WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้าฟื้นตัวในกรอบจำกัด เล็งเผชิญเงินไหลออกหลังลดดบ.นโยบาย

     นายกิจพล ไพรไพศาลกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะฟื้นตัวได้ในกรอบจำกัดแถวบริเวณแนวต้านที่ 1,550-1,560 จุด ซึ่งมองว่าตลาดฯยังมีความผันผวนอยู่จากเศรษฐกิจไทยที่มีการฟื้นตัวช้า และระยะสั้นก็ต้องเผชิญกับเงินไหลออกหลังมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

     ทั้งนี้ ในแง่ของจิตวิทยาเป็นบวก แต่ต่างชาติมองเป็นความเสี่ยงของเงินไหลออก หากมองที่อัตราดอกเบี้ยในภูมิภาคจะเห็นได้ว่าอยู่ในระดับที่สูงกว่าบ้านเรา นอกจากนี้ทางสหรัฐฯก็ใกล้ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วย แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าทางแบงก์ชาติคงจะต้องการให้เงินบาทอ่อนค่าลงเพื่อไปกระตุ้นการส่งออกบ้าง

     ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่จะปรับตัวขึ้น ทางยุโรปมองว่าเงินยูโรอ่อนค่าลงทำให้ช่วยหนุนการส่งออก ส่วนสหรัฐฯก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งก็ต้องรอดูการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ในวันที่ 17-18 มี.ค.ที่จะถึงนี้  พร้อมให้แนวรับไว้ที่ 1,530 จุด

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน

                -ตลาดหุ้นนิวยอร์คล่าสุด(11 มี.ค.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,635.39 จุด ลดลง 27.55 จุด(-0.16%), ดัชนีNASDAQ ปิดที่ 4,849.94 จุด ลดลง 9.85 จุด(-0.20%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,040.24 จุด ลดลง 3.92 จุด(-0.19%)

                - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้  ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 63.58 จุด,ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเพิ่มขึ้น 23.91 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 14.05 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 1.61 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 6.96 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 2.59 จุด

                - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(11 มี.ค.58)1,543.84 จุด เพิ่มขึ้น 12.80 จุด(+0.84%)

                - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,846.50 ล้านบาท เมื่อวันที่ 11 มี.ค.58

                - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(11 มี.ค.58) ปิดที่ 48.17 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 12 เซนต์

                - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(11 มี.ค.58)ที่ 9.73 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

                - เงินบาทเปิด 32.89/91 แนวโน้มมีโอกาสอ่อนค่าแตะ 33 ภายในเดือนมี.ค.

                - มติ กนง. 4 ต่อ 3 โหวต ลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 1 ปี เหลือ 1.75% เหตุ "บริโภค-ลงทุน" อ่อนแรงกว่าคาด มั่นใจยังมีกระสุนเพียงพอกระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคต จ่อปรับคาดการณ์จีดีพีใหม่ 20 มี.ค.นี้ ด้านนายแบงก์ชี้ ไม่ส่งผลกระตุ้นมาก แต่ห่วงหนี้ครัวเรือนพุ่ง คาดส่งผลทางจิตวิทยาระยะสั้น

                - "คลัง" เร่งสรุปร่างกฎหมายที่ดิน เสนอ "ครม.เศรษฐกิจ" 18 มี.ค.นี้ ก่อนเสนอเข้าที่ประชุมครม.ใหญ่สัปดาห์ถัดไป ยอมรับเกณฑ์การลดหย่อนภาษียังไม่นิ่ง เล็งยกเว้นภาษีบ้านในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ราคาไม่เกิน 2.5 ล้านบาท พร้อมยกเว้นให้ ผู้ที่อยู่อาศัยที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป

                - รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ล็อกซเล่ย์ เปิดเผยว่า ล็อกซเล่ย์ได้ทำหนังสือขอเข้าพบสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแก้ไขกฎหมายสลากกินแบ่งรัฐบาล หากเป็นการขายหวยออนไลน์รูปแบบอื่น บริษัทจะต้องใช้เวลาปรับปรุงซอฟต์แวร์เครื่องจำหน่ายสลาก 2-3 เดือน แต่ถ้าขายหวยออนไลน์แบบหวย 2 ตัว และ 3 ตัว หรือสลากกินรวบ จะสามารถเริ่มขายได้ทันที

