WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SET26ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้าผันผวน หลังตัวเลขศก.สหรัฐฯไม่ดี แต่ราคาน้ำมันดีดขึ้น

     นายชัยยศ จิวางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุน บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะผันผวน เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯออกมาไม่ดีหลายตัว ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขภาคอุตสาหกรรมม, อัตราการใช้กำลังการผลิต และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ต่างลดลง

    แต่ตลาดฯคงจะไม่ปรับตัวลงมาก เนื่องจากล่าสุดมีข่าวทางซาอุดิอาระเบียได้โจมตีทางอากาศในกรุงเยเมน ทำให้ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นสูงขึ้นยืนเหนือ 60 เหรียญฯ/บาร์เรลอีกครั้ง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน

     ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบ พร้อมให้ติดตามวันนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์)จะประกาศตัวเลข GDP ซึ่งตลาดคาดฯจะออกมาไม่ดี เนื่องจากตัวเลขส่งออกไม่ดี และการบริโภคก็ชะลอ

พร้อมให้กรอบแกว่งไว้ที่ 1,500-1,520 จุด

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน

   - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด(15 พ.ค.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 18,272.56 จุด เพิ่มขึ้น 20.32 จุด(+0.11%),ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,048.29 จุด ลดลง 2.50 จุด(- 0.05%),ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,122.73 จุด เพิ่มขึ้น 1.63 จุด(+0.08%)

    - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 33.24 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 30.79 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 29.84 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 24.27 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 1.65 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 2.22 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 1.60 จุด

    - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(15 พ.ค.58)1,512.19 จุด เพิ่มขึ้น 14.79 จุด (+0.99%)

    - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 774.49 ล้านบาท เมื่อวันที่ 15 พ.ค.58

     - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(15 พ.ค.58) ปิดที่ 59.69 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง  19 เซนต์

                - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(15 พ.ค.58)ที่ 9.29 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

                - เงินบาทเปิด 33.47/49 แข็งค่าจากสัปดาห์ก่อน มองกรอบวันนี้ 33.40-33.60

                - ส.อ.ท.ระบุไตรมาสแรกส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นทุกเดือน เช่นเดียวกับตลาดชิ้นส่วนฯ ขณะศักยภาพส่งออกชิ้นส่วนไทยยังแกร่ง หลังไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตรถคุณภาพสูงอาเซียน ตลาดอาฟเตอร์มาเก็ตไทย เป็นศูนย์กลางส่งอะไหล่ ตามฐานการผลิตรถซีบียู อย่างน้อยรุ่นละ15 ปี

                - สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)แถลงตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาสแรกปี 2558 ในวันที่ 18 พ.ค.นี้ หลังจากรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจในช่วงกลางเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา มั่นใจว่าเศรษฐกิจไตรมาสแรกนี้จะขยายตัวได้ 3% และยังคงประมาณการทั้งปีที่ 3.4-4.5% สอดคล้องกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมั่นใจว่าเศรษฐกิจไตรมาสแรกจะขยายได้ 3%

                - แหล่งข่าวจากกรมการบินพลเรือน(บพ.)เปิดเผยว่า ขณะนี้การแก้ปัญหาข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัยของสายการบิน (SSC) คืบหน้ามากแล้ว โดยสายการบินใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ การบินไทย ไทยแอร์เอเชีย บางกอก แอร์เวย์ส และนกแอร์ ร่วมลงขันเป็นเงิน 17 ล้านบาท ว่าจ้าง ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ 4-5 คน มาช่วย บพ.จัดทำคู่มือและ เช็กลิสต์ในการตรวจสอบสายการบิน 16 แห่ง ที่มีการปฏิบัติการบินจริงพร้อมกันนั้น สายการบินใหญ่ๆ ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญและนักบินเข้าฝึกอบรมเพื่อเป็นผู้ตรวจสอบการออกใบรับรองเดินอากาศ (AOC) ใหม่ ซึ่งเมื่อรวมกับเจ้าหน้าที่ บพ. 13 คน จะทำให้มีเจ้าหน้าที่ที่จะไปตรวจสอบสายการบินต่างๆ กว่า 60 คน และทุกคนเข้ารับการอบรมเสร็จแล้วเมื่อวันที่ 4-15 พ.ค.ที่ผ่านมา

                - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานยอดการใช้เช็ค ดราฟต์ ตั๋วแลกเงิน ที่ ธปท. ให้บริการแก่ธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐทั้งระบบทั่วประเทศ ล่าสุด ณ สิ้นเดือน เม.ย.ปีนี้ ทั้งระบบมีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งสิ้น 5.9 ล้านใบ มูลค่า 3.1 ล้านล้านบาท ลดลง 1.07 ล้านใบ หรือ 15.32% และ 3.15 แสนล้านบาท หรือ 9.32% ตามลำดับเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยในจำนวนนี้มีปริมาณเช็คคืนไม่มีเงินหรือเช็คเด้ง 6.55 หมื่นใบ มีมูลค่า 9,400 ล้านบาท ลดลง 9,913 ใบ หรือ 13.14% และ 1,340 ล้านบาท หรือ 12.48% ตามลำดับ

                - คลังสั่งเข้มสรรพากรรีดภาษีผู้ประกอบการครึ่งปี หวังช่วยโปะผลงานจัดเก็บต่ำเป้า แถมไล่ตรวจยอดภาษีในแต่ละท้องที่เพื่อวัดผล รวมถึงอุดช่องโหว่ทุจริต

*หุ้นเด่นวันนี้

                - GPSC บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ เทรดวันนี้วันแรก บล.ฟินันเซีย ไซรัส ประเมินมูลค่าหุ้นได้เท่ากับ 33 บาท (DCF) และคาด Dividend yield 3.5-4.5% ต่อปี ปัจจุบันมีกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้น 1,315 MW และจะเพิ่มขึ้น 40% เป็น 1,851MW ในปี 2019 โดยคาดปี 2015 กำไรสุทธิโต 25% Y-Y เป็น 1,974 ล้านบาท จากการรับรู้กำไรจากโครงการ IRPCCP – I และโตต่อเนื่อง 11% Y-Y ในปี 2016 จากการเริ่มรับรู้กำไรจากโรงไฟฟ้านวนคร (NNEG) และเติบโต 21.5% ในปี 2017 จากการเริ่มรับรู้กำไรจากโครงการ IRPCCP –II, NL1PC และ BIC2

                - CK(ฟินันเซีย ไซรัส)"ซื้อ"เป้า 33 บาท กำไรเป็นไปตามคาด กำไรปกติ +3% Q-Q, -49% Y-Y รายได้จากงานก่อสร้างหลักๆในไตรมาสนี้มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีเขียว และทางด่วนศรีรัช เรายังคงคาดกำไรปกติปีนี้ทรงตัวจากปีก่อน แต่มี Upside จากการซื้อหุ้นไซยะบุรีและการควบรวม BMCL และ BECL หากการควบรวมแล้วเสร็จ กำไรโอกาสเติบโต 24% Y-Y

                -  NWR(เมย์แบงก์ กิมเอ็ง)"ซื้อเก็งกำไร"เป้า 2.60 บาท คาดหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างจะปรับตัวขึ้นได้ดีในสัปดาห์นี้ เนื่องจาก รมว.คมนาคมจะแถลง “นโยบายคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ" ในวันพุธที่ 20 พ.ค. ทั้งนี้ รายงานผลประกอบการ 1Q58 มีกำไรสุทธิ 32 ล้านบาท +162% yoy จากรายได้ที่ขยายตัว +12% yoy เป็น 1,766 ล้านบาท ตามการรับรู้รายได้โครงการหลัก ใน 1Q58 ณ ปัจจุบัน NWR ซื้อขายระดับ PBV 2558 เพียง 1.02 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของหุ้นรับเหมาขนาดใหญ่ที่ 2.7 เท่า จึงเชือว่ามี Downside ของราคาหุ้นค่อนข้างจำกัด

