WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้าลุ้นรีบาวน์ตามภูมิภาค, เล็งยุโรปออก QE-ราคาน้ำมันฟื้น

     นายปริญทร์ กิจจาทรพิทักษ์ ผู้อำนายการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้มีโอกาสที่จะรีบาวน์ได้ในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่เช้านี้ส่วนใหญ่จะรีบาวน์ขึ้นสวนทางตลาดสหรัฐฯที่ร่วงลงเมื่อคืนที่ผ่านมา คาดว่าจะรับผลจากความคาดหวังที่ทางยุโรปจะออกมาตรการ QE เพิ่มเติม และราคาน้ำมันก็มีการฟื้นตัวขึ้นมาได้ในระยะสั้น หลังจากที่ได้อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะช่วยหนุนหุ้นในกลุ่มพลังงานในตลาดบ้านเราให้อ่อนตัวน้อยลงด้วย

     อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามราคาน้ำมันในตลาดโลกว่าจะมีเสถียรภาพหรือยัง และก็ให้ติดตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจของในประเทศและต่างประเทศด้วย

     พร้อมให้แนวรับ 1,520 จุด แนวต้าน 1,530-35 จุด

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน

                - ตลาดหุ้นนิวยอร์คล่าสุด(14 ม.ค.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,427.09 จุด ร่วงลง 186.59 จุด(-1.06%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,639.32 จุด ลดลง 22.18 จุด(-0.48%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,011.27 จุด ลดลง 11.76 จุด(-0.58%)

      - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 76.99 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 1.63 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 56.75 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 17.09 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 0.40 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 4.59 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 5.53 จุด

     - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(14 ม.ค.58)1,523.24 จุด ลดลง 11.73 จุด(-0.76%)

     - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 75.00 ล้านบาท เมื่อวันที่ 14 ม.ค.58

    - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.พ.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(14 ม.ค.58) ปิดที่ 48.48 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.59 ดอลลาร์ฯ

      - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(14 ม.ค.58)ที่ 8.05 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

       - เงินบาทเปิด 32.76 แข็งค่าเล็กน้อย รอผลประชุมธนาคารกลางหลายแห่งในสัปดาห์หน้า

       - นายกฯ ห่วงสปช.เบรกสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ทำให้รัฐบาลทำงานลำบากขึ้น สั่งกระทรวงพลังงานเร่งแจงข้อมูล ด้าน "วิษณุ" เตรียมถกสปช. ย้ำหลักการ รัฐบาลไม่จำเป็นต้องทำตามข้อเสนอสปช. "อลงกรณ์" ส่งรายงานถึงมือนายกฯสัปดาห์นี้ ขณะนักวิชาการแนะควรฟังความเห็นสปช.

      - กระทรวงพาณิชย์คงเป้าส่งออกปีนี้โต 4% โดยหวังว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวและทำให้ตลาดสินค้าไทยขยายตัวได้ แต่การคาดการณ์ของธนาคารโลกกลับประเมินว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่ำกว่าคาดการณ์เดิมที่ 3.5% เหลือ 3.3%  มีเพียงเศรษฐกิจสหรัฐฯ เท่านั้นที่ฟื้นตัว

     - นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กลุ่มผู้ผลิตสินค้าที่ได้รับอานิสงส์จากการลดราคาน้ำมันดีเซล จะปรับลดราคาสินค้าลงมาเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5% โดยวันที่ 16 ม.ค.นี้ กลุ่มน้ำมันหล่อลื่นจะปรับราคาลงเป็นกลุ่มแรก ส่วนเม็ดพลาสติก กระเบื้องมุงหลังคา เหล็กแผ่น เหล็กเส้น ปูนซีเมนต์ และปุ๋ยเคมี จะทยอยปรับลดราคาลงมาในเร็วๆ นี้

    - พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ผู้บริหารกรมการบินพลเรือน (บพ.) ไปศึกษารายละเอียดการปรับลดค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินที่ปัจจุบันนำค่าธรรมเนียมน้ำมัน (ค่าฟิวเซอร์ชาร์จ) ไปรวมไว้ในค่าโดยสาร เนื่องจากราคาน้ำมันเครื่องบินปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงคมนาคมในการดูแลผู้โดยสาร

     - ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดสินเชื่อแบงก์ปีนี้โต 7.5% โงหัวจาก 4%ในปีก่อน จากสินเชื่อธุรกิจที่กลับมาเป็นตัวขับเคลื่อนด้วยโครงการต่างๆที่ทยอยออก แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงด้านการเบิกจ่าย-โครงการรัฐ

*หุ้นเด่นวันนี้

      - NDR (บมจ.เอ็น.ดี.รับเบอร์)เทรดวันนี้วันแรกในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม บล.ทิสโก้ ประเมินมูลค่าที่เหมาะสมอ้างอิงคู่แข่งในตลาด เช่น CPR ประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของ NDR ที่ 3.7-4 บาท อ้างอิง PER 13-14 เท่าปี 15F โดยมองว่า NDR จะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่และราคาวัตถุดิบยางภายในประเทศที่ต่ำ

     NDR ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางรถจักรยานยนต์ ภายใต้ตราสินค้า "ND Rubber" และรับจ้างผลิตยางรถจักรยานยนต์ ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตรถจักรยานยนต์ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้บริษัทยังเป็นตัวแทนจำหน่ายแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์และรถยนต์ โดยจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายยางรถจักรยานยนต์ของบริษัทซึ่งมีอยู่ประมาณ 270 รายทั่วประเทศ และมีบริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ผลิตจากยาง

    - ITD(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)"ทยอยสะสม"เป้า 8.50 บาท คาดจะ Outperform ตลาดได้ใน 1Q58 เนื่องจากมีปัจจัยบวกรออยู่ ได้แก่ คาดว่าจะมีการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลพม่า ในช่วงปลายเดือน ม.ค.–ต้น ก.พ., คาดว่าจะมีความคืบหน้าในการอนุมัติประทานบัตรเหมืองแร่โปรแตซ ที่จังหวัดอุดรธานี ภายใน 1Q58 และเป็นปัจจัยบวกในระยะยาวต่อ ITD โดยคงมุมมองเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างในปี 2558 เนื่องจากเป็นปีแห่งการลงทุนของภาครัฐฯ จึงส่งผลให้มีการประมูลงานขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก เช่น รถไฟฟ้า, รถไฟฟ้ารางคู่ไทย–จีน พร้อมคาดกำไรปกติปี 2558 เติบโต +56.9% yoy เป็น 904 ล้านบาท และมี Upside Risk ที่มีนัยสำคัญ คือโครงการเหมืองโปรแตซซึ่งยังไม่รวมไว้ในประมาณการ และคิดเป็นมูลค่าแฝงใน ITD สูงถึงหุ้นละ 13 บาท

     - LH(บัวหลวง)"ซื้อ"เป้า 10.6 บาท มีมุมมองเชิงบวกต่อประเด็นการรับรู้กำไรจากการขาย Terminal 21 ที่สูงกว่าคาด เดิมคาดกำไร 1.1 พันล้านบาท แต่ผู้บริหารคาดมีแนวโน้มรับรู้กำไร 1.5 พันล้านบาท ส่งผลให้ปันผล 2H14 คาดมากกว่าคาด โดยคาดปันผลระหว่างกาลที่เหลือ จะจ่ายได้ ราว 0.35 บ./หุ้น

      - PTT(โกลเบล็ก)เป้า consensus สูงสุดที่ 436  บาท ได้รับประโยชน์จากการปรับโครงสร้างพลังงานในระยะยาว โดยการปรับขึ้นราคา NGV และ LPG ช่วยลดการขาดทุนได้ราว 8 พันลบ./ปี และมีกำไรพิเศษจาก Due การขายหุ้น BCP

    โดยเทรดค่า P/E 9.4  P/BV  1.27 เท่า ถูกกว่า SET และวานนี้ราคาน้ำมันดิบ +2.59 US/Barrel = 48.48 US/Barrel

