WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ไซด์เวย์ รอดูการลงทุนตปท.หลังประชุม ECB สัปดาห์นี้

    นายอภิชาต ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคระห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้จะแกว่งตัวไซด์เวย์ในกรอบไม่มากนัก เพราะตลาดยังรอดูทิศทางการลงทุนของต่างชาติ ภายหลังการประชุมธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)ในวันที่ 5 มี.ค.นี้ ขณะที่ต่างชาติเริ่มชะลอการขายลงหลังเมื่อวานนี้ขายสุทธิเพียง 1.21 ล้านบาท ประกอบกับตลาดหุ้นไทยจะหยุดทำการ 1 วันในพรุ่งนี้ด้วย

   ส่วนการที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวขึ้นอย่างสดใสเมื่อวานนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการตอบรับต่อการที่ทางการจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ตลาดหุ้นไทยไม่ได้ตอบรับต่อประเด็นดังกล่าวมากนักตั้งแต่การซื้อขายเมื่อวานนี้ เนื่องจากตลาดยังคงมีความกังวลต่ออุปสงค์ภายในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยเฉพาะสินเชื่อของกลุ่มแบงก์ในเดือนม.ค.ที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า รวมถึงงบประมาณของภาครัฐที่ออกมาล่าช้า และความไม่ชัดเจนต่อการประมูลโครงการ 4G ตลอดจนการเลื่อนเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อรัฐบาลในการเดินหน้าเศรษฐกิจประเทศลดน้อยลง

    นอกจากนี้ ภาคการส่งออกของไทยที่ยังติดลบ สวนกับตลาดที่คาดว่าจะมีการเติบโตนั้น ทำให้ตลาดมองว่าแรงหนุนจากการส่งออกจะลดลง ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจของไทยในปีนี้จะเติบโตได้ไม่เป็นไปตามเป้าที่ราว 4% ทำให้ตลาดหุ้นไทย underperform ตลาดหุ้นอื่นในช่วงที่ผ่านมา

พร้อมให้แนวรับบริเวณ 1,570 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่บริเวณ 1,590-1,595

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน

     -ตลาดหุ้นนิวยอร์คล่าสุด(2 มี.ค.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 18,288.63 จุด เพิ่มขึ้น 155.93 จุด(+0.86%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,008.10 จุด เพิ่มขึ้น 44.57 จุด(+0.90%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,117.39 จุด เพิ่มขึ้น 12.89 จุด(+0.61%)

   - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 83.64 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 18.59 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 97.18 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 26.70 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 5.69 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 12.67 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 3.30 จุด

     - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(2 มี.ค.58) 1,582.14 จุด ลดลง 4.87 จุด(-0.31%)

     - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1.21 ล้านบาท เมื่อวันที่ 2 มี.ค.58

     - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(2 มี.ค.58) ปิดที่ 49.59 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 17 เซนต์

    - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(2 มี.ค.58)ที่ 9.49 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

                - เงินบาทเปิด 32.35/36 อ่อนค่าจากปิดตลาดช่วงเย็นวานนี้ โดยเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค รอปัจจัยใหม่ที่ส่งผลต่อค่าเงินเข้ามา

                - ธปท.รายงานข้อมูลสินเชื่อของสถาบันการเงินรับฝากเงินในระบบล่าสุดณสิ้นเดือนม.ค.ที่ผ่านมาพบว่าขยายตัวลดลงอยู่ที่ 4.3% จาก 4.5% ในเดือนก่อนซึ่งจากข้อมูลสินเชื่อใหม่และการออกตราสารหนี้และทุนในระยะสั้นยังไม่เห็นการเพิ่มขึ้นในแง่การลงทุนมีเพียงการขยายตัวจากสินเชื่อครัวเรือนที่ปล่อย โดยธนาคารเฉพาะกิจของรัฐเป็นหลักส่วนสินเชื่อที่ปล่อยโดยธนาคารพาณิชย์เร่งตัวขึ้นเพียงเล็กน้อยและส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค

                - ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ(ซูเปอร์บอร์ด)ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเมื่อวันที่ 2 มี.ค.เห็นชอบให้ปรับปรุงการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจโดยมอบให้บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ(โฮลดิ้ง)และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)เป็นผู้ดูแล

                - นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(เงินเฟ้อ)เดือนก.พ.2558 เท่ากับ 106.15 ลดลง 0.52% เป็นการติดลบต่อเนื่อง 2 เดือนและติดลบสูงสุดในรอบ 5 ปี 5 เดือนส่งผลให้ 2เดือนแรกของปี 2558 เงินเฟ้อหดตัว 0.47% เทียบกับปีก่อน

