WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

dtac-telenor1

ดีแทค ประกาศผล 2 ตัวแทนเยาวชนไทยจากโครงการ dtac & Telenor Youth Summit2014 เข้าร่วมงานประกาศผลรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์

    ดีแทค ประกาศผล 2 ตัวแทนเยาวชนไทย นายสิรพัชร บุญยะปาน และนางสาวอัสมา นาคเสวี จากเวิร์คช็อป Safe Internet ภายใต้โครงการ dtac & Telenor Youth Summit 2014 ซึ่งได้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการคัดเลือกตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมเปิดโลกกว้างไปกับเพื่อนเยาวชนจากทั่วมุมโลกที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสื่อดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยมีองค์กรและผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมาให้ความรู้ ในงาน Telenor Youth Summit วันที่ 9-11 ธันวาคม 2557 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์

   ไฮไลท์ของการได้ไปที่นอร์เวย์ คือโอกาสที่ได้เข้าร่วมงานแจกรางวัลโนเบลสันติภาพ หรือ Noble Peace ซึ่งเป็นโอกาสที่หาไม่ได้ง่ายๆ  และมีโอกาสพบกับ มาลาลา ยูซาฟไซ เด็กที่ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบล 2014 ที่อายุน้อยที่สุดเพียง 17 ปีเท่านั้น เธอมีหัวใจที่เข้มแข็งและกล้าหาญ ที่ผ่านมาเธอต้องต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพทางการศึกษาท่ามกลางความรุนแรงภาย ในประเทศจน มาลาลา ได้ถูกมือปืนตอลิบาน (Taliban) ยิงศีรษะจนเกือบเสียชีวิต แต่เธอก็ยังคงยืนหยัดต่อสู้ด้วยความหวังที่ว่าจะให้เด็กหญิงทั่วโลกได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งผู้ที่ชนะเลิศเป็น 2 ตัวแทนเยาวชนไทยนอกจากจะได้รับประสบการณ์สูงสุดข้างต้นที่หาที่ไหนไม่ได้แล้ว ยังได้รับเกียรติให้เป็นทูตเยาวชนในโครงการ dtac Safe Internet เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้ในเรื่องของเยาวชนไทยกับสื่อดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตอีกด้วย

dtac-telenor 2

   นายซิคเว่ เบรคเก้ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้กล่าวในงานเปิดกิจกรรมเวิร์กชอปครั้งนี้ว่า“ชาวไทยเป็นกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างสูงในระยะหลังจนมากกว่ากลุ่มผู้ใช้ในทวีปยุโรปถึง 2 เท่า โดยมีสถิติใช้เว็บไซต์ YouTube พุ่งสูงขึ้นเป็นอันดับ 2 ของโลกเลยทีเดียว ทำให้เขาเห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยที่สูงกว่าเดิมมากและตั้งใจให้ ดีแทคเป็นผู้นำด้านการให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย (The Leading Mobile Internet Operator)”

     ทั้งนี้ คุณซิกเว่มองว่า เยาวชนในไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในเอเชีย ทำให้รู้สึกกังวลถึงความไม่ปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตของเยาวชนไทย เพราะสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ต้องห้ามต่างๆได้อย่างง่ายดาย หากไม่มีการให้ความรู้ที่ถูกต้อง ดังนั้น เวิร์คช็อป ‘Safe Internet’ ครั้งนี้ จึงมีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับประเทศไทย และประเทศไทยจะเป็นต้นแบบในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้องและปลอดภัยให้แก่เยาวชนประเทศอื่นๆในเอเชียด้วย

     วันสุดท้ายของการเวิร์คช็อป ‘Safe Internet’ ดีแทคได้ให้น้องๆ คิดไอเดียและโครงงานมานำเสนอภายใต้หัวข้อ A Better Digital Future in the Safe Internet way for all ซึ่งผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนจะต้องคิดและตอบโจทย์โลกดิจิทัลในอนาคตและสามารถเป็นไปได้ หนึ่งในผู้ที่ชนะเลิศ คือ นางสาวอัสมา นาคเสวี นักศึกษาปี 4 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร เผยถึงไอเดียที่ชนะใจกรรมการนี้ว่า “ด้วยที่ตนเองเป็นคนจังหวัดปัตตานี และมองเห็นถึงปัญหาของความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งพบว่าหลายครอบครัวต้องขาดผู้นำครอบครัวไปทำให้ขาดรายได้หลัก จึงเสนอแนวคิดโครงการ e Commerce เพื่อหญิงหม้ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีรายได้จากอาชีพที่ทำอยู่มากขึ้นและเป็นที่รู้จักมากขึ้น นั่นก็คือ ผ้าคลุมผม (Hijab) โดยใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลมาช่วยในรูปแบบการขายผ่าน e Commerce โดยเริ่มจากการชวนดีไซน์เนอร์มาให้ความรู้และออกแบบ จากนั้นก็จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นโดยการสร้างเพจเป็นช่องทางการขายผ่านเพย์เม้นท์เกตเวย์ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ สร้างชุมชน สร้างรายได้ผ่านการใช้อินเตอร์เน็ต จากกลุ่มลูกค้าคนมุสลิมในไทยและขยายต่อไปต่างประเทศได้”

   นายสิรพัชร บุญยะปาน นักศึกษาปีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อลดทอนขั้นตอนของการสมัครงาน โดยมองปัญหาของการว่างงานเป็นตัวตั้ง พร้อมกับบริษัทหลายบริษัทมีขั้นตอนของการพิจารณาบุคคลที่ยุ่งยาก เพียงเพราะไม่มั่นใจในการกรอกข้อมูลและรายละเอียดในตัวตนนั้นๆ จึงทำให้คิดว่าหากมีโปรแกรมที่มาช่วยได้อย่างปลอดภัยทั้งคนสมัครงานและบริษัทจัดหางาน จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้ อีกทั้งยังลดขั้นตอนและปัญหาในการเลือกคนไม่ตรงกับงานได้อีกด้วย โดยในอนาคตเชื่อว่าการค้นข้อมูลจะทำได้ง่ายขึ้นและละเอียดขึ้น แต่ต้องร่วมกับหลายฝ่ายช่วยกันสร้างระบบฐานข้อมูลที่ปลอดภัย”

เกี่ยวกับโครงการ

    โครงการ dtac & Telenor Youth Summit จัดขึ้นครั้งแรกในไทย เมื่อปี 2013 ดีแทคร่วมกับกลุ่มเทเลนอร์ คัดเลือกคนเยาวชนไทยเป็นตัวแทนไปร่วมงานประกาศผลรางวัลสันติภาพโนเบลปี 2013 ที่กรุงออสโลว์ประเทศนอร์เวย์ และในปี 2014 นี้ ดีแทคได้คัดเลือกน้องๆ ที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้ว 35 คน เพื่อมาเข้าร่วมกิจกรรม 'Safe Internet' Workshop ในวันที่ 27-29 ตุลาคม 2557 ขึ้น เพื่อให้เยาวชนมีโอกาสพบเจอกับสุดยอดนักธุรกิจผู้มีบทบาทสำคัญในโลกออนไลน์ เช่น คุณพนา จันทรวิโรจน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ เนชั่น มัลติมีเดีย กรู๊ป คุณปฐมพงศ์  สิรชัยรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี กรรมการมูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้มีชื่อเสียงในวงการโซเชี่ยลมีเดีย ที่จะมาเผยเคล็ดลับความสำเร็จของการเป็น Influencer ชั้นนำของเมืองไทย อาทิ จอหน์ วิญญ, หนุ่มเมืองจันทร์, สิงห์ วรรณสิงห์ 

    อีกทั้ง ยังได้ความรู้และมุมมองในการใช้สื่อดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตที่หลากหลายและสร้างสรรค์ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตัดสินรอบสุดท้ายโดยคณะกรรมการชื่อดังจากหลากหลายวงการ ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่ดีแทคตั้งใจมอบให้เยาวชนไทยได้รับความรู้และสามารถเป็นหนึ่งในผู้นำความคิดในโลกดิจิทัลที่จะสร้างสรรค์สังคมไทยและก้าวไปสู่เวทีระดับโลกได้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!