WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้าบรรยากาศยังไม่ดี ตัวเลขศก.หลายปท.แย่-valuation ตึงตัว

    นายชัยพร น้อมพิทักษ์ ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ บล.บัวหลวง กล่าวว่า บรรยากาศตลาดหุ้นไทยเช้านี้ยังไม่ดี หลังจากหลายสำนักปรับลดประมาณการณ์ปีนี้ลงจากเดิม เชื่อว่าจะทำให้นักวิเคราะห์ปรับคาดการณ์ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนลงในช่วง 2-4 สัปดาห์ถัดไปด้วย

     ขณะที่ตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ก็อยู่ในแดนลบราว 0.5-0.7% คาดว่ามาจากการมองตัวเลขเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่ช่วงหลังก็ออกมาต่ำกว่าคาด เช่น ตัวเลขเศรษฐกิจของจีนแย่ลง และตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯก็ออกมาต่ำกว่าคาด เป็นจุดที่นักลงทุนจะ take profit ได้ในระดับหนึ่ง

     นอกจากนี้ แนวโน้มเงินดอลลาร์อาจแข็งค่าตลอดทั้งปี ทำให้เม็ดเงินที่จะไหลเข้าเอเชียดูไม่น่าจูงใจเท่าไร อีกทั้งหากมองภาวะตลาดทั่วโลกในขณะนี้เห็นได้ว่า valuation ค่อนข้างตึงตัวแล้ว โดยตลาดสหรัฐฯเทรด P/E 17 เท่า, ตลาดยุโรปเทรด P/E 16 เท่า แม้แต่ตลาดญี่ปุ่นก็เทรดที่ P/E 17-18 เท่า

     ส่วนตลาดหุ้นไทยแม้ว่าดัชนีฯจะปรับตัวลงมาราว 100 จุด แต่จากการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจ ทำให้ P/E ของตลาดในขณะนี้ไม่ได้ปรับลงเท่าไรยังคงเทรดแถว 15 เท่า ตลาดฯคงปรับตัวขึ้นได้ลำบาก และดูเหมือนตลาดฯยังตอบรับการปรับลดประมาณการน้อยเกินไป ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากความคาดหวังเม็ดเงิน QE จากต่างประเทศ ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังมี valuation ที่ไม่น่าสนใจเท่าใดนัก

พร้อมให้แนวรับ 1,480 จุด สำหรับการเทรดระยะสั้น ส่วนแนวต้าน 1,520-1,515 จุด

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน

      - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด(25 มี.ค.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,718.54 จุด ร่วงลง 292.60 จุด(-1.62%),ดัชนี NASDAQ ปิดที่  4,876.52 จุด ดิ่งลง 118.21 จุด(-2.37%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,061.05 จุด ลดลง 30.45 จุด(-1.46%)

    - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 140.60 จุด หรือ -0.71%,  ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 15.61 จุด หรือ -0.76%, ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดไม่เปลี่ยนแปลง, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 88.20 จุด หรือ -0.91%, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 2.25 จุด หรือ -0.12%, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 6.87 จุด หรือ -0.20%, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 18.79 จุด หรือ -0.51%, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 3.33 จุด หรือ +0.04%

                - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(25 มี.ค.58),512.80 จุด ลดลง 1.65 จุด(-0.11%)

                - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,332.44 ล้านบาท เมื่อวันที่ 25 มี.ค.58

                - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(25 มี.ค.58) ปิดที่ 49.21 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.7 ดอลลาร์

                - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(25 มี.ค.58)ที่ 9.63 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

                - เงินบาทเปิด 32.56/58 แกว่งแคบ มองกรอบวันนี้ 32.50-32.60

                - พาณิชย์เผยส่งออกเดือนก.พ.ร่วง 6.1% เฉลี่ย 2 เดือนแรก ติดลบ 4.8% จากส่งออก น้ำมัน-ทองคำลดลง นักเศรษฐศาสตร์ชี้น่าห่วง ต่ำกว่าคาดการณ์ หวั่นทั้งปีโตต่ำกว่า 1%

