WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gเอกนตอธิบดีกรมสรรพากร มอบนโยบายเน้นนำดิจิทัลมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บภาษีและบริการประชาชนพร้อมตั้งเป้าเป็นกรมสรรพากรดิจิทัลภายในปี 2563

        ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เป็นประธานการประชุม/สัมมนาผู้บริหารกรมสรรพากรทั่วราชอาณาจักร กลางปีงบประมาณ พ.ศ.2561 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาคีส์ ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพมหานคร

       โอกาสนี้ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ได้มอบนโยบายแก่ผู้บริหารกรมสรรพากรที่เข้าร่วมประชุม โดยได้ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Telepresence ของกรมสรรพากรให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร กว่า 20,000 คน ทั่วประเทศรับฟังพร้อมกันด้วย

       อธิบดีกรมสรรพากร เน้นถึงความจำเป็นที่กรมสรรพากรต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทัน กับการเปลี่ยนแปลงของโลกซึ่งกำลังอยู่ในยุคดิจิทัลและตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล โดยจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการทำงานของกรมสรรพากรทุกกระบวนการหรือที่เรียกว่า Digital Transformation เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ควบคู่ไปกับสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้เสียภาษีซึ่งรับบริการจากกรมสรรพากร อันจะทำให้กรมสรรพากรสามารถบรรลุเป้าหมายการเป็นกรมสรรพากรดิจิทัล หรือ Digital RD ได้ภายในปี 2563 ได้แก่ การยื่นแบบแสดงรายการในระบบ Digital เช่น การนำระบบ e-filing มาใช้งาน เป็นการยื่นแบบแสดงรายการในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และนำระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt จะสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการออกใบกำกับภาษีหรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ และช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะความยากง่ายในการทำธุรกิจ (Ease of Doing Business) ในประเทศไทยตามนโยบายของรัฐบาล

        อธิบดีกรมสรรพากร ได้มีนโยบายที่จะนำการวิเคราะห์ข้อมูลหรือ Data Analytics มาใช้ในการบริหารการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรทุกด้าน อาทิ การประมาณการรายได้ การวิเคราะห์และติดตามผลการจัดเก็บภาษี การบริหารความเสี่ยง และการตรวจสอบภาษี เช่น การนำระบบคัดเลือกผู้เสียภาษีเพื่อกำกับ และตรวจสอบ (Risk Base Audit System) มาช่วยลดระยะเวลาในการตรวจสอบ นอกจากนี้ จะต้องส่งเสริม ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรทุกคนให้มีความรู้และทักษะทางดิจิทัล สำหรับการปฏิรูปภาษีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศนั้น อธิบดีกรมสรรพากรมุ่งเน้นการพัฒนากฎหมายและกระบวนการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยจะต้องทำให้การเสียภาษีมีความชัดเจน แน่นอนและสะดวก รวมทั้งก่อให้เกิดต้นทุนแก่ผู้เสียภาษีและกรมสรรพากรน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ กรมสรรพากรต้องมีการสร้างความร่วมมือกับองค์กรชั้นนำระหว่างประเทศ เช่น OECD เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลภาษีอากร

       อธิบดีกรมสรรพากร ยังได้เน้นย้ำให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรทุกคนต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและยินดีให้บริการแก่ผู้เสียภาษีตามวิสัยทัศน์ของกรมสรรพากร ตลอดจนสานต่อการดำเนินงานตามนโยบายเดิม ที่มุ่งเน้นการแนะนำให้ผู้เสียภาษีทุกรายเสียภาษีอย่างถูกต้องครบถ้วน ตลอดจนการมีมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไป

สรรพากร ตั้งเป้าเป็น Digital RD ภายในปี 63 ตามนโยบายรัฐบาล หวังเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บภาษี

     นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร มอบนโยบายแก่ผู้บริหารกรมสรรพากรหลังเข้ารับตำแหน่ง โดยเน้นถึงความจำเป็นที่กรมสรรพากรต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทัน กับการเปลี่ยนแปลงของโลกซึ่งกำลังอยู่ในยุคดิจิทัลและตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล โดยจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการทำงานของกรมสรรพากรทุกกระบวนการหรือที่เรียกว่า Digital Transformation เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ควบคู่ไปกับสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้เสียภาษีซึ่งรับบริการจากกรมสรรพากร อันจะทำให้กรมสรรพากรสามารถบรรลุเป้าหมายการเป็นกรมสรรพากรดิจิทัล หรือ Digital RD ได้ภายในปี 2563 ได้แก่ การยื่นแบบแสดงรายการในระบบ Digital เช่น การนำระบบ e-filing มาใช้งาน เป็นการยื่นแบบแสดงรายการในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และนำระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt จะสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการออกใบกำกับภาษีหรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ และช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะความยากง่ายในการทำธุรกิจ (Ease of Doing Business) ในประเทศไทยตามนโยบายของรัฐบาล

    นอกจากนี้ มีนโยบายที่จะนำการวิเคราะห์ข้อมูลหรือ Data Analytics มาใช้ในการบริหารการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรทุกด้าน อาทิ การประมาณการรายได้ การวิเคราะห์และติดตามผลการจัดเก็บภาษี การบริหารความเสี่ยง และการตรวจสอบภาษี เช่น การนำระบบคัดเลือกผู้เสียภาษีเพื่อกำกับ และตรวจสอบ (Risk Base Audit System) มาช่วยลดระยะเวลาในการตรวจสอบ

       อีกทั้ง จะต้องส่งเสริมให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรทุกคนให้มีความรู้และทักษะทางดิจิทัล สำหรับการปฏิรูปภาษีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศนั้น อธิบดีกรมสรรพากรมุ่งเน้นการพัฒนากฎหมายและกระบวนการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยจะต้องทำให้การเสียภาษีมีความชัดเจน แน่นอนและสะดวก รวมทั้งก่อให้เกิดต้นทุนแก่ผู้เสียภาษีและกรมสรรพากรน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ กรมสรรพากรต้องมีการสร้างความร่วมมือกับองค์กรชั้นนำระหว่างประเทศ เช่น OECD เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลภาษีอากร

       สำหรับ ในปีงบประมาณ 2562 มีเป้าหมายในการจัดเก็บภาษี 2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนหน้า โดยเชื่อว่าจะเป็นไปได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากจะมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัล และระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามารองรับการทำงานในทุกส่วน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี

      ส่วนปีงบประมาณ 2561 กรมสรรพากรได้หารือกับกระทรวงการคลังโดยมีการกำหนดเป้าหมายการจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 1.86 ล้านล้านบาท จากเป้าหมายที่กำหนดในเอกสารตามงบประมาณที่ 1.9 ล้านล้านบาท หรือต่ำกว่า 4 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีการปรับเป้าหมายการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

      นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ผู้บริหารกรมสรรพากรเร่งดำเนินการเก็บภาษีคงค้างที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 1 แสนล้านบาทให้เร็วขึ้น โดยให้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อให้เก็บภาษีคงค้างได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงให้เร่งประชาสัมพันธ์ผู้ประกอบการให้ทำบัญชีเดียว ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งทำให้การเก็บภาษีได้

       "จะมีการแก้กฎหมายซึ่งจะช่วยในการขยายฐานภาษีให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาษี e-Commerce เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในระบบ สำหรับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ โดยกระบวนการทำงานในทุกส่วนจะดึงเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเสริม ซึ่งในปีนี้ตั้งเป้าหมายพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลให้แล้วเสร็จ และในปีหน้าจะเร่งการเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ส่วนปี 2563 การเก็บภาษีของกรมสรรพากรจะเป็นระบบเอไอ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น" นายเอกนิติ กล่าว

            อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!