WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cสรรพากรสรรพากร ให้นิติบุคคลที่ลดหย่อนภาษีจากเงินบริจาคโครงการสานพลังประชารัฐ ไม่เกิน 5% ของกำไรสุทธิ

       สรรพากรอนุมัติมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการสายพลังประชารัฐ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่าย เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนโครงการตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5% ของกำไรสุทธิ มีผลในรอบบัญชี วันที่ 1 มกราคม 2560-31 ธันวาคม 2561

    กรมสรรพากร เปิดเผยผ่านเอกสารเผยแพร่ ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560  คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการสานพลังประชารัฐตามนโยบายรัฐบาล โดยกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำรายจ่ายที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการสานพลังประชารัฐ มาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิ ก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ 

   ทั้งนี้ เมื่อพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับนี้มีผลใช้บังคับแล้ว กรมสรรพากรจะประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของค่าใช้จ่ายที่รับสิทธิ์ตามมาตรการนี้ เช่น

   - ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเข้าร่วมโครงการได้จ่ายไปในการดำเนินการของโครงการภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ หรือเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนโครงการสานพลังประชารัฐที่จ่ายให้แก่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

   - มีหลักฐานการจ่ายเงินโดยระบุว่าเป็นรายจ่ายเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการสานพลังประชารัฐ

   - หัวหน้าคณะทำงานภาคเอกชนต้องให้การรับรองค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายตามโครงการสานพลังประชารัฐ

   - บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงรายการจ่ายเงินตามโครงการสานพลังประชารัฐ เป็นต้น

สรรพากร ปลดล็อกสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากผลตอบแทนจากการฝากเงินในไอแบงก์ เช่นเดียวกับสถาบันการเงินอื่น

                สรรพากร เปิดเผยร่างพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงตามมาตรการสร้างความเป็นกลางทางภาษี ปลดล็อกสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากผลตอบแทนจากการฝากเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับผลตอบแทนจากการฝากเงินกับสถาบันการเงินอื่น

     กรมสรรพากรเปิดเผยผ่านเอกสารเผยแพร่ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงตามมาตรการสร้างความเป็นกลางทางภาษีกรณีผลตอบแทนจากการฝากเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม เนื่องจากหลักการของศาสนาอิสลาม (หลักชาริอะฮ์) มิให้มีการจ่ายหรือรับดอกเบี้ย แต่ใช้การแบ่งปันผลกำไรหรือขาดทุนจากผลตอบแทนจากการค้าและการลงทุน และการรับความเสี่ยงร่วมกันระหว่างลูกค้ากับธนาคาร

   อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์เงินฝากตามหลักการของศาสนาอิสลามมีลักษณะทำนองเดียวกับเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ ผลตอบแทนจากการฝากเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามจึงควรได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับผลตอบแทนจากการฝากเงินกับสถาบันการเงินอื่น ดังนี้

   1. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผลตอบแทนจากการฝากเงินเป็นรายเดือนติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือน โดยมียอดเงินฝากแต่ละคราวเท่ากัน แต่ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน และรวมแล้วไม่เกิน 600,000 บาท

   2. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผลตอบแทนจากการฝากเงินทำนองเดียวกับเงินฝากออมทรัพย์ เฉพาะกรณีได้รับผลตอบแทนรวมไม่เกิน 20,000 บาท

   3. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผลตอบแทนจากการฝากเงินทำนองเดียวกับเงินฝากประจำที่มีระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป แต่รวมแล้วไม่เกิน 30,000 บาทและได้รับผลตอบแทนเมื่ออายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี

   ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะทำให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระหว่างผลตอบแทนจากการฝากเงินทั่วไปกับการฝากเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามมีความเท่าเทียมกัน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางการออมของประชาชนโดยทั่วไป เนื่องจากการรับฝากเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านการให้บริการทางการเงิน

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!