WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gเอกนต นตทณฑประภาศสรรพากร เตรียมพร้อมรีดภาษี e-Business

     ไทยโพสต์ * ‘สรรพากร’ แจงเตรียมพร้อมระบบไอทีลุยรีดภาษี e-Business หนุนเก็บรายได้เพิ่ม 3 พันล้านบาทต่อปี ยันกฎหมายช่วยสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการไทยและต่างประ เทศ

      นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประ ภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ที่กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ในต่างประเทศ โดยกำหนดให้ผู้ให้ บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และ ดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ ที่มีรายได้จากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีแวต) กับกรมสรรพากร ซึ่งคาดว่าจะทำให้การเก็บภาษีเพิ่มขึ้นปีละ 3 พันล้านบาท เป็นการทำตามข้อเสนอขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) โดยกรมสรรพากรได้เตรียมพร้อมระบบไอทีเพื่อรองรับการเก็บภาษีแวต ดังกล่าว เพื่อให้เกิดความสะดวก สามารถดำเนินการได้ทันที

     ทั้งนี้ เนื่องจากเทคโนโลยีทันสมัยการค้าขายสินค้าและให้บริการ ไม่ต้องมาตั้งบริษัทในประเทศไทย ก็สามารถค้าขายของบนออนไลน์ บนแพลตฟอร์มในต่างประเทศ เช่น ขายหนังออนไลน์ ดาวน์โหลดเพลง สติก เกอร์ ให้บริการโฆษณา ซึ่งผู้ให้บริการไม่มีภาระต้องเสียภาษีแวต ถือว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ประ กอบการไทยที่ประกอบธุรกิจลักษณะเดียวกันที่ต้องเสียภาษีแวต

      "หากไม่เก็บภาษีแวตจากผู้ประกอบการต่างๆ อีกหน่อยผู้ประกอบการไทยก็หนีไปจดทะเบียนในต่างประเทศ และมาขายสินค้าและบริการบนแพลต ฟอร์มในไทย เพื่อไม่ต้องเสียภาษีแวต ทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้มากขึ้น ฐานภาษีในอนาคตจะหายไปหมด" นายเอกนิติกล่าว

      นายเอกนิติ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันร่างกฎหมายเก็บภาษี แวตกับผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอ นิกส์และดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว หลังจากนี้ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หลังจากนั้นกฎหมายถึงจะมีผลบังคับใช้.

 

รัฐโกย 3 พันล. ภาษีออนไลน์ เอกชนขานรับ

      ไทยโพสต์ : พระราม 6 * น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลังและโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ที่กำหนดให้มี การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอ นิกส์ (e-Business) ในต่างประ เทศ โดยกำหนดให้ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ ที่มี รายได้จากการให้บริการทางอิเล็ก ทรอนิกส์ในประเทศไทยเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ยื่น แบบแสดงรายการภาษี และนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากรผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคาดว่าจะทำให้การเก็บภาษีเพิ่มขึ้นปีละ 3 พันล้านบาท

        นางแพตริเซีย มงคลวนิช ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัด เก็บภาษีและโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวเป็น การเก็บภาษีแวตจากผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ ตัว อย่างเช่น การโฆษณา ดาวน์ โหลดเกมส์ ดาวน์โหลดสติกเกอร์ สมัครสมาชิกทีวีออนไลน์ เป็น การเก็บภาษีแวตจากดิจิทัลคอนเทนส์ หรือดิจิทัลเซอร์วิส รวมถึงการให้บริการต่างๆ ที่มีการซื้อขายกันและมีการเก็บค่าบริการซื้อขายจากการซื้อสินค้านั้น ก็จะมีการเก็บภาษีแวตในส่วนของค่าบริการเท่านั้นไม่รวมถึงค่าสินค้า

     "กรมสรรพากร คาดว่า บริษัททั้ง 80-100 แห่งดังกล่าว ก็จะยอมเสียภาษีแวตในประ เทศไทยด้วยเช่นกัน เพราะเป็นเรื่องที่ต่างประเทศดำเนินการและได้ผลมาแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ประเทศไทยทำเป็นประเทศแรก" นางแพตริเซียกล่าว.

 

คลังปลื้มรีดรายได้เกินเป้า 6 หมื่นล.

    ไทยโพสต์ : พระราม 6 * คลังเปิดตัวเลขรายได้รัฐ 9 เดือนปีงบ 61 สูงกว่าเป้าหมาย 6.24 หมื่นล้านบาท 3 กรมภาษียังผลงานไม่เข้าตา รีดภาษีต่ำกว่าเป้าหมายต่อเนื่อง

     นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระ ทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในเดือน มิ.ย.2561 อยู่ที่ 2.55 แสนล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 2.33 พันล้านบาท หรือ 0.9% โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำ กว่าประมาณการที่สำคัญ ได้ แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บต่ำกว่าประมาณการ 2.96 พันล้านบาท หรือ 4.1%, ภาษีเบียร์ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2.82 พันล้านบาท หรือ 34.8% และภาษีสุรา จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1.52 พันล้านบาท หรือ 27.4%

     สำหรับ การจัดเก็บรายได้รัฐบาลช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2561 (ต.ค.60-มิ.ย.61) จัดเก็บรายได้รวมที่ 1.83 ล้านล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบ ประมาณ 6.24 หมื่นล้านบาท หรือ 3.5% โดยมีสาเหตุจากการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่น สูงกว่าประมาณการ 2.75 หมื่นล้านบาท หรือ 22.9% และการนำส่งรายได้ ของรัฐวิสาหกิจ สูงกว่าประ มาณการ 2.51 หมื่นล้านบาท หรือ 23.9%

      โดยภาพรวมการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร ในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2561 อยู่ที่ 1.35 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1.15 หมื่นล้านบาท กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้รวมอยู่ที่ 4.19 แสนล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 8.29 พันล้านบาท ขณะที่กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้รวม 8.15 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 2.04 พันล้านบาท.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!