WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับขึ้นตามตปท.หลังปธ.เฟดส่งสัญญาณไม่เร่งรีบขึ้นดบ.

    นายถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้มีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในแดนบวกในช่วงเช้านี้ ภายหลังจากที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ที่ออกมาส่งสัญญาณว่าจะไม่เร่งรีบขึ้นอตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ทำให้ความเสี่ยงจากต่างประเทศลดลง

    อย่างไรก็ดี ตลาดบ้านเราอาจมีปัจจัยกดดันจากตลาดอนุพันธ์ที่วันนี้จะเป็นวันที่มีการปิดสัญญาอนุพันธ์ ซึ่งนักลงทุนต่างชาติได้ทำ short ไว้มากในช่วงที่ผ่านมา อาจจะทำให้ดัชนีฯมีความผันผวนสูงได้ โดยเฉพาะในช่วงใกล้ปิดเทรด

    ทั้งนี้ ตลาดฯยังมีความหวังจากปัจจัยในประเทศในการทำ Window Dressing ก่อนปิดงบฯไตรมาส 1/58 และแรงหนุนจากทริกเกอร์ฟันด์ รวมถึงหากมีการยกเลิกกฎอัยการศึกจริงก็อาจจะทำให้สถานการณ์ดูดีขึ้น และยังช่วยหนุนกลุ่มท่องเที่ยวได้บ้าง แต่กลุ่มท่องเที่ยวเวลานี้ก็เจอปัญหาเรื่อง ICAO อยู่ แต่ก็เชื่อว่าหากยกเลิกจริงก็ยังไม่น่าจะทำให้ตลาดฯกลับมาในทันทีทันใด

พร้อมให้แนวรับ 1,480 จุด ส่วนแนวต้าน 1,505-1,510 จุด

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน

    - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด(27 มี.ค.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,712.66 จุด เพิ่มขึ้น 34.43 จุด(+0.19%),ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,891.22 จุด เพิ่มขึ้น 27.86 จุด(+0.57%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,061.02 จุด เพิ่มขึ้น 4.87 จุด(+0.24%)

    - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 9.58 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 19.51 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 241.26 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 29.66 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 6.80 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ ลดลง 8.16 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 2.15 จุด

     - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(27 มี.ค.58)1,495.22 จุด ลดลง 1.19 จุด(-0.08%)

     - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,116.10 ล้านบาท เมื่อวันที่ 27 มี.ค.58

     - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(26 มี.ค.58) ปิดที่ 48.87 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 2.56 ดอลลาร์

     - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(27 มี.ค.58)ที่ 8.43 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

     - เงินบาทเปิด 32.60/62 แนวโน้มอ่อนค่าจาก flow ซื้อดอลล์ช่วงสิ้นเดือน

       - แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การเก็บภาษีของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2558 ยังไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะกรมสรรพากรที่เดิมคาดว่าจะเก็บภาษีต่ำกว่าเป้าประมาณ 1.6 แสนล้านบาท แต่ล่าสุดคาดว่าจะมีรายได้อาจต่ำกว่าเป้าถึง 2 แสนล้านบาท เนื่องจากการประเมินการเก็บภาษีกรมสรรพากรในครั้งก่อนนั้น ราคาน้ำมันสูงกว่าปัจจุบัน ทำให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จากการนำเข้าน้ำมันไม่ถูกกระทบมาก

      - กองทุนฟื้นฟูฯจ่ายหนี้ 4 พันล้านบาทในช่วง 2 เดือนแรกปี 58 แหล่งเงินจากเงินนำส่งจากสถาบันการเงินและนำไปจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยพันธบัตร FIDF1 และพันธบัตร FIDF2 ทำให้เงินต้นพันธบัตรสองรุ่นเหลือ 1.07 ล้านล้านบาท และมียอดรวมจ่ายชำระหนี้ไปแล้วทั้งสิ้น 1.81 แสนล้านบาท

    - ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีระบุส่งออกเดือนก.พ.หดตัวกว่าที่คาด ส่งผล 2 เดือนแรกหดตัว 4.8% และแม้เงินบาทอ่อนค่าจะช่วยภาคส่งออก แต่ยังมีอุตสาหกรรมบางกลุ่มได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็น พลังงาน เคมีภัณฑ์ หรือ เครื่องจักร แนะผู้ประกอบการควรขยายตลาดส่งออกเพิ่มเติมมากกว่าหวังเงินบาทอ่อนช่วยเพียงอย่างเดียว

     - กนอ.ประกาศเชิญชวนภาคเอกชนยื่นข้อเสนอพื้นที่เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมตามนโยบายรัฐบาลระยะที่ 2 ได้แก่นิคมฯในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ตั้งตั้งในเขต จังหวัดขอนแก่น นครพนม มุกดาหาร สกลนคร และอุบลราชธานี ส่วนนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ต้องตั้งในเขต จังหวัดตาก ลำปาง กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิษณุโลก พะเยา เชียงใหม่ เอกชนสามารถยื่นเสนอพื้นที่ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2558

*หุ้นเด่นวันนี้

      - KBANK(ฟินันเซีย ไซรัส)"ซื้อ"เป้า 260 บาท ยังเป็น Top pick ของกลุ่ม คาดกำไรสุทธิ 1Q15 จะอยู่ในระดับที่ดีมากและอาจเป็นไตรมาสที่ดีสุดของปีนี้ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท +30% Q-Q, +8% Y-Y โดยคาดสินเชื่อ +2% YTD สูงกว่ากลุ่มที่เพิ่มเพียง 0-1% YTD และได้อานิสงส์จากต้นทุนการเงินที่ต่ำในปีก่อนซึ่งทำให้ NIM น่าจะอยู่ในระดับสูงที่ 3.7% แต่ปรับกำไรสุทธิปีนี้ลง 3% เหลือโต 5% Y-Y โดยปรับลดการเติบโตของสินเชื่อจากเดิม 9% เป็น 8% NIM จาก 3.74% เป็น 3.70% และการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมจาก 14% เป็น 12%

      - CENTEL(ดีบีเอส วิคเคอร์ส)"ซื้อ"เป้า 41.50 บาท ระยะสั้นมีปัจจัยกระตุ้นจากการฟื้นตัวและเติบโตที่ดีของภาคท่องเที่ยว และโอกาสที่คสช.จะยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกมีมากขึ้น ส่วนระยะยาวเป็นเรื่องของการลงทุนใหม่ ๆ ซึ่งบริษัทจะเน้นลงทุนในต่างประเทศเพื่อกระจายฐานรายได้และความเสี่ยงทางธุรกิจให้มากขึ้น ความเสี่ยงหลัก คือ ปัญหาการเมือง และเศรษฐกิจภายในซบเซากว่าที่คาด ทั้งนี้ ธุรกิจฟื้นตัวดีต่อใน 1Q58  ในช่วง 2M58 อัตราการเข้าพักของโรงแรมเพิ่มเป็น 85% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 75% และ RevPar เพิ่มขึ้นได้ 7%YoY ส่วนธุรกิจอาหารมี SSSG ที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน รวมทั้ง EBITDA Margin ของอาหารก็ดีขึ้นด้วย

     - TASCO(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)"ทยอยสะสม"เป้า 120 บาท ราคาหุ้นมี Catalyst รออยู่ เนื่องจากจะมีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติแตกพาร์จาก 10.00 บาท เป็น 1.00 บาท ในวันที่ 7 เม.ย. คงมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบการปี 2558 เนื่องจากได้ประโยชน์โดยตรงจากราคาน้ำมันดิบที่ลดง ซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการผลิตยางมะตอย ขณะที่ราคาขายยางมะตอยปรับตัวลงในอัตราที่ช้ากว่าต้นทุนที่ลดลง จะช่วยหนุนอัตรากำไรขั้นต้นปี 2558 ให้เร่งตัวขึ้น เบื้องต้นคาดกำไรสุทธิ 1Q58 จะเติบโต qoq เป็น 550-600 ล้านบาท และเป็นระดับสูงสุดใหม่รายไตรมาสของบริษัทอีกครั้งต่อเนื่องจาก 4Q57 ที่ผ่านมา และ Valuation น่าสนใจ

ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเช้านี้ ตามตลาดนิวยอร์ก

    ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ ตามทิศทางตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดในแดนบวกเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แม้จะมีรายงานจากทางญี่ปุ่นว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ.ปรับตัวลง 3.4% จากเดือนก่อนหน้าก็ตาม

   ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 19,295.21 จุด เพิ่มขึ้น 9.58 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,710.61 จุด เพิ่มขึ้น 19.51 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 24,727.46 จุด เพิ่มขึ้น 241.26 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,533.38 จุด เพิ่มขึ้น 29.66 จุด

    ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,026.60 จุด เพิ่มขึ้น 6.80 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,441.94 จุด ลดลง 8.16 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,815.52 จุด เพิ่มขึ้น 2.15 จุด

     ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นเอเชียได้รับแรงหนุนจากการปิดบวกของตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ อันเป็นผลมาจากข่าวควบรวมกิจการที่ช่วยกระตุ้นให้มีแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเข้ามาในช่วงท้ายตลาด

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: หุ้นกลุ่มเหมืองฉุดฟุตซี่ปิดลบ 40.31 จุด

    ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นวันที่ 4 เมื่อคืนนี้ (27 มี.ค.) โดยหุ้นกลุ่มเหมืองร่วงลง บดบังหุ้นกลุ่มสายการบินที่ดีดตัวขึ้น ขณะที่นักลงทุนยังคงติดตามสถานการณ์รุนแรงในเยเมนซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาน้ำมัน

   ดัชนี FTSE 100 ลดลง 40.31 จุด หรือ 0.58% ปิดที่ 6,855.02 จุด สำหรับตลอดสัปดาห์ ดัชนีร่วงลง 2.4%

  ภาวะการซื้อขายส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง ภายหลังซาอุดิอาระเบียและพันธมิตรทำการโจมตีทางอากาศต่อฐานที่มั่นของกลุ่มกบฏฮูตีในเยเมน โดยนักลงทุนติดตามความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจมีต่อตลาดการเงิน

   หุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ร่วง 1.7% หลังราคาน้ำมันปรับตัวลดลง หุ้นทุลโลว์ ออยล์ ลดลง 3.9% ขณะที่หุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน โดยอังโกล อเมริกัน ร่วง 3.02% และแรนด์โกลด์ รีซอร์สเซส ลบ 2.98%

   อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มสายการปรับตัวขึ้น นำโดยหุ้นอินเตอร์เนชั่นแนล คอนโซลิเดเต็ด แอร์ไลน์ส กรุ๊ป บวก 1.2% โดยเป็นการดีดตัวขึ้นจากที่ร่วงลงอย่างหนักวันก่อน หุ้นอีซีเจ็ทดีดขึ้น 1.1%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดดีดตัวขึ้น หลังถูกเทขายสองวันติดต่อกัน

    ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (27 มี.ค.) หลังจากที่หุ้นถูกเทขายจนร่วงลงอย่างหนักในช่วงสองวันที่ผ่านมา โดยนักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไร แม้ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางก็ตาม

    ดัชนี Stoxx Europe 600 ดีดขึ้น 0.3% ปิดที่ 395.54 จุด ขณะที่ตลอดสัปดาห์ ดัชนีลดลง 2.1% จากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ภายหลังจากที่ซาอุดิอาระเบียและพันธมิตรเริ่มปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อฐานที่มั่นของกลุ่มกบฏฮูตีในเยเมน

   ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปรับตัวขึ้น 27.71 จุด หรือ 0.55% ปิดที่ 5,034.06 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันดีดขึ้น 24.65 จุด หรือ 0.21% ปิดที่ 11,868.33 จุด ขณะที่ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนลดลง 40.31 จุด หรือ 0.58% ปิดที่ 6,855.02 จุด

    ดัชนี หุ้นยุโรปเปิดตลาดในแดนบวก และพุ่งขึ้นไปถึง 0.8% อย่างไรก็ตาม ดัชนีลดช่วงบวกลง หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว โดยระบุว่าชะลอตัวสู่ระดับ 2.2% ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากคาดการณ์ในเดือนที่แล้ว แต่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

    นอกจากนี้ ในชั่วโมงสุดท้ายของการซื้อขาย ดัชนีหุ้นยุโรปร่วงลงจนเกือบเข้าสู่แดนลบ เนื่องจากมีแรงขายเข้ามาในหุ้นกลุ่มเหมืองและพลังงาน อย่างไรก็ดี ดัชนีสามารถพยุงตัวสูงขึ้นได้จนกระทั่งปิดตลาด

    อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวลดลงสวนทางตลาดในภูมิภาค ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการร่วงลงของหุ้นเหมือง จากข่าวที่ว่าอุตสาหกรรมเหมืองทองแดงของชิลีได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก จนกระทั่งทำให้เหมืองขนาดใหญ่สุดของโลกบางแห่งต้องปิดดำเนินการ

   สำหรับ สถานการณ์ความเคลื่อนไหวในตะวันออกกลางนั้น มีรายงานว่ากองกำลังซึ่งนำโดยซาอุดิอาระเบียได้โจมตีฐานทัพอากาศแห่งหนึ่งใกล้กับแหล่งน้ำมันทางตะวันออกของกรุงซานา เมืองหลวงของเยเมน

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดบวก 34.43 จุด หลังหุ้นเทคโนโลยีพุ่งช่วงท้ายตลาด

   ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (27 มี.ค.) หลังจากที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตลอด 4 วันที่ผ่านมา โดยภาวะการซื้อขายค่อนข้างผันผวนและเงียบเหงา ดัชนีเคลื่อนไหวขึ้นๆลงๆในระหว่างวัน อย่างไรก็ดี ข่าวควบรวมกิจการช่วยกระตุ้นให้มีแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเข้ามาในช่วงท้ายตลาด และหนุนให้ตลาดปิดในแดนบวกได้ในที่สุด

   ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 34.43 จุด หรือ 0.19% ปิดที่ 17,712.66 จุด ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 4.87 จุด หรือ 0.24% ปิดที่ 2,061.02 จุด ดัชนี NASDAQ เพิ่มขึ้น 27.86 จุด หรือ 0.57% ปิดที่ 4,891.22 จุด

   แม้ปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ แต่ตลอดสัปดาห์ ดัชนีหุ้นนิวยอร์กทั้ง 3 ดัชนี ได้ปรับตัวลดลง 2.3% 2.2% และ 2.7% ตามลำดับ

    เทรดเดอร์ กล่าวว่า ภาวะการซื้อขายค่อนข้างเงียบเหงา อย่างไรก็ดี หลังจากที่มีรายงานว่า อินเทล คอร์ป อยู่ในระหว่างการเจรจาซื้ออัลเทรา คอร์ป ก็ส่งผลให้หุ้นอินเทลกลับมาปรับตัวขึ้นได้ในสัปดาห์นี้ ขณะที่หุ้นอัลเทราทะยานถึง 28% ซึ่งมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ ข่าวดังกล่าวยังช่วยหนุนดัชนีหุ้นทั้ง 3 ดัชนีสามารถปิดแดนบวกได้ในวันสุดท้ายของสัปดาห์

    สำหรับ ข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยในวันศุกร์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว โดยระบุว่าชะลอตัวสู่ระดับ 2.2% ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากคาดการณ์ในเดือนที่แล้ว

