WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MTLS พร้อมลุย'นานาไฟแนนซ์'ระดม 1 หมื่นล.ปล่อยกู้-ขยาย 170 สาขา

      ไทยโพสต์ * เมืองไทย ลิสซิ่ง พร้อมขอไลเซนส์ ‘นาโนไฟแนนซ์’เล็งระดมทุนปล่อยกู้ 10,000 ล้านบาท ลุยขยายสาขาเพิ่มอีก 170 แห่งภายในไตรมาส 1 ปีนี้ ปลื้มยอดปล่อยสินเชื่อปี 2557 ส่วนปี 2558 ตั้งเป้าปล่อย 16,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30%

      นายชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธานกรรมการบริหาร บมจ. เมืองไทย ลิสซิ่ง (MTLS) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทเตรียมพร้อมขอใบอนุญาตจัดตั้งนา โนไฟแนนซ์ จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหากได้ใบอนุญาตแล้ว จะระดมทุนผ่านเครื่องมือทางการเงินกว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้สำหรับการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (ดีอี) อยู่ในระดับต่ำเพียง 0.6 เท่า ทำให้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของแหล่งเงินทุน

     "เชื่อว่านาโนไฟแนนซ์เป็นโอกาสที่ดีสำหรับบริษัท เนื่องจากมีประสบการณ์การดำเนินธุรกิจกว่า 23 ปี มีลูกค้าในมือ 600,000-700,000 ราย ทำให้สามารถต่อยอด และขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ได้ทันที เพราะมีความพร้อมทั้งในแง่ของบุคลากร และฐานลูกค้า ที่จะทำให้รายได้และกำไรของเมืองไทยลิสซิ่งเติบโตเพิ่มขึ้น" นายชูชาติ กล่าว

     สำหรับในปี 2558 บริษัทมีแผนการขยายสาขาเพิ่มอีก 170 แห่ง จากเดิมตั้งเป้าขยายสาขาเพิ่ม 150 แห่ง โดยล่าสุดในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา เปิดไปแล้วกว่า 49 สาขา และคาดว่าภายในไตรมาสแรกปีนี้ จะสามารถเปิดได้ครบทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะเปิดในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยนำร่องเปิดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งถือเป็นตลาดใหม่

     ส่วนแผนการตลาดในปี นี้ บริษัทจะประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุท้องถิ่นทั่วประเทศ เพราะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกัน ยังได้มอบนโยบายให้พนักงานเดินตลาดทุก 2 ไตรมาส เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสกับรูปแบบการให้บริการสินเชื่อของบริษัท

     ขณะที่ผลการดำเนินงานในปี 2557 ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมาย โดยยอดปล่อยสินเชื่อทะลุเป้าหมาย 12,000 ล้านบาท ส่วนปีนี้ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ 16,500 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 30% เนื่องจากคาดว่าความต้องการสินเชื่อของคนในระดับรากหญ้ายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน รวมถึงปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ ตกต่ำช่วงที่ผ่านมา และค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้องการเงินกู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น

    นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง เพื่อป้องกันปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) โดยจะให้ความสำคัญกับลูกค้าเก่าที่เข้ามาขอ ใช้บริการสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน ส่วนลูกค้า ใหม่ต้องดูรายได้และหลักประ กันประกอบการพิจารณาด้วย โดยปัจจุบันสัดส่วนเอ็นพีแอล อยู่ที่ 1.5% ของสินเชื่อรวมเท่านั้น.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!