WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับลง ปัจจัยในและนอกประเทศยังกดดัน

      นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า

      ตลาดหุ้นไทยเช้านี้น่าจะปรับตัวลง หลังยังไม่มีสัญญาณที่จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เป็นบวก โดยยังมีปัจจัยกดดันจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ของประเทศที่ฟื้นตัวช้า ทำให้การปล่อยสินเชื่อของกลุ่มธนาพาณิชย์ยังชะลอตัวอยู่ และราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลง กระทบต่อ sentiment การลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ไม่ให้ขยับตัวมากนัก

     นอกจากนี้ ดัชนีดาวโจนส์ที่ร่วงลงแรงเมื่อวันศุกร์ ยังเป็นองค์ประกอบที่กดดันต่อภาพรวมการลงทุน และน่าจะกดดันให้ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงด้วย อย่างไรก็ตามมองกว่ากรอบการปรับลงอาจยังไม่มากนัก เพราะยังคงมีแรงเก็งกำไรเข้ามาบ้าง โดยมองแนวรับบริเวณ 1,530 จุด และแนวต้านที่ 1,550 จุด

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน

                -ตลาดหุ้นนิวยอร์คล่าสุด(13 มี.ค.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,749.31 จุด ร่วงลง 145.91 จุด (-0.82%),ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,871.76 จุด ลดลง 21.53 จุด(-0.44%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,053.40 จุด ลดลง 12.55 จุด(-0.61%)

                - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ ลดลง 8.87 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 4.10 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 18.25 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ ลดลง 0.20 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ลดลง 1.39 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ ลดลง 4.47 จุด

                - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(13 มี.ค.58) 1,541.55 จุด ลดลง 2.79 จุด(-0.18%)

                - นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 670.85 ล้านบาท เมื่อวันที่ 13 มี.ค.58

                - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(13 มี.ค.58) ปิดที่ 44.84 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 2.21 ดอลลาร์

                - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(13 มี.ค.58)ที่ 9.12 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

                - เงินบาทเปิด 32.91/93 แนวโน้มอ่อนค่าตามภูมิภาค หลายปัจจัยหนุนดอลล์แข็งค่า

                - ศก.ฟื้นช้าฉุดสินเชื่อแบงก์ไทยพาณิชย์ชี้ต้องมีมาตรการ'กระตุ้น' กสิกรเผย'พลังงานโครงสร้างพื้นฐาน-อสังหาฯ'ยังไปได้'เคทีซี'โตสวนตลาด โดยสินเชื่อแบงก์ 2 เดือนแรกทรงตัวสะท้อนเศรษฐกิจไตรมาสแรกฟื้นช้าปัญหาความเชื่อมั่นลงทุน-หนี้ครัวเรือน ขณะธุรกิจพลังงานยังเติบโตส่วนอสังหาริมทรัพย์ภาพรวมชะลอ แต่กลับมาลงทุนในกรุงเจาะกลุ่มไฮเอนด์ที่ยังมีกำลังซื้อชี้ลดดอกเบี้ยช่วยไม่มาก

                - ผู้ผลิต"รถจักรยานยนต์-ปิกอัพ"แจงยอดขายตลาดรากหญ้าชะลอตัว ขณะรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์สปอร์ตยังเติบโตเหตุสภาพตลาดไม่ต่างจากปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ฟื้นตัวดี"ฮอนด้า"คาดทั้งปีตลาดภาพรวม 2 ล้อโต 3% หลังปีที่ผ่านมาติดลบ 15% ขณะราคาสินค้าเกษตรกดกำลังซื้อปิกอัพทรุด

                - "ศุภวุฒิ" ชี้ไทยเสี่ยงเผชิญเงินฝืด จากเงินเฟ้อโลกที่ลดลงหนัก แม้ราคาสินค้าบางประเภทยังปรับขึ้นบ้าง พร้อมประเมินอนาคตเศรษฐกิจเริ่มเติบโตยาก จากภาวะหนี้ที่สูง ทั้งประชากรอยู่ในวัยสูงอายุมากขึ้น ดึงกำลังซื้อหาย ขณะที่จีนเข้าสู่ช่วงปรับโครงสร้าง ทำเศรษฐกิจโตชะลอ

