WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SCG-SD

เอสซีจี องค์กรต้นแบบด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระดมผู้เชี่ยวชาญเปิดเวที ASEAN Sustainable Development Symposium 2014 สานพลังเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งอาเซียนเพื่อโลกที่ยั่งยืน

เอสซีจี องค์กรต้นแบบด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ 1 ของโลกจาก DJSI ในสาขาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (Construction Materials) 4 ปีต่อเนื่อง จัดสัมมนาระดับภูมิภาค ASEAN Sustainable Development Symposium 2014 ครั้งที่ 4 บูรณาการแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจทั้งอาเซียน เสริมสร้างความร่วมมือ เพิ่มศักยภาพ ย้ำไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นภาคบังคับที่ธุรกิจต้องทำเพื่อความยั่งยืนในอนาคต

      SCG-SDนายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า การจัดงาน ASEAN Sustainable Development Symposium 2014 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และขยายผล 'การพัฒนาอย่างยั่งยืน'ไปสู่ทุกภาคส่วน เป็นการประสานองค์ความรู้ให้เกิดความเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็น ตลาดหลักทรัพย์ หอการค้า สภาอุตสาหกรรม ธนาคารพาณิชย์ และเครือข่ายของสภาธุรกิจต่างๆ ซึ่งจะรองรับการขยายตัวทางธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต

     “จากสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกที่จะมีมากกว่า 9,000 ล้านคนภายในอีก 35 ปีข้างหน้า ท่ามกลางทรัพยากรธรรมชาติที่ร่อยหรอลงจากการอุปโภคบริโภค ผู้บริหารองค์กรชั้นนำกว่า 200 แห่งทั่วโลกต่างมีความเห็นเกี่ยวกับโลกธุรกิจตามวิสัยทัศน์ 2050 หรือ พ.ศ. 2593 ว่าภาคธุรกิจในวันนี้ต้องตระหนักถึงการสร้างสมดุลพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ และสมดุลแห่งทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งสร้างสรรค์และจรรโลงสังคมให้ดำเนินอยู่ในกรอบแห่งความดี ดังนั้น การพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงไม่ใช่ทางเลือกสำหรับองค์กร ว่าจะทำหรือไม่ทำ แต่เป็นวิถีปฏิบัติอันจำเป็นหรือ Must Have Agenda ที่จะต้องวางแผนและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการประสานสมดุลระหว่างภาคเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเดินหน้าขับเคลื่อนทุกปัจจัยให้เติบโตไปพร้อมๆ กัน”

     นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ประธานคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าวเพิ่มเติมว่า เอสซีจี กำหนดแนวทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นแผนแม่บทในการดำเนินธุรกิจ โดยเริ่มจากภายในองค์กร และขยายสู่ห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ อาทิ การจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การยกระดับคู่ธุรกิจด้วย Greening the Supply Chain การสร้างมาตรฐานและให้การรับรองความปลอดภัยคู่ธุรกิจการยกระดับพนักงานของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ผ่านการอบรมจากโรงเรียนทักษะพิพัฒน์ (Skills Development School) และสร้างสังคมที่ยั่งยืนผ่านการแบ่งบันประสบการณ์และสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรและชุมชน

    “ตัวอย่างความสำเร็จของการ Collaboration ของเอสซีจี อาทิ สมาคมเพื่อนชุมชน ซึ่งเกิดขึ้นโดยกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในมาบตาพุด จังหวัดระยอง เพื่อยกระดับมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน เพื่ออุตสาหกรรมและชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน หรือ โรงปูนรักษ์ชุมชน ที่สระบุรี โดยการร่วมมือของกลุ่มผู้ผลิตซีเมนต์ แม้จะเป็นคู่แข่งทางธุรกิจ แต่ก็มาจับมือกัน เพื่อดูแลสังคมที่ยังยืน ความสำเร็จเช่นนี้ จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าแต่ละองค์กรยังต่างคนต่างทำ” นายรุ่งโรจน์ กล่าวเสริม    

“วันนี้ทุกองค์กรต้องร่วมมือกัน ไม่ใช่เพียงการแบ่งปันองค์ความรู้ ไม่ใช่แค่การทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือการส่งต่อและลงมือทำอย่างเต็มความสามารถ แต่ต้องเป็นความร่วมมืออย่างเติมเต็มซึ่งกันและกัน ร่วมมือกันอย่างมีกลยุทธ์ทั้งในมิติเชิงกว้าง และเชิงลึก สร้างเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ทั่วทั้งอาเซียนเพื่อมุ่งขยายผลการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริง”  นายกานต์ กล่าวสรุป

As leading role model, SCG Expands a Sustainable Development Network

throughout ASEAN as host of the ASEAN Sustainable Development Symposium 2014

    SCG, appointed by DJSI as the world’s top sustainable development model in the Construction Materials industry for the fourth year running, is hosting the ASEAN Sustainable Development Symposium 2014. This event, also held for the fourth year, aims to materialize true sustainability for the entire supply chain while reaching out to establish a network throughout ASEAN to sustain the development for the future with an emphasis that sustainable development is not merely a choice but a compulsory measure for all businesses to sustain further through times.

