WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AMATA ปรับแผนลงทุนเน้น ตปท. มากขึ้น ส่วนในประเทศจะเน้นสาธารณูปโภคและพัฒนาวิจัย หลังมองการเติบโตลดลง - คาดดัน 'อมตะ เวียดนาม' เข้า SET ภายในปีนี้

   นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA เปิดเผยว่า ภาพรวมการดำเนินธุรกิจของ AMATA จะเปลี่ยนแปลงไป โดยจะเน้นการลงทุนในส่วนของการขายที่ดินในต่างประเทศมากขึ้น โดยประเทศที่บริษัทฯมีความสนใจ คือ เวียดนาม และพม่า ส่วนจะมีการลงทุนในประเทศอื่นๆ นั้นจะมีเงื่อนไข 3 ข้อ คือ1.จะต้องเป็นประเทศที่ใช้เวลาเดินทางทางเครื่อง 1 - 1 ชั่วโมงครึ่งจากไทย 2. ต้องเป็นประเทศที่ติดกับทะเล หรือติดกับประเทศจน 3. ค่าแรงต่ำ และมี FTA อาเซียน +6 ทำให้การขนส่งได้สะดวก

 ขณะที่ในประเทศไทยจะเน้นด้านการลงทุนสาธารณูปโภค ระบบไอที ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาในโรงงานเดิมของ บริษัทฯ จากเดิมที่จะเน้นเรื่องการขายเพื่อพัฒนาเป็นโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากประเทศไทยจีดีพีโตน้อย และมีค่าแรงที่สูง ขณะที่ประเทศพม่ามีจีดีพี โต 8% กัมพูชาจีดีพี โต 7% ลาวจีดีพี โต 6% มาเลเซียจีดีพี โตกว่า 5% รวมถึงการที่บีโอไอมีการปรับเปลี่ยนนโยบายส่งเสริมการลงทุนนั้น ทำให้นักลงทุนไทยอาจหันไปลงทุนสร้างโรงงานในต่างประเทศ และนักลงทุนต่างประเทศจะหันไปสร้างฐานผลิตการลงทุนในต่างประเทศเช่นกัน

 "ธุรกิจของอมตะในประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลง คือ จากเดิมที่จะทำทางด้านการขายที่ดินเพื่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงเป็นการค้นคว้าวิจัยพัฒนา การลงทุนสาธารณูปโภค เช่น การสร้างโรงไฟฟ้า ปัจจุบันบริษัทฯมีโรงไฟฟ้า 10 โรง ขนาดรวม 1.4 พันเมกะวัตต์ และสามารถที่จะขยายเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ , การขายน้ำ , การวางระบบไอที ซึ่งหากมีคนสนใจที่จะเข้ามาลงทุน บริษัทฯ จะเลือกบริษัทที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับนิคมของ

บริษัทฯ จากปัจจุบันที่บริษัทฯ มีที่ดิน มีลูกค้าและมีสาธารณูปโภค"นายวิกรม กล่าว

 สำหรับ การลงทุนสร้างนิคมอุตสาหกรรมที่ประเทศพม่า คาดว่าจะสรุปได้ภายในไม่กี่เดือนนี้ โดยการลงทุนดังกล่าวจะร่วมกับพันธมิตรต่างประเทศ และนักลงทุนพม่า โดยในช่วงเริ่มต้นจะสร้างนิคมฯ ขนาดที่ไม่ใหญ่มาก จากที่ไม่เคยลงทุน หลังจากนั้นพอมีประสบการณ์ก็จะขยายขึ้นเรื่อย ๆ

 นอกจากนี้ บริษัทฯศึกษาการเข้าลงทุนนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยจะรอดูว่ามีผู้ไปลงทุนมากน้อยแค่ไหน ก่อนจะพิจารณาการลงทุนอีกครั้ง