                - ธปท.เผยเดือนแรกของปี 58 ธุรกิจ บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลแผ่วตามการใช้จ่ายของประชาชนลดลงชัดเจน พบปริมาณการใช้จ่ายบัตรเครดิตติดลบ 4.22 หมื่นล้านบาท หดตัวถึง 24.16% เทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งปริมาณการใช้จ่ายในประเทศ-ต่างประเทศ-เบิกเงินสดล่วงหน้ายอดติดลบถ้วนหน้า ขณะที่ยอดสินเชื่อติดลบ 2.16 หมื่นล้านบาทเกิดกับผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครรดิตทุกประเภท เช่นเดียวกับธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลยอดบัญชีและสินเชื่อร่วง

                - รมว.คมนาคม  เผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 3 ที่ จ.หนองคาย ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม ว่าที่ประชุมได้ข้อสรุปเรื่องการเดินรถ ว่าจะเป็นการตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างไทยและจีนเข้ามาดำเนินการ แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วง 1-3 ปีแรก ทางจีนจะเป็นผู้เดินรถหลัก เพื่อไทยจะเรียนรู้จากฝ่ายจีน  ช่วง 4-7 ปี ไทยและจีนจะร่วมกันเดินรถฝ่ายละ 50:50 และช่วงปีที่ 7 เป็นต้นไป ไทยจะเดินรถเองเป็นหลักและจีนเป็นที่ปรึกษา การตั้งบริษัทร่วมทุนจะจัดตั้งเป็นบริษัทเอกชนหรือเป็นรัฐวิสาหกิจก็ได้ เบื้องต้นกำหนดให้ไทยมีสัดส่วนการถือหุ้นประมาณ 60% ฝ่ายจีนไม่เกิน 40% การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 30% และที่เหลือเป็นผู้เชี่ยวชาญเดินรถฝ่ายไทยอีก 30% โดยคาดว่าจะชัดเจนในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2558

*หุ้นเด่นวันนี้

                - SAMTEL(เคเคเทรด)"ซื้อ"เป้า 28 บาท คาดกำไรปี 58 ฟื้นตัวแรงกว่าคู่แข่ง และราคาหุ้นยังไม่แพง

                - NWR(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)“ซื้อเก็งกำไร"เป้า 2.20 บาท มีโอกาสเห็นการปรับเพิ่มเป้าหมายและประมาณการกำไรปี 58 ขึ้น หลังเห็นสัญญาณ Turnaround ผลประกอบการ 4Q57 พลิกเป็นกำไรสุทธิ 85 ล้านบาท และอัตรากำไรขั้นต้นกลับเข้าสู่ระดับปกติที่ 7.8% หลังขาดทุนต่อเนื่องติดต่อกันหลายไตรมาสก่อนหน้า พร้อมคาดกำไรสุทธิปี 58 โต +1,338.2% เป็น 139 ล้านบาท จากแรงหนุนของธุรกิจก่อสร้างที่ได้ประโยชน์จากต้นทุนพลังงานลดลง และรับรู้คอนโด ISSI ที่ร่วมทุนกับ CI ในสัดส่วน 40% มูลค่ารวม 1.8 พันล้านบาท มียอดขายแล้ว 70% และจะเริ่มโอนตั้งแต่ 4Q58 เป็นต้นไป และมีโอกาสที่จะบันทึกกำไรพิเศษคดีคลองด่านที่ศาลตัดสินให้ชนะแล้วสูงถึง 300-500 ล้านบาท ด้าน Valuation มี Discount จากหุ้นรับเหมาขนาดใหญ่ค่อนข้างมาก