                - ผู้ว่าการ ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยขณะนี้ต้องเผชิญโรคไข้หวัดใหญ่ โรคข้อเข่าเสื่อม และโรคขาดความมั่นใจ บทบาทนโยบายการเงินช่วยจ่ายยาให้โรคบรรเทาเท่านั้น แต่ต้องอาศัยบทบาทภาครัฐ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นส่วนที่เหลือ ยอมรับภาครรัฐตอนนี้มีบทบาทต่อประเทศหลายด้านพร้อมกัน ทำให้การใช้จ่ายรัฐชะลอ

                - บีโอไอเผยในเดือนก.พ.นี้  มีนักลงทุนยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนเข้ามายังสำนักงาน บีโอไอเป็นเงินลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ยอดขอรับการส่งเสริมอยู่ที่ 7,660 ล้านบาท แต่เมื่อรวม 2 เดือนแรกของปีนี้ยอดขอรับส่งเสริมก็ยังคงต่ำเมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากการที่บีโอไอได้ปรับยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่ เน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น และกิจการที่เข้ามาขอรับส่งเสริมฯ ช่วงต้นปีนี้เป็นกิจการเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มพลังงานทดแทน

                - ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คลังยังไม่มีแนวคิดที่จะเพิ่มอัตราจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จากปัจจุบันที่จัดเก็บในอัตรา 7% ซึ่งลดหย่อนจากเพดานจัดเก็บที่ 10% แม้ว่าก่อนหน้านี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า หากไม่ดำเนินการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็จะต้องขึ้นแวตเพื่อให้รัฐบาลมีรายได้ก็ตาม

*หุ้นเด่นวันนี้

                - TASCO(เมย์แบงก์ กิมเอ็งฯ)แนะ"ซื้อเก็งกำไร" โดยคาดว่าหุ้น TASCO จะ Outperform ตลาดในวันนี้ จากอานิสงค์ของราคาน้ำมันดิบ NYMEX ที่ปรับตัวลง -4.7% dod เหลือ US$44.84/barrel และคงมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบการปี 2558 เนื่องจากได้ประโยชน์โดยตรงจากราคาน้ำมันดิบที่ลดง ซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการผลิตยางมะตอย ขณะที่ราคาขายยางมะตอยปรับตัวลงในอัตราที่ช้ากว่าต้นทุนที่ลดลง จะช่วยหนุนอัตรากำไรขั้นต้นปี 2558 ให้เร่งตัวขึ้น

                - AAV (เมย์แบงก์ กิมเอ็งฯ) แนะ"ซื้อเก็งกำไร" โดยคาดว่าหุ้น AAV จะ Outperform ตลาดในวันนี้ จากอานิสงค์ของราคาน้ำมันดิบ NYMEX ที่ปรับตัวลง -4.7% dod เหลือ US$44.84/barrel ขณะที่ AAV นับตั้งแต่ต้นปี มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากราคาน้ำมันดิบ (hedging policy) ในสัดส่วนที่ต่ำ ทำให้ได้ประโยชน์ทางตรงเต็มที่ จากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง  บวกกับแนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ 4Q57 โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งเป็นฐานลูกค้าต่างชาติที่สำคัญของ AAV เข้ามาท่องเที่ยวไทยทำระดับสูงสุดใหม่ในเดือนม.ค. และมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง

                - BLA (ธนชาต) แนะ"ซื้อ" ปรับเป้าหมายพื้นฐานเป็น 65 บาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากธุรกิจประกันชีวิตยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมากในประเทศไทย ด้วย Penetration Rate ต่ำเพียง 4% และการเข้าถึงผู้บริโภคจากช่องทางการขายประกันที่เพิ่มขึ้น ,ประชากรไทยที่เกิดในยุค Baby Booming เริ่มมีอายุ และรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตของเบี้ยประกัน 14% ต่อปีในช่วง 3-4 ปีข้างหน้า โดยคาดผลการดำเนินงาน BLA ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 2014 จากการบันทึกสำรอง 5 พันล้านบาท เนื่องจาก Bond Yield ที่ปรับลดลง และด้วย Downside Risk ของ Bond Yield ที่ต่ำในปัจจุบัน ทำให้ปรับขาดทุนจากการบันทึกสำรองลดลงเหลือ 1 พันล้านบาทในปีนี้ (เดิมคาด 2 พันล้านบาท) ส่งผลคาดการณ์กำไรปี 2015 เติบโต 92.6% เป็น 6 พันล้านบาท