                - แบงก์ชาติเผยผลการสำรวจภาคธุรกิจล่าสุด ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการยังคงรอแรงขับเคลื่อนหลักจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยโดยรวมและการลงทุนภาครัฐ ธปท.ห่วงถ้าส่วนนี้ยังไม่เกิดกระทบการลงทุนเอกชนซบเซาหรือเลื่อนออกไปอีก พบธุรกิจผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค เสื้อผ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์ อสังหาริมทรัพย์ยังรอการฟื้นตัวอุปสงค์ใน-ต่างประเทศ ขณะที่ธุรกิจโทรคมนาคม สื่อสาร อสังหาริมทรัพย์บางส่วนรอความคืบหน้าลงทุนภาครัฐ

                - กกร.ถกวันนี้(3 มี.ค.)เตรียมหั่นเป้าส่งออกจากที่คาดการณ์ไว้ 3.5% แนวโน้มเหลือไม่เกิน 2.5% หลังตลาดหลักและตลาดรองหดตัวหนักทั้งจีน ญี่ปุ่น ยุโรป รัสเซีย ประเมินไตรมาส 1 ส่งออกส่อติดลบ 2%

*หุ้นเด่นวันนี้

                - SIRI (เคเคเทรด) "ซื้อ"มองงานในมือปัจจุบันที่สามารถบันทึกรายได้ในปี 58 ได้ราว 2.1 หมื่นล้านบาทเมื่อเทียบกับรายได้ที่ประมาณการสามารถรองรับในสัดส่วน 65% โดยคาดผลประกอบการของ SIRI จะโดดเด่นในข่วง 2H58 ขณะที่ในปี 2559 มีงานในมือรองรับแล้ว 1.2 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 35% ของประมาณการทั้งปี โดยยังคงประมาณการเดิมรายได้ปี 58 เดิมที่ 3.3 หมื่นล้านบาท คาดยอดขายที่เกิดขึ้นระหว่างปีนอกจากโครงการใหม่ที่เปิดตัว ยังมีสินค้าสินค้ารอการขายจากแนวราบมูลค่า 3.9 หมื่นล้านบาท และคอนโดมีเนียม 7 พันล้านบาทที่สามารถขายและบันทึกรายได้ภายในปีซึ่งจะช่วยสนับสนุนรายได้

                - TPIPL (เมย์แบงก์ กิมเอ็งฯ) "TRADING BUY" มองกำไรปี 2558 คาดจะดีขึ้นเป็น 2,143 ล้านบาท (+61%YoY)  และ จะโดดเด่นอย่างมากในปี 2559 เท่ากับ 3,836 ล้านบาท (+79%YoY) รับกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ใหม่ 4.5 ล้านตัน หรือ เพิ่มขึ้น 50% และ โรงไฟฟ้าขยะได้ขายไฟเข้าระบบได้ adder 3.5 บาท จำนวน 18 MW เริ่ม 16 ม.ค.ที่ผ่านมา และ อีก 55 MW จะเริ่มในกลางปี 2558 นี้  นอกจากนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ตอบรับ TPIPL (กำลังจะเซ็น PPA) ขายไฟเข้าระบบ เพิ่มเติมอีก 90 MW จากกำลังการผลิต 100 MW โดยมีกำหนดจะขายไฟเข้าระบบได้ประมาณ ต้นปี 2560  ใช้เงินลงทุนประมาณ 3.2 พันล้านบาท

                - TTCL (ธนชาต) "ซื้อ" คาดว่าผลการดำเนินงานของ TTCL จะฟื้นตัวในปีนี้ เนื่องจากไม่มีผลขาดทุนจากโครงการในกาตาร์อีก ขณะที่รายได้ส่วนใหญ่ที่จะถูกรับรู้ในปี 2015 น่าจะมาจากโครงการโรงไฟฟ้า 5 โครงการในประเทศไทย และโครงการ RAPID ในมาเลเซีย เนื่องจากมีประสบการณ์ในประเทศเหล่านี้ เราจึงไม่คาดว่า TTCL จะมีผลขาดทุนจากโครงการเหล่านี้ นอกจากนี้น่าจะมีกำไรมากขึ้นจากการเริ่มดำเนินงานของเฟส 3 ของโรงไฟฟ้าขนาด 120MW ใน 2Q15