                - KTB(โกลเบล็ก)เป้า 26.60 บาท คาดกำไรปี 58 ที่ 3.5 หมื่นลบ.(+6%) จากเป้าสินเชื่อขยายตัวขึ้น 6-7% เน้นสินเชื่อ SME  เพื่อให้ NIM > 2.6% , รักษา NPL อยู่ที่ระดับ 2.3%, ตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้นเป็น 700 ลบ./เดือน  ฐานการเงินแข็งแกร่งจาก Coverage ratio เพิ่มขึ้นเป็น 132% และได้ประโยชน์จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐปี 2558 เนื่องจากมีสินเชื่อภาครัฐสัดส่วนสูงราคาหุ้น laggard P/E 9.7 เท่า , P/BV 1.4 เท่า ต่ากว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มธนาคาร และประกาศจ่ายปันผลหุ้นละ 0.90 บ.(ดีกว่าคาดที่ 0.86) XD 21 เม.ย. yield  4%

ตลาดหุ้นเอเชียดีดตัวขึ้นเช้านี้ หลังร่วงหนักเมื่อวาน

       ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการทะยานขึ้นของหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์และการเงิน หลังจากที่ตลาดร่วงลงอย่างหนักเมื่อวานนี้

       ดัชนี MSCI Asia Pacific เพิ่มขึ้น 0.1% แตะระดับ 142.33 จุด เมื่อเวลา 9.01 น.ตามเวลาโตเกียว

       ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 18,787.10 จุด เพิ่มขึ้น 63.58 จุด,ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,537.92 จุด เพิ่มขึ้น 14.05 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,979.22 จุด ลดลง 1.61 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,371.63 จุด ลดลง 6.96 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,780.75 จุด เพิ่มขึ้น 2.59 จุด

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดดีดขึ้น 18.67 จุด หลังร่วงหนักวานนี้

      ตลาดหุ้นลอนดอนปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (11 มี.ค.) หลังจากที่ร่วงหนักในรอบเกือบ 5 เดือนเมื่อวานนี้ แต่ตลาดบวกขึ้นไม่มากนักเนื่องจากหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์อ่อนแรงลง

     ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 18.67 จุด หรือ 0.28% ปิดที่ 6,721.51 จุด

     ตลาดปิดในแดนบวก แต่ยังคงเผชิญแรงกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและตลาดแรงงานที่ปรับตัวสดใส

     หุ้น Aggreko พุ่งขึ้นนำตลาด 3.76% ขณะที่หุ้นรอยัล เมล ดีดตัวขึ้น 3.60%

     หุ้นพรูเดนเชียล ปรับตัวขึ้น 1.4% หลังจากที่ร่วงลงกว่า 3% เมื่อวานนี้ เมื่อบริษัทประกาศว่าซีอีโอกำลังจะก้าวลงจากตำแหน่ง

     ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานอ่อนแรงลง หลังจากสัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ โดยหุ้นทูลโลว์ ออยล์ และหุ้นบีจี กรุ๊ป ต่างร่วงลงกว่า 1%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปพุ่ง จากความหวังยูโรอ่อนหนุนธุรกิจส่งออก

    ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ (11 มี.ค.) เพราะได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังที่ว่าการอ่อนค่าของสกุลเงินยูโรจะช่วยหนุนธุรกิจในกลุ่มส่งออก โดยยูโรแข็งค่าขึ้นขานรับธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่เดินหน้าอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

    ดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้น 1.5% ปิดที่ 395.48 จุด

    ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,997.75 จุด พุ่งขึ้น 115.80 จุด หรือ +2.37% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,805.99 จุด เพิ่มขึ้น 305.61 จุด, +2.66% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,721.51 จุด เพิ่มขึ้น 18.67 จุด หรือ +0.28%

    ตลาดหุ้นยุโรปทะยานขึ้นขานรับมุมมองที่เป็นบวกว่า การอ่อนค่าของสกุลเงินยูโรจะช่วยหนุนธุรกิจในกลุ่มส่งออก โดยยูโรอ่อนค่าลงจากข่าวที่ว่า ECB ดำเนินมาตรการผ่อนคลายสภาพคล่อง (QE) ด้วยการซื้อพันธบัตร 6 หมื่นล้านยูโรตั้งแต่วันจันทร์ที่ 9 มี.ค.ที่ผ่านมา พร้อมกับส่งสัญญาณว่าจะใช้มาตรการ QE นานกว่ากำหนดเดิม

