WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

5878 MU Syngenta Beeland

มหิดลนครสวรรค์ และซินเจนทา ขยายเครือข่ายรักษ์ผึ้ง

ภาคกลางและตะวันออก สร้างความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 

          สำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้วันที่ 22 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพโดยปีนี้ มีแนวคิดสำคัญคือเราทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งในการขจัดปัญหาอย่างยั่งยืน” (We’re part of the solution.) สอดคล้องกับแผนการเติบโตเชิงบวก (Good Growth Plan) ของซินเจนทา ที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ นำไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงที่ดีอย่างยั่งยืน

          นางสาววัชรีภรณ์ พันธ์ภูมิพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน ซินเจนทา เปิดเผยว่า หนึ่งในแผนงานสำคัญตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพขององค์การสหประชาชาติ ซินเจนทาได้ร่วมกับโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินโครงการรักษ์ผึ้งมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี .. 2562 โดยจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ และพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเครือข่ายการเรียนรู้รักษ์ผึ้งผ่านงานวิจัยและการอบรมส่งเสริมให้แก่กลุ่มเกษตรกร โรงเรียน และชุมชนรอบพื้นที่เกษตรกรรมภาคกลางและภาคตะวันออก เพื่อเผยแพร่ความรู้ และสร้างความตระหนัก ในการรักษาระบบนิเวศ ดูแลแมลงผสมเกสร ตลอดจนรักษาความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

          ดร. สิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ นักวิชาการศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการรักษ์ผึ้ง กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ของมหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ ได้จัดเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องผึ้งและความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ BEE LAND เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนและการสอน เรื่องการเลี้ยง การเพิ่มผลผลิต และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้ง รวมทั้งได้ประสานกับโรงเรียนระดับมัธยม เพื่อสร้างโรงเรียนเครือข่ายการเรียนรู้รักษ์ผึ้งในเบื้องต้นมี 10 แห่งในจังหวัดนครสวรรค์ และ 5 แห่งในจังหวัดจันทบุรี เข้าร่วมเป็นโรงเรียนต้นแบบ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนเกษตรกร อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนลำไยและผู้เลี้ยงผึ้งได้ประสานความร่วมมือ เพื่อรักษาระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพโดยได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างสมดุลทั้งชาวสวนและผู้เลี้ยงผึ้ง

          นายอานพ วนามี เจ้าของฟาร์มผึ้งสอยดาว เป็นประธานศูนย์ประสานงานโครงการรักษ์ผึ้งอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี กล่าวเสริมว่า หัวใจสำคัญของโครงการ คือ ซินเจนทาและมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้ามาสร้างความเข้าใจและตอบสนองความต้องการระหว่างเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งกับผู้ปลูกผลไม้ให้ได้ผลผลิตอย่างปลอดภัยตามระบบ GAP เพราะการดำเนินงานจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ โดยเฉพาะกลุ่มลำไย ซึ่งต้องการให้ผึ้งมาช่วยในการผสมเกสรดอก ยิ่งได้รับการผสมเกสรมากเท่าใด ผลก็ยิ่งติดลูกมากเท่านั้น การใช้ผึ้งช่วยผสมเกสรสามารถเพิ่มอัตราการติดดอกได้เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 30 ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง ต้องการนำรังผึ้งไปวางในสวนต่างๆ เพื่อนำน้ำหวานจากเกสรดอกลำไยมาผลิตน้ำผึ้ง ซึ่งน้ำผึ้งจากดอกลำไยเป็นที่นิยมในตลาดไทยและตลาดต่างประเทศ อาทิ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เพราะมีกลิ่นหอมและหวาน ดังนั้น หากเจ้าของสวนและผู้เลี้ยงผึ้งมีความรู้และความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น ก็จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยกับผู้บริโภคมากขึ้น ปัจจุบันได้รับความสนใจจากเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งประมาณ และชาวสวนลำไยเกือบ 100 ราย โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต

          นางสาวกมลชนก บุญฤทธิ์ ครูผู้สอนวิชาชีววิทยา โรงเรียนเซนต์โยเซฟนครสวรรค์ หนึ่งในโรงเรียนต้นแบบในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า การดำเนินงานในโรงเรียนต้นแบบเครือข่ายการเรียนรู้รักษ์ผึ้งจะนำองค์ความรู้เกี่ยวกