WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้าลุ้นรีบาวน์แต่ไปไม่ไกล หลังหลายปัจจัยลบในปท.ยังปกคลุม

    นายเกษม พันธ์รัตนมาลา กรรมการและหัวหน้าส่วนงานวิจัย บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย)กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ยังมีโอกาสที่จะรีบาวน์ขึ้นไปได้แต่ไม่ไกล และก็อาจจะยืนไม่ค่อยได้ เนื่องจากเมื่อวานนี้ตลาดบ้านเรารีบาวน์ขึ้นมาหลังจากโดนขายไปหลายวัน ซึ่งมาจากกลุ่มแอร์ไลน์ส่วนใหญ่ หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ยืดเวลาให้ 2 เดือน แต่มองว่าเป็นการยืดแค่ 2 เดือนเท่านั้น เรื่องของ ICAO ยังไม่จบไป ส่วนการยกเลิกกฎอัยการศึกก็อาจจะเป็นผลบวกต่อตลาดฯเล็กน้อย แต่คนคงไม่ได้ดีใจมาก เพราะยังมีมาตรา 44 คลุมอยู่

  นอกจากนี้ ยังเห็นนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ ซึ่งอาจจะมาจากหลายปัจจัยในประเทศจากที่ outlook ตลาดดูไม่ค่อยดี, ตัวเลข GDP ของไทยก็ถูกลดประมาณการลง ทำให้มีผลต่อ Earning ของบริษัทจดทะเบียนไปด้วย อันเป็นผลจากเศรษฐกิจมีการเติบโตช้ากว่าคาด อีกทั้งเงินบาทแข็งค่าตอนนี้ทำให้ Flow ยังไม่ค่อยกล้าเข้ามา เพราะอีก 3-6 เดือนข้างหน้าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง ซึ่งหากเข้ามาก็มีโอกาสที่จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน(FX)ได้

   ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้อยู่ในแดนบวกกัน โดยมองการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯอาจไม่เร็ว อย่างไรก็ดี ตลาดบ้านเราช่วงนี้ไม่ค่อยจะตามตลาดต่างประเทศเท่าไร แต่จะอิงปัจจัยในประเทศมากกว่า

  พร้อมให้แนวรับ 1,515 จุด ส่วนแนวต้าน 1,530 จุด

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน

     - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด(1 เม.ย.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,698.18 จุด ลดลง 77.94 จุด(-0.44%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,880.23 จุด ลดลง 20.65 จุด(-0.42%),ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,059.69 จุด ลดลง 8.20 จุด(-0.40%)

    - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 107.09 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน เพิ่มขึ้น 17.40 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 131.58 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 28.32 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 8.45 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 0.42 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 1.35 จุด

    - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(1 เม.ย.58)1,525.58 จุด เพิ่มขึ้น 19.64 จุด(+1.30%)

     - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,155.13 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 เม.ย.58

     - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(1 เม.ย.58) ปิดที่ 50.09 ดอลลาร์/บาร์เรล พุ่งขึ้น 2.49 ดอลลาร์

    - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(1 เม.ย.58)ที่ 8.24 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

    - เงินบาทเปิด 32.48/50 แนวโน้มแข็งค่าหลังดอลล์อ่อน

    - โปรดเกล้าฯยกเลิกใช้กฎอัยการศึกแล้ว ขณะ คสช.ออกคำสั่งตาม"ม.44"ประกาศใช้ 14 ข้อ เน้นให้อำนาจเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย ปกป้องสถาบันรักษาความมั่นคง"ประยุทธ์"ย้ำใช้แก้ปัญหาประเทศ ผบ.ทบ.ชี้ไม่แรงกว่า"อัยการศึก"

    - กรมการบินพลเรือนญี่ปุ่นเอ็มโอยูกรมการบินเรือนไทยวันนี้ ส่งเจ้าหน้าที่ร่วมแก้ปัญหามาตรฐานความปลอดภัย ตามข้อกำหนดไอซีเอโอ ผ่อนปรนเที่ยวบินประจำ-เช่าเหมาลำเข้าญี่ปุ่น 2 เดือน ภายใต้ความถี่การตรวจสอบสายการบินจากไทยทุกลำ ขณะที่ฝ่ายไทยรับปากพร้อมทบทวนออกใบอนุญาตสายการบินเดิมที่ออกใบอนุญาตเพิ่ม เร่งเดินสายแจงมาตรฐานความปลอดภัย จีน-เกาหลี-ออสเตรเลียและเยอรมนี