     ด้านนายมาริโอ ดรากี ประธาน ECB กล่าวเมื่อวานนี้ว่า การที่ ECB เข้าซื้อพันธบัตรตามมาตรกา QE ที่เริ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ ได้ช่วยสกัดผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในกรีซ มิให้ลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในยูโรโซน

    ทั้งนี้ การอ่อนค่าของยูโรช่วยหนุนหุ้นบริษัทส่งออกในกลุ่มยานยนต์และเคมีภัณฑ์พุ่งขึ้น โดยหุ้นโฟลค์สวาเก้น และหุ้นบีเอ็มดับเบิลยู ต่างก็พุ่งขึ้นกว่า 4.5% ขณะที่ BASF SE ปรับตัวขึ้น 3.5%

    หุ้นเบเยอร์ เอจี ทะยานขึ้น 3.6% หลังจากบริษัทประกาศเพิ่มเป้าหมายยอดขายขึ้นอีก 6% ต่อปี

    อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงหลังจากสหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว โดยหุ้นบีพี และหุ้นบีจีกรุ๊ป ร่วงลงหนักสุด

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดลบ 27.55 จุด วิตกดอลล์แข็ง,เฟดขึ้นดบ.

    ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (11 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่าการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มรายได้ของบริษัทส่งออก

    ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,635.39 จุด ลดลง 27.55 จุด หรือ -0.16% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,849.94 จุด ลดลง 9.85 จุด หรือ -0.20% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,040.24 จุด ลดลง 3.92 จุด หรือ -0.19%

   ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังคงได้รับปัจจัยลบจากความกังวลที่ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วขึ้น หลังจากมีกระแสคาดการณ์จากบรรดานักวิเคราะห์ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐนั้น สะท้อนถึงการฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจภายในประเทศ และอาจจะส่งผลให้เฟดตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในช่วงกลางปีนี้

   ชินอิจิโร่ คาโดตะ นักยุทธศาสตร์ด้านปริวรรตเงินตราต่างประเทศจากธนาคารบาร์เคลย์ส กล่าวว่า บรรดาผู้สังเกตการณ์ในตลาดต่างคาดการณ์ว่า ในการประชุมสัปดาห์หน้านี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดอาจจะเลิกใช้คำว่า "อดทน" ในการพิจารณากำหนดเวลาสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.นี้

    ส่วนเมื่อเดือนที่แล้ว นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด ส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะเปลี่ยนแถลงถ้อยคำในสัญญาณชี้นำล่วงหน้า  (Forward Guidance) ด้วยการเลิกใช้คำว่า "อดทน" เมื่อพิจารณาเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

    ทั้งนี้ การคาดการณ์ที่ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และทำให้เกิดความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทส่งออกในสหรัฐ โดยผลการสำรวจความคิดเห็นของประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน (CFO) ทั่วโลกซึ่งจัดทำโดย Duke University/CFO Magazine Global Business Outlook ระบุว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มองว่าการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐได้ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกของประเทศ และอาจจะเป็นอุปสรรคต่อแผนการลงทุนของบริษัทในปีหน้า

   หุ้นไทสัน ฟู๊ด ร่วงลง 5.6% ขณะที่หุ้นพิลกริมส์ ไพร์ด ดิ่งลง 4.4%

   อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มการเงินดีดตัวขึ้น นำโดยหุ้นซิตี้กรุ๊ป พุ่งขึ้น 3.1% หุ้นมอร์แกน สแตนลีย์ ปรับขึ้น 3.1% เช่นกัน

   นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนก.พ.สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนม.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนมี.ค.จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน

 

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 11 มี.ค.2558

 

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,635.39 จุด                          ลดลง 27.55 จุด     -0.16%

 

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,849.94 จุด                       ลดลง 9.85 จุด      -0.20%

 

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,040.24 จุด                        ลดลง 3.92 จุด      -0.19%