ตลาดหุ้นเอเชียบวกขึ้นเช้านี้ จากคาดการณ์เฟดไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย

     ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ ตามทิศทางของตลาดหุ้นนิวยอร์ก เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาย่ำแย่กว่าที่คาดได้สกัดกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้

    ดัชนี MSCI Asia Pacific เพิ่มขึ้น 0.1% แตะ 153.37 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น.ตามเวลาโตเกียว

    ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 19,766.16 จุด เพิ่มขึ้น 33.24 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 4,277.90 จุด ลดลง 30.79 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 27,792.44 จุด ลดลง 29.84 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,603.75 จุด เพิ่มขึ้น 24.27 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,108.15 จุด เพิ่มขึ้น 1.65 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,465.32 จุด เพิ่มขึ้น 2.22 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,813.52 จุด เพิ่มขึ้น 1.60 จุด

    ตลาดหุ้นเอเชียได้รับแรงหนุนจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วนี้ หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐออกมาซบเซากว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยธนาคารกลางสหรัฐเปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.3% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการร่วงลงเป็นเดือนที่ 5 หลังจากปรับตัวลง 0.3% ในเดือนมี.ค. ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1%

    ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนเม.ย.ปรับตัวลงสู่ระดับ 78.2% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ในปีที่แล้ว จาก 78.6% ในเดือนม.ค.

     ขณะเดียวกัน ผลสำรวจของรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเบื้องต้นของเดือนพ.ค.ลดลงมากกว่าคาด สู่ระดับ 88.6 จากตัวเลขขั้นสุดท้ายที่ 95.9 ในเดือนเม.ย. โดยก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 96.0 ในเดือนพ.ค.

     ทางด้านเฟดสาขานิวยอร์กรายงานว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) ประจำเดือนพ.ค.ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.09 แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 5.0 ในเดือนพ.ค. หลังจากพุ่งแตะ 6.9 ในเดือนมี.ค.

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดลบ 12.55 จุด นลท.วิตกเศรษฐกิจสหรัฐ

     ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (15 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอมาอย่างต่อเนื่อง

      ดัชนี FTSE 100 ลดลง 12.55 จุด หรือ 0.18% ปิดที่ 6,960.49 จุด

      ตลาดได้รับแรงกดดันจากความไม่มั่นใจเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.3% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการร่วงลงเป็นเดือนที่ 5 หลังจากปรับตัวลง 0.3% ในเดือนมี.ค. ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% โดยได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวลงของภาคเหมืองแร่และสาธารณูปโภค

    ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนเม.ย.ปรับตัวลงสู่ระดับ 78.2% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ในปีที่แล้ว จาก 78.6% ในเดือนม.ค.

    นอกจากนี้ ผลสำรวจของรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนยังแสดงให้เห็นว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเบื้องต้นของเดือนพ.ค.ลดลงมากกว่าคาด สู่ระดับ 88.6 จากตัวเลขขั้นสุดท้ายที่ 95.9 ในเดือนเม.ย. โดยก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 96.0 ในเดือนพ.ค.

     หุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มเหมืองนำตลาดร่วงลง โดยหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ หุ้นเกลนคอร์ และหุ้นแองโกล อเมริกัน ต่างรูดลงกว่า 1%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดลบ หลังผิดหวังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ

      ตลาดหุ้นยุโรปปิดอ่อนแรงลงเมื่อคืนนี้ (15 พ.ค.) ในการซื้อขายที่ผันผวน  หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่น่าผิดหวังส่งผลให้สกุลเงินยูโรพุ่งขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์ และเป็นปัจจัยที่ฉุดหุ้นกลุ่มส่งออก

     ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.39% ปิดที่ 396.45 จุด

     ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศส ปรับตัวลง 35.49 จุด หรือ 0.71% ปิดที่ 4,993.82 จุด ขณะที่ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนี ร่วงลง 112.79 จุด หรือ 0.98% ปิดที่ 11,447.03 จุด และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอน ติดลบ 12.55 จุด หรือ 0.18% ปิดที่ 6,960.49 จุด

    ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอกว่าที่คาดได้สกัดคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.นี้ ซึ่งได้กดดันดอลลาร์ให้อ่อนค่าลงเมื่อเทียบสกุลเงินยูโร และจะส่งผลลบต่อกลุ่มผู้ส่งออกในภูมิภาคยุโรป

    ฟดเปิดเผยเมื่อคืนนี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.3% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการร่วงลงเป็นเดือนที่ 5 หลังจากปรับตัวลง 0.3% ในเดือนมี.ค. ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% โดยได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวลงของภาคเหมืองแร่และสาธารณูปโภค

    ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนเม.ย.ปรับตัวลงสู่ระดับ 78.2% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ในปีที่แล้ว จาก 78.6% ในเดือนม.ค.

    ขณะเดียวกัน ผลสำรวจของรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเบื้องต้นของเดือนพ.ค.ลดลงมากกว่าคาด สู่ระดับ 88.6 จากตัวเลขขั้นสุดท้ายที่ 95.9 ในเดือนเม.ย. โดยก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 96.0 ในเดือนพ.ค

    หุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ร่วงลง โดยหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ปรับตัวลงกว่า 1% ขณะที่หุ้นบีเอ็มดับเบิลยู ดิ่งลงกว่า 2.3%

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดบวก 20.32 จุด หลังข้อมูลศก.แย่สกัดคาดการณ์เฟดขึ้นดบ.

    ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาย่ำแย่กว่าที่คาดได้สกัดกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้

    ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 20.32 จุด หรือ 0.11% ปิดที่ 18,272.56 จุด ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้น 1.63 จุด หรือ 0.08% ปิดที่ 2,122.73 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 2.50 จุด หรือ 0.05% ปิดที่ 5,048.29 จุด

     ธนาคารกลางสหรัฐเปิดเผยเมื่อคืนนี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.3% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการร่วงลงเป็นเดือนที่ 5 หลังจากปรับตัวลง 0.3% ในเดือนมี.ค. ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% โดยได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวลงของภาคเหมืองแร่และสาธารณูปโภค

     ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนเม.ย.ปรับตัวลงสู่ระดับ 78.2% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ในปีที่แล้ว จาก 78.6% ในเดือนม.ค.

    ขณะเดียวกัน ผลสำรวจของรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเบื้องต้นของเดือนพ.ค.ลดลงมากกว่าคาด สู่ระดับ 88.6 จากตัวเลขขั้นสุดท้ายที่ 95.9 ในเดือนเม.ย. โดยก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 96.0 ในเดือนพ.ค.

    ทางด้านเฟดสาขานิวยอร์กรายงานวันนี้ว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) ประจำเดือนพ.ค.ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.09 แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 5.0 ในเดือนพ.ค. หลังจากพุ่งแตะ 6.9 ในเดือนมี.ค.

   ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ยังคงปิดในแดนบวก เนื่องจากนักลงทุนประเมินว่าข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่ไม่มีความชัดเจนได้สร้างความกังขาเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะยังไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์ประเมินกันว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงกลางปีนี้

  หุ้น Netflix พุ่ง 4.50% จากข่าวที่ว่าบริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทด้านสื่อของจีนรายหนึ่งเพื่อจะเข้าสู่ตลาดวิดีโอออนไลน์ของจีน

  