   - นักเศรษฐศาสตร์ชี้เสี่ยงเงินฝืดเงินเฟ้อ เดือน มี.ค.ลดลง 0.57% ทุบสถิติติดลบสูงสุดรอบ 5 ปี 6 เดือน เฉลี่ยไตรมาสแรก ลดลง 0.5% เหตุน้ำมันราคาร่วงต่อเนื่อง คาดติดลบต่อเนื่องยาวถึงไตรมาสสอง พาณิชย์ยันยังไม่เกิดภาวะเงินฝืด นักเศรษฐศาสตร์ประเมินมีความเสี่ยงภาวะเงินฝืดเพิ่มขึ้น

    - รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะไม่ให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายภาษีที่ดินจนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพราะไม่อยากให้สังคมสับสน จึงคาดว่าช่วง 4 เดือนจากนี้จะไม่สามารถผลักดันให้เกิดการจัดเก็บภาษีที่ดิน รวมถึงแผนการปฏิรูปภาษีทั้งหมดของกระทรวงการคลังก็ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้

   - นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)ว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันยังคงอยู่ในภาวะตกต่ำต่อเนื่อง แม้ประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น ดำเนินมาตรการการอัดฉีดเงินเข้าระบบ (คิวอี) แต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ เศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ยแค่ 2.53% ต่อเนื่องมาหลายปี และเป็นการขับเคลื่อนจากประเทศในเอเชียเป็นหลัก คือ จีน อินเดีย และประเทศกำลังพัฒนาที่โตปีละ 56%

    - แบงก์ชาติเผยปัญหาหนี้ครัวเรือนไต่ระดับต่อเนื่อง ล่าสุดยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนแตะ 10.43% ทำให้ระดับหนี้ครัวเรือนขยับอยู่ที่ 85.92% ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 57 ผลรายได้ลดลงมากกว่าก่อหนี้ใหม่ เหตุระวังตัวมากขึ้น ส่วนใหญ่ยอดหนี้เพิ่มขึ้นอันดับแรก คือ ธนาคารพาณิชย์ 2.72 แสนล้านบาท ขณะที่สัดส่วนการเติบโตหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ-กบข.บตท.-บสย.สูงสุดในกลุ่มสถาบันการเงินด้วยกันถึง 42.81%

     - ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ระบุ ตามที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของเดือน มี.ค. 2558 ที่ลบ 0.57% ซึ่งเป็นการติดลบเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 1.31% ชะลอลงต่อเนื่องนั้น ถือว่าใกล้เคียงกับที่ ธปท.ประเมินไว้แล้ว โดยเป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลง และเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาที่ฟื้นตัวช้า ซึ่งภาวะดังกล่าวไม่ได้เป็นสัญญาณของเงินฝืด

*หุ้นเด่นวันนี้

    - BJCHI(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)"ทยอยสะสม"เป้า 45 บาท มีปัจจัยบวกรออยู่านขนาดใหญ่ในบราซิลมีความเป็นไปได้สูงที่มูลค่างานอาจสูงกว่า 4.0 พันล้านบาทคาดประกาศช่วงกลางเม.ย.เป็นบวกต่อ Backlog พร้อมคาดกำไรสุทธิปี 58 โต +18.2% เป็น 1,184 ล้านบาท ฐานะการเงินแข็งแกร่งเป็น Net Cash และ PER 2558 ต่ำเพียง 9.05 เท่า และขึ้น XD 11 พ.ค. ได้แก่ Cash Dividend หุ้นละ 0.25 บาท และ Stock Dividend สัดส่วน 4:1 แตกพาร์เหลือ 0.25 บาทรออนุมัติในการประชุมผู้ถือหุ้นวันที่ 27 เม.ย.

     - SIRI(ฟินันเซีย ไซรัส)"ซื้อ"เป้า 2.15 บาท บริษัทปรับเป้า Presales ปีนี้เป็น 3.5 หมื่นล้านบาท จาก 3 หมื่นล้านบาทเพราะยอดขายดีจากแคมเปญ The Joy of Hua Hin in Bangkok และ NOW OR NEVER และการไปโรดโชว์ที่ฮ่องกงทำให้ปิดการขายดีคอนโดครีกได้ เบื้องต้นคาด Presales 1Q15 ทำได้ 6% ของเป้าซึ่งต่ำมาก แต่เชื่อดีขึ้นในช่วงที่เหลือ โดยยังคงคาดกำไรปกติโต 16% Y-Y