     Mr. Kan Trakulhoon, President and CEO of SCG, further explains that the upcoming ASEAN Sustainable Development Symposium 2014aims to make a network of sustainability which should lead to a real ‘sustainable development’ throughout the entire process of businesses. As a venue of information, the symposium hopes to establish a tangible knowledge-based platform for everyone, including the government, the private sector and the financial institutions - from the stock exchange, chambers of commerce, the industrial federations, commercial banks and affiliations of business federations – for further business expansions in ASEAN.

    “It is evident that the world population is set to increase to over 9,000 million within the next 

    35 years, whereas the natural resources have become ever so limited. More than 200 business leaders around the world had unanimously agreed in the “Vision 2050” that it is mandatory for businesses to make a balance between human economy and natural resources. It is also required that we create and make a better society to live in. The sustainable development is then not merely a choice, but a ‘Must Have Agenda’ for all businesses that requires thorough planning and tangible scheming so that we can maintain our business growth and at the same time sustain our limited natural resources and make a good balanced living.”  

     Mr. Roongrote Rangsiyopash, Chairman of SCG Sustainable Development Committee, said that SCG has our own sustainable master plan in which we emphasize first and foremost on our own internal operation before reaching out to the entire production processes – from the supply chain to the end users. We care to make sure that our procurement is safe for the environment by establishing a ‘Greening the Supply Chain’ standard to ensure our partners’ safety and sustainability measures. 

    We also care to train our logistics partners with proper disciplines in the Skills Development School while taking care of the society through many of our community projects

     “An example of SCG’s “collaboration” is the Community Partnership Association which initiated from a group of operators in the Map Ta Phut industrial estate of Rayong province. The group aims to escalate standards for environmental friendly factories and promote good quality of life for the community so in turn the industrial area and the community can sustainably coexist.  Another example is the Cement Partnership Initiative in Saraburi province. This alliance consists of cement producers who are in fact competitors working hand in hand for a common objective, a sustainable society. This successful outcome can never be possible without collaboration.” Roongrote states.

      “We need to reform by working together,” says Mr. Kan. “And that does not only mean sharing information, joining each other’s CSR projects, or passing the torch and execute, but to whole-heartedly collaborate with a thorough strategic plan that will become a true force for real sustainability throughout ASEAN in the future.”

สัมมนาวิชาการว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งอาเซียนครั้งที่ 4
4th ASEAN Sustainable Development Symposium

                สัมมนาวิชาการว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นกิจกรรมระดับอาเซียนที่เอสซีจีจัดเพื่อให้สาธารณชนตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้

  1. เป็นเวทีให้ผู้บริหารธุรกิจในแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งมีชื่อเสียงระดับโลก รวมทั้งผู้นำหน่วยงานระดับโลก สามารถแบ่งปันวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และประสบการณ์กับบุคคลอื่น ๆ
  2. เน้นความจำเป็นที่ภาคเอกชนต้องกำหนดการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เป็นยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจของตน
  3. แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของแรงกดดันด้านสังคม ซึ่งจะเป็นพลังผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน
  4. กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็นความเร่งด่วนของการร่วมมือกันเพื่อรับมือกับปัญหาท้าทายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
  5. Providing a platform for world-renowned Sustainable Development CEOs as well as world organization leaders to share their visions, strategies, and experiences with others,
  6. Stressing the necessity for the private sector to adopt sustainable development as a strategy to drive their businesses,
  7. Demonstrating the importance of social pressure as a driving force of sustainable development,
  8. Developing sense of urgency of all sectors to work together to meet the challenges of sustainable development.

