WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

EASTSPRINGดารบุษป์

บลจ.อีสท์สปริง เตรียมขายกอง ES-USDCR1YD ชูจุดเด่นเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนท่ามกลางความผันผวนหุ้นสหรัฐฯ เน้นลงทุนพันธบัตรรัฐบาล-วอร์แรนท์อิงราคา SPDR S&P500 ETF

          นางสาวดารบุษป์ ปภาพจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ บลจ.อีสท์สปริง เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมเปิดเสนอขายกองทุนเปิดอีสท์สปริง US Double Structured Complex Return 1YD (ES-USDCR1YD) ระยะเวลาลงทุนประมาณ 1 ปี ซึ่งเป็นกองทุนที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดทุนเงินลงทุน พร้อมเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนในความผันผวนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ จากการลงทุนในสัญญาวอร์แรนท์ที่อ้างอิงกับราคา SPDR S&P500 ETF โดยเปิดขายหน่วยลงทุนครั้งเดียวระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม จนถึง 6 พฤศจิกายน 2566 ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท

          โดยกองทุนเปิดอีสท์สปริง US Double Structured Complex Return 1YD เป็นกองทุนรวมผสมประเภทที่มีการจ่ายผลตอบแทนซับซ้อน และมีสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 79% โดยมีกลยุทธ์การลงทุนแบ่งเงินลงทุนออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้และ/หรือเงินฝากและ/หรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) ประมาณ 98.50% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เงินลงทุนเติบโตเป็น 100% ของเงินลงทุนทั้งหมดเมื่อครบอายุโครงการ ซึ่งการลงทุนในส่วนนี้จะมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) เต็มจำนวน 

          ส่วนที่ 2 กองทุนจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประเภทสัญญาวอร์แรนท์ (Warrant) ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับราคา SPDR S&P500 ETF ซึ่งจะไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับการลงทุนในสัญญาดังกล่าว โดยจะลงทุนประมาณ 1.5-1.6% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม) เพื่อเปิดโอกาสให้กองทุนสามารถแสวงหาผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากการจ่ายผลตอบแทนด้วยอัตราการมีส่วนร่วม (Participation Rate) 50% จากการเปลี่ยนแปลงของราคา SPDR S&P500 ETF โดยมีเงื่อนไขว่าราคาของ SPDR S&P500 ต้องปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่เกิน 15% เมื่อเทียบกับ ณ วันจดทะเบียนกองทุนซึ่งตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา 

          “จุดเด่นของกองทุนนี้คือความเสี่ยงต่อเงินต้นต่ำมากเพราะเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรืออาจจะลงทุนเพิ่มในพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศที่มีความน่าเชื่อถือ 2 อันดับแรก (International Rating) รวมถึงโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีจากวอร์แรนท์ หากราคา SPDR S&P500 ETF ปรับตัวขึ้นหรือลงไม่เกิน 15% ซึ่งเหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการโอกาสรับผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากโดยทั่วไป และต้องการลงทุนในระยะเวลาประมาณ 1 ปี” นางสาวดารบุษป์ กล่าวพร้อมให้มุมมองการลงทุนว่า

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งกว่าที่คาด ผสานกับเงินเฟ้อที่แผ่วลง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) แต่มีโอกาสที่ Fed จะใช้นโยบายแบบเข้มงวดต่อ ซึ่งขึ้นกับข้อมูลทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ อาจเผชิญกับแรงกดดันในระยะถัดไป ทั้งนี้บลจ.อีสท์สปริง มองว่าดัชนี S&P500 มีโอกาสเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบในช่วง 1 ปีข้างหน้า โดยมีปัจจัยบวก คือ 1.ทิศทางผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนยังคงแข็งแกร่ง โดยกำไรบริษัทจดทะเบียนของ S&P500 ในปี 2567 ยังเติบโตกว่า 10% 2.ปัจจัยกดดันจากเงินเฟ้อลดลง เศรษฐกิจอาจ Soft Landing ได้ ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงคือ สหรัฐฯอาจคงดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลานาน ซึ่งจากผลการสำรวจของ CME FedWatch Tool ล่าสุดบ่งชี้ว่ามีโอกาสที่ Fed จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25 - 5.50% ไปจนถึงกลางปี 2567 (ข้อมูล : CME Market Watch Tool ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2566) รวมถึงระดับมูลค่าของตลาดหุ้นสหรัฐฯหรือ P/E ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี 

          ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทน และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยเฉพาะกรณีที่มีการจ่ายผลตอบแทนซึ่งมีปัจจัยอ้างอิง ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงเวลา 1 ปีได้ ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก และกองทุนนี้ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในการลงทุนในวอร์แรนท์ ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนจากวอร์แรนท์ตามที่ระบุไว้

          ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.eastspring.co.th หรือโทร 1725 ในวันและเวลาทำการ หรือผ่านช่องทางการขายของบริษัทฯ หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง และผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน และความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงทางด้านตลาด ความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงทางด้านเครดิตและคู่สัญญา และความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่อง เป็นต้น

 

 

A10850

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!