WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ศุลกากร รื้อใหญ่ภาษีเหลือ 5 พิกัด บี้อาเซียนใหม่หั่น 0%รับเปิดเออีซี

   ไทยโพสต์ : คลองเตย * ศุลกากรจ่อรื้อภาษีใหม่เหลือ 5 พิกัด หั่นอัตราสูงสุดเหลือ 20% รายได้ 8 เดือนพลาดเป้า 1.8 หมื่นล้านบาท บี้อาเซียนใหม่ 4 ประเทศ ลดภาษีสินค้าเหลือ 0% ก่อนเปิด AEC

   นายราฆพ ศรีศุภอรรถ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ได้เสนอไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เกี่ยวกับแนวทางการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรใหม่ โดยเบื้องต้นเตรียมรื้อพิกัดภาษีใหม่ จากขณะนี้มีอยู่ 20 พิกัด ที่มีอัตราภาษีระหว่าง 0-80% ให้เหลือ 5 พิกัด อัตราภาษีเหลือเพียง 0-20% โดยแบ่งเป็นภาษี 0% สำหรับเครื่องจักรที่เป็นสินค้าทุน, 1% สำหรับสินค้าวัตถุดิบ, 5% สำหรับ สินค้ากึ่งวัตถุดิบ, 10% สำหรับสินค้าสำเร็จรูป และ 20% สำ หรับสินค้าที่ประเทศให้ความคุ้ม ครอง โดยพิกัดภาษีใหม่จะลดอัตราสูงสุดลง เพื่อให้สอดคล้องการจัดเก็บภาษีศุลกากรประเทศ อื่นๆ ของโลก

   โดยในช่วง 8 เดือนแรก ปีงบประมาณ 2557 (ต.ค.56- พ.ค.57) กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1.8 หมื่น ล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะจัดเก็บรายได้อยู่ที่ 1.1 แสนล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 2 หมื่นล้านบาท จากเป้าหมาย 1.3 แสนล้านบาท โดยในปีงบ 2558 มีเป้าหมายจัดเก็บรายได้ 1.1 แสน ล้านบาท

    นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมการประสานงานการดำเนินการภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 9-13 มิ.ย.นี้ ที่เชียงใหม่ โดยมีสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมประชุมประมาณ 100 คน เพื่อร่วมกันพิจารณาและผลักดันการดำเนินการภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอา เซียนที่จะต้องมีการเปิดเสรีเพิ่มขึ้น ก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐ กิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558

   ทั้งนี้ จะผลักดันให้กัมพูชา ลาว เมียนมาร์และเวียดนาม ต้องดำเนินการยกเลิกภาษีในส่วนที่เหลือให้เหลือ 0% และต้องให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 หลังจากสมาชิกเดิม 6 ประเทศได้ลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% ไปแล้วตั้งแต่ปี 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้ภาษีการค้าสินค้าในอาเซียน 10 ประเทศไม่มีอีกต่อไป.

การเมืองป่วนรีดรายได้วูบกรมศุลกากรเร่งเชื่อมโยงข้อมูลสู่เออีซีปีหน้า

   บ้านเมือง : การเมืองวุ่นเก็บรายได้ 8 เดือนหลุดเป้า 18,000 ลบ. คาดทั้งปีเก็บได้ 107,000 ลบ. กรมศุลกากรเร่งเชื่อมโยงข้อมูลสู่เออีซี มั่นใจเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 58 ขณะที่เล็งประชุมบอร์ดสลากฯ ภายใน มิ.ย.นี้พิจารณาใบลาออก ผอ.สลากฯ

   นายราฆพ ศรีศุภอรรค อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า การจัดเก็บรายได้ช่วย 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ ปี 2557 ของทางกรมศุลกากรหลุดจากเป้าประมาณการ 18,000 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเมืองก่อนหน้านี้โดยได้มีการปรับเป้าการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2557 จากเดิมที่ต้องเป้าไว้ที่ 130,000 ล้านบาท เหลือเพียง 107,000 ล้านบาท

    ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการ 2 ล้านล้านที่มีโครงการกว่า 40 โครงการของทางกรมศุลกากรคิดเป็นวงเงิน 13,000 ล้านบาท ที่ได้พับลงไปนั้นในขณะนี้ ทางกรมศุลฯ ได้เหลือเพียง 2 โครงการสำคัญและจัดสรรงบประมาณในปี 2558 แทนวงเงิน 633 ล้านบาท เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการค้าต่อไป หลังจากเตรียมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 ด้วย

    Agreement to Establish and Implement the ASEAN single Window จะสำเร็จอย่างแน่นอนเพื่อเชื่อมโยงการส่งข้อมูลสินค้าส่งออกและนำเข้าจากประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียนให้มีความสะดวก และรวดเร็วมากยิ่ง และเป็นหนึ่งในภารกิจของประเทศที่จะรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน หรือเออีซีในปี 2558