                กิจกรรมในครั้งที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมกว่า 1,000 คน ทั้งผู้บริหารจากภาคราชการและเอกชน(วิสาหกิจขนาดเล็ก กลาง และใหญ่) นักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อมวลชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนหาทางบรรเทาผลกระทบโดยใช้แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในทางตรงกันข้ามจะช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

พัฒนาการของสัมมนาวิชาการว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในปี 2553

    สัมมนาวิชาการว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นความริเริ่มของเอสซีจี ที่เริ่มจากการจัดสัมมนาวิชาการว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อแนะนำแนวคิด ‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’ ให้กับทุกภาคส่วน เนื่องจากสัมมนาวิชาการในลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นขึ้น และเป็นหัวข้อใหม่ในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในระดับประเทศและให้เกิดการยอมรับเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ ประเด็นหลักและปาฐกถาในรายการมีเนื้อหาสำคัญสนับสนุนความพยายามในการเปลี่ยนแปลงให้โลกดีขึ้น และที่สำคัญเป็นการอภิปรายถึงสิ่งที่จำเป็นต้องทำต่อไป

    ในปีนี้ เอสซีจีได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจากนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และ ฯพณฯ รินโปเช ดร.คินซัง ดอร์จี (Kinzang Dorji) อดีตนายกรัฐมนตรีภูฐาน ดร.คินซัง ดอร์จีแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับแนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness - GNH) เพื่อเป็นหลักการชี้นำแนวทางพัฒนาไปสู่สังคมที่เท่าเทียมและยั่งยืน

ในปี 2554

      สัมมนาวิชาการว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทยครั้งที่สอง (Thailand SD Symposium) เป็นการจัดทำเพื่อสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนให้เห็นความจำเป็นของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีต่อสังคมของเรา และให้เห็นว่าประเด็นดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องเฉพาะในท้องถิ่นเท่านั้น แต่เป็นประเด็นระดับโลก และชี้นำให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความรับผิดชอบในการดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

       สัมมนาวิชาการในปีนี้ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ฯพณฯ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน และนายบีจอน สติกสัน (Bjorn Stigson) ประธานสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (World Business Council for Sustainable Development – WBCSD) มาเข้าร่วม ผลจากการประชุมในปีดังกล่าวทำให้เอสซีจีตระหนักถึงศักยภาพของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีขอบเขตนอกเหนือจากประเทศไทย

ในปี 2555  

     เอสซีจีนำเสนอประเด็น “อนาคตที่ยั่งยืนในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง” เนื่องจากที่ผ่านมาเราได้ประสบกับผลกระทบด้านลบและภัยพิบัติทางธรรมชาติ เนื่องจากการดำเนินงานของมนุษย์ เกราะป้องกันเพียงอย่างเดียวเพื่อคุ้มครองพวกเราและบรรเทาผลกระทบจากปัญหาท้าทายเหล่านี้ได้แก่ ‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’

      ขอบเขตของสัมมนาวิชาการในปีนี้ขยายจากระดับชาติไปสู่ภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากอาเซียนเป็นเครื่องจักรกลเพื่อการเติบโตของโลก จึงจำเป็นต้องทำให้การเติบโตมีความสมดุลกับแม่แบบการบริโภคที่ยั่งยืน ในช่วงเริ่มต้นนี้ พันธมิตรทางธุรกิจของเราในอาเซียน ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในรายการดังกล่าว เพราะเราคาดหวังให้พันธมิตรเหล่านี้นำแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ และเป็นแม่แบบในประเทศของตน

      ในปีนี้ ผู้กำหนดนโยบายซึ่งเผชิญกับปัญหาท้าทายต่าง ๆ รวมทั้งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ฯพณฯ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการ UNCTAD และนายปีเตอร์ เบกเกอร์ (Peter Bakker) ประธานสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ชี้ให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีส่วนช่วยสนับสนุนความเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจของอาเซียน

     จากความสำเร็จดังกล่าว สัมมนาวิชาการว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนในอาเซียน (ASEAN SD Symposium) ได้กลายเป็นกิจกรรมสำคัญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศ กว่า 70% ของผู้เข้าร่วมตอบรับที่จะนำแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนไปใช้กับหน่วยงานของตนโดยทันที

ในปี 2557

      สัมมนาวิชาการครั้งนี้จะเป็นกิจกรรมสำคัญที่นำไปสู่ความร่วมมือเพื่อการเปลี่ยนแปลงและทำให้ ‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’ เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง ขอบเขตของงานจะขยายไปสู่ทุกภาคส่วนของธุรกิจในอาเซียน รวมทั้งสมาคมธุรกิจทุกชนิดที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า สมาคมธนาคาร และเครือข่ายภูมิภาคของสภาธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (BCSD of Regional Network) อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม

    ก้าวย่างสำคัญอีกประการหนึ่งในปีนี้ของเอสซีจี คือการจัดทำเวทีและรับฟังเพื่อเรียนรู้จากความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริง และการระดมความคิดสำหรับประเด็นที่จะพัฒนาไปสู่แผนปฏิบัติการอาเซียนปี 2563 (ASEAN Action2020) ซึ่งเป็นเวทีที่ภาคธุรกิจในอาเซียนจะปฏิบัติการในภารกิจที่ท้าทายมากที่สุดของการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือที่เรียกว่าภารกิจ “ต้องทำ” สำหรับอาเซียน (ASEAN Must-have(s)) ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมกับสนับสนุนศักยภาพของหน่วยงานในการรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ การขาดแคลนน้ำ และการขาดแคลนทักษะ

______________________________________

4th ASEAN Sustainable Development Symposium

     Sustainable Development Symposium is an ASEAN event that SCG has carried out to promote public awareness on the importance of sustainable development.  Likewise, the Symposium is determined to create changes by;

      The event was widely attended by more than 1,000 attendees including executives from the public and private sectors (of small, medium, and large enterprises), academicians, NGOs, local and foreign media and also presented an opportunity for all stakeholders to find any mitigation by applying the concept of sustainable development as a key strategy in business, which will in turn help propel the growth of the economy and create the balance among economic, social and environmental growth.

Development of Sustainable Development Symposium

In 2010

      Sustainable Development Symposium was originally organized by SCG under the scope of Thailand Sustainable Development Symposium.  It was to introduce the term ‘Sustainable Development’ or ‘SD’ to all parties.  Since the symposium was just begun and was a new subject for Thailand, it required a stunning objective case having a national credibility impact and buy-in to create inspiration.  Themes and key note speeches were needed to provide a meaningful contribution towards the efforts in shaping a better world and, perhaps more importantly, to discuss what remains to be done.

     This year, SCG was privileged to receive the great honor from Mr.Korn Chatikavanij, Thailand’s Minister of Finance, and H.E. Lyonpo Dr. Kinzang Dorji, a former Prime Minister of Bhutan.  Dr.Kinzang Dorji gave us an impression of GNH (Gross National Happiness) that was the guiding principles to navigate our path towards a sustainable and equitable society.

 

In 2011

     The second Sustainable Development Symposium, Thailand SD Symposium, has been developed to encourage all stakeholders to see how imperative SD was to our societies, and that SD was not a local agenda any more, but a global one, leading to all sectors recognizing their responsibility to implement SD.

      This year’s symposium was graced by H.E. Prime Minister of Thailand Yingluck Shinawatra,   H.E. Secretary General of ASEAN Dr. Surin Pitsuwan, and President of the World Business Council for Sustainable Development Mr. Bjorn Stigson. The result from this year has led SCG to realize the potential of SD and to extend its boundaries beyond Thailand.

In 2012

    The theme of ‘Sustainable Future in a Challenging World’ was presented since we have experienced many negative impacts and disasters resulting from human activities.  The only armor to protect and mitigate those challenges is ‘SD’.

     The symposium scope has been extended from national level to the ASEAN regional level, since ASEAN is a growth engine of the world required to balance growth with a sustainable consumption model.At this beginning stage, our business partners in ASEAN have been invited to join this event since they are expected to implement SD in practice and to become a role model in their countries.

    This year, policy makers who tackle those challenges, such as Mr. Kittirat Na-Ranong, Thailand's deputy prime minister and finance minister, H.E. Dr. Supachai Panitchpakdi, Secretary-General of UNCTAD, and Mr. Peter Bakker, President of the World Business Council for Sustainable Development (WBCSD), have portrayed the importance of SD to strengthen ASEAN towards economic leadership.

     From this success, the sustainable development symposium, ASEAN SD Symposium, has become an SD landmark event of the nation, and more than 70 percent of the participants responded to implement SD in their organizations immediately.

In 2014

    The symposium will be a major event paving the way for collaboration and change to propel ‘SD’ into real practice.  On this road, all sectors will meet and exchange their knowledge and experiences in order to initiate the policy for development of the sustainable growth in ASEAN.  The scope will include all business sectors in every relevant association, e.g. stock market, the federation of industries, the chamber of commerce, the bankers’ association, and Business Council for Sustainable Development of Regional Network (Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore, Thailand and Vietnam).

    This year is another important step as SCG strives to create a platform for listening and learning from real success and to give more thought to the issue of ASEAN Action2020.  It is a platform for ASEAN business to take action on the most critical sustainable development challenges or ASEAN Must-have(s) to meet the environmental and social needs, while strengthening their own resilience to issues like climate change, water scarcity and skills shortages.