    - HANA(ดีบีเอส วิคเคอร์ส)"ซื้อ"เป้า Consensus 45 บาท เทียบเท่ากับ P/E ปี 58 ที่ 14.15 เท่า ซึ่งมองว่าไม่ได้สูงมากสำหรับปีนี้ เพราะกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทขยายตัวสูง และมีโอกาสเติบโตได้ต่อเนื่องในปี 58 จากปริมาณการผลิตของโรงงานเกาะกงที่จะเพิ่มขึ้นตามมาในปี 59 โดยคาดกำไรหลักปี 58 จะเติบโตก้าวกระโดดถึง 32% y-o-y เป็น 2.5 พันล้านบาท (EPS 3.18 บาทต่อหุ้น) โดยแรงสนับสนุนมาจากการขยายกำลังการผลิตซึ่งโรงงาน ลำพูน 2 (LPN2) จะเริ่มเสร็จใน 1Q58 ส่วนโรงงานที่เกาะกง แล้วเสร็จในปี 59 นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์โทรศัพท์ smart phone ได้รับความนิยมสูง จึงต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่จะนำไปใช้ที่มาก

ตลาดหุ้นเอเชียเพิ่มขึ้นเช้านี้ ขานรับราคาน้ำมันดิบดีดตัว

     ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงานที่ดีดตัว หลังราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น ช่วยคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก

    ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 16,872.95 จุด เพิ่มขึ้น 76.99 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,224.07 จุด เพิ่มขึ้น 1.63 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 24,169.35 จุด เพิ่มขึ้น 56.75 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,197.32 จุด เพิ่มขึ้น 17.09 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,914.06 จุด เพิ่มขึ้น 0.40 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,330.75 จุด เพิ่มขึ้น 4.59 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,747.54 จุด เพิ่มขึ้น 5.53 จุด

     ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 2.59 ดอลลาร์ ปิดที่ 48.48 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงติดต่อกันหลายวันก่อนหน้านี้

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดร่วง 153.74 จุด วิตกศก.โลกหลังราคาทองแดงดิ่ง

      ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) โดยได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ร่วงลงอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทองแดง

      ดัชนี FTSE 100 ลดลง 153.74 จุด หรือ 2.35% ปิดที่ 6,388.46 จุด

     ตลาดอ่อนแรงลง หลังจากราคาทองแดงดิ่งลง 4.6% เมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยการร่วงลงของราคาทองแดงได้ฉุดหุ้นกลุ่มเหมืองลงด้วย

      ราคาทองแดง ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ทางเศรษฐกิจทั่วโลก ได้ดิ่งลงจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ขณะที่ธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงสู่ระดับ 3% จากเดิมที่ประเมินไว้ที่ 3.4%

      นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอก็เป็นปัจจัยถ่วงตลาดหุ้นลอนดอนด้วย โดยเมื่อคืนนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกทั่วไปร่วงลง 0.9% ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นการดิ่งลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่แล้ว ขณะที่ยอดค้าปลีกพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมภาคยานยนต์, น้ำมันเบนซิน, วัสดุก่อสร้าง และบริการด้านอาหาร ลดลง 0.4% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนพ.ย.

     ทางด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคานำเข้าดิ่งลง 2.5% ในเดือนธ.ค. จากราคาพลังงานที่ทรุดตัวลง และเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2551 ขณะที่เดือนพ.ย.ร่วงลง 1.8% โดยตัวเลขดัชนีราคานำเข้าที่อ่อนแอบ่งชี้ถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงในช่วงหลายเดือนข้าง ส่วนดัชนีราคาส่งออกปรับตัวลง 1.2% ในเดือนที่แล้ว

    หุ้นเกลนคอร์ ดิ่งลง 9.28% นำขบวนหุ้นกลุ่มบลูชิพร่วงลง ขณะที่หุ้นแองโกล อเมริกัน รูดลง 8.99% และหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน อ่อนแรงลง 5.31%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ หลังเวิล์ดแบงก์ลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก

    ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก หลังจากธนาคารโลก หรือเวิล์ดแบงก์ ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ อันเนื่องมาจากความเสี่ยงที่ตลาดการเงินทั่วโลกจะผันผวนและยูโรโซนอาจจะเผชิญภาวะเงินฝืด

