WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaA1eกรมศลกากร

กรมศุลกากร จับกุมผู้ลักลอบนำเข้า ปลาไหลยุโรป มูลค่ากว่า 40 ล้านบาท

     ณ ฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรมศุลกากร ชั้น 3 ตึก BC เขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร แถลงข่าว จับกุมผู้ลักลอบนำเข้าปลาไหลยุโรป สายพันธุ์ Anguilla anguilla ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ที่อยู่ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) และชนิดสัตว์น้ำตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออกมีมูลค่ากว่า 40 ล้านบาท

     ตามที่กรมศุลกากรได้มีนโยบายสำคัญในการปราบปรามสินค้าลักลอบ หลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม ข้อจำกัด เพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อม และเข้มงวดพิเศษในการสกัดกั้นป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้า ส่งออก นำผ่านสัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์ ภายใต้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2558 และอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร จึงได้สั่งการให้ นายสรศักดิ์ มีนะโตรี รองอธิบดีกรมศุลกากร วางแผนร่วมกับนายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมอบหมายให้นายเชาวน์ ตะกรุดเงิน ผู้อำนวยการส่วนควบคุมทางศุลกากร และนายสุรพัศ สิขเรศ หัวหน้าฝ่ายสืบสวนและปราบปราม วางแผนจับกุมผู้กระทำความผิด

      นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า ได้สั่งการให้ ฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฝ้าติดตามข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานข่าวทั่วโลกและพยายามแกะรอยพฤติกรรมกลุ่มผู้ค้าที่มีความเสี่ยงจะนำเข้ามายังในประเทศไทย

     พร้อมทั้งสืบสวนหาข่าวเชิงลึกจนพบว่ามีขบวนการลักลอบส่งออกปลาไหลยุโรป สายพันธุ์ Anguilla anguilla ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ที่อยู่ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) และชนิดสัตว์น้ำตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออก จึงสั่งการให้เข้มงวดในการเฝ้าระวังตรวจสอบสินค้าประเภทปลาไหลยุโรปเป็นพิเศษ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สำนักสืบสวนและปราบปราม และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรมประมง ได้ตรวจสอบข้อมูลบัญชีสินค้าทางอากาศยาน (Manifest) ซึ่งบรรทุกมากับอากาศยาน เที่ยวบินที่ QR830 พบว่ามีสินค้าต้องสงสัยสำแดงชนิดสินค้าเป็น COOL SHRIMPS จำนวน 3 หีบห่อ น้ำหนัก 357 กิโลกรัม โดยส่งจากประเทศต้นทาง คือ ประเทศ ROMANIA ส่งมายังผู้รับในประเทศไทย จึงประสานขอความร่วมมือจากหัวหน้าด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในการนำตัวอย่างสินค้าดังกล่าวไปตรวจสอบซึ่งผลการตรวจสอบพบว่าสินค้าเป็น ปลาไหลยุโรป สายพันธุ์ Anguilla anguilla

     และเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561 ยังพบว่ามีข้อมูลการนำเข้าสินค้าตามบัญชีสินค้าทางอากาศยาน (Manifest) สำแดงชนิดสินค้าเป็น COOL SHRIMPS อีกจำนวน 3 หีบห่อ น้ำหนัก 352 กิโลกรัม นำเข้ามาทางสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ เที่ยวบินที่ QR838 ขนส่งจากประเทศต้นทาง ROMANIA ปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย ตรวจสอบพบว่าสินค้าเป็น ปลาไหลยุโรป สายพันธุ์ Anguilla Anguilla เช่นเดียวกัน รวมมูลค่าสินค้าทั้งหมด 40 ล้านบาท ปลาไหลยุโรป สายพันธุ์ Anguilla anguilla หรือ ปลาไหลแก้ว (Glass eels) กระจายพันธุ์ อยู่ตามแถบชายฝั่งแม่น้ำในทวีปยุโรปและใกล้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยที่ปลาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์จะว่ายน้ำไปวางไข่ในทะเลซาร์กัสเพียงแห่งเดียว และเมื่อปลาวางไข่แล้วจะตาย สำหรับลูกปลาเมื่อฟักเป็นตัวอ่อน จะมีลักษณะ โปร่งแสง ใสเหมือนวุ้นเส้น และจะเดินทางกลับสู่แม่น้ำทางทวีปยุโรป โดยลอยไปตามกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม ซึ่งอาจจะเสี่ยงต่อการถูกสัตว์น้ำชนิดอื่นจับกินเป็นอาหาร ตัวอ่อนใช้เวลานานถึง 2-3 ปี ในการเดินทางมาถึงชายฝั่งแม่น้ำในทวีปยุโรป และใช้เวลา 8-15 ปี ในการเจริญเติบโตเต็มวัย ปลาไหลยุโรปจัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของทวีปยุโรป โดยใช้บริโภคกันมาอย่างยาวนาน สามารถปรุงได้หลายวิธีและจัดเป็นอาหารราคาแพง จนกระทั่งในกลางปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ออกกฎหมายห้ามล่าปลาไหลยุโรปเพื่อการค้าระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน เพราะเกรงว่าจะสูญพันธุ์ ทั้งนี้มีจำนวนประชากรปลาไหลยุโรปลดลงกว่าร้อยละ 95 ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา

     ทั้งนี้ กรมศุลกากรได้ให้ความสำคัญกับการปราบปรามการกระทำผิดสินค้าเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) อย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา กรมศุลกากรได้จับกุมผู้กระทำผิดตามอนุสัญญาฯ ที่พยายามลักลอบผ่านทางสนามบิน มีมูลค่าสินค้ารวมมากกว่า 1,000 ล้านบาท

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!