     - BECL และ BMCL(ฟินันเซีย ไซรัส)ประชุมผู้ถือหุ้นวันนี้ควบบริษัท IFA ทั้งสองให้ความเห็นว่าเหมาะสม เป็นการผสานจุดแข็ง เพิ่มศักยภาพทางด้านการเงิน และโอกาสในอนาคต หลังจากนี้หากเจ้าหนี้ไม่คัดค้าน จะเตรียมควบในสัดส่วน 1 BECL : 8.65537841 บริษัทใหม่ และ 1 BMCL : 0.42050530 บริษัทใหม่ และกำหนดวันแลกหุ้นต่อไป หุ้นใหม่จะเริ่มเทรด ส.ค. สัดส่วนดังกล่าวเท่ากับ 20.58 BMCL : 1 BECL โดยคิดว่าน่า"เก็งกำไร"BECL เพราะราคาหุ้นควรอยู่ที่ 40 บาท ส่วน CK (เป้าหมาย 33 บาท) ซึ่งได้ประโยชน์ที่สุดจากการควบบริษัทในกลุ่ม แนะนำ"ซื้อ"

    - SCB(โกลเบล็ก)เป้า 202 บาท(P/BV2.1เท่า)คาดกำไรปี 58 ที่ 5.6 หมื่นลบ.(+6%YoY) ตามเป้าสินเชื่อปี 58 ที่ขยายตัวขึ้นราว 5 -7 % ,รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย 10 - 14% , NIM 3.2 - 3.3%  , NPL  2.1 - 2.3% , Credit cost  75 - 80 bps. โดยคาดกำไร Q1/58 ที่ 1.24 หมื่นลบ.(+1%QoQ) จากสินเชื่อที่ทรงตัวจากปี57(สุทธิในช่วง 2M58 หดตัว 0.4%YTD) และมีชดใช้ค่าเสียหาย 1.5 พันลบ.ให้กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.)แต่ไม่กระทบต่อกำไรของธนาคารมากนักเนื่องจากมีสัดส่วนเพียง 2.9% ของประมาณการกำไรปี 58

ตลาดหุ้นเอเชียดีดตัวขึ้นเช้านี้ ขณะจับตาข้อมูลแรงงานสหรัฐ

     ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ โดยการนำของหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม ขณะที่นักลงทุนจับตาดูสหรัฐเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์และข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.

    ดัชนี MSCI Asia Pacific ปรับขึ้น 0.4% สู่ระดับ 146.53 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น.ตามเวลาโตเกียว

    ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 19,141.93 จุด เพิ่มขึ้น 107.09 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 25,214.33 จุด เพิ่มขึ้น 131.58 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,535.98 จุด เพิ่มขึ้น 28.32 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,036.90 จุด เพิ่มขึ้น 8.45 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,446.60 จุด ลดลง 0.42 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,827.66 จุด เพิ่มขึ้น 1.35 จุด

   นักลงทุนจับตาดูตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนมี.ค.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้นเพียง 248,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ซึ่งน้อยกว่าเดือนก.พ.ที่เพิ่มขึ้น 295,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และคาดว่าอัตราการว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 5.5% ในเดือนมี.ค.

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดบวก 36.46 จุด รับข้อมูลภาคการผลิตแข็งแกร่ง

    ตลาดหุ้นลอนดอนปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (1 เม.ย.) ขานรับข้อมูลภาคการผลิตของอังกฤษที่ปรับตัวแข็งแกร่ง ขณะที่ดัชนีภาคการผลิตของจีนและยุโรปที่ปรับตัวดีขันในเดือนมี.ค.ก็เป็นปัจจัยหนุนตลาดเช่นกัน

    ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 36.46 จุด หรือ 0.54% ปิดที่ 6,809.50 จุด

    ข้อมูลภาคการผลิตที่แข็งแกร่งได้ช่วยหนุนตลาดหุ้นลอนดอนให้ปิดในแดนบวก โดย มาร์กิต อิโคโนมิคส์เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของอังกฤษในเดือนมี.ค.ปรับขึ้นแตะ 54.4 จาก 54.0 ในเดือนก.พ. ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นแตะระดับ 52.2 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 10 เดือน จากระดับ 51.0 ในเดือนก.พ. และยังสูงกว่าตัวเลขการประเมินเบื้องต้นที่ 51.9

    นอกจากนี้ สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) และสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) ได้เปิดเผยว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนในเดือนมี.ค.ฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยแตะ 50.1 จาก 49.9 ในเดือนก.พ. ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมในภาคการผลิตกลับมาขยายตัวอีกครั้ง

    หุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มเหมืองต่างก็ปรับตัวขึ้น โดยหุ้นบาร์เคลย์ส พุ่ง 2.8% ขณะที่หุ้นลอยด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป เพิ่มขึ้น 1.4% ส่วนหุ้นเฟรสนิลโลและหุ้นแรนด์โกลด์ รีซอร์เซส ต่างก็ดีดตัวขึ้นกว่า 2%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดบวก ขานรับ PMI การผลิตยูโรโซนแข็งแกร่ง

     ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (1 เม.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มธนาคาร รวมทั้งรายงานที่ระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซน ขยายตัวที่ระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน

    ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับขึ้น 0.3% ปิดที่ 398.52 จุด

    ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,062.22 จุด เพิ่มขึ้น 28.58 จุด หรือ +0.57% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,001.38 จุด เพิ่มขึ้น 35.21 จุด หรือ +0.29% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,809.50 จุด เพิ่มขึ้น 36.46 จุด หรือ +0.54%

   ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงหนุนจากข้อมูลภาคการผลิตที่สดใสของยูโรโซน โดยผลสำรวจระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นแตะระดับ 52.2 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 10 เดือน จากระดับ 51.0 ในเดือนก.พ. และยังสูงกว่าตัวเลขการประเมินเบื้องต้นที่ 51.9

   ส่วนดัชนี PMI ภาคการผลิตของเยอรมนีในเดือนมี.ค.ปรับตัวขึ้นแตะ 52.8 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2557 จาก 51.1 ในเดือนก.พ.

  หุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวขึ้นแข็งแกร่ง นำโดยหุ้นบาร์เคลย์ส พุ่งขึ้น 2.8%

  อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันในระหว่างวันจากข้อมูลแรงงานที่ซบเซาของสหรัฐ โดยผลการสำรวจของ ADP ระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 189,000 รายในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่แล้ว และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 225,000 ราย

    นักลงทุนจับตาดูตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนมี.ค.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้นเพียง 248,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ซึ่งน้อยกว่าเดือนก.พ.ที่เพิ่มขึ้น 295,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และคาดว่าอัตราการว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 5.5% ในเดือนมี.ค.

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดลบ 77.94 จุด วิตกตลาดแรงงานสหรัฐซบเซา

   ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 เม.ย.) หลังจากออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุว่า ตัวเลขจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐปรับตัวขึ้นน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มตลาดแรงงานของสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานยอดขายรถยนต์ที่ซบเซาของสหรัฐด้วย

    ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,698.18 จุด ลดลง 77.94 จุด หรือ -0.44% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,880.23 จุด ลดลง 20.65 จุด หรือ -0.42% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,059.69 จุด ลดลง 8.20 จุด หรือ -0.40%

   ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลงหลังจากผลการสำรวจของ ADP ระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 189,000 รายในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่แล้ว และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 225,000 ราย

   ข้อมูลแรงงานของ ADP ทำให้นักลงทุนจับตาดูตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนมี.ค.ในวันศุกร์นี้อย่างใกล้ชิด ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้นเพียง 248,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ซึ่งน้อยกว่าเดือนก.พ.ที่เพิ่มขึ้น 295,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และคาดว่าอัตราการว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 5.5% ในเดือนมี.ค.

   ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลภาคการผลิตที่ซบเซาของสหรัฐ โดยผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตเดือนมี.ค.อยู่ที่ระดับ 51.5 ลดลงจากระดับ 52.9 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจากยอดสั่งซื้อในภาคการผลิตชะลอตัวลง

   หุ้นกลุ่มรถยนต์ร่วงลงหลังจากค่ายรถยนต์ของสหรัฐเปิดเผยยอดขายที่อ่อนแอ โดยฟอร์ด มอเตอร์รายงานว่า ยอดขายเดือนมี.ค.ร่วงลง 12% ส่งผลให้ราคาหุ้นฟอร์ดดิ่งลง 1.43% ขณะที่หุ้นเจนเนอรัล มอเตอร์ ร่วงลง 2.03% หลังจากบริษัทเปิดเผยยอดขายเดือนมี.ค.ร่วงลง 2.4%

   หุ้นกลุ่มสายการบินร่วงลง นำโดยหุ้นสายการบินเดลต้า แอร์, หุ้นยูไนเต็ด คอนติเนนตัล โฮลดิงส์ และหุ้นอเมริกัน แอร์ไลน์ ต่างก็ปรับตัวลง หลังจากนักวิเคราะห์ของดอยช์แบงก์ ได้ปรับลดน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นกลุ่มสายการบิน โดยระบุว่าการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง อาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจการบิน

   นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในวันนี้ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์, ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนก.พ., ดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กเดือนมี.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทาน(ISM) และยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.พ.

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!