WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้าวันแรกปีแพะแกว่งลงตามภูมิภาค จับตาบาทอ่อน

     นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์ หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ดัชนีมีแนวโน้มแกว่งตัวลง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นโลกหลังจากผ่านช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ ประกอบกับได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจภาคการผลิตทั้งในสหรัฐฯและยุโรปออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ส่งผลกดดันตลาดหุ้นทั่วโลก

      นอกจากนี้ ตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียช่วงเปิดตลาดภาคเช้าดัชนีได้ปรับตัวลง รับผลค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าที่สุดในรอบ 9 ปี โดยทำให้ค่าเงินบาทในวันนี้มีการอ่อนค่ามาอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยจากการไถ่ถอนของกองทุน LTF ที่ครบกำหนดอายุ 5 ปี เข้ามากดดันตลาดในช่วงนี้อีกด้วย

        พร้อมให้แนวต้าน 1,500-1,510 จุด แนวรับ 1,480-1,486 จุด

       ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน :

      - ตลาดหุ้นนิวยอร์คล่าสุด(2 ม.ค.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,832.99 จุด เพิ่มขึ้น 9.92 จุด (+0.06%),ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,726.81 จุด ลดลง 9.24 จุด หรือ (-0.20%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,058.20 จุด ลดลง 0.70 จุด (-0.03%)

      - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 125.09 จุด,ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน เพิ่มขึ้น 23.95 จุด ,ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 125.09 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 14.95 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 4.48 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 2.21 จุด ,ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 52.37 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 5.65 จุด

       - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(30 ธ.ค.57) 1,497.67 จุด ลดลง 0.55 จุด(-0.04%)

      - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 215.61 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.57

       - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.พ.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(2 ม.ค.58) ปิดที่ 52.69 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 58 เซนต์

       - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(2 ม.ค.58)ที่ 5.91 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

       - เงินบาทเปิด 32.98/33 มองทิศทางอ่อนค่าตามภูมิภาค-จับตา Flow

       - พาณิชย์เตรียมปรับยุทธศาสตร์ส่งออกระยะยาว มุ่งสู่ "ชาติการค้า" หลังขีดแข่งขันสินค้าไทยในตลาดโลกลดลง ขณะที่ตลาดโลกเสี่ยง ประเมินปีนี้โตได้ 4% เน้นเจาะตลาดอาเซียน ด้านนักวิเคราะห์คาดได้อย่างมาก 3% เหตุราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เศรษฐกิจโลกไม่ฟื้น หวังตลาดเพื่อนบ้านดันส่งออกโต

     - "เศรษฐพุฒิ" ชี้ 3 ปัจจัยเสี่ยงกระทบเศรษฐกิจไทยปีนี้ 'ดอลลาร์แข็ง-น้ำมันลด-สินค้าโภคภัณฑ์ร่วง' หวังลงทุนภาครัฐพยุงเศรษฐกิจฟื้น มั่นใจทั้งปีโตได้ 4% ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ห่วงรายได้ครัวเรือน ฉุดการบริโภค ขณะที่ "เวิลด์แบงก์- เอดีบี" ห่วงบริโภคฟื้นตัวช้า หนี้ครัวเรือนกดดัน

       - วงการข้าวคาดราคาข้าวอยู่ในระดับต่ำ 2-3 ปี เหตุรัฐแบกสต็อก 18 ล้านตัน แนะรัฐเร่งระบาย-ลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง ด้าน "ฉัตรชัย" ชี้ระบายข้าวไม่ง่าย เพราะต้องระมัดระวัง-โปร่งใส มั่นใจปีนี้ทำได้มากขึ้น

     - สำนักวิจัยฯมองแนวโน้ม "เงินบาท" ปีนี้ อ่อนชัดเจน มีโอกาสแตะ 33-35 บาทต่อดอลลาร์ ชี้ผลพวง "เฟด" จ่อขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่ "ญี่ปุ่น-ยุโรป-จีน" ผ่อนปรนนโยบายเพิ่ม จับตา "รัสเซีย" ปัจจัยเร่งทุนไหลออก กดเงินบาทอ่อนค่าเร็ว "สแตนชาร์ด" มองสวน คาด "เอฟดีไอ" ต่างชาติดึงบาทแข็ง สิ้นปีแตะ 31 บาท

