WORLD7

BANPU2024

powertime 950x100pxsmed MTI 720x100

 

12574 วว

วว. จับมือพันธมิตร ร่วมผลักดันกิจกรรม CSR สร้างแรงบันดาลใจด้าน วทน. ให้แก่เยาวชน

          เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2567 ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการประชุมผลักดันการจัดกิจกรรม CSR ร่วมกับคณะอาจารย์จากโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ และโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย 1 (โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทราธรรม) ซึ่งเป็นเครือข่ายพันธมิตรของ วว. ที่มุ่งพัฒนาทักษะและสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ทั้งด้านพื้นฐานและขั้นสูง ณ วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี 

          โอกาสนี้ คณะผู้บริหารและนักวิจัย วว. เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ดร.ปริยะดา วิสุทธิแพทย์ ผู้อำนวยการ สำนักสื่อสารองค์กร ดร.เรวดี มีสัตย์ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) ดร.สาวิตรี ปราโมช ณ อยุธยา นักวิจัย ศนก. และผู้เกี่ยวข้อง 

          โดยมีประเด็นการประชุมเพื่อหารือการดำเนินกิจกรรมภายใต้แผนปฏิบัติการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งมุ่งเน้นการสนับสนุนให้เยาวชน ชุมชน และสังคม บูรณาการดำเนินกิจกรรมเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับ วว. ทั้งในภาคทฤษฎีและการเรียนรู้ในสถานที่ปฏิบัติงานจริง รวมทั้งการสร้างแรงบันดาลใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้กับเยาวชนของประเทศอย่างยั่งยืน

          รองผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. จะนำร่องกิจกรรม CSR กับเครือข่ายพันธมิตรดังกล่าว ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ภายใต้โครงการพัฒนาการสร้างความตระหนักและพัฒนาเยาวชนวิทยาศาสตร์พื้นที่ระยะใกล้ วว. ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ดังนี้ 1) การผลิตเครื่องดื่มน้ำผลไม้อัดก๊าซ เป็นกระบวนการที่ผสมผสานน้ำผลไม้กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อให้เกิดฟองอากาศ ซึ่งเป็นลักษณะของเครื่องดื่มอัดก๊าซที่ควบคุมอัตราการอัดก๊าซ เพื่อให้ได้ระดับความซ่า (Carbonation level) ที่เหมาะสม เป็นการทดแทนเครื่องดื่มน้ำอัดลม และส่งเสริมให้เยาวชนรับรู้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมต่อการบริโภค 2) โครงสร้างทางสัณฐานวิทยาของพืช การศึกษาลักษณะของส่วนต่างๆ ที่สามารถสังเกตได้จากภายนอกของพืช ซึ่งสะท้อนถึงการปรับตัวของพืชในการอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย โครงสร้างทางสัณฐานวิทยาของพืชสามารถแบ่งออกเป็นส่วนสำคัญต่างๆ ที่มีหน้าที่และลักษณะเฉพาะ เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ด และ 3) การผลิตจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการเกษตร เช่น เชื้อแบคทีเรีย รา หรือจุลินทรีย์อื่นๆ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ป้องกันโรค ปรับปรุงคุณภาพของดิน รวมทั้งการใช้จุลินทรีย์ในกระบวนการเพาะเห็ด เป็นต้น ซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญในการพัฒนาเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

 

12574 วว csr

 

          “...แผนความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในปี 2568 ของ วว. มุ่งเน้นการเป็นผู้นำในการสร้างองค์ความรู้ทาง วทน. ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อเสริมสร้างการแก้ไขปัญหาของสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ดังนั้นกิจกรรม CSR ที่ วว. จะดำเนินการร่วมกับโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์และโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อยในระยะเวลาอันใกล้ จะเป็นโมเดลที่นำไปสู่การขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนสนใจสายวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น...” ดร.โศรดา วัลภา กล่าวสรุป

 

 

12574

Click Donate Support Web 

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!