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 15 พ.ค.2558

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 18,272.56 จุด เพิ่มขึ้น 20.32 จุด, +0.11%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 5,048.29 จุด ลดลง 2.51 จุด, -0.05%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,122.73 จุด เพิ่มขึ้น 1.63 จุด, +0.08%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,993.82 จุด ลดลง 35.49 จุด, -0.71%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,447.03 จุด ลดลง 112.79 จุด, -0.98%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,960.49 จุด ลดลง 12.55 จุด, -0.18%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 27,324.00 จุด เพิ่มขึ้น 117.94 จุด, +0.43%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,463.10 จุด เพิ่มขึ้น 7.32 จุด, +0.21%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,811.92 จุด เพิ่มขึ้น 4.37 จุด, +0.24%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,227.10 จุด ลดลง 19.03 จุด, -0.36%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 27,822.28 จุด เพิ่มขึ้น 535.73 จุด, +1.96%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,881.95 จุด เพิ่มขึ้น 50.51 จุด, +0.64%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 4,308.69 จุด ลดลง 69.62 จุด, -1.59%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,735.50 จุด เพิ่มขึ้น 38.90 จุด, +0.68%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 2,106.50 จุด ลดลง 13.83 จุด, -0.65%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 19,732.92 จุด เพิ่มขึ้น 162.68 จุด, +0.83%

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,579.48 จุด ลดลง 31.35 จุด, -0.33%

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กิดเพิ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาย่ำแย่กว่าที่คาดได้สกัดกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 20.32 จุด หรือ 0.11% ปิดที่ 18,272.56 จุด ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้น 1.63 จุด หรือ 0.08% ปิดที่ 2,122.73 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง2.50 จุด หรือ 0.05% ปิดที่ 5,048.29 จุด

ตลาดหุ้นยุโรปปิดอ่อนแรงลงเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) ในการซื้อขายที่ผันผวน  หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่น่าผิดหวังส่งผลให้สกุลเงินยูโรพุ่งขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์ และเป็นปัจจัยที่ฉุดหุ้นกลุ่มส่งออก

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.39% ปิดที่ 396.45 จุด

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศส ปรับตัวลง 35.49 จุด หรือ 0.71% ปิดที่ 4,993.82 จุด ขณะที่ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนี ร่วงลง 112.79 จุด หรือ 0.98% ปิดที่ 11,447.03 จุด และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอน ติดลบ 12.55 จุด หรือ 0.18% ปิดที่ 6,960.49 จุด

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอมาอย่างต่อเนื่อง

          ดัชนี FTSE 100 ลดลง 12.55 จุด หรือ 0.18% ปิดที่ 6,960.49 จุด

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดอ่อนแรงลงเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) ท่ามกลางความวิตกที่ว่าการทะยานขึ้นของราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมาอาจจะส่งผลให้มีการผลิตเพิ่มมากขึ้น

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดปรับตัวลง 19 เซนต์ แตะที่ 59.69 ดอลลาร์/บาร์เรล

          ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดลอนดอน ปิดเพิ่มขึ้น 11เซนต์ ที่ 66.81 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) เนื่องจากดอลลาร์ร่วงลง ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอ ซึ่งทำนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเลื่อนการตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไป

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดบวก 10เซนต์ หรือ 0.01% ที่ 1,225.30 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.ปิดเพิ่มขึ้น 9.8 เซนต์ ที่ 17.563 ดอลลาร์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ปิดปรับขึ้น 6.7 ดอลลาร์ ที่ 1,169.10 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดดีดขึ้น 15.45 ดอลลาร์ ที่ 794.95 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบสกุลเงินยูโรเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐได้หนุนคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเดือนมิ.ย.ตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้

          ค่าเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1461 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.1399ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5725 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5770 ดอลลาร์สหรัฐ

          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 119.29 เยน เทียบกับระดับ 119.22เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9144 ฟรังก์ จาก 0.9129 ฟรังก์

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8047 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8069 ดอลลาร์

ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 634.00 จุด ลดลง 3.00 จุด, -0.47%

              อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!