      - โบรกเกอร์ประสานเสียง ดัชนีหุ้นไทยปี2558 เดินหน้าต่อ มีโอกาสลุ้นสถิติใหม่ 1,800 จุด หลังแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐและจีนโตต่อเนื่อง ชูรับเหมาก่อสร้าง ไอซีที และธนาคารพาณิชย์เด่นสุด ขณะที่ดัชนีหุ้นไทยปี 2558 กับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

     - กรุงศรีคอนซูมเมอร์ เปิดแผน 3 ปี รุก "ซีแอลเอ็มวี" เจาะตลาดลาวที่แรก เป้าคุ้มทุนใน 3 ปี พร้อมประเมิน "เวียดนาม" โอกาสชัดสุด เหตุระบบการเงินมีความพร้อม เล็งใช้วิธี "ซื้อกิจการ-ร่วมทุน" มองธุรกิจในประเทศโตได้ 7% ส่วนแนวโน้มสินเชื่อ คาดยังทรงตัวจากหนี้ครัวเรือนที่สูง ขณะที่ ตลาดบัตรเครดิตโตได้ 11%

*หุ้นเด่นวันนี้

    - ITD(เมย์แบงก์กิมเอ็ง)"ซื้อ"เป้า8.50บาท คาดOutperform ตลาดได้ใน 1Q58 จากปัจจัยบวก ได้แก่ คาดเซ็นสัญญารัฐบาลพม่า ม.ค.นี้เพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวาย คาดมีความคืบหน้าในการอนุมัติประทานบัตรเหมืองแร่โปรแตซที่จังหวัดอุดรธานีภายใน 1Q58 เป็นปัจจัยบวกระยะยาว คงมุมมองเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างในปี 58 เนื่องจากเป็นปีแห่งการลงทุนของภาครัฐฯทั้ง  รถไฟฟ้า,รถไฟรางคู่ไทย–จีน เชื่อ ITD จะชนะงานประมูลขนาดใหญ่ต่อเนื่อง เพราะเป็น 1 ใน 3 บริษัทรับเหมาขนาดใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญสูง คาดกำไรปกติปี 58 เติบโต +56.9% yoy เป็น 904 ล้านบาท และมี Upside Risk ที่มีนัยสำคัญ คือโครงการเหมืองโปรแตซซึ่งยังไม่รวมไว้ในประมาณการ และคิดเป็นมูลค่าแฝงใน ITD สูงถึงหุ้นละ 13.00 บาท

    - KTB(ดีบีเอสฯ)"ซื้อ"เป้า30บาท คาดสินเชื่อตลอดปี 57 มีโอกาสขยายตัวมากกว่า 7% ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่วนปี 58 คาดว่าจะสดใสต่อเนื่อง เพราะการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ และการลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวดีขึ้น ยังชอบ KTB ในประเด็นการขยายตัวของสินเชื่อจากภาครัฐและได้รับผลตอบแทนดีขึ้นจากสินเชื่อภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งหุ้น KTB ยังให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลในระดับที่สูงกว่าเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ โดยคาดการณ์ของปี 58 ไว้ที่ 4% ขณะที่ค่าเฉลี่ยของธนาคารใหญ่อยู่ที่ 3%

    - CFRESH(บังหลวง)"ซื้อ"เป้า12.70บาท คาดผลผลิตกุ้งดีขึ้นราว 20% จากการแก้ปัญหาโรคกุ้งตายด่วน (EMS) โดยสมาคมกุ้งไทย คาดว่าในปี 2015 จะสามารถผลิตกุ้งได้ 2.5-3.0 แสนตัน และจะเข้าสู่ภาวะปกติ คาดกำไรหลัก 4Q14 เติบโตสูง QoQ โดยได้ปัจจัยหนุนจากยอดขายที่เติบโตและอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นกว่า 3Q14 เนื่องจากราคากุ้ง (ขนาด 60 ตัว/กก.) ทรงตัวอยู่ในระดับ 190-210 บาท/กก. ในช่วง มิถุนายน-กันยายน ปรับประมาณการกำไรปี 2015 ลงเล็กน้อย 3% เหลือ 471 ล้านบาท (ไม่กระทบราคาเป้าหมาย) แต่คงประมาณการกำไรสำหรับปี 2016 ที่ 545 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 25% CAGR 2014-16 จากการคาดการผลผลิตกุ้งฟื้นตัวแรงในปี 2015