                - "ณรงค์ชัย" เร่งแก้อุปสรรคดันโครงการลงทุนพลังงานปีนี้หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ ยอมรับรัฐบาลกังวลเศรษฐกิจปีนี้โตไม่มาก ยันไม่ใช้วิธีการลดราคา เดินหน้าออกประกาศเชิญเอกชนลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมหลังแก้ไขกฎหมายเสร็จ ปตท.คาดราคาน้ำมันอยู่ระดับต่ำ เหตุโครงสร้างการใช้พลังงานเปลี่ยนมาใช้ก๊าซมากขึ้น นักวิชาการกระตุ้นเอกชนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

                - "สมหมาย" ระบุ รัฐบาลยอมรับการพิจารณาชั้นกรรมาธิการ (กมธ.) ให้จัดเก็บภาษีมรดก 5% ของมูลค่ามรดก จากเดิม 10% แลกกับการคงจัดเก็บมรดกส่วนที่เกินกว่า 50 ล้านบาท ขณะที่ "กรุงเทพโพลล์"เผยนักเศรษฐศาสตร์ ส่วนใหญ่ 58% หนุนภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง แนะเก็บบ้านราคา 3 ล้านขึ้นไป ค้านภาษีที่ดินเกษตรกรรม เชื่อเก็บให้"อปท."ไม่ช่วยพัฒนาท้องถิ่น ลดความเหลื่อมล้ำ

                - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าจะไม่ต่อโควตาให้นิติบุคคลที่ผูกขาดสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งจะหมดอายุสัมปทานภายในเดือน ก.ค.นี้ ต่อไปจะหาทางลดต้นทุนสลากให้อยู่ในระดับราคา 65 บาท เพื่อให้จำหน่ายไม่เกิน 80 บาท นอกจากนี้ จะเปลี่ยนวิธีการรับสลาก โดย กทม.ให้รับที่สำนักงานสลากฯ ต่างจังหวัดให้รับที่ศาลากลางจังหวัด

                - ก.ล.ต.เข้มคุมเพิ่มทุนพีพี-ให้ระมัดระวัง การให้ข้อมูลและต้องขออนุญาตก่อนจัดสรรพีพี เปิดเฮียริ่งถึงวันที่ 2 เม.ย.นี้ ด้านที่ปรึกษาทางการเงิน-รายใหญ่ เห็นพ้องมองเป็นสิ่งที่ดีเชื่อช่วยป้องกันผู้ถือหุ้นเดิมถูกเอาเปรียบ ขณะที่บริษัทจดทะเบียนหวั่นขั้นตอนมากใช้เวลาระดมทุนนานอาจกระทบธุรกิจ

                - สมาคมโรงแรมคาดอัตราเข้าพักปีนี้แตะ 80% เทียบปีก่อนที่ 60-65% จาก แรงหนุนนักท่องเที่ยวจีนที่เพิ่มขึ้น ด้าน 'เซ็นเทล' ชี้จำนวนนักท่องเที่ยวปีนี้มากกว่าที่ ททท.ประเมินไว้ ขณะที่ผู้บริหารมองเกณฑ์คำนวณภาษีที่ดินใหม ช่วยลดผลกระทบ

                - กสิกรไทยชี้เศรษฐกิจชะลอกดดันการทำกำไรของธุรกิจขนาดใหญ่ลดลง 1-2% ในปีนี้ มั่นใจฐานะการเงินยังดีไม่กระทบความสามารถการชำระหนี้ ขณะเดียวกันแนวโน้มการซื้อ-ควบรวม ยังเพิ่มขึ้นถึงปีหน้าในกลุ่มรายใหญ่ด้วยกันเองเผยมีโอกาสลงทุนต่างประเทศเพิ่มจากค่าเงินยุโรปที่อ่อนค่า คาด 2-3 ปีข้างหน้าเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศเพิ่มเป็น 1 ล้านล้าน ส่วนสินเชื่อไตรมาสแรกยังโต 1%