                - HANA (ฟินันเซีย ไซรัส) แนะ"ซื้อ" โดยเพิ่มกำไรปกติปี 2015 ขึ้น 3% เป็นโต 20% Y-Y และโตอีก 23% Y-Y ในปี 2016 หลังบริษัทปรับโครงสร้างธุรกิจสู่สินค้าที่มี Value Added ลดพึ่งพากลุ่ม Computer ขณะที่คำสั่งซื้อของลูกค้า Automotive, Telecom และ Medical แข็งแกร่ง การขยายกำลังการผลิต 3 โรงงานใหม่ที่ลำพูนจะเริ่มรับรู้รายได้กลางปีนี้ ที่จีนและกัมพูชาในปีหน้า พร้อมปรับเป้าหมายขึ้นเป็น 46 บาทจาก 42 บาท ราคาหุ้น laggard ที่สุดในกลุ่ม +2.6% YTD ขณะที่ Core PE ถูกที่สุดในกลุ่มที่ 11.8 เท่า ปรับคำแนะนำเป็นซื้อ จากเดิมถือ

ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้หลังราคาน้ำมันร่วง ขณะจับตาประชุมเฟด

     ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ หลังราคาน้ำมันร่วงถ่วงหุ้นกลุ่มพลังงานลดลง ขณะเดียวกันนักลงทุนต่างรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ ซึ่งคาดกันว่าเฟดจะส่งสัญญาณมากขึ้นเกี่ยวกับช่วงเวลาในการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

     ดัชนี MSCI Asia Pacific ร่วงลง 0.3% สู่ระดับ 143.50 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น.ตามเวลาโตเกียว

     ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 19,245.38 จุด ลดลง 8.87 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,391.16 จุด เพิ่มขึ้น 18.25 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 23,771.40 จุด ลดลง 51.81 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,583.45 จุด เพิ่มขึ้น 4.10 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,985.59 จุด ลดลง 0.20 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,361.38 จุด ลดลง 1.39 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,777.28 จุด ลดลง 4.47 จุด

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 20.49 จุด เหตุกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย

    ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (13 มี.ค.) โดยมีแรงถ่วงจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มเหมืองแร่ ขณะที่นักลงทุนมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ

    ดัชนี FTSE 100 ลดลง 20.49 จุด หรือ 0.30% ปิดที่ 6,740.58 จุด

    ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีกำหนดจะประชุมนโยบายการเงินกันในวันอังคารและพุธหน้า ซึ่งนักวิเคราะห์คาดกันว่าจะมีการส่งสัญญาณมากขึ้นเกี่ยวกับช่วงเวลาในการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากที่คงอัตราดอกเบี้ยต่ำใกล้ 0% มาเป็นเวลานาน

   หุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มเหมืองแร่อ่อนแรงลง หลังจากดอลลาร์สหรัฐที่พุ่งขึ้นได้กดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้ปรับตัวลง

   นอกจากนี้ หุ้นกลุ่มพลังงานยังปรับตัวลงตามสัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์ก ซึ่งได้รับแรงกดด้นจากความวิตกเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งขึ้น

    หุ้นทูลโลว์ ออยล์ ร่วง 3.21% ขณะที่หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน รูดลง 3.2% และหุ้นบีจี กรุ๊ป ปรับตัวลง 3.1%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดบวก นำโดยหุ้นเฮลธ์แคร์ ขณะจับตาประชุมเฟด

   ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (13 มี.ค.) นำโดยการทะยานขึ้นของหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์และกลุ่มอุตสหกรรม ท่ามกลางกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ

   ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับขึ้น 0.3% ปิดที่ 396.61 จุด

    ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสเพิ่มขึ้น 23.13 จุด หรือ 0.46% ปิดที่ 5,010.46 จุด ขณะที่ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีดีดตัวขึ้น 102.22 จุด หรือ 0.87% ปิดที่ 11,901.61 จุด และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนลดลง 20.49 จุด หรือ 0.30% ปิดที่ 6,740.58 จุด

    หุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์และกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมต่างช่วยหนุนตลาดหุ้นยุโรป โดยหุ้นโนโว นอร์ดิสก์ พุ่ง 3.5% ขณะที่หุ้น ISS A/S ซึ่งเป็นบริษัทด้านการทำความสะอาดรายใหญ่ที่สุดของโลก ทะยานขึ้น 6.3%

   ส่วนหุ้นคอมเมิร์ซแบงก์ของเยอรมนี ทะยานขึ้น 4.9% หลังจากธนาคารเปิดเผยว่าได้ตกลงจ่ายเงิน 1.45 พันล้านดอลลาร์เพื่อยุติคดีความต่างๆในสหรัฐ

   สกุลเงินยูโรที่อ่อนค่าลงได้ช่วยหนุนหุ้นกลุ่มส่งออก ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้เริ่มดำเนินการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เมื่อต้นสัปดาห์นี้

    ทั้งนี้ นักลงทุนต่างรอดูการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า ซึ่งคาดกันว่าเฟดจะส่งสัญญาณมากขึ้นเกี่ยวกับช่วงเวลาในการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากที่คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำมาเป็นเวลานาน

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 145.91 จุด เหตุข้อมูลศก.แย่,ดอลล์พุ่ง

      ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (13 มี.ค.) เนื่องจากมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ย่ำแย่กว่าที่คาด ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น

    ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 145.91 จุด หรือ 0.82% ปิดที่ 17,749.31 จุด ดัชนี S&P 500 ปรับลง 12.55 จุด หรือ 0.61% ปิดที่ 2,053.40 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 21.53 จุด หรือ 0.44% ปิดที่ 4,871.76 จุด

    ตลาดหุ้นนิวยอร์กอ่อนแรงลง หลังจากผลสำรวจของรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเบื้องต้นของเดือนมี.ค.ลดลงสู่ระดับ 91.2 จาก 95.4 ของเดือนก.พ. และต่ำกว่าระดับ 98.1 ของเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี โดยก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 95.3 ในเดือนมี.ค.

      ขณะเดียวกัน กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ร่วงลงพลิกความคาดหมายในเดือนก.พ. ซึ่งบ่งชี้ถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่ระดับต่ำ และบ่งชี้ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

     ทั้งนี้ ดัชนี PPI สำหรับอุปสงค์ขั้นสุดท้ายลดลง 0.5% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากที่ปรับตัวลง 0.8% ในเดือนม.ค. และเป็นการอ่อนตัวลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน

     หากเทียบรายปี ดัชนี PPI ลดลง 0.6% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกข้อมูลในปี 2009 หลังจากทรงตัวในเดือนม.ค.

    นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนี PPI เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ.เมื่อเทียบรายเดือน และทรงตัวเมื่อเทียบรายปี

    ส่วนดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นอีกครั้งเมื่อคืนนี้ก็เป็นปัจจัยที่บั่นทอนบรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ก ขณะที่การประชุมกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้าได้กระตุ้นคาดการณ์ของตลาดเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้

    นอกจากนี้ ความวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ในกรีซก็ยังคงสร้างความกดดันต่อตลาด หลังจากนายฌอง-คล้อด ยุงเกอร์ ประธานกรรมาธิการยุโรป (EC) กล่าวเมื่อวานนี้ว่า เขาไม่มีความพอใจต่อความคืบหน้าในการเจรจาประเด็นหนี้กรีซในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนายยุงเกอร์แสดงความเห็นดังกล่าว ขณะที่เขาเจรจากับนายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซิปราสของกรีซ ที่กรุงบรัสเซลส์