     - BTS(เอเซีย พลัส)"ซื้อ"เป้า12.00 บาท เห็นความคืบหน้าการร่วมมือกับ NPARK หลังผ่านมติผู้ถือหุ้น โดยเชื่อว่าจะเป็น Win-Win โดย BTS จะรับรู้กำไรพิเศษราว 2.5 พันล้านบาท ในงวด 4Q57/58 ขณะที่ระยะยาวจะเป็นปัจจัยสร้างมูลค่าเพิ่ม และต่อยอดธุรกิจอสังหาฯของ BTS

ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลงเช้านี้ เหตุวิตกการเมืองกรีซ

     ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ โดยการนำของตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่อ่อนตัวลง เนื่องจากนักลงทุนชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศกรีซ

    ดัชนี MSCI Asia Pacific Index (MXAP) ร่วงลง 0.4% สู่ระดับ 137.44 จุด เมื่อเวลา 9.03 น.ตามเวลาโตเกียว

    ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 17,325.68 จุด ลดลง 125.09 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,258.63 จุด เพิ่มขึ้น 23.95 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 23,699.19 จุด ลดลง 158.63 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,292.31 จุด ลดลง 14.95 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,921.96 จุด ลดลง 4.48 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,368.38 จุด ลดลง 2.21 จุด

     ส่วนดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,282.94 จุด เพิ่มขึ้น 52.37 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,758.43 จุด เพิ่มขึ้น 5.66 จุด

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดลบ หลัง PMI ภาคการผลิตยูโรโซนซบเซา

     ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (2 ม.ค.) หลังจากมาร์กิต อีโคโนมิคส์เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตประจำเดือนธ.ค.ของยูโรโซนขยายตัวในระดับต่ำกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้น ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจของยูโรโซน

    ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.4% ปิดที่ 341.33 จุด

     ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,764.73 จุด ลดลง 40.82 จุด หรือ -0.42% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,252.29 จุด ลดลง 20.46 จุด, -0.48% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 6,547.80 จุด ลดลง 18.29 จุด, -0.28%

     ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงหลังจากมาร์กิต อีโคโนมิคส์ เปิดเผยว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนยังคงใกล้เข้าสู่ภาวะชะงักงัน โดยอยู่ที่ระดับ 50.6 ในเดือนธ.ค. ซึ่งแม้ว่าเพิ่มจากระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือนที่ 50.1 ในเดือนพ.ย. แต่ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 50.8

    นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลภาคการผลิตที่ซบเซาของสหรัฐ โดยมาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐประจำเดือนธ.ค.ร่วงลงแตะระดับ 53.9 ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2014  จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 53.7 และจากระดับ 54.8 ในเดือนพ.ย. ขณะที่สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตประจำเดือนธ.ค.ร่วงลงแตะระดับ 55.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2014 จาก 58.7 ในเดือนพ.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 57.6

      อย่างไรก็ตาม นักยุทธศาสตร์ด้านการลงทุนหลายคนคาดการณ์ว่า ตลาดหุ้นยุโรปมีแนวโน้มที่แข็งแกร่งในปี 2558 อันเป็นผลมาจากการที่นายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบีได้ส่งสัญญาณการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ครั้งใหญ่ ด้วยการกล่าวให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ Handelsblatt ของเยอรมนีว่า เขาไม่สามารถมองข้ามความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดในยูโรโซน และยังกล่าวด้วยว่าความเสี่ยงที่อีซีบีจะไม่สามารถรักษาเสถียรภาพด้านราคาเอาไว้ได้นั้น มีสูงกว่าเมื่อ 6 เดือนก่อน ทำให้อีซีบีต้องเตรียมพร้อมในการปรับวงเงินในมาตรการ QE ขณะเริ่มต้นปี 2015 หากมีความจำเป็น

     หุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ ร่วงลง 1.3% ขณะที่หุ้นริโอทินโต และหุ้นแองโกล อเมริกัน ต่างก็ปรับตัวลงอย่างหนัก และเป็นหนึ่งในปัจจัยลบที่ฉุดดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดในแดนลบด้วย

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดลบ 18.29 จุด เหตุนักลงทุนระมัดระวังซื้อขาย

    ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (2 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายในวันแรกของปี 2558 หลังจากที่ดัชนี FTSE 100 เคลื่อนตัวอย่างผันผวนในช่วงปลายปี 2557 ขณะที่วอลุ่มการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะเวลา 30 วัน

     ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,547.80 จุด ลดลง 18.29 จุด หรือ -0.28%

   ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายและรอดูทิศทางที่ชัดเจนของตลาดในปี 2558 หลังจากดัชนี FTSE 100 เคลื่อนตัวผันผวนในช่วงปลายปี 2557

     หุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ (RBS) ร่วงลง 1.3% หลังจากสื่อยุโรปรายงานว่า RBS อาจจะถูกปรับเป็นเงินกว่า 5 พันล้านปอนด์ หรือ 7.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมีส่วนพัวพันกับการขายหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน (MBS) ในสหรัฐ ส่วนหุ้น TUI AG พุ่งขึ้น 2.3% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดในบรรดาหุ้นบวกของดัชนี FTSE 100

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดบวกเพียง 9.92 จุด เหตุวิตกศก.สหรัฐซบเซา

    ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ (2 ม.ค.) ซึ่งเป็นวันทำการวันแรกของปี 2558 ขณะที่ภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐซึ่งมีการเปิดเผยเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย รวมถึงดัชนีภาคการผลิตประจำเดือนธ.ค.ที่มีการขยายตัวต่ำกว่าคาด

    ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,832.99 จุด เพิ่มขึ้น 9.92 จุด หรือ +0.06% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,726.81 จุด ลดลง 9.24 จุด หรือ -0.20% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,058.20 จุด ลดลง 0.70 จุด หรือ -0.03%

     ในช่วงที่ตลาดเปิดทำการได้ไม่นานนั้น ดัชนีดาวโจนส์ขานรับศักราชใหม่ด้วยการพุ่งขึ้นกว่า 100 จุด ก่อนที่จะอ่อนแรงลงในระหว่างวันและปิดตลาดเกือบทรงตัว ท่ามกลางวอลุ่มการซื้อขายที่บางเบา หลังจากมีรายงานว่า ภาคการผลิตของสหรัฐชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ

   ทั้งนี้ สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยว่า ดัชนีภาคการผลิตประจำเดือนธ.ค.มีการขยายตัวต่ำกว่าคาด โดยร่วงลงแตะระดับ 55.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2014 จาก 58.7 ในเดือนพ.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 57.6

     ด้านมาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐประจำเดือนธ.ค.ร่วงลงแตะระดับ 53.9 ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2014  จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 53.7 และจากระดับ 54.8 ในเดือนพ.ย. นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลง 0.3% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3% เนื่องจากภาครัฐและภาคธุรกิจลดการใช้จ่ายในโครงการต่างๆ

    หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นแม้ว่าราคาน้ำมันดิบ WTI ตลาดนิวยอร์กยังคงชะลอตัวลงก็ตาม โดยหุ้นเรนจ์ รีซอสเซส พุ่งขึ้น 3.7% และหุ้นอีคิวที ทะยานขึ้น 2.4%

     หุ้นอินเตอร์เนชันแนล บิสิเนส แมชีนส์ (ไอบีเอ็ม) พุ่งขึ้น 1% ส่วนหุ้นเบด บาธ แอนด์ บียอนด์ ขยับขึ้น 0.7% หลังจากนักวิเคราะห์จาก Canaccord Genuity ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นดังกล่าวขึ้นสู่ระดับ "buy" จากก่อนหน้านี้ที่ระดับ "hold"

     ข้อมูลจากสำนักข่าวซินหัวระบุว่า ตลอดปี 2557 ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นทั้งสิ้น 7.5% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นติดต่อกันยาวนานถึง 6 ปี ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้น 11.4% และดัชนี NASDAQ พุ่งขึ้น 13.4% โดยดัชนีทั้ง 2 ปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 3

    นักวิเคราะห์คาดว่า นักลงทุนในตลาดการเงินจะจับตาดูความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อย่างใกล้ชิดในปีนี้ เพื่อประเมินว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 2 ม.ค. 2558

