WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กรมสรรพสามิต ตั้ง กก.สอบ จนท.ผลิตสุราเถื่อน

     บ้านเมือง : นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตจะตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีที่สุราเถื่อนที่จับได้ จำนวน 10,000 ลิตร ซึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากโรงงานสุราสามทับที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมสรรพสามิตนั้น มีเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพสามิตมีส่วนรู้เห็นกับขบวนการผลิตสุราเถื่อนและเหล้าปลอมยี่ห้อต่างประเทศหรือไม่ เพราะโดยปกติแล้วเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพสามิตที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานสุราสามทับนั้น ต้องใส่ผสมทางสารเคมีที่เรียกว่า Isopropyl เมื่อใส่สารชนิดดังกล่าวลงไปในสุราสามทับแล้ว จะไม่สามารถนำมารับประทานได้เพราะสารดังกล่าวมีอันตรายถึงชีวิต

     "การใส่สาร Isopropyl ลงในสุราสามทับ เพื่อต้องการแยกแอลกอฮอล์ที่สามารถรับประทานได้ กับห้ามรับประทาน ออกจากกัน แม้ว่าแหล่งที่มาขอสุราสามทับจะมาจากพืชหรือ "เอทิล" (Ethyl) แอลกอฮอล์ที่สามารถนำมารับประทานได้ก็ตาม แต่เอทิลแอลกอฮอล์ที่ไม่มีสาร Isopropyl จะนำไปใช้ในการผลิตสุราที่มีภาระภาษี ส่วนเอทิลที่มีการใส่สาร Isopropyl จะใช้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์และในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น สีทาบ้าน และทินเนอร์ เป็นต้น"

    นายสมชาย กล่าวต่อว่า สุราสามทับ หมายถึง แอลกอฮอล์ที่ผ่านการกลั่นมาแล้ว 3 ครั้ง เพื่อผลิตเป็นหัวเชื้อสุรามีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์เกือบ 100 ดีกรี หากนำผสมน้ำและใส่สารปรุงรส เช่น กลิ่น และน้ำตาล ก็คือสุราทั่วไป ดังนั้น กรมสรรพสามิตจึงต้องแยกแอลกอฮอล์ที่กินได้ กับกินไม่ได้ออกจากกัน เพราะคุณประโยชน์ของแอลกอฮอล์มีมากกว่าที่นำมาดื่มเป็นสุราเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ความนิยมน้ำมันที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรือเรียกว่า แก๊สโซฮอล์ ก็เพิ่มมากขึ้นเพราะมีราคาถูกกว่าน้ำมัน จึงถือเป็นนโยบายที่ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด

   "เมื่อปลายเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตร่วมกับทหาร ได้จับกุมสุราเถื่อน และสุราปลอมได้หลายยี่ห้อใกล้ด่านสะเดา จังหวัดสงขลา ประมาณ 10,000 ล้านลิตร และเมื่อตรวจสอบในเชิงลึก พบว่า แอลกอฮอล์ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญในการผลิตสุราเถื่อนนั้น มาจากผู้ผลิตของโรงงานที่ผลิตสุราสามทับในประเทศไทย จึงอาศัยอำนาจของอธิบดีกรมสรรพสามิตสั่งปิดโรงงานแห่งดังกล่าวเป็นกรณีชั่วคราวที่จังหวัดราชบุรี เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป เพราะสุราสามทับห้ามจำหน่ายในประเทศ ผู้ผลิตต้องผลิตเพื่อการส่งออก 90% ที่เหลืออีก 10% จำหน่ายภายในประเทศ โดยเติมสาร Isopropyl เพื่อนำใช้ในอุตสาหกรรม และวงการแพทย์เท่านั้น เช่น น้ำยาล้างเล็บ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค ซึ่งสารดังกล่าวเป็นสารพิษห้ามรับประทาน เพื่อแยกแยะสุราสามทับออกจากแอลกอฮอล์ปกติที่นำมาใช้ในการผลิตสุรา"

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!