเข้าส่งผลกระทบเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)มีทิศทางที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้เม็ดเงินที่ลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกไหลออกจากเพื่อกลับไปลงทุนในสหรัฐ

     แต่ขณะนี้นักลงทุนในตลาดหุ้นไทยปัจจุบันได้ปรับพอร์ตการลงทุนไปมากและถือครองเงินสดไว้มากขึ้น จึงแนะนำให้นักลงทุนเริ่มกลับมาลงทุนด้วยการเลือกลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐ เช่น หุ้นกลุ่มท่องเที่ยว อาหาร อุปโภคบริโภค โดยคาดว่าผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 4/58 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาส 3/58

    ส่วนโยบายของรัฐบาลที่อยากให้ตลาดทุนเกิดการพัฒนานั้น หลักๆคือจะต้องตอบโจทย์การเติบโตของประเทศให้ได้ โดยให้มีการส่งเสริม SMes สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ครอบคลุม ขยายตลาดออกไปให้กว้างมากขึ้นทั้งในอาเซียนและกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อให้เกิดการแข่งขัน และตลาดทุนจะต้องมีการเติบโตอย่างยั่งยืน มีมาตรฐานและธรรมาภิบาล

     ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวถึง"ความสำคัญของตลาดทุนไทยและกรอบแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุน"ว่า สิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขในตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่น ในเรื่องของการเชื่อมโยงกับภูมิภาค เพื่อเป็นศูนย์กลางของการระดมทุนทั้ง CLMV และ GMS

     และพยายามจะเสริมขีดความสามารถของภาครัฐเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้สังคมยั่งยืนด้วยตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจะอยู่ในแผนปฎิรูปตลาดทุนไทยในอนาคต 5 ปีจะต้องเข้าถึงตลาดทุนไทยได้ง่ายขึ้น มีต้นทุนการเข้าถึงที่ต่ำ และ SMEs สามารถเข้าถึงได้ แข่งขันได้ และเชื่อมโยงกับภูมิภาคได้

     นายสมชัย กล่าวว่า การระดมทุนของนักธุรกิจไทยในอดีตที่ผ่านมาเคยพึ่งพิงธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ และตราสารหนี้มีบทบาทน้อยมาก จึงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ต่อมาตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงมีการพัฒนามากขึ้นมากในการเป็นหนึ่งในทางเลือกแหล่งระดมทุน

      ทั้งนี้ ในแต่ละปีภาคเอกชนจะออกหลักทรัพย์ใหม่เข้ามาระดมเพิ่มมากขึ้น จากเดิมจะเห็นได้ว่ามีบริษัทที่ประสบความสำเร็จ อย่าง บมจ.ปตท., ธุรกิจภาคการเงิน, การผลิต, บริการ, คมนาคม เป็นต้น ซึ่งได้ประโยชน์จากตลาดทุนทั้งนั้น และปัจจุบันมีบริษัทที่อยู่ในตลาดทั้งสิ้นประมาณ 640 บริษัท ถือได้เป็นช่องทางการระดมทุนที่สำคัญ รวมถึงตลท.ยังเป็นแหล่งรายได้ภาษีของกระทรวงการคลัง โดยเฉพาะรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เกิดจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯเริ่มจากเดิม 25% เป็น 37% ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นรายได้ที่สูงอย่างมาก และน่าจะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

    นอกจากนี้ การพัฒนาของตลาดทุนไทยมีศักยภาพสูงขึ้นตามลำดับ ขนาดของตลาดจากปี 48 เทียบกับปี 58 เพิ่มขึ้นเป็น 99% และธุรกิจทุกขนานสามารถเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้ ซึ่งก็จะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ในอนาคต ทั้งตลาด SET และตลาด mai โดยทางรัฐบาลก็พยายามที่จะส่งเสริมสนับสนุนประเด็นดังกล่าว รวมไปถึงส่งเสริมให้เกิดนักลงทุนใหม่ๆ ทั้งการลงทุนโดยตรง หรือลงทุนผ่านกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

    สำหรับ การผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนไทยสามารถแข่งขันได้ในภูมิภาคนั้น ภาครัฐมีการส่งเสริมในเรื่องของธรรมาภิบาล และการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน รวมถึงการให้ความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใส่ใจต่อชุมชน เพื่อให้บริษัทเหล่านี้อยู่ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices : DJSI) เพื่อดึงดูดความป็นที่น่าลงทุน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 13 บริษัท

   อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!