WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้าแกว่ง Sideway Down ปัจจัยนอกปท.ไม่เอื้อ-รอผลประชุมกนง.

      นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะซิกแซกลง ในลักษณะของการแกว่ง Sideway Down เนื่องจากยังมีความกังวลธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)อาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปีนี้ ดูได้จากเงินดอลลาร์สหรัฐฯและพันธบัตรสหรัฐฯที่มีการขยับขึ้นไปเรื่อย ๆ ขณะที่ราคาทองและราคาน้ำมันก็ปรับตัวลงเรื่อย ๆ โดยราคาทองได้ปรับตัวลงมา 7 วันแล้ว

     นอกจากนี้ วันนี้กรีซก็จะมีการยื่นแผนปฏิรูปเศรษฐกิจให้กับทรอยก้า ซึ่งทางทรอยก้าอาจจะไม่เชื่อมั่น และถ้าไม่อนุมัติก็จะทำให้กรีซไม่ได้เงินกู้ ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในแดนลบ ยกเว้นตลาดญี่ปุ่นและตลาดจีนที่อยู่ในแดนบวก โดยตลาดญี่ปุ่นรับผลดีจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นทำให้เงินเยนอ่อนค่าลง ส่วนตลาดจีนตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาน่าจะมีการผ่อนปรนมาตรการเศรษฐกิจเพิ่มเติม

    ส่วนบ้านเราวันนี้ก็จะมีการประชุมกนง. ซึ่งคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2% ทั้งนี้ตลาดฯยังขาดปัจจัยหนุน พร้อมให้แนวรับ 1,530 จุด หากรีบาวน์ไม่ได้ก็จะมีแนวรับถัดไปที่ 1,515 จุด ส่วนแนวต้านให้ไว้ที่ 1,550 จุด

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน

                -ตลาดหุ้นนิวยอร์คล่าสุด(10 มี.ค.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,662.94 จุด ร่วงลง 332.78 จุด(-1.85%), ดัชนี

                NASDAQ ปิดที่ 4,859.79 จุด ลดลง 82.65 จุด(-1.67%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,044.16 จุด ลดลง 35.27 จุด(-1.70%)

                - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ ลดลง 60.24 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 3.52 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ ลดลง 89.88 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ ลดลง 33.25 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ ลดลง 13.73 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ ลดลง 17.59 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ ลดลง 6.26 จุด

                - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(10 มี.ค.58)1,531.04 จุด ลดลง 28.67 จุด(-1.84%)

                - นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 924.91 ล้านบาท เมื่อวันที่ 10 มี.ค.58

                - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(10 มี.ค.58) ปิดที่ 48.29 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 1.71 ดอลลาร์

                - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(10 มี.ค.58)ที่ 9.68 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

                - เงินบาทเปิด 32.70/71 เกาะติดผลประชุมกนง.บ่ายนี้

                - "ศุภวุฒิ" แนะ "แบงก์ชาติ" คิดนอกตำรา อัดยาแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ ย้ำเศรษฐกิจโตได้ต้องพึ่งส่งออก เหตุมีสัดส่วนประมาณ 60% ของจีดีพี ชี้ค่าเงินมีส่วนสำคัญ ระบุลงทุนภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อย ขณะที่ "นายกฯ" ยืนยันไม่ก้าวก่ายความเห็น กนง. หวั่นลดดอกเบี้ยเร็ว ไม่มีเครื่องมือดูแลยามจำเป็น

                - "ประยุทธ์" จี้คลังประชาสัมพันธ์เก็บภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยันรัฐจำเป็นเก็บภาษี ชี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่ห่วงฐานคะแนนเสียง "คลัง" เตรียมประชาสัมพันธ์สร้างแนวร่วมประชาชน หลังเกิดกระแสคัดค้านร่างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยันอัตราจัดเก็บจริงต่ำมาก พร้อมพิจารณาเกณฑ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมให้ผู้ที่มีบ้านหลังแรก เตรียมเสนอครม. 17 มี.ค.นี้ ด้าน "แบงก์กรุงเทพ" รับกระทบจิตวิทยาระยะสั้นต่อลูกค้า ส่งผลชะลอตัดสินใจซื้อบ้าน