*หุ้นเด่นวันนี้

                - EPCO(ฟินันเซีย ไซรัส)ราคาหุ้น 6.25 บาทแทบไม่ได้ให้มูลค่าโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 23MW ที่จังหวัดมิยากิ ญี่ปุ่น แบ่งเป็น 2 โรง(10MW และ 13MW)อยู่ระหว่างก่อสร้างและมีกำหนดสร้างเสร็จปีนี้ เริ่มจ่ายไฟปี 59(ไม่นับที่กำลังเจรจาซื้อโรงไฟฟ้าเล็กๆเพิ่ม) ซึ่งจะทำให้กำไรปีหน้าโตกระโดด 154% Y-Y ส่วนปีนี้คาดโต 15% Y-Y จากการฟื้นตัวของโรงพิมพ์และโรงไฟฟ้าในไทย 16.1MW ทั้ง 2 ธุรกิจมีมูลค่าประมาณ 5 บาทเศษ รวมกับโรงไฟฟ้าที่ญี่ปุ่น 3 บาทเศษ เป็น 8.20 บาท แม้ PE ปีนี้ค่อนข้างสูง 17 เท่าแต่จะลดเหลือเพียง 7 เท่าในปีหน้าเมื่อโรงไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นเปิด

                - BANPU(โกลเบล็ก)เป้า 35.60 บาท คาดกำไรปี 58 ที่ 3.2 พันลบ.(+21%YoY)จากกำลังการผลิตถ่านที่เพิ่มขึ้น ล่าสุดมาที่ 48.7 ล้านตันเพิ่มขึ้น 6.7% YoY และปีนี้โรงไฟฟ้าหงสาเฟส 1 และ 2 เริ่มผลิตไฟฟ้าส่งผลให้กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมอยู่ที่ 1,398 MW อีกทั้งภายในปี 60 มีแผนขยายกำลังผลิตโรงไฟฟ้าในจีนอีก 583 MW และมีแผนขยายโรงไฟฟ้า BLCP อีก 1,000 MW เป็นปัจจัยหนุนต่อกำไรให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพในระยะ 3 ปีต่อจากนี้

                - KTB(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)"ทยอยสะสม"เป้า 27 บาทจะขึ้น XD เงินปันผลปี 57 หุ้นละ 0.90 บาท ในวันที่ 21 เม.ย. คิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผล 3.9% นอกจากนี้ รายงานสินเชื่อ เดือน ก.พ. +9.2% yoy และ +0.7% mom ดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ธนาคารที่ +3.8% yoy และ +0.5% mom พร้อมคาดกำไรสุทธิปี 2558 เติบโต +8.9% yoy เป็น 36,113 ล้านบาท จากสินเชื่อที่คาดว่าจะขยายตัว +8% yoy จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และคาดว่าแรงหนุนของโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐฯ ใน 2H58 จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญเร่งการขยายตัวของสินเชื่อ อีกทั้ง Valuation ค่อนข้างถูก

                - SAMART(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)"ทยอยสะสม"เป้า 43 บาท คาดจะได้อานิสงส์เชิงบวกจาก Window Dressing  เนื่องจากราคาหุ้น Underperform ตลาดมาก โดย -21.6% QTD เทียบกับ SET INDEX +1.1% และ SET ICT -2.3% และมีปัจจัยบวกระยะสั้น หลังกลุ่ม 2S Consortium ที่มีสามารถคอมเทคถิอหุ้นป็นผู้ชนะงานติดตั้งระบบ APPS ให้ AOT 5 ปี พร้อมคาดกำไรสุทธิปี 58 โต +20.3% yoy และมี Upside Risk จากโครงการโรงไฟฟ้าขยะที่ยังไม่รวมไว้ในประมาณการ

ตลาดหุ้นเอเชียปรับลงเช้านี้ หลังดาวโจนส์ดิ่งหนักเหตุยอดซื้อสินค้าคงทนร่วง

   ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงเช้าวันนี้ เพราะได้รับแรงกดดันจากดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงเกือบ 300 จุดเมื่อคืนนี้ หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.พ.ร่วงลงอย่างผิดคาด