 

Keynote Speaker

ฯพณฯ เล เลือง มินท์ เลขาธิการสมาคมอาเซียน

H.E. Le Luong Minh - ASEAN Secretary-General

     ฯพณฯ เล เลือง มินห์ เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1952 ที่เมืองฐานหัว ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสมาคมอาเซียน ฯพณฯ ท่าน เล เลือง มินห์ ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเวียดนาม และท่านได้รับการเสนอชื่อจากรัฐบาลเวียดนามให้เข้ามาทำงานในสมาคมอาเซียน ก่อนจะถูกทาบทามให้เจ้ารับตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปโดยมีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2013-2017

      ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2004 จนถึงปี 2011 ฯพณฯ เล เลือง มินห์ ดำรงตำแหน่งเป็นหนึ่งในคณะผู้แทนถาวรประจำองค์การสหประชาชาติ และเป็นเอกอัคราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ในช่วงเดือนมกราคม 2004 ถึงเดือนสิงหาคม 2007 และในเดือนสิงหาคมปี 2007 ถึงเดือนธันวาคมปี 2008 ท่านทำงานในตำแหน่งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม และตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2008 จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2011 ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศและเอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็มจนครบวาระ

     ฯพณฯ เล เลือง มินห์ มีความเชี่ยวชาญด้านการทูตระหว่างประเทศ ประสบการณ์การทำงานอันยาวนานในกระทรวงการต่างประเทศของท่าน เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 1975 และท่านยังดำรงตำแหน่งสำคัญอีกมากมาย อาทิ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการองค์การกิจการภายใน เมื่อปี 1993 และในปี 1995 ได้รับการทาบทามให้ดำรงตำแหน่งเอกอัคราชทูตถาวรผู้มีอำนาจเต็มของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในสหประชาชาติ และองค์กรอื่นๆ ในสังกัดของสหประชาชาติในสำนักงานที่เจนีวา หลังจากนั้นก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเอกอัคราชทูตประจำสำนักงานใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ

    ในระหว่างเดือนธันวาคม 1999 จนถึงเดือนธันวาคมปี 2002 ฯพณฯ เล เลือง มินห์ ดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการทั่วไป และปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการองค์กรนานาชาติ ในกระทรวงการต่างประเทศแห่งเวียดนาม และได้ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการส่วนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบทวิภาคีในกระทรวงการต่างประเทศในเวลาต่อมา (เดือนธันวาคมปี 2002 ถึงเดือนมกราคมปี 2004)

   ฯพณฯ เล เลือง มินห์ สำเร็จการศึกษาจากสถาบันทางการทูตของเวียดนามในปี คศ. 1974 และจบมหาวิทยาลัย Jawaharlal Nehru University ในด้านภาษา และวรรณคดีอังกฤษที่ประเทศอินเดีย มีบทบาททางการทูตระหว่างประเทศยาวนาน และถือเป็นบุคลากรทางการทูตแถวหน้าขององค์การสหประชาชาติ และอาเซียน

Keynote Speaker

อิโว เดอ โบเออร์ ผู้อำนวยการทั่วไปสถาบันโกลบอล กรีน โกรวท์

Mr. Yvo de Boer - Director-General of the Global Green Growth Institute (GGGI)

      อิโว เดอ โบเออร์ ผู้อำนวยการทั่วไปสถาบันโกลบอล กรีน โกรวท์ องค์กรระหว่างประเทศที่มีสำนักงานใหญ่ ณ กรุงโซล เกาหลีใต้ เขาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนี้โดยความเห็นชอบจากสมัชชาแห่งโกลบอล กรีน โกรวท์ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปีเริ่มต้นตั้งแต่เดือนเมษายนในปีนี้เป็นต้นมา

    ก่อนหน้านี้ คุณอิโว เดอ โบเออร์ รับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการหน่วยงานด้านการเปลี่ยนแปลงของลักษณะอากาศโลก (Climate Change)  และการให้บริการด้านความยั่งยืน ของบริษัทเคพีเอ็มจี ในวาระการดำรงตำแหน่งดังกล่าว

      คุณโบเออร์ถือได้ว่า เป็นผู้นำแห่งเครือข่ายเคพีเอ็มจี ที่ทำงานที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนในประเทศต่าง ๆ ทั้งหมด โดยคณะทำงานชุดนี้ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนหลายร้อยท่านจากกว่า 60 ประเทศ และยังเป็นผู้นำในการผลักดันบริษัทเคพีเอ็มจีไปสู่แผนงาน CC&S ซึ่งคุณอิโว เดอ โบเออร์ ได้แนะนำให้ผู้นำในองค์กรต่าง ๆ ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ให้ทุกฝ่ายร่วมกันมองหาวิธีตั้งรับ มองหาโอกาสและบริหารจัดการความเสี่ยงเหล่านี้

