WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1B Fitch Ratings

Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)

      นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่าวันนี้ (วันที่ 10 กรกฎาคม 2566) บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) Fitch คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 2.6 ในปี 2565 เป็นร้อยละ 3.7 และร้อยละ 3.8 ในปี 2566 และปี 2567 ตามลำดับ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และคาดว่าปี 2566 นักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 29 ล้านคน จาก 11.2 ล้านคน ในปี 2565 ประกอบกับ การบริโภคภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง

ตลอดจนการฟื้นตัวของตลาดแรงงานอย่างต่อเนื่องภายใต้มาตรการสนับสนุนต่างๆ และมีสัดส่วนหนี้ภาคครัวเรือนต่อ GDP ลดลง อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการลดลงหรือชะลอตัวของอุปสงค์และเศรษฐกิจโลก และการใช้นโยบายการเงินแบบหดตัวของประเทศที่พัฒนาแล้ว (Advanced Economies)

2) ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) Fitch คาดว่า การขาดดุลการคลังของไทยจะลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 4.4 ในปี 2565 เป็นร้อยละ 3.4 ในปี 2566 และคาดว่าปี 2567 จะขาดดุลที่ร้อยละ 3.2 ซึ่งการขาดดุลที่ลดลงสะท้อนถึงรายได้ภาษีที่แข็งแกร่งขึ้นและการสิ้นสุดของมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

อย่างไรก็ดี ภายในปี 2567 คาดว่า สัดส่วนหนี้ภาครัฐบาลต่อ GDP (General Government Debt to GDP) จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 55.9 แต่ยังคงอยู่ในระดับเดียวกับกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับเดียวกัน (BBB Peers) และจะทยอยลดลงเนื่องจากมีการปรับภาวะทางการคลังให้เข้าสู่สมดุล (Fiscal Consolidation)

นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังคงสามารถระดมทุนในประเทศได้เป็นอย่างดีในทุกสถานการณ์ ส่งผลให้ หนี้สาธารณะคงค้างส่วนใหญ่เป็นหนี้สกุลเงินบาทและมีอายุคงเหลือที่ค่อนข้างยาว จึงช่วยลดความเสี่ยงด้านการคลัง 

3) ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ยังคงแข็งแกร่งและยืดหยุ่น แม้ต้องเผชิญกับข้อจำกัดทางการเงินโลกและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดย Fitch คาดว่า ปี 2566 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเกินดุลที่ร้อยละ 2.0 ของ GDP และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.9 ในปี 2567 เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและสถานการณ์ราคาน้ำมันที่คลี่คลาย อีกทั้ง ปี 2566 คาดว่าประเทศไทยจะมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงมาก คือ 7.3 เดือน ขณะที่คาดว่า BBB Peers และ A Peers จะมีค่ากลางอยู่ที่ 4.2 เดือน 

4) ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ Fitch ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของประเทศไทย คือ การลดลงของสัดส่วนหนี้ภาครัฐบาลต่อ GDP (General Government Debt to GDP) การลดการขาดดุลตลอดจนการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีศักยภาพในระยะปานกลาง ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้ Fitch มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ

คือ การไม่สามารถรักษาเสถียรภาพทางการคลัง ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและส่งผลต่อการเติบโตหรือการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญต่อการปรับมุมมองในระยะปานกลาง (Medium-term growth outlook) คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่จะส่งผลต่อแผนการปรับภาวะทางการคลังให้เข้าสู่สมดุล (Fiscal Consolidation)

 

Click Donate Support Web  

kasat 720x100CKPower 720x100TOA 720x100MTL 720x100TU720x100sme 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxPF 720x100

 

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!