   ดัชนี MSCI Asia Pacific Index ปรับลง 0.6% แตะที่ 148.20 จุด เมื่อเวลาประมาณ 09.00 น.ตามเวลาโตเกียวในวันนี้

     ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดที่ 19,605.60 จุด ลดลง 140.60 จุด หรือ -0.71%  ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดที่ 2,027.20 จุด ลดลง 15.61 จุด หรือ -0.76% ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดที่ 5,973.30 จุด ไม่เปลี่ยนแปลง ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดที่ 9,579.63 จุด ลดลง 88.20 จุด หรือ -0.91%

   ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดที่ 1,816.85 จุด ลดลง 2.25 จุด หรือ -0.12% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดที่ 3,412.15 จุด ลดลง 6.87 จุด หรือ -0.20% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดที่ 3,641.94 จุด ลดลง 18.79 จุด หรือ -0.51% ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดที่ 7,839.67 จุด เพิ่มขึ้น 3.33 จุด หรือ +0.04%

    ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นเอเชียเป็นไปอย่างซบเซา เพราะได้รับปัจจัยลบจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ดิ่งลงรุนแรงถึง 292.60 จุด หรือ -1.62% เมื่อคืนนี้ หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปร่วงลง 1.4% ในเดือนก.พ. ซึ่งตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% สะท้อนให้เห็นว่าภาคธุรกิจยังคงมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย ท่ามกลางภาวะอุปสงค์โลกที่ซบเซา

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดลบ 28.71 จุด เหตุหุ้นแบงก์ร่วง

     ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) เนื่องจากหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง แม้ว่าหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวแข็งแกร่ง

     ดัชนี FTSE 100 ลดลง 28.71 จุด หรือ 0.41% ปิดที่ 6,990.97 จุด

     ตลาดปรับตัวในแดนลบต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 โดยมีแรงถ่วงจากหุ้นบาร์เคลย์สที่รูดลง 2.5% หลังจากมีการปรับลดความน่าลงทุนของหุ้นดังกล่าว

    การดีดตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ไม่สามารถช่วยให้ตลาดปิดในแดนบวก โดยหุ้นริโอ ทินโต เพิ่มขึ้น 1.5% และหุ้นแองโกล อเมริกัน ปรับขึ้น 1%

    ทางด้านเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางอังกฤษรายหนึ่งได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเมื่อวานนี้ว่า อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษมีแนวโน้มจะติดลบในช่วงเดือนหน้า และนั่นอาจส่งผลให้ธนาคารกลางพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก หากเงินเฟ้อยังคงอยู่ระดับต่ำ

     ก่อนหน้านี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญ ได้ลดลงแตะระดับ 0% ในเดือนก.พ. โดยนับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 55 ปีที่เงินเฟ้อไม่มีการปรับตัวขึ้น

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดร่วง จากแรงขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

    ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) เนื่องจากตลาดได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลให้ดัชนี Stoxx Europe 600 ทำสถิติดิ่งลงหนักสุดในรอบกว่า 2 เดือน แม้มีรายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม

    ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.1% ปิดที่ 397.95 จุด

    ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,020.99 จุด ลดลง 67.29 จุด หรือ -1.32% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,865.32 จุด ร่วงลง 140.37 จุด หรือ -1.17% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,990.97 จุด ลดลง 28.71 จุด หรือ -0.41%

   ในช่วงแรกนั้น ตลาดหุ้นยุโรปเคลื่อนไหวในแดนบวก หลังจากสถาบัน Ifo เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีปรับตัวขึ้นแตะระดับ 107.9 ในเดือนมี.ค. จากระดับ 106.8 ในเดือนก.พ. โดยเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 และแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2557