     ก่อนหน้าที่คุณอิโว เดอ โบเออร์ จะเข้ารับตำแหน่งที่เคพีเอ็มจี ในปี 2010 เขาเป็นผู้นำในกระบวนการสร้างการตระหนักรู้และมองหาวิธีการตั้งรับปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของอากาศโลก ในฐานะเลขาธิการระดับสูง ในการทำงานภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC ตั้งแต่ปี 2006-2010

     ในช่วงเวลาดังกล่าว เขาหยิบยกประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศขึ้นเป็นวาระพิจารณาเร่งด่วนเพื่อให้ทั้งภาคการเมือง และสื่อต่าง ๆ ทั่วโลกสนใจ เขาเชิญผู้นำที่ทรงอิทธิพลต่อโลกกว่า 100 ชีวิตมาประชุมพร้อมกันที่กรุงโคเปนเฮเกนในการประชุมนานาชาติว่าด้วยการเจรจาด้านภูมิอากาศในเดือนธันวาคมปี 2009 และสร้างพันธสัญญาจากผู้นำจากกว่า 90 ประเทศวาระนั้น ในเรื่องการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

     นอกเหนือจากบทบาทการทำงานในองค์การสหประชาชาติแล้ว เขายังทำงานในสหภาพยุโรปในด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ในตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการทั่วไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งเนเธอร์แลนด์ นอกจากนั้นเขายังเป็นรองประธานคณะกรรมการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน และปฏิบัติหน้าที่ที่ปรึกษาแห่งรัฐบาลจีน รวมทั้งธนาคารโลกด้วย และในปี 2011 เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการในที่ประชุม World Economic Forum ในการประชุมสมัชชาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกด้วย

Keynote Speaker

ซาดู เอ จอห์นสตัน - รองผู้ว่าการ รัฐแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา

Mr.Sadhu A. Johnston - Deputy City Manager, City of Vancouver

     ในฐานะรองผู้ว่าการรัฐ ซาดูทำหน้าที่กำกับดูแลการบริหารราชการของเมืองแวนคูเวอร์ในหลาย ๆ ด้าน และหนึ่งในนั้น ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านความช่วยเหลือฉุกเฉิน ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำคัญไม่น้อยในการทำงานของผู้ว่าการรัฐ คุณซาดูเป็นหนึ่งในคนที่มีส่วนร่วมกับกระบวนการพัฒนาและวางแนวทางนโยบาย แวนคูเวอร์ เมืองสีเขียว รวมทั้งเป็นคนวางแนวทางปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติสิ่งแวดล้อมของนครแวนคูเวอร์สู่มิติใหม่

      ในปัจจุบัน การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรัฐแวนคูเวอร์อยู่ที่ระดับ 6% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าระดับที่เคยต่ำที่สุดในปี 1990 แม้ว่านครแวนคูเวอร์จะมีการเพิ่มขึ้นของประชากรมากกว่า 28% และมีการจ้างงานในธุรกิจต่าง ๆ มากขึ้น 18% ส่วนกิจกรรมสร้างเมืองสีเขียวของนครแวนคูเวอร์ในปัจจุบันนั้นประกอบไปด้วย การสร้างทางจักรยาน

     การแบ่งปันการใช้จักรยานสาธารณะ การอนุรักษ์น้ำและลดการใช้พลังงานในครัวเรือน การวางกลยุทธ์การทำงานเพื่อสีเขียว การใช้ระบบขนส่งมวลชน และระบบอำนวยความสะดวกโดยใช้พลังงานจากไฟฟ้า และการวางกลยุทธ์การบริหารงานชุมชนภายใต้กรอบแห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

     คุณซาดู เป็นเจ้าของผลงานหนังสือ The Guide to Greening Cities โดยสำนักพิมพ์ Island Press เขายังเป็นผู้ก่อตั้ง และเป็นผู้ร่วมบริหารของเครือข่ายผู้นำแห่งเมืองยั่งยืน Sustainability Directors Network (USDN) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีทีมงาน 120 คนจากคณะทำงานของภาครัฐเข้ามาร่วมวางแผน กำหนดนโยบายและวางกลยุทธ์เพื่อให้เมืองต่าง ๆ ที่มีประชากรรวมกันแล้วกว่า 50 ล้านคนทั่วทั้งทวีปอเมริกาเหนือ เดินหน้าสู่ความเป็นเมืองแห่งสีเขียวเช่นเดียวกับแวนคูเวอร์

