WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมชาย พลสวสด copy6 เดือนภาษีสรรพสามิตทะลุเป้าเกือบหมื่นล้าน รถยนต์-เบียร์-เหล้ายอดกระฉูด ฟุ้งคนเชื่อศก.ส่อฟื้น-จับจ่ายเพิ่ม

     แนวหน้า : นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต ในเดือนมี.ค. 2559 สามารถจัดเก็บได้เกินเป้า 3,560 ล้านบาท หรือ 8.25% เนื่องจากการเก็บภาษีเกือบทุกตัวขยายตัวได้ดี มีเพียงภาษีน้ำมันเท่านั้น ที่เก็บได้ต่ำกว่าเป้าเล็กน้อยเพียง 580 ล้านบาท สำหรับภาษีสำคัญที่เก็บได้เกินเป้า ประกอบด้วย ภาษีรถยนต์เกินเป้า 550 ล้านบาท ภาษีเบียร์ 1,600 ล้านบาท ภาษีสุรา 1,690 ล้านบาท ภาษียาสูบ 180 ล้านบาท และภาษีเครื่องดื่ม 62 ล้านบาท

     นายสมชาย กล่าวว่า การเก็บภาษีได้ เกินเป้า ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นของประชาชน ดีขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาล ที่ทำให้คนเร่งใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ที่สำคัญคือการเก็บภาษีรถยนต์ ซึ่งที่ผ่านมายังทรงตัว แต่ในเดือนมี.ค. ล่าสุด มีการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้น

    ขณะที่การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต ในรอบ 6 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2559 (เดือนต.ค. 2558-มี.ค. 2559) สามารถเก็บได้ 2.58 แสนล้านบาท เกินเป้า 9,000 ล้านบาท หรือเท่ากับ 3.58% เนื่องจากภาษีสำคัญเก็บได้ เกินเป้า เช่น ภาษีรถยนต์เกินเป้า 3,000 ล้านบาท ภาษีเบียร์ 6,000 ล้านบาท ภาษีสุรา 870 ล้านบาท และภาษีเครื่องดื่ม 79 ล้านบาท ส่วนภาษีน้ำมัน เก็บได้ต่ำกว่าเป้า 1,000 ล้านบาท และภาษี ยาสูบ 300 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าทั้งปีงบประมาณ กรมสรรพสามิต จะเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

    ด้านการแก้ไขกฎหมายของกรมสรรพสามิต ที่มีสาระสำคัญให้เก็บภาษีจากราคาหน้าโรงงาน หรือสำแดงราคานำเข้ามาเป็น ราคาขายปลีก คาดว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา จะพิจารณาเสร็จไม่ช้านี้ เพื่อส่งให้สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ (สนช.) พิจารณาให้มีผลบังคับได้ทัน ภายในปีนี้

     รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2559 ที่ผ่านมา ครม.ได้มีมติเห็นชอบ มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการศึกษา โดยขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี จากที่ได้สิ้นสุดไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2558 ที่ผ่านมา สำหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาสามารถหักได้ 2 เท่า ออกไปอีก 3 ปี โดย ไปจนถึง 31 ธ.ค. 2561

     สำหรับ รายละเอียดของมาตรการภาษีประกอบด้วย 1.บุคคลธรรมดาที่บริจาคเงินให้แก่สถานศึกษาของราชการและเอกชนโดย ไม่รวมโรงเรียนนอกระบบ สามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ 2 เท่า ของจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา สำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความเห็นชอบแล้ว ต้องไม่เกิน 10% ของ เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและ ค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว

     2.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สถานศึกษาของ ราชการและเอกชนโดยไม่รวมโรงเรียนนอกระบบ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า ของจำนวนที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายที่จ่ายไป เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับ โครงการที่กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความเห็นชอบ และรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสร้าง และการบำรุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของเอกชนที่เปิดให้ประชาชนใช้เป็นการทั่วไปโดยไม่เก็บค่าบริการใดๆ หรือ สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬา ของทางราชการแล้ว ต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิ ก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือ เพื่อการกีฬา

       "มาตรการนี้ จะมีส่วนทำให้ภาคเอกชน มีแรงจูงใจในการสนับสนุนการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาช่วยให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นรากฐานในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต ให้เป็นไปอย่าง ต่อเนื่อง และช่วยลดภาระการจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายของรัฐบาล ในด้านการศึกษาได้อีกทางหนึ่งด้วย"

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!