    อย่างไรก็ตาม ตลาดอ่อนแรงลงในเวลาต่อมา เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยหุ้นเออาร์เอ็ม โฮลดิงส์ และหุ้นเอเอสเอ็มแอล โฮลดิงส์ ต่างก็ร่วงลงกว่า 5.5%

    หุ้นธนาคารบาร์เคลย์ส ร่วงลง 2.5% หลังจากนักวิเคราะห์ของอินเวสเทค ได้ปรับลดหน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นบาร์เคลย์ส ส่วนหุ้นมารีน ฮาร์เวสต์ ดิ่งลง 5.6% หลังจากนักวิเคราะห์ได้ปรับลดหน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นดังกล่าวลงเช่นกัน

    นักลงทุนยังคงติดตามดูสถานการณ์กรีซอย่างใกล้ชิด ขณะที่ดอยช์แบงก์คาดการณ์ว่า การที่รัฐบาลกรีซขาดสภาพคล่องอาจจะนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้มูลค่า 460 ล้านยูโร (502.5 ล้านดอลลาร์) ให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในวันที่ 9 เม.ย.นี้

     ดอยช์แบงก์ระบุว่า จนถึงขณะนี้ รายได้จากการจัดเก็บภาษีของกรีซยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย1 พันล้านดอลลาร์และภาคธนาคารของกรีซกำลังขาดสภาพคล่อง

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดร่วง 292.60 จุดหลังยอดซื้อสินค้าคงทนซบเซา

    ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) ซึ่งเป็นการปิดลบติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มภาคการผลิตของสหรัฐ หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.พ.ร่วงลงอย่างผิดคาด

   ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,718.54 จุด ร่วงลง 292.60 จุด หรือ -1.62% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,876.52 จุด ดิ่งลง 118.21 จุด หรือ -2.37% ดัชนี S&P500 ปิดที่ที่ 2,061.05 จุด ลดลง 30.45 จุด หรือ -1.46%

     ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐที่ระบุว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปร่วงลง 1.4% ในเดือนก.พ. ซึ่งตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% สะท้อนให้เห็นว่าภาคธุรกิจยังคงมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย ท่ามกลางภาวะอุปสงค์โลกที่ซบเซา

   เจย์ มอร์ล็อค นักวิเคราะห์จากเอฟทีเอ็น ไฟแนนเชียลกล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐมีแนวโน้มซบเซาลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง นอกจากนี้ ความต้องการสินค้าสหรัฐในต่างประเทศและการแข่งขันที่ดุเดือด ก็จะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตของสหรัฐในอนาคตด้วย

     หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง โดยหุ้นแอปเปิลดิ่งลง 2.6% หุ้นอินเทล คอร์ป ร่วงลง 2.9% ขณะที่หุ้นผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ร่วงลงเช่นกัน นำโดยหุ้นเอ็นวิเดีย ร่วงลง 6.1%

    หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพร่วงลงเช่นกัน โดยหุ้นเน็ทฟลิกซ์ และหุ้นเซลฟอร์ซต่างก็ต่างปรับตัวลงกว่า 2.3%

    อย่างไรก็ตาม หุ้นคราฟท์ฟู้ดส์ทะยานขึ้น 35.6% หลังจากบริษัททำข้อตกลงควบรวมกิจการกับบริษัทเอช.เจ.ไฮน์ซ ผู้ผลิตซอสมะเขือเทศชื่อดัง โดยไฮน์ซจะถือหุ้นในบริษัทร่วมทุน 51% และคราฟท์จะถือหุ้น 49%

   ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ โดยหุ้นเชฟรอนปรับตัวขึ้น 1.4% หุ้นฮัลลิเบอร์ตันพุ่งขึ้น 2.1% และหุ้นทรานส์โอเชียนปรับตัวขึ้น 2.1% เช่นกัน

    นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนมี.ค., จีดีพีขั้นสุดท้ายช่วงไตรมาส 4/2557 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนมี.ค.จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 25 มี.ค.2558