 

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,721.51 จุด                    เพิ่มขึ้น 18.67 จุด    +0.28%

 

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,805.99 จุด                           เพิ่มขึ้น 305.61 จุด   +2.66%

 

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,997.75 จุด                         เพิ่มขึ้น 115.80 จุด   +2.37%

 

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,763.30 จุด       ลดลง 31.00 จุด     -0.54%

 

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,793.20 จุด             ลดลง 31.00 จุด     -0.53%

 

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,523.18 จุด                             ลดลง 13.35 จุด     -0.14%

 

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 18,723.52 จุด                       เพิ่มขึ้น 58.41 จุด    +0.31%

 

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,980.83 จุด                          ลดลง 3.94 จุด      -0.20%

 

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,290.90 จุด                      เพิ่มขึ้น 4.83 จุด     +0.15%

 

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,790.70 จุด              ลดลง 37.78 จุด     -0.48%

 

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 23,717.97 จุด                               ลดลง 179.01 จุด    -0.75%

 

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,419.57 จุด      ลดลง 43.36 จุด     -0.79%

 

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,778.16  จุด                      ลดลง 11.57 จุด     -0.65%

 

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,378.59 จุด                       ลดลง 19.67 จุด     -0.58%

 

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 28,659.17 จุด                         ลดลง 50.70 จุด     -0.18%

 

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กิดลบเมื่อคืนนี้ (11 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่าการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มรายได้ของบริษัทส่งออก

 

         ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,635.39 จุด ลดลง 27.55 จุด หรือ -0.16% ดัชนีNASDAQ ปิดที่ 4,849.94 จุด ลดลง 9.85 จุด หรือ -0.20% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,040.24 จุด ลดลง 3.92 จุด หรือ -0.19%

 

ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ (11 มี.ค.) เพราะได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังที่ว่าการอ่อนค่าของสกุลเงินยูโรจะช่วยหนุนธุรกิจในกลุ่มส่งออก โดยยูโรแข็งค่าขึ้นขานรับธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่เดินหน้าอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

 

          ดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้น 1.5% ปิดที่ 395.48 จุด

 

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,997.75 จุด พุ่งขึ้น 115.80 จุด หรือ +2.37% ดัชนีDAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,805.99 จุด เพิ่มขึ้น 305.61 จุด, +2.66% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,721.51 จุด เพิ่มขึ้น 18.67 จุด หรือ +0.28%

 

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (11 มี.ค.) หลังจากที่ร่วงหนักในรอบเกือบ 5 เดือนเมื่อวานนี้ แต่ตลาดบวกขึ้นไม่มากนักเนื่องจากหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์อ่อนแรงลง

 

          ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 18.67 จุด หรือ 0.28% ปิดที่ 6,721.51 จุด

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (11 มี.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ปิดพุ่งขึ้น เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในลิเบีย

 

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ลดลง 12 เซนต์ ปิดที่ 48.17 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

          สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 1.15 ดอลลาร์ ปิดที่ 57.54 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (11 มี.ค.) เพราะได้รับปัจจัยลบจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเกือบแตะระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี โดยดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้

 

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 9.5 ดอลลาร์ หรือ 0.82% ปิดที่ระดับ 1,150.60 ดอลลาร์/ออนซ์    

 

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 26.8 เซนต์ ปิดที่ 15.365 ดอลลาร์/ออนซ์

 

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 14.6 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,115.40 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 14.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 789.40 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 12 ปีเมื่อเทียบสกุลเงินยูโร และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินหลักอื่นๆเมื่อคืนนี้ (11 มี.ค.) เนื่องจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มมากขึ้นว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้

 

          ค่าเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0535 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.0699 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 14934 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5073 ดอลลาร์สหรัฐ

 

          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 121.51 เยน เทียบกับระดับ 121.10 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 1.0102 ฟรังก์ จาก 0.9988 ฟรังก์

 

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7578 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7617 ดอลลาร์

 

ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 565.00 จุด ลดลง 3.00 จุด, -0.53%

 

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!