                - ITD (เมย์แบงก์ กิมเอ็งฯ) "TRADING BUY"มีงานในมือและกำลังจะเซ็นสัญญาร่วม 249,604 ล้านบาท สามารถรองรับรายได้ถึง 5-6 ปีหนุนให้ยังมีรายได้สูงต่อเนื่อง ในอนาคตจะมีแผน 8 ปี ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของไทยใช้เงินลงทุนร่วม 3 ล้านล้านบาทจะช่วยเพิ่มงานในมืออีกมาก โครงการสำคัญที่จะช่วยหนุนผลประกอบการในอนาคต คือ โครงการโปแตสที่จังหวัดอุดรกำลังรอประทานบัตรอย่างเป็นทางการ และโครงการทวายเฟสแรกจะมีการตั้งนิคมอุตสาหกรรม คาดจะมีการเซ็นสัญญากลางมี.ค.นี้

ตลาดหุ้นเอเชียเพิ่มขึ้นเช้านี้ ขานรับดาวโจนส์ปิดทำนิวไฮ

                ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ โดยได้รับปัจจัยหนุนจากดัชนีดาวโจนส์ที่ปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อคืนนี้ ขานรับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.พ.ของสหรัฐที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง

   ดัชนี MSCI Asia Pacific เพิ่มขึ้น 0.1% แตะที่ระดับ 146.31 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น.ตามเวลาโตเกียว

   ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 18,910.52 จุด เพิ่มขึ้น 83.64 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,628.06 จุด เพิ่มขึ้น 26.70 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,002.50 จุด เพิ่มขึ้น 5.69 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,416.56 จุด เพิ่มขึ้น 12.67 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,820.43 จุด เพิ่มขึ้น 3.30 จุด

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : หุ้นพลังงานฉุดฟุตซี่ปิดลบ 6.02 จุด

  ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (2 มี.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวัง ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงตามการปรับตัวลงของราคาน้ำมัน

   ดัชนี FTSE 100 ลดลง 6.02 จุด หรือ 0.09% ปิดที่ 6,940.64 จุด ตลาดได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแรง หลังสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยผลสำรวจที่แสดงให้เห็นว่า ดัชนีภาคการผลิตในเดือนก.พ.ลดลงแตะ 52.9 จาก 53.5 ในเดือนม.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคการผลิตของสหรัฐมีการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 1 ปี

   ทางด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงในเดือนม.ค. ซึ่งบ่งชี้ถึงท่าทีระมัดระวังของครัวเรือนอเมริกัน แม้ว่าราคาน้ำมันดิ่งลง และการจ้างงานทรงตัวก็ตาม โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง 0.2% ในเดือนม.ค

   ส่วนการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงานก็เป็นปัจจัยที่ถ่วงตลาด หลังจากราคาน้ำมันที่ตลาดนิวยอร์กปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ จากรายงานที่ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากสหรัฐและกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เพิ่มสูงขึ้น

    หุ้นทูลโลว์ ออยล์ ดิ่งลง 7.75%  นำหุ้นกลุ่มบลูชิพร่วงลง ขณะที่หุ้นไชร์ ปรับตัวลง 2.18%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ เหตุวิตก PMI ประเทศยูโรโซนชะลอตัว

     ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (2 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน หลังจากมีรายงานว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของประเทศยูโรโซนชะลอตัวลง

    ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.23% ปิดที่ 391.29 จุด 

   ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,917.32 จุด ลดลง 34.16 จุด, -0.69% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดวันทำการล่าสุดที่ 11,410.36 จุด เพิ่มขึ้น 8.70 จุด, +0.08% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 6,940.64 จุด ลดลง 6.02 จุด, -0.09%

   ตลาดหุ้นยุโรปอ่อนแรงลงหลังจากผลสำรวจระบุว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของกลุ่มยูโรโซนในเดือนก.พ.อยู่ที่ 51.0 ซึ่งลดลงจากรายงานเบื้องต้นที่ 51.1

   ส่วนดัชนี PMI ภาคการผลิตของเยอรมนีในเดือนก.พ.ขยับขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 51.1 จาก 50.9 ในเดือนม.ค. และดัชนี PMI ภาคการผลิตของฝรั่งเศสในเดือนก.พ.ปรับตัวลงแตะ 47.6 จาก 49.2 ในเดือนม.ค.

    อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงไม่มากนัก เพราะได้แรงหนุนจากข่าวธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเริ่มดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในเดือนนี้ ตามมติในที่ประชุมเมื่อเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ซึ่งระบุว่า ECB จะซื้อพันธบัตรจำนวน 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน จนถึงเดือนก.ย.ปีหน้า โดยเริ่มต้นในเดือนมี.ค.นี้

    ทั้งนี้ ECB มีเป้าหมายที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ใกล้ระดับ 2% ในระยะกลาง โดย ECB จะซื้อพันธบัตรของรัฐบาลหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงกรีซ

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 2 มี.ค.2558

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 18,288.63 จุด                              เพิ่มขึ้น 155.93 จุด      +0.86%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 5,008.10 จุด                          เพิ่มขึ้น 44.57 จุด       +0.90%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,117.39 จุด                            เพิ่มขึ้น 12.89 จุด       +0.61%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,940.64 จุด                        ลดลง 6.02 จุด         -0.09%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,410.36 จุด                               เพิ่มขึ้น 8.70 จุด        +0.08%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,917.32 จุด                             ลดลง 34.16 จุด        -0.69%

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,926.30 จุด         เพิ่มขึ้น 27.80 จุด       +0.47%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,958.90 จุด                เพิ่มขึ้น 30.10 จุด       +0.51%

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,601.36 จุด                               ลดลง 20.74 จุด        -0.22%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 18,826.88 จุด                        เพิ่มขึ้น 28.94 จุด       +0.15%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,996.81 จุด                            เพิ่มขึ้น 11.01 จุด       +0.55%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,336.28 จุด                         เพิ่มขึ้น 25.98 จุด       +0.78%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,773.92 จุด                เพิ่มขึ้น 43.35 จุด       +0.56%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 24,887.44 จุด                                  เพิ่มขึ้น 64.15 จุด       +0.26%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,477.83 จุด         เพิ่มขึ้น 27.54 จุด       +0.51%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,817.13 จุด                          ลดลง 4.08 จุด         -0.22%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,403.89 จุด                          เพิ่มขึ้น 1.03 จุด        +0.03%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 29,459.14 จุด                            เพิ่มขึ้น 97.64 จุด       +0.33%

ดัชนีดาวโจนส์ และดัชนี S&P 500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อคืนนี้ (2 มี.ค.) ขณะที่ดัชนี NASDAQ ปิดที่เหนือระดับ 5,000 จุดเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี เนื่องจากตลาดขานรับธนาคารกลางจีนที่ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.พ.ของสหรัฐที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 18,288.63 จุด พุ่งขึ้น 155.93 จุด หรือ +0.86% ดัชนีNASDAQ ปิดที่ 5,008.10 จุด เพิ่มขึ้น 44.57 จุด หรือ +0.90% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,117.39 จุด เพิ่มขึ้น 12.89 จุด หรือ +0.61%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (2 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน หลังจากมีรายงานว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของประเทศยูโรโซนชะลอตัวลง 

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.23% ปิดที่ 391.29 จุด

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,917.32 จุด ลดลง 34.16 จุด, -0.69% ดัชนี DAXตลาดหุ้นเยอรมันปิดวันทำการล่าสุดที่ 11,410.36 จุด เพิ่มขึ้น 8.70 จุด, +0.08% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 6,940.64 จุด ลดลง 6.02 จุด, -0.09%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (2 มี.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวัง ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงตามการปรับตัวลงของราคาน้ำมัน

          ดัชนี FTSE 100 ลดลง 6.02 จุด หรือ 0.09% ปิดที่ 6,940.64 จุด

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (2 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำพุ่งขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการก่อนหน้านี้

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 4.90 ดอลลาร์ หรือ 0.40% ปิดที่ระดับ 1,208.20 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 10.70 เซนต์ ปิดที่ 16.451 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 4.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,189.90 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 11.60 ดอลลาร์ ปิดที่ 831.10 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (2 มี.ค.) หลังจากมีรายงานว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากสหรัฐ และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ปรับตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ 

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ลดลง 17 เซนต์ ปิดที่ 49.59 ดอลลาร์/บาร์เรล

          สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 3.04 ดอลลาร์ ปิดที่ 59.54 ดอลลาร์/บาร์เรล

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินหลักอื่นๆเมื่อคืนนี้ (2 มี.ค.) ขณะที่ยังคงมีการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐออกมาไม่สดใสนัก

          ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1188 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1193 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5365 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5434 ดอลลาร์สหรัฐ

          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 120.15 เยน เทียบกับระดับ 119.68 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9596 ฟรังก์ จาก 0.9542 ฟรังก์

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7769 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7811 ดอลลาร์

ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 548.00 จุด เพิ่มขึ้น 8.00 จุด, +1.48%

อินโฟเควสท์

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!