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,832.99 จุด เพิ่มขึ้น 9.92 จุด, +0.06%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,726.81 จุด ลดลง 9.24 จุด, -0.20%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,058.20 จุด ลดลง 0.70 จุด, -0.03%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,252.29 จุด ลดลง 20.46 จุด, -0.48%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,764.73 จุด ลดลง 40.82 จุด, -0.42%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,547.80 จุด ลดลง 18.29 จุด, -0.28%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 27,887.90 จุด เพิ่มขึ้น 380.36 จุด, +1.38%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,752.77 จุด ลดลง 8.48 จุด, -0.48%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,370.59 จุด เพิ่มขึ้น 5.44 จุด, +0.16%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,242.77 จุด เพิ่มขึ้น 15.82 จุด, +0.30%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 23,857.82 จุด เพิ่มขึ้น 252.78 จุด, +1.07%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,926.44 จุด เพิ่มขึ้น 10.85 จุด, +0.57%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,435.90 จุด เพิ่มขึ้น 24.90 จุด, +0.46%

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กิดขยับขึ้นเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ (2 ม.ค.) ซึ่งเป็นวันทำการวันแรกของปี 2558 ขณะที่ภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐซึ่งมีการเปิดเผยเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย รวมถึงดัชนีภาคการผลิตประจำเดือนธ.ค.ที่มีการขยายตัวต่ำกว่าคาด

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,832.99 จุด เพิ่มขึ้น 9.92 จุด หรือ +0.06% ดัชนีNASDAQ ปิดที่ 4,726.81 จุด ลดลง 9.24 จุด หรือ -0.20% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,058.20 จุด ลดลง 0.70 จุด หรือ -0.03%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อวันศุกร์ (2 ม.ค.) หลังจากมาร์กิต อีโคโนมิคส์เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตประจำเดือนธ.ค.ของยูโรโซนขยายตัวในระดับต่ำกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้น ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจของยูโรโซน

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.4% ปิดที่ 341.33 จุด 

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,764.73 จุด ลดลง 40.82 จุด หรือ -0.42% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,252.29 จุด ลดลง 20.46 จุด, -0.48% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 6,547.80 จุด ลดลง 18.29 จุด, -0.28%

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อวันศุกร์ (2 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายในวันแรกของปี 2558 หลังจากที่ดัชนี FTSE 100 เคลื่อนตัวอย่างผันผวนในช่วงปลายปี 2557ขณะที่วอลุ่มการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะเวลา 30 วัน

          ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,547.80 จุด ลดลง 18.29 จุด หรือ -0.28%

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (2 ม.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจากรัสเซีย และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) นอกจากนี้ สต็อกน้ำมันดิบที่สูงขึ้นในสหรัฐยังคงสร้างแรงกดดันให้กับภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันนิวยอร์กด้วย

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ลดลง 58 เซนต์ ปิดที่ 52.69 ดอลลาร์/บาร์เรล

          ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 91 เซนต์ ปิดที่ 56.42 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (2 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากมีข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการชะลอตัวในภาคการผลิตของสหรัฐ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวช่วยหนุนสัญญาทองคำให้สามารถปิดในแดนบวก แม้ตลาดถูกกดดันในระหว่างวันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับยูโรก็ตาม

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ปรับตัวขึ้น 2.1ดอลลาร์ หรือ 0.18% ปิดที่ 1,186.20 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 16.9 เซนต์ ปิดที่ 15.768 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 5.6 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,203.90 ดอลลาร์/ออนซ์

สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (2 ม.ค.) หลังจากนายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้ส่งสัญญาณการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ครั้งใหญ่ ซึ่งความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของประธานอีซีบีส่งผลให้ค่าเงินยูโรร่วงลงเกือบแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

          ยูโรอ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.2006 ดอลลาร์สหรัฐ จากวันทำการก่อนหน้านี้ที่ระดับ 1.2099ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลงแตะระดับ 1.5334 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5579 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะระดับ 0.8114 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8168 ดอลลาร์สหรัฐ

          ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 120.34 เยน จากวันทำการก่อนหน้านี้ที่ระดับ 119.70 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0011 ฟรังค์ จากระดับ 0.9943 ฟรังค์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.1750 ดอลลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.1618 ดอลลาร์แคนาดา

ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 771.00 จุด ลดลง 11.00 จุด, -1.41%

                        อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!