    ดัชนี Stoxx Europe 600 1.48% ปิดที่ 339.67 จุด

   ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,817.08 จุด ร่วงลง 123.92 จุด หรือ -1.25% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,223.24 จุด ลดลง 67.04 จุด หรือ -1.56% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,388.46 จุด ร่วงลง 153.74 จุด หรือ -2.35%

   ภาวะการซื้อขายในตลาดยุโรปเป็นไปอย่างซบเซา หลังจากธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงสู่ระดับ 3% ซึ่งลดลง 0.4% จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมิ.ย. เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเผชิญอุปสรรคต่างๆ รวมถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับภาวะผันผวนในตลาดการเงิน, ราคาน้ำมันที่ตกต่ำจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน และความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะเงินฝืดในยูโรโซน

   สำหรับ ยูโรโซนนั้น ธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคจะขยายตัว 1.1% ในปี 2558 ซึ่งสูงกว่าปี 2557 ที่ขยายตัว 0.8% และคาดว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับ 1.6% ในปี 2559 และปี 2560

    นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ รวมถึงยอดค้าปลีกเดือนธ.ค.ร่วงลง 0.9% ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นการดิ่งลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่แล้ว และยังสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4% ขณะที่ดัชนีราคานำเข้าดิ่งลง 2.5% ในเดือนธ.ค. เนื่องจากราคาพลังงานที่ทรุดตัวลง โดยเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2551

    หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลงหลังจากราคาโลหะปรับตัวลง โดยหุ้นอันโตฟากัสต้า หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน หุ้นเกลนคอร์ รีซอสเซส และหุ้นริโอทินโต ต่างก็ร่วงลงอย่างหนัก

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดร่วง 186.59 จุด วิตกศก.โลก,ผลประกอบการแบงก์

     ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของเจพี มอร์แกนที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ รวมทั้งธนาคารโลกที่ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก และข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ

    ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,427.09 จุด ร่วงลง 186.59 จุด หรือ -1.06% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,639.32 จุด ลดลง 22.18 จุด หรือ -0.48% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,011.27 จุด ลดลง 11.76 จุด หรือ -0.58%

    ตลาดหุ้นนิวยอร์กถูกกระหน่ำขายอย่างหนัก เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐและประเทศทั่วโลก รวมทั้งผลประกอบการที่ย่ำแย่ของภาคธนาคารสหรัฐ

     เจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐเปิดเผยกำไรลดลง 6.6% ในไตรมาส 4/2557 อันเนื่องมาจากการที่ธนาคารมีค่าใช้จ่ายด้านกฎหมายมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์จากการที่รัฐบาลสหรัฐเข้าตรวจสอบกรณีที่ทางธนาคารทำผิดกฎระเบียบ นอกจากนี้  เจพี มอร์แกนยังต้องกันสำรองหนี้เสียเป็นจำนวนเงินสูงขึ้นด้วย

    ด้านธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงสู่ระดับ 3% ซึ่งลดลง 0.4% จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมิ.ย. เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเผชิญอุปสรรคต่างๆที่สกัดผลบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลง

    ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยล่าสุดนั้น รวมถึงยอดค้าปลีกเดือนธ.ค.ร่วงลง 0.9% ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นการดิ่งลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่แล้ว และยังสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4% ขณะที่ดัชนีราคานำเข้าดิ่งลง 2.5% ในเดือนธ.ค. เนื่องจากราคาพลังงานที่ทรุดตัวลง โดยเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2008

   ผลประกอบการที่ย่ำแย่ของเจพีมอร์แกนได้ฉุดหุ้นกลุ่มการเงินร่วงลง 1.4% โดยหุ้นเจพีมอร์แกนดิ่งลง 3.45% ขณะที่หุ้นธนาคารเวลส์ ฟาร์โก ร่วงลง 1.2%

    หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลงตามราคาโลหะในตลาดโลก โดยเฉพาะทองแดงที่ดิ่งลงไปถึง 5.3% โดยหุ้นฟรีพอร์ท-แมคมอร์แรน ร่วงลง 11% อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลที่ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลให้ความต้องการโลหะปรับตัวลงด้วย