      คุณซาดู เคยเป็นผู้ช่วยนายกเทศมนตรี ริชาร์ด เอ็ม ดาร์ลีย์ ในด้านนโยบายและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหน้าที่ของเขาคือการดูแลเมืองใหญ่อย่างชิคาโกในด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของเมือง นอกจากนั้น ซาดูยังช่วยนายกเทศมนตรี ดาร์ลีย์ในการสร้างพัฒนาแผนสิ่งแวดล้อมของชิคาโก ซึ่งผลงานที่โดดเด่นของเขาได้แก่ การออกแบบโครงการรีไซเคิลที่ชื่อว่า Blue cart recycle system มาใช้ โดยเป็นโครงการจัดเก็บ และบริการเก็บขยะของครัวเรือน ซึ่งรวมไปถึงอาคารชุดที่อยู่อาศัยต่าง ๆ และผลจากโครงการนี้ ทำให้อัตราการรีไซเคิล ของชิคาโก เพิ่มสูงขึ้นมากเป็นประวัติการณ์

     จากการทำงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมประจำนครรัฐชิคาโก คุณซาดู ได้รับการทาบทามให้ทำงานเป็นที่ปรึกษานายกเทศมนตรีของรัฐ และในปี 2005 เดือนกรกฏาคม เขาเคยได้รับตำแหน่งผู้ช่วยนายกเทศมนตรีด้านการริเริ่มโครงการสีเขียวทั้งหมดนี้เป็นบทพิสูจน์ได้ดีว่า เส้นทางการทำงานของเขานั้นผ่านประสบการณ์และความเชี่ยวชาญอันยาวนาน จนประสบความสำเร็จถึงวันนี้นั่นเอง

Keynote Speaker

เดวิด เพียรสัน ผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดีลอยท์ โกลบอล

Mr.David Pearson - Chief Sustainability Officer Deloitte Global

       3 ปีที่ผ่านมา คุณเดวิดเป็นบุคลากรหลักที่มีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานตามแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของดีลอยท์ ตลอดจนการดูแลการจัดการความยั่งยืนในด้านของการให้บริการลูกค้าในขอบข่ายของเทคโนโลยีความสะอาด ไม่เพียงเท่านั้น คุณเดฟยังเป็นแกนนำหลักในการพัฒนาสร้างสรรค์หลักสูตรเพื่อเน้นย้ำพันธกิจของดีลอยท์ในการประกอบธุรกิจและสร้างความยั่งยืนภายใต้กรอบของการดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคม โดยการร่วมมือกับภาครัฐ และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร รวมทั้งภาคประชาสังคม ซึ่งเครือข่ายของดีลอยท์ต่างทำงานร่วมกันเพื่อออกแบบและพัฒนาวิถีการทำงานไปสู่อนาคต

   คุณเดวิด เริ่มงานกับดีลอยท์ในแวนคูเวอร์ แคนาดา เมื่อปี 1988 เขาใช้เวลากว่า 25 ปีในการทำงานองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน  และตั้งแต่ปี 2007 ถึง 2011 คุณเดฟดำรงตำแหน่งเป็น CEO ของดีลอยท์ CIS และย้ายไปประจำที่กรุงมอสโคว ในรัสเซีย โดย CIS ทำงานครอบคลุมกว่า 11 ประเทศที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของรัสเซีย และในปี 1999-2007 คุณเดวิดรับหน้าที่ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในหลายหน่วยงานของ CIS ทั้งการเป็นหัวหน้าทีมในการตรวจสอบบัญชี และดูแลกลุ่มบริษัทที่ทำงานด้านการให้บริการ ความท้าทายของเดวิดไม่ได้หยุดลงแค่นั้น เขายังเป็นผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของ CIS อีกด้วย

    ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา คุณเดวิดได้อุทิศตัวเพื่อก้าวเข้ามาสู่งานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งโครงสร้างในการทำงานใหม่ของดีลอยท์ ที่ครอบคลุมไปถึงการพัฒนาลูกค้าให้เดินหน้าสู่เทคโนโลยีสะอาด วันนี้ คุณเดวิดเป็นผู้นำในด้านการวางกรอบกลยุทธ์ขององค์กรตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม และการสร้างความยั่งยืนจากภายใน

     คุณเดวิดสำเร็จการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลับ ไซมอน เฟรเซอร์ เขายังได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพทางการบัญชีของสหรัฐอเมริกา และยังเป็นสมาชิกของสถาบันผู้ตรวจสอบบัญชี จากรัฐบริติช โคลัมเบีย รวมทั้งสถาบันผู้ตรวจสอบบัญชีแห่งแคนาดา อีกด้วย