   "ปัจจุบันมีหน่วยงานราชการที่ต้องเข้าโครงการดังกล่าวกับกรมศุลกากร 35 แห่ง ในการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการขออนุมัตินำเข้าหรือส่งออกสินค้าที่ต้องถูกควบคุม โดยผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องเดินทางหรือขออนุมัติที่หน่วยงานเหล่านั้นอีกแล้ว เพียงแต่แสดงข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของศุลกากรหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องและได้เชื่อมโยงข้อมูลกับกรมศุลกากรก็จะพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติได้ทันที"นายราฆพ กล่าว

  นายราฆพ กล่าวต่อว่า จากทั้งหมด 35 หน่วยงานขณะนี้ ได้เชื่อมโยงข้อมูลไปแล้ว 17 หน่วยงาน หรือคิดเป็นสัดส่วน 50% ของปริมาณงานทั้งหมด ยังเหลืออีก 18 หน่วยงานที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน แต่ในจำนวนนี้ มี 5-6 แห่งที่ยังไม่ได้ดำเนิน การใดๆ เนื่องจาก ติดขัดเรื่องงบประมาณ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อจัดสรรงบประมาณมาสนับสนุนหน่วยงานดังกล่าว

   ส่วนงบลงทุนของกรมศุลกากรในการพัฒนาด่านศุลกากรทั่วประเทศ 40 แห่ง วงเงิน 11,000 ล้านบาท และถูกบรรจุอยู่ใน พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งล่าสุดไม่สามารถนำเม็ดเงินจากโครงการดังกล่าวมาใช้ได้อีกแล้วนั้น กรมศุลกากรได้ยืนยันกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะดำเนินการต่อไป โดยได้ของบประมาณปี 58 เพื่อก่อสร้างด่าน 33 แห่งวงเงิน 633 ล้านบาท โดยยังไม่ได้ซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ซึ่งในส่วนนี้ได้หารือกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กู้เงินมาซื้อเครื่องเอกซเรย์ทั้งที่เป็นแบบเคลื่อนที่ได้และติดตั้งถาวร เป็นต้น

   "ในอนาคตประเทศไทยจะเป็นประตูสู่อาเซียนตั้งแต่ภาคเหนือลงมาถึงภาคใต้และภาคอีสานไปยังภาคตะวันตก เพื่อรอบรับการปริมาณการค้า การส่งออกและนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้นจากเออีซี ทำให้การพัฒนาด่านศุลกากรมีความจำเป็นที่จะต้อง เร่งดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ" นายราฆพ กล่าว

    ทั้งนี้ กรมศุลกากรยังได้เสนอ คสช.พิจารณาปรับลดอากรสินค้านำเข้าที่อยู่นอกเขตการค้าเสรีอาเซียน และข้อตกลงการเปิดเสรีการค้า (เอฟทีเอ) ซึ่งปัจจุบันกรมศุลกากรเก็บภาษีสูงสุดในอัตรา 80% มีสินค้าเกี่ยวข้อง 8,000 รายการ จะปรับลดอัตราภาษีลงเหลือไม่เกิน 20% เพื่อลดภาระและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการภายในประเทศ ซึ่งปัจจุบันข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนผู้นำเข้าจะเสียภาษีกรณีนำเข้าเครื่องจักรสินค้าทุน 0% วัตถุดิบ 1% วัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป 5% สินค้าสำเร็จรูป 10% และสินค้าที่ประเทศให้ความคุ้มครอง 20%

    นายราฆพในฐานะประธานกรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (บอร์ด) กล่าวด้วยว่า ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ตนจะเรียกประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณาการลาออกของ พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร ผู้อำนวยการสำนักงานสลากฯ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ซึ่งโดยหลักการแล้วตนไม่ได้ขัดข้องแต่อย่างใด แต่เรื่องดังกล่าวบอร์ดก็ต้องให้ความเห็นชอบด้วย

   "บอร์ดก็ต้องพิจารณาตามหลักการ ในเมื่อ พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ต้องการลาออกก็คงไม่มีปัญหา แต่องค์กรขนาดใหญ่เช่นสำนักงานสลากฯ จะเว้นว่างตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดนานๆ ไม่ได้ เพราะองค์กรต้องเดินหน้าต่อไป ซึ่งประเด็นนี้ผมจะเสนอให้บอร์ดพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานสลากฯ เพื่อให้คณะกรรมการสรรหาออกประกาศรับสมัครผู้อำนวยการสำนักงานสลากฯ คนใหม่ต่อไป"นายราฆพ กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!