 ส่วนการนำบริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คาดว่า จะเป็นไปตามกำหนดเดิมที่ตั้งไว้ว่าจะเข้าภายในไตรมาส 2/2558 แต่อาจจะมีความล่าช้าเล็กน้อยทางด้านการจัดเตรียมเอกสาร

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

AMATA คาดอมตะ เวียดนามเข้า SET ปีนี้ -ดูลู่ทางลงทุนนิคมฯในพม่า-ลาว

    นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน  (AMATA) เปิดเผยว่า บริษัทฯคาดนำเอาบริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (AMATAVN) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ภายในปีนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาไฟลิ่งของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ซึ่งยังติดปัญหาในเรื่องเอกสาร

    โดยมองประเทศเวียดนามมีการเติบโตที่ดี เห็นได้จากการเข้ามาลงทุนของประเทศเกาหลี และญี่ปุ่นที่ให้การสนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภค เพื่อรองรับการขยายตัวในอีก 10 ปีข้างหน้า รวมถึงมองว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) น่าจะมีการขายตัวได้ใกล้เคียงกับประเทศไทยได้ ประกอบกับเวียดนามไม่มีปัญหาในเรื่องของการเมืองและสังคม ทำให้เกิดความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติอย่างมาก

     ทั้งนี้ AMATA มีความสนใจกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และ กลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม)  โดยมองการเข้าไปลงทุนจะต้องมีการเดินทางที่อำนวยความสะดวก เช่น มีสนามบินที่จะสามารถเดินทางไปกลับได้,เป็นประเทศที่ติดทะเล,เป็นประเทศที่ติดกับจีน,ค่าแรงต้องถูก และ ประเทศที่เป็นเขตการค้าเสรี FTA เพื่อสามารถขนส่งไปยังจีนได้

    "เราก็มีความสนใจในประเทศพม่า ลาว เขมร เวียดนาม หรือกลุ่ม GMS ทั้งหมด เนื่องด้วยพม่าติดกับมหาสมุทรอินเดีย ประชากรก็มีอยู่ราว 60 ล้านคน เป็นคนขยันและเก่ง เราจึงมองโอกาสขยายธุรกิจเข้าไปเพื่อรองการการเปิดประชาคมอาเซียน และลดปัญหาด้านแรงงาน อีกทั้งในอนาคตเราก็จะเปลี่ยนทิศทางไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น จากที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจดีกว่าไทย"นายวิกรม กล่าว

    นายวิกรม ยังมองว่าเป็นโอกาสของบริษัทจดทะเบียนไทยที่มีโอกาสขยายการลงทุนไปในยังภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทที่มีขนาดใหญ่และขนาดกลาง ที่ถือว่ามีแหล่งเงินทุนสามารถเข้าไปลงทุนได้

     สำหรับ เป้าหมายของ AMATA ในประเทศไทย ขณะนี้มีอัตราการเติบโตไม่มาก ซึ่งจากนี้บริษัทฯ จะไปเน้นด้านการค้นคว้าและวิจัย เพิ่มมูลค่าในโรงงานที่มีอยู่ปัจจุบัน เพื่อผลักดันสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 50:50% โดยปัจจุบันบริษัทฯมีโรงไฟฟ้าอยู่ 10 แห่ง ขนาด 1,400 เมกกะวัตต์ และมีโรงงานรวม 1,300 แห่ง

    "ในอนาคตจะไม่มีแต่การขายที่ดินเหมือนแต่ก่อน ซึ่งจากนี้ไปเราจะทำให้ AMATA เป็นนิคมไฮเทค ที่จะมีทั้งสาธารณูปโภค พลังงานน้ำ ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าในนิคมของเราให้มากที่สุด ขณะที่ต่างประเทศ อนาคตเราก็มีแผนไปสร้างนิคมที่ประเทศพม่าแต่คงไม่ใหญ่มาก เป็นการร่วมทุนกับพาร์ทเนอร์ทั้งจากในพม่าเองและต่างประเทศ"นายวิกรม กล่าว

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!