      นอกจากนั้น คุณเดวิดยังเคยเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาของ ดาวน์ ไซต์อัพ องค์กรการกุศลในมอสโควที่ให้การดูแล และสนับสนุนครอบครัวของเด็ก ๆ ที่ป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม และยังเป็นสมาชิกของหอการค้าอเมริกันในรัสเซีย ซึ่งก่อนหน้านั้น คุณเดวิดเคยมีโอกาสได้เป็นรองประธาน และเป็นสมาชิกสภาอวุโสของหอการค้าด้วยเช่นกัน

Keynote Speaker

แคลินน์ เจมส์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีอาร์เอ็ม ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก

Ms.Keryn James - Regional CEO, ERM Asia Pacific

   คุณแคลินน์ เป็นซีอีโอของบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำ อีอาร์เอ็ม ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ดูแลทั้งประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เอเชียตอนเหนือ และจีน รวมไปถึงอินเดียด้วย คุณแคลินน์สำเร็จการศึกษาจากสาขาภูมิศาสตร์ และสาขาการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นเธอยังเป็นสมาชิกสภาผู้บริหารระดับสูงของอีอาร์เอ็ม ซึ่งกำกับดูแลการทำงานของบริษัทอีอาร์เอ็มในฐานะที่ปรึกษามืออาชีพทั่วโลก

    คุณแคลินน์ รับบทบาทในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ วางแผนการประเมินผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำกับลูกค้า คุณแคลินน์ถูกวางตัวเป็นผู้บริหารมืออาชีพจากประสบการณ์การทำงานร่วมกับกับองค์กรชั้นนำ และโครงการต่าง ๆ ทั้งในออสเตรเลีย จีน อินโดนิเซีย เวียดนาม แอฟริกา และยุโรป  ไม่ว่าจะเป็นโครงการด้านพลังงาน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เหมือนแร่ หรือการวางโครงสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ โดยก่อนหน้านี้ ระหว่างปี 2005-2011 เธอประจำอยู่ในลอนดอน และรับผิดชอบงานของ อีอาร์เอ็ม ในสหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ และก่อนจะรับหน้าที่ในสหราชอาณาจักร เธอดูแลรับผิดชอบงานของอีอาร์เอ็มในออสเตรเลียตะวันตก และการบริหารงานโครงการของลูกค้า โดยประจำอยู่ในเมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย

Keynote Speaker

ฟิลลิป ฟอนต้า ผู้อำนวยการ WBCSD-CSI

Mr.Philippe Fonta - Managing Director WBCSD-CSI

     ฟิลลิป ฟอนต้า โลดแล่นอยู่ในแวดวงธุรกิจมายาวนานกว่า 20 ปี เขาทำงานประสานงานกับองค์กร และสถาบันการศึกษามากมาย รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการร่างแนวทางการบริหาร และนโยบายให้กับองค์กรเอกชนหลายแห่ง และในฐานะผู้อำนวยการด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับการทำงานในองค์กรยักษ์ใหญ่อย่างแอร์บัส ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบเครื่องบินรายใหญ่ของโลก คุณฟิลลิปดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการดูแลสิ่งแวดล้อมแห่งผู้ประกอบการธุรกิจการค้าด้านอากาศยาน ซึ่งถือเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษที่ร่วมกำหนดแนวทางและนโยบายด้านความยั่งยืนในด้านการบินของสหประชาชาติอีกด้วย

   จากประสบการณ์ของการเป็นวิศวกรโยธา และประสบการณ์ในเชิงเศรษฐศาสตร์และการทำงานร่วมกับองค์กรระดับโลกในธุรกิจซิเมนต์ เขาได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ปลุกกระแสให้กับ 24 บริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่ประกอบการในกว่า 100 ประเทศ นับตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมาให้เดินตามแนวทางของการสร้างธุรกิจให้เข้มแข็งภายใต้กรอบแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    ในเดือนกันยายน 2012 คุณฟิลลิป ได้รับตำแหน่งผู้บริหารในอุตสาหกรรมผู้ผลิตยาง WBCSD’s Tire Industry Project (TIP) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ค้าในอุตสาหกรรม 11 รายที่มีส่วนการครอบครองตลาดโลกรวมกันไม่ต่ำกว่า 70% โดยทำงานร่วมกันภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ WBCSD เพื่ออนาคต

H-download

Full Download Doc.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!