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 13 มี.ค. 2558

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,749.31 จุด ลดลง 145.91 จุด, -0.82%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,871.76 จุด ลดลง 21.53 จุด, -0.44%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,053.40 จุด ลดลง 12.55 จุด, -0.61%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,010.46 จุด เพิ่มขึ้น 23.13 จุด, +0.46%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,901.61 จุด เพิ่มขึ้น 102.22 จุด, +0.87%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,740.58 จุด ลดลง 20.49 จุด, -0.30%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 28,503.30 จุด ลดลง 427.11 จุด, -1.48%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,362.77 จุด ลดลง 10.83 จุด, -0.32%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,781.75 จุด ลดลง 5.12 จุด, -0.29%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,426.47 จุด ลดลง 13.36 จุด, -0.25%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 23,823.21 จุด เพิ่มขึ้น 25.25 จุด, +0.11%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,809.54 จุด ลดลง 30.28 จุด, -0.39%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,372.91 จุด เพิ่มขึ้น 23.59 จุด, +0.70%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,985.79 จุด เพิ่มขึ้น 15.20 จุด, +0.77%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 19,254.25 จุด เพิ่มขึ้น 263.14 จุด, +1.39%

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,579.35 จุด ลดลง 16.65 จุด, -0.17%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,814.50 จุด ลดลง 35.70 จุด, -0.61%

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,788.00 จุด ลดลง 28.00 จุด, -0.48%

       ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (13 มี.ค.) เนื่องจากมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ย่ำแย่กว่าที่คาด ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 145.91 จุด หรือ 0.82% ปิดที่ 17,749.31 จุด ดัชนี S&P 500 ปรับลง 12.55 จุด หรือ 0.61% ปิดที่ 2,053.40 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 21.53 จุด หรือ 0.44% ปิดที่ 4,871.76 จุด

      ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (13 มี.ค.) นำโดยการทะยานขึ้นของหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์และกลุ่มอุตสหกรรม ท่ามกลางกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับขึ้น 0.3% ปิดที่ 396.61 จุด

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสเพิ่มขึ้น 23.13 จุด หรือ 0.46% ปิดที่ 5,010.46 จุด ขณะที่ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีดีดตัวขึ้น 102.22 จุด หรือ 0.87% ปิดที่ 11,901.61 จุด และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนลดลง 20.49 จุด หรือ 0.30% ปิดที่ 6,740.58 จุด

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (13 มี.ค.) โดยมีแรงถ่วงจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มเหมืองแร่ ขณะที่นักลงทุนมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ

          ดัชนี FTSE 100 ลดลง 20.49 จุด หรือ 0.30% ปิดที่ 6,740.58 จุด

        สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดอ่อนแรงลงเมื่อวันศุกร์ (13 มี.ค.) เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันในตลาดโลกยังคงถ่วงตลาดน้ำมัน

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดร่วง 2.21 ดอลลาร์ หรือ 4.7% แตะที่ 44.84 ดอลลาร์/บาร์เรล

          ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดลอนดอน ปิดปรับลง 2.41 ดอลลาร์ ที่ 54.67 ดอลลาร์/บาร์เรล

       สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ (13 มี.ค.) แม้ว่าดอลลาร์ปรับตัวแข็งแกร่ง ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดขยับขึ้น 50 เซนต์ หรือ 0.04% ที่ 1,152.40 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ปิดลดลง 2.2 เซนต์ ที่ 15.494 ดอลลาร์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดเพิ่มขึ้น 30 เซนต์ ที่ 1,115.2 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดดีดขึ้น 1.75 ดอลลาร์ ที่ 788.70 ดอลลาร์/ออนซ์

       ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งแกร่งเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อวันศุกร์ (13 มี.ค.) ขณะที่การประชุมกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้าได้กระตุ้นกระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้

          ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0475 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.0603 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.4726 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.4854 ดอลลาร์สหรัฐ

          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 121.33 เยน เทียบกับระดับ 121.36 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 1.0067 ฟรังก์ จาก 1.0058 ฟรังก์

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7620 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7685 ดอลลาร์

    ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 562.00 จุด เพิ่มขึ้น 2.00 จุด, +0.36%

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!