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,718.54 จุด                          ลดลง 292.60 จุด      -1.62%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,876.52 จุด                       ลดลง 118.21 จุด      -2.37%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,061.05 จุด                        ลดลง 30.45 จุด       -1.46%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,990.97 จุด                     ลดลง 28.71 จุด       -0.41%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,865.32 จุด                            ลดลง 140.37 จุด      -1.17%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,020.99 จุด                         ลดลง 67.29 จุด       -1.32%

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,937.10 จุด      เพิ่มขึ้น 2.60 จุด       +0.04%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,973.30 จุด            เพิ่มขึ้น 4.20 จุด       +0.07%

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,667.83 จุด                            ลดลง 63.83 จุด       -0.66%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 19,746.20 จุด                      เพิ่มขึ้น 32.75 จุด      +0.17%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 2,042.81 จุด                         เพิ่มขึ้น 1.44 จุด       +0.07%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,660.73 จุด                      ลดลง 30.68 จุด       -0.83%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,836.34 จุด              เพิ่มขึ้น 7.40 จุด       +0.09%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 24,528.23 จุด                               เพิ่มขึ้น 128.63 จุด     +0.53%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,405.49 จุด       ลดลง 42.16 จุด       -0.77%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,819.10 จุด                       เพิ่มขึ้น 5.06 จุด       +0.28%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,419.02 จุด                        เพิ่มขึ้น 5.76 จุด       +0.17%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 28,111.83 จุด                          ลดลง 49.89 จุด       -0.18%

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) ซึ่งเป็นการปิดลบติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มภาคการผลิตของสหรัฐ หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.พ.ร่วงลงอย่างผิดคาด

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,718.54 จุด ร่วงลง 292.60 จุด หรือ -1.62% ดัชนี NASDAQปิดที่ 4,876.52 จุด ดิ่งลง 118.21 จุด หรือ -2.37% ดัชนี S&P500 ปิดที่ที่ 2,061.05 จุด ลดลง 30.45 จุด หรือ -1.46%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) เนื่องจากตลาดได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลให้ดัชนี Stoxx Europe 600 ทำสถิติดิ่งลงหนักสุดในรอบกว่า 2 เดือน แม้มีรายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.1% ปิดที่ 397.95 จุด

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,020.99 จุด ลดลง 67.29 จุด หรือ -1.32% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,865.32 จุด ร่วงลง 140.37 จุด หรือ -1.17% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,990.97 จุด ลดลง 28.71 จุด หรือ -0.41%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) เนื่องจากหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง แม้ว่าหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวแข็งแกร่ง

          ดัชนี FTSE 100 ลดลง 28.71 จุด หรือ 0.41% ปิดที่ 6,990.97 จุด

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) เนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและการร่วงลงอย่างหนักของตลาดหุ้นนิวยอร์ก ได้กระตุ้นให้นักลงทุนแห่ซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 5.6 ดอลลาร์ หรือ 0.47% 1,197.00 ดอลลาร์/ออนซ์ 

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 1.7 เซนต์ ปิดที่ 17 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 5 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,146.50 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 1.7 ดอลลาร์ ปิดที่ 765.40 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) เพราะได้รับแรงหนุนจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในเยเมน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้สัญญาน้ำมันดีดตัวขึ้น แม้มีรายงานว่าสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นมากกว่าการคาดการณ์ก็ตาม

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 1.7 ดอลลาร์ ปิดที่ 49.21 ดอลลาร์/บาร์เรล

          สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 1.37 ดอลลาร์ ปิดที่ 56.48 ดอลลาร์/บาร์เรล

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินยูโรและเยนเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) เนื่องจากยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐร่วงลงมากกว่าที่คาดในเดือนก.พ.

          ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0958 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.0925 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.4865 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.4846 ดอลลาร์สหรัฐ

          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 119.63 เยน เทียบกับระดับ 119.66 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9616 ฟรังก์ จาก 0.9576 ฟรังก์

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7836 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7870 ดอลลาร์

    ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 598.00 จุด เพิ่มขึ้น 1.00 จุด, +0.17%

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!