    สหรัฐจะเปิดเผข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์, ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) เดือนม.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนธ.ค. และผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจเดือนม.ค.เฟดฟิลาเดลเฟีย

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 14 ม.ค.2558

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,427.09 จุด                         ลดลง 186.59 จุด     -1.06%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,639.32 จุด                     ลดลง 22.18 จุด      -0.48%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,011.27 จุด                       ลดลง 11.76 จุด      -0.58%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,388.46 จุด                    ลดลง 153.74 จุด     -2.35%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,817.08 จุด                             ลดลง 123.92 จุด     -1.25%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,223.24 จุด                         ลดลง 67.04 จุด      -1.56%

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,332.20 จุด      ลดลง 49.90 จุด      -0.93%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,353.60 จุด            ลดลง 51.10 จุด      -0.95%

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,180.23 จุด                            ลดลง 51.57 จุด      -0.56%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 16,795.96 จุด                     ลดลง 291.75 จุด     -1.71%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,913.66 จุด                         ลดลง 3.48 จุด,      -0.18%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,222.44 จุด                     ลดลง 12.86 จุด      -0.40%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 24,112.60 จุด                              ลดลง 103.37 จุด     -0.43%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,490.88 จุด            เพิ่มขึ้น 91.88 จุด     +1.24%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,159.67 จุด     ลดลง 54.69 จุด      -1.05%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,742.01 จุด                      ลดลง 6.89 จุด       -0.39%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,326.16 จุด                      ลดลง 14.91 จุด      -0.45%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 27,346.82 จุด                        ลดลง 78.91 จุด      -0.29%

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของเจพี มอร์แกนที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ รวมทั้งธนาคารโลกที่ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก และข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,427.09 จุด ร่วงลง 186.59 จุด หรือ -1.06% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,639.32 จุด ลดลง 22.18 จุด หรือ -0.48% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,011.27 จุด ลดลง 11.76 จุด หรือ -0.58%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก หลังจากธนาคารโลก หรือเวิล์ดแบงก์ ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ อันเนื่องมาจากความเสี่ยงที่ตลาดการเงินทั่วโลกจะผันผวนและยูโรโซนอาจจะเผชิญภาวะเงินฝืด

          ดัชนี Stoxx Europe 600 1.48% ปิดที่ 339.67 จุด

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,817.08 จุด ร่วงลง 123.92 จุด หรือ -1.25% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,223.24 จุด ลดลง 67.04 จุด หรือ -1.56% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,388.46 จุด ร่วงลง 153.74 จุด หรือ -2.35%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) โดยได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ร่วงลงอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทองแดง

          ดัชนี FTSE 100 ลดลง 153.74 จุด หรือ 2.35% ปิดที่ 6,388.46 จุด

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงติดต่อกันหลายวันก่อนหน้านี้ โดยสัญญาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นปิดในแดนบวกแม้ว่าสหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นเกินคาดก็ตาม

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 2.59 ดอลลาร์ ปิดที่ 48.48 ดอลลาร์/บาร์เรล

          ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน พุ่งขึ้น 2.1 ดอลลาร์ ปิดที่ 48.69  ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) ซึ่งเป็นการปิดบวกติดต่อกัน 4 วันทำการ เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก รวมทั้งรายงานยอดค้าปลีกที่ซบเซาและการร่วงลงของตลาดหุ้นนิวยอร์กนั้น ได้ช่วยหนุนแรงซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 10 เซนต์ หรือ 0.01% ปิดที่ 1,234.50 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 16.8 เซนต์ ปิดที่ 16.988 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 8.8 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,239.00 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) หลังจากที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกและดัชนีราคานำเข้า

          ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1778 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1764 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5220 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5146 ดอลลาร์

          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 117.30 เยน เทียบกับระดับ 117.73 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0197 ฟรังค์ จาก 1.0209 ฟรังค์

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8148 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8154 ดอลลาร์

ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 757.00 จุด ลดลง 5.00 จุด, -0.66%

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!