    รายงานระบุว่า สาเหตุที่ไม่มีการปรับทบทวนตัวเลขจีดีพีนั้นเป็นเพราะ การเพิ่มขึ้นมากเกินคาดในส่วนของการส่งออก รวมถึงการใช้จ่ายและการบริโภคส่วนบุคคล ขณะที่สินค้าคงคลังภาคเอกชนลดลงน้อยกว่าที่ประเมินไว้

   ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขกำไรของภาคเอกชนในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว โดยระบุว่า กำไรของภาคเอกชน หลังการหักภาษี และไม่มีการปรับค่าตามมูลค่าสินค้าคงคลัง และการบริโภคทุน ลดลง 3% ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ซึ่งนับเป็นการดิ่งลงของกำไรรายไตรมาสที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2011

    ด้านผลสำรวจของรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐขั้นสุดท้ายของเดือนมี.ค.อยู่ที่ระดับ 93.0 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 91.2 แต่ต่ำกว่าระดับ  95.4 ของเดือนก.พ. โดยถูกกดดันจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และสภาพอากาศที่เลวร้าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อครัวเรือนที่มีรายได้น้อย

    ทั้งนี้ ก่อนปิดตลาดไม่นาน นางเจเน็ท เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในการประชุมที่ได้รับการสนับสนุนโดยเฟด ซานฟรานซิสโก ว่า การปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐนั้นหมายความว่า จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงต่อไปของปีนี้ แต่นางเยลเลนย้ำกว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นการปรับขึ้นทีละน้อยมาก

 อย่างไรก็ตาม ถ้อยแถลงของนางเยลเลนแทบไม่มีผลใดๆต่อตลาด โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่าถ้อยแถลงของประธานเฟดไม่มีอะไรใหม่ หรือแตกต่างออกไปจากที่ผ่านๆมา

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 27 มี.ค.2558

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,712.66 จุด เพิ่มขึ้น 34.43 จุด, +0.19%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,891.22 จุด เพิ่มขึ้น 27.86 จุด, +0.57%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,061.02 จุด เพิ่มขึ้น 4.87 จุด, +0.24%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,034.06 จุด เพิ่มขึ้น 27.71 จุด, +0.55%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,868.33 จุด เพิ่มขึ้น 24.65 จุด, +0.21%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,855.02 จุด ลดลง 40.31 จุด, -0.58%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 27,458.64 จุด เพิ่มขึ้น 1.06 จุด, +0.00%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,450.10 จุด เพิ่มขึ้น 18.51 จุด, +0.54%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,813.37 จุด ลดลง 5.05 จุด, -0.28%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,396.85 จุด เพิ่มขึ้น 28.05 จุด, +0.52%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 24,486.20 จุด ลดลง 10.88 จุด, -0.04%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,877.96 จุด เพิ่มขึ้น 6.86 จุด, +0.09%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,691.10 จุด เพิ่มขึ้น 9.00 จุด, +0.24%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 2,019.80 จุด ลดลง 2.76 จุด, -0.14%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 19,285.63 จุด ลดลง 185.49 จุด, -0.95%

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,503.72 จุด ลดลง 115.40 จุด, -1.20%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,919.90 จุด เพิ่มขึ้น 40.80 จุด, +0.69%

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กิดดีดตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (27 มี.ค.) หลังจากที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตลอด 4 วันที่ผ่านมา โดยภาวะการซื้อขายค่อนข้างผันผวนและเงียบเหงา ดัชนีเคลื่อนไหวขึ้นๆลงๆในระหว่างวัน อย่างไรก็ดี ข่าวควบรวมกิจการช่วยกระตุ้นให้มีแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเข้ามาในช่วงท้ายตลาด และหนุนให้ตลาดปิดในแดนบวกได้ในที่สุด

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 34.43 จุด หรือ 0.19% ปิดที่ 17,712.66 จุด ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 4.87 จุด หรือ 0.24% ปิดที่ 2,061.02 จุด ดัชนี NASDAQ เพิ่มขึ้น27.86 จุด หรือ 0.57% ปิดที่ 4,891.22 จุด

ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (27 มี.ค.) หลังจากที่หุ้นถูกเทขายจนร่วงลงอย่างหนักในช่วงสองวันที่ผ่านมา โดยนักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไร แม้ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางก็ตาม

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ดีดขึ้น 0.3% ปิดที่ 395.54 จุด ขณะที่ตลอดสัปดาห์ ดัชนีลดลง 2.1% จากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ภายหลังจากที่ซาอุดิอาระเบียและพันธมิตรเริ่มปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อฐานที่มั่นของกลุ่มกบฏฮูตีในเยเมน

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปรับตัวขึ้น 27.71 จุด หรือ 0.55% ปิดที่ 5,034.06 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันดีดขึ้น 24.65 จุด หรือ 0.21% ปิดที่ 11,868.33 จุด ขณะที่ดัชนีFTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนลดลง 40.31 จุด หรือ 0.58% ปิดที่ 6,855.02 จุด

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นวันที่ 4 เมื่อวันศุกร์ (27 มี.ค.) โดยหุ้นกลุ่มเหมืองร่วงลง บดบังหุ้นกลุ่มสายการบินที่ดีดตัวขึ้น ขณะที่นักลงทุนยังคงติดตามสถานการณ์รุนแรงในเยเมนซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาน้ำมัน

          ดัชนี FTSE 100 ลดลง 40.31 จุด หรือ 0.58% ปิดที่ 6,855.02 จุด สำหรับตลอดสัปดาห์ ดัชนีร่วงลง 2.4%

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (27 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไร ภายหลังจากที่ราคาพุ่งแรงเมื่อวันพฤหัสบดี ขณะเดียวกันนักลงทุนคลายกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง โดยมองว่าความขัดแย้งดังกล่าวอาจจะไม่ส่งผลมากนักต่ออุปทานและการขนส่งน้ำมัน 

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 2.56 ดอลลาร์ ปิดที่ 48.87 ดอลลาร์/บาร์เรล

          สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 2.78 ดอลลาร์ ปิดที่ 56.41 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลดลงเมื่อวันศุกร์ (26 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไร หลังจากที่สัญญาทองคำปรับตัวขึ้น 7 วันติดต่อกัน ขณะที่การคาดการณ์ว่าดอลลาร์สหรัฐจะกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ปรับตัวลดลงในระยะนี้ ก็ได้กระตุ้นให้นักลงทุนส่วนหนึ่งขายทำกำไรเช่นกัน

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ลดลง 5ดอลลาร์ หรือ 0.42% ปิดที่  1,990.80 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยในช่วง 7 วันทำการที่ผ่านมา สัญญาทองพุ่งขึ้น 4.9% ขณะที่ในรอบสัปดาห์ ราคาเพิ่มขึ้น 1.28%

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ปรับตัวลง 7.1 เซนต์ หรือ 0.41% ปิดที่ 17.069ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ลดลง 10.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,143.60 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 32.35 ดอลลาร์ ปิดที่ 741.00 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (27 มี.ค.) หลังจากข้อมูลจีดีพีแสดงให้เห็นว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐไม่เปลี่ยนแปลงในไตรมาส 4 ของปี 2557 ซึ่งสะท้อนว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐนั้นยังไม่เรียกได้ว่าแข็งแกร่งมากนัก

          ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 119.10 เยน ลดลงจาก 119.24 เยนในการซื้อขายวันก่อน และอ่อนค่าลงแตะ 0.9608 ฟรังก์สวิส จาก 0.9633 ฟรังก์ ขณะที่แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.2600 ดอลลาร์แคนาดา จาก 1.2478 ดอลลาร์แคนาดา

          ยูโรปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 1.0899 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0872 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 1.4873 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.4840 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะระดับ 0.7756 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7814 ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 596.00 จุด ลดลง 2.00 จุด, -0.33%

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!