WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gประสงค พนธเนศอธิบดีสรรพากร รับภาษีอีคอมเมิร์ซเข้าครม.ไม่ทันก.ย.นี้ หลังติดปัญหาประชาพิจารณ์

    อธิบดีสรรพากร รับภาษีอีคอมเมิร์ซเข้าครม.ไม่ทันก.ย.นี้  หลังติดปัญหาประชาพิจารณ์ เหตุมีความเห็นเข้ามามากต้องใช้เวลาสรุปข้อมูล ยันจะเร่งทำให้เร็วที่สุดหวังอุดรูรั่วภาษีจากตลาดออนไลน์

      นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงความคืบหน้าการออกกฎหมายเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือ ภาษีอีคอมเมิร์ซ จากการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เฟซบุ๊ก กูเกิ้ล ยูทูบ และไลน์ ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างสรุปผลประชาพิจารณ์ ซึ่งมีผู้แสดงความคิดเห็นมาเป็นจำนวนมาก ทางกรมสรรพากรต้องสรุปและชี้แจงทุกความเห็น ก่อนที่จะส่งให้กระทรวงการคลังพิจารณา โดยยืนยันว่า เบื้องต้นคงไม่สามารถสรุปกรอบเวลาในการเสนอคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.เพื่อพิจารณาได้ทันในเดือนกันยายนนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะเสนอครม.ภายในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมที่ผ่านมา

     ทั้งนี้ กรมฯจะเร่งสรุปและรวบรวมข้อคิดเห็นจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน หลังจากนั้นจะส่งให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว และเสนอให้ครม.เห็นชอบต่อไป แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีผู้แสดงว่าคิดเห็นในส่วนของกฎหมายอีคอมเมิร์ซเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้กรมสรรพากรต้องใช้เวลาในการสรุปผลประชาพิจารณาค่อนข้างนาน ซึ่งยังตอบไม่ได้ว่าจะเสนอให้กระทรวงการคลังและ ครม.พิจารณาได้เมื่อไร โดยการดำเนินการไม่ทันในเดือน ก.ย.นี้แน่นอน แต่ยืนยันกรมจะเร่งให้ออกมาโดยเร็วที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บภาษี และอุดรูรั่วจากธุรกรรมประเภทนี้

      “กรมสรรพากรจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด แนวทางจัดเก็บยังคงเหมือนเดิม แต่จะนำทุกความเห็นทั้งบวกและลบ มาพิจารณาและสรุปผลเพื่อเสนอ ครม. แต่ยอมรับในเดือนก.ย.นี้ เสร็จไม่ทัน เพราะประชาพิจารณ์ก็บานออกมาก ความเห็นเยอะ ก็ต้องเร่งทำเพื่ออุดรูรั่วจัดเก็บภาษีจากอีคอมเมิร์ซที่ปัจจุบันขยายตัวสูงและเร็วมาก พบยอดขายของผ่านเฟซบุ๊กสูงถึง 3 แสนล้านบาทต่อปี”นายประสงค์ กล่าว

      นายประสงค์ กล่าวว่า ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรมสรรพากรได้เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บภาษีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2560 กรมสรรพากรจะดำเนินคดีอาญากับผู้ประกอบการที่ใช้ใบกำกับภาษีปลอมอย่างเข้มงวด โดยหากมีหลักฐานว่าใช้ใบกำกับภาษีปลอม 1 ใบ ก็จะดำเนินคดีอาญาโทษจำคุก 7 ปี ทันที

       ขณะเดียวกัน ยังยกเลิกระเบียบกรมสรรพากรที่ใช้มา 10 ปี ที่ ผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมไม่เกิน 75% ของใบกำกับภาษีทั้งหมด และมาชำระภาษีให้ครบ จะไม่ถูกดำเนินคดีอาญา เป็นให้ถูกดำเนินคดีอาญาทันทีเช่นกัน เพราะไม่เช่นนั้นผู้ประกอบการก็จะใช้ช่องทางนี้ใช้ใบกำกับภาษีปลอม

      "กรมสรรพากรจะเปิดช่องทางเว็บไซต์ และไลน์ของกรมสรรพากร ให้ประชาชนและผู้ประกอบการแจ้งเบาะแสการใช้ใบกำกับภาษีปลอม เพื่อให้กรมสรรพากรดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดต่อไป เพราะปัญหานี้มีมาตั้งแต่ปี 2535 ถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 25 ปี มีเม็ดเงินภาษีกว่า 1 หมื่นล้านบาท และยังมีรายที่ยังจับไม่ได้อีกจำนวนมาก" นายประสงค์ กล่าว

       นอกจากนี้ กรมสรรพากรได้พัฒนาการให้บริการ โดยเตรียมจัดทำE-Stamp เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถตีพิมพ์ แสตมป์อากรได้เอง และชำระค่าแสตมป์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งดีกว่าปัจจุบันต้องจัดซื้อแสตมป์อากรที่กรมสรรพากรเท่านั้น โดยส่วนนี้จะทำให้เกิดความสะดวกในการทำธุรกรรมมากขึ้น ขณะเดียวกัน จะมีการจัดทำคิวอาร์โค้ด ของกรมสรรพากร เพื่อให้ผู้ชำระภาษีสามารถสแกนคิวอาร์โค้ด ชำระภาษีทั้งแบบรายเดือนและภาษีประจำปีได้

      สำหรับ ปีงบประมาณ 2561 กรมสรรพากรตั้งเป้าหมายจัดเก็บรายได้ที่ 1.926 ล้านล้านบาท ตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวมากกว่าในปีนี้ ส่วนเป้าหมายการจัดเก็บในปีงบประมาณ 2560 ได้มีการปรับเป้าจาก 1.867 ล้านล้านบาท เหลือ 1.802 ล้านล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะจัดเก็บได้ตามเป้า โดยล่าสุด 10 เดือน(ต.ค.59 – 30 ก.ค.60)จัดเก็บไปได้แล้ว 1.4 ล้านล้านบาท

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!