                - ครม.อนุมัติร่าง พ.ร.บ.สำนักงานสลาก กินแบ่งรัฐบาล เพิ่มช่องทางจำหน่ายให้หลากหลาย แก้ลำ "รวมเลข" ชุดขายราคาแพง พร้อมกันเงิน 5% ยอดขายแต่ละงวด ตั้งกองทุนรับซื้อเลขไม่นิยม แก้ปัญหาผู้ค้าขายเกินราคา อ้างต้องรับความเสี่ยงไว้ "วิสุทธิ์" เชื่อคุมราคาขายคู่ละ 80 บาท ขณะที่ "ประยุทธ์" สั่งดูข้อกฎหมายนำเครื่องอัตโนมัติขายสลากฯ เพิ่ม

                - "สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์" ปลัดกระทรวงคมนาคม เผยที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร จัดการระบบตั๋วร่วมเห็นชอบให้ จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการตั๋วร่วม โดยการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่าง รัฐกับเอกชน หรือ PPP 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ภาครัฐ บริษัทเอกชนผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้า และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการระบบ โดยภาครัฐถือหุ้นใหญ่ไม่เกิน 50%

                - นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า การเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ (ต.ค. 2557-ก.พ. 2558) สามารถเบิกจ่ายได้ 8.05 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 17.92% ของงบลงทุน 4.49 แสนล้านบาท ถือว่าสูงที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับปีก่อนสามารถเบิกจ่ายได้ 7.61% เท่านั้น

*หุ้นเด่นวันนี้

                - INTUCH(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)“ทยอยสะสม"เป้า 114 บาท คาดว่าหุ้นที่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง จะเป็นตัวเลือกที่ดีเพื่อพักเงินภายใต้ภาวะตลาดที่ผันผวน จาก Dollar Index ที่แข็งค่าทำระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี และส่งผลลบต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และ INTUCH จะขึ้น XD เงินปันผล 2H57 หุ้นละ 2.23 บาท วันที่ 31 มี.ค. คิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผลในเกณฑ์ดีที่ 2.8% พร้อมคาดการณ์เงินปันผลปี 2558 หุ้นละ 5.29 บาท คิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผล 6.8%

                - BLA(ธนชาต)“ซื้อ"เป้า 57.50 บาท และแนวต้าน 50 บาท ผลการดำเนินงานผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วใน 3Q14 ขณะที่ผลการดำเนินงาน 4Q เริ่มกลับมามีกำไรแล้ว และคาดกำไรโตแกร่ง +72% ที่ 5.3 พันล้านบาท, ด้วย ROE ที่ฟื้นตัวจากระดับ 11% ในปี 2014 เป็น 17-21% ในปี 2015-2016 ทำให้ Trading Range ของ BLA ที่บริเวณ 42-67 บาท ทำให้ที่ระดับปัจจุบันมี Reward to Risk ที่น่าสนใจ, ราคาหุ้นปรับลดลงแม้ประกาศกำไร 4Q14 ดีกว่าคาดเนื่องจากกังวล Bond Yield ที่ปรับลดลง แสดงว่าราคาหุ้นปรับลดลงตอบรับปัจจัยลบไปแล้ว หาก กนง.คงดอกเบี้ย คาดว่าจะเป็นปัจจัยหนุนการ “ฟื้นตัว" ของราคาหุ้น

                - AH(เคทีบี)"ซื้อ"เป้า 17 บาท ยังคงประเมินยอดการผลิตรถยนต์ในปี 2558 ราว 2-2.1 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 6-12% ซึ่งคาดว่าจะเห็นการเติบโตทั้งยอดขายรถยนต์ในประเทศและการส่งออก โดยจะแบ่งเป็นผลิตเพื่อส่งออก 55% และขายในประเทศ 45% สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2558 ยังคงคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวขึ้น แต่ปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิลงเล็กน้อยราว 7% เป็น 492 ล้านบาท ยังเติบโต 34% YoY โดยปรับลดกำไรเนื่องจากผลการดำเนินงานในปี 2557 ที่ต่ำกว่าคาด โดยปรับลดคาดการณ์อัตรากำไรขั้นต้นลงเหลือ 5% จากเดิม 5.4% แต่ยังสูงกว่าปีก่อนที่ 4.2% สำหรับภาพรวมกำไรสุทธิปี 2558 ที่คาดว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น จะเป็นไปตามทิศทางเดียวกันยอดการผลิตรถยนต์ที่ฟื้นตัว และธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในประเทศมาเลเซียที่คาดว่ายังโตดี

ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลงเช้านี้ หลังตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดิ่งหนัก

      ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ โดยได้รับปัจจัยถ่วงจากตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดร่วงลงกว่า 300 จุดเมื่อคืนนี้ เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่าการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มรายได้ของบริษัทข้ามชาติ

     ดัชนี MSCI Asia Pacific ร่วงลง 0.4% สู่ระดับ 142.17 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น.ตามเวลาโตเกียว

     ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 18,604.87 จุด ลดลง 60.24 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,289.59 จุด เพิ่มขึ้น 3.52 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 23,807.10 จุด ลดลง 89.88 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,503.28 จุด ลดลง 33.25 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,971.04 จุด ลดลง 13.73 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,380.67 จุด ลดลง 17.59 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,783.47 จุด ลดลง 6.26 จุด

    ทั้งนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กดิ่งลงอย่างหนัก หลังจากดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ 6 สกุลตะกร้าเงิน พุ่งขึ้น 0.32% แตะที่ 94.559 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2546 โดยดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาด

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : หุ้นพลังงาน,เหมือง ฉุดฟุตซี่ปิดร่วง 173.63 จุด

    ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (10 มี.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงอย่างหนักของหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มเหมืองแร่ หลังราคาน้ำมันปรับตัวลง

    ดัชนี FTSE 100 รูดลง 173.63 จุด หรือ 2.52% ปิดที่ 6,702.84 จุด

    หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง หลังจากภาวะอุปทานที่มากเกินไปและอุปสงค์ที่อ่อนแอ รวมทั้งการแข็งค่าของดอลลาร์ ได้ฉุดสัญญาน้ำมันดิบที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้

    หุ้นทูลโลว์ ออยล์ และหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ต่างร่วงลงกว่า 4% ขณะที่หุ้นกลุ่มเหมือง เช่น หุ้นอันโตฟากัสตา และหุ้นแองโกล อเมริกัน ต่างดิ่งลงกว่า 5%

    นอกจากนี้ ตลาดหุ้นลอนดอนยังเผชิญปัจจัยถ่วงจากการปรับตัวลง 3% ของหุ้นพรูเดนเชียล หลังจากบริษัทยืนยันว่าซีอีโอของบริษัทจะก้าวลงจากตำแหน่งหลังจากบริหารงานมา 6 ปี เพื่อไปร่วมงานกับเครดิต สวิส กรุ๊ป เอจี

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นพลังงานร่วง,วิตกเฟดขึ้นดบ. ฉุดตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ

   ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (10 มี.ค.) ซึ่งเป็นการปิดลบติดต่อกัน 2 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกร่วงลง นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้

   ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.9% ปิดที่ 389.66 จุด

    ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,881.95 จุด ลดลง 55.25 จุด หรือ -1.12% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,500.38 จุด ลดลง 81.73 จุด หรือ -0.71% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,702.84 จุด ลดลง 173.63 จุด หรือ -2.52%

    หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง โดยหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ หุ้นบีจีกรุ๊ป และหุ้นบีพี ต่างก็ร่วงลงกว่า 3% หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลง อันเนื่องมาจากข้อมูลที่บ่งชี้ว่าอุปทานน้ำมันในตลาดโลกมีอยู่มากเกินไป

     นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังจากสหรัฐเปิดเผยว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 295,000 ตำแหน่ง มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 240,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานลดลงแตะ 5.5% จากระดับ 5.7% ในเดือนม.ค.

    หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง นำโดยหุ้นเครดิต สวิส ที่ดิ่งลงอย่างหนักถึง 7.8% และหุ้นพรูเดนเชียล ร่วงลง 3.1% หลังจากมีรายงานว่านายทีดเจน เธียม ซีอีโอของพรูเดนเชียล จะเข้ารับตำแหน่งซีอีโอของเครดิต สวิส แทนนายแบรดี ดูแกน ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย.

    นักลงทุนจับตาดูกรีซซึ่งจะจะเสนอแผนปฏิรูปเศรษฐกิจต่อสหภาพยุโรป (EU), ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) พิจารณาในวันพุธ ขณะที่มีรายงานว่าทางกลุ่มเจ้าหนี้ยังไม่ยอมรับแผนการปฏิรูปดังกล่าว

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ดิ่งเหว 332.78 จุด วิตกดอลล์แข็ง,เจรจากรีซไม่คืบ

    ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 300 จุดเมื่อคืนนี้ (10 มี.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่าการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มรายได้ของบริษัทข้ามชาติ นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลต่อสถานการณ์ด้านการเงินของกรีซ หลังจากมีข่าวว่ากลุ่มเจ้าหนี้ยังไม่ยอมรับแผนปฏิรูปเศรษฐกิจของกรีซ

    ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,662.94 จุด ร่วงลง 332.78 จุด หรือ -1.85% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,044.16 จุด ลดลง 35.27 จุด หรือ -1.70% และดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,859.79 จุด ลดลง 82.65 จุด หรือ -1.67%

     ตลาดหุ้นนิวยอร์กดิ่งลงอย่างหนัก หลังจากดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ 6 สกุลตะกร้าเงิน พุ่งขึ้น 0.32% แตะที่ 94.559 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2546 โดยดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาด

    ขณะที่ สกุลเงินยูโรดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 12 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ จากการที่ ECB ดำเนินมาตรการผ่อนคลายสภาพคล่อง (QE) ด้วยการซื้อพันธบัตร 6 หมื่นล่านยูโรในเดือนนี้

    นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านการเงินของกรีซ โดยกรีซจะเสนอแผนปฏิรูปเศรษฐกิจต่อสหภาพยุโรป (EU), ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) พิจารณาในวันพุธ อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าทางกลุ่มเจ้าหนี้ยังไม่ยอมรับแผนการปฏิรูปดังกล่าว

     ด้านนายวูล์ฟกัง ชอยเบิล รมว.คลังเยอรมนี กล่าวเมื่อวานนี้ว่า จะไม่มีการมอบเงินช่วยเหลือให้กับกรีซ จนกว่ากลุ่มสถาบันเจ้าหนี้จะเห็นพ้องกันว่ากรีซได้ยื่นแผนปฏิรูปเศรษฐกิจตามที่ได้ให้สัญญาไว้

    หุ้นควอลคอมม์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิพ ร่วงลง 1.13% เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไร หลังจากราคาหุ้นพุ่งขึ้นแข็งแกร่งก่อนหน้านี้ ภายหลังจากที่บริษัทประกาศแผนการซื้อคืนหุ้นมูลค่า 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และเพิ่มการจ่ายเงินปันผลอีก 14%

     หุ้นอเมริกัน แอร์ไลน์ส ดิ่งลง 2.5% และหุ้นยูไนเต็ด คอนติเนนตัล โฮลดิงส์ ร่วงลง 2.3% หลังจากทั้งสองบริษัทรายงานว่าจำนวนผู้โดยสารปรับตัวลดลงในเดือนก.พ.

    นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงดุลงบประมาณเดือนก.พ.ของรัฐบาลกลางสหรัฐ, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนก.พ.สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนม.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนมี.ค.จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 10 มี.ค.2558

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,662.94 จุด                           ลดลง 332.78 จุด     -1.85%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,859.79 จุด                        ลดลง 82.65 จุด      -1.67%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,044.16 จุด                         ลดลง 35.27 จุด      -1.70%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,702.84 จุด                      ลดลง 173.63 จุด     -2.52%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,500.38 จุด                             ลดลง 81.73 จุด      -0.71%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,881.95 จุด                           ลดลง 55.25 จุด      -1.12%

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,794.30 จุด        เพิ่มขึ้น 1.30 จุด      +0.02%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,824.20 จุด              เพิ่มขึ้น 2.90 จุด      +0.05%

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,536.53 จุด                              ลดลง 26.45 จุด      -0.28%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 18,665.11 จุด                        ลดลง 125.44 จุด     -0.67%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,984.77 จุด                           ลดลง 8.05 จุด       -0.40%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,286.07 จุด                       ลดลง 16.34 จุด      -0.49%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,828.48 จุด               เพิ่มขึ้น 8.19 จุด      +0.10%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 23,896.98 จุด                                 ลดลง 226.07 จุด     -0.94%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,462.93 จุด        เพิ่มขึ้น 18.30 จุด     +0.34%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,789.73 จุด                         ลดลง 2.01 จุด       -0.11%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,398.26 จุด                         ลดลง 6.31 จุด       -0.19%

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กิดร่วงลงกว่า 300 จุดเมื่อคืนนี้ (10 มี.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่าการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มรายได้ของบริษัทข้ามชาติ นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลต่อสถานการณ์ด้านการเงินของกรีซ หลังจากมีข่าวว่ากลุ่มเจ้าหนี้ยังไม่ยอมรับแผนปฏิรูปเศรษฐกิจของกรีซ

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,662.94 จุด ร่วงลง 332.78 จุด หรือ -1.85% ดัชนีS&P500 ปิดที่ 2,044.16 จุด ลดลง 35.27 จุด หรือ -1.70% และดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,859.79 จุด ลดลง 82.65 จุด หรือ -1.67%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (10 มี.ค.) ซึ่งเป็นการปิดลบติดต่อกัน 2 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกร่วงลง นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.9% ปิดที่ 389.66 จุด

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,881.95 จุด ลดลง 55.25 จุด หรือ -1.12% ดัชนี DAXตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,500.38 จุด ลดลง 81.73 จุด หรือ -0.71% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,702.84 จุด ลดลง 173.63 จุด หรือ -2.52%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (10 มี.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงอย่างหนักของหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มเหมืองแร่ หลังราคาน้ำมันปรับตัวลง

          ดัชนี FTSE 100 รูดลง 173.63 จุด หรือ 2.52% ปิดที่ 6,702.84 จุด

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (10 มี.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันนิวยอร์กยังได้รับปัจจัยลบจากการคาดการณ์ที่ว่าสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะสูงขึ้น

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ลดลง 1.71 ดอลลาร์ ปิดที่ 48.29 ดอลลาร์/บาร์เรล

          สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 2.14 ดอลลาร์ ปิดที่ 56.39 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (10 มี.ค.) เพราะได้รับปัจจัยลบจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 6.4 ดอลลาร์ หรือ 0.55% ปิดที่ระดับ 1,160.10 ดอลลาร์/ออนซ์    

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 14.3 เซนต์ ปิดที่ 15.633 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 18.6 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,130  ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 18.85 ดอลลาร์ ปิดที่ 804.10 ดอลลาร์/บาร์เรล

ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (10 มี.ค.) เนื่องจากข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่สดใสได้หนุนคาดการณ์ของตลาดที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปีนี้

          ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0699 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.0858 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5073 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5131 ดอลลาร์สหรัฐ

          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 121.10 เยน เทียบกับระดับ 121.18 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9988 ฟรังก์ จาก 0.9849 ฟรังก์

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7617 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7713 ดอลลาร์

ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 568.00 จุด ไม่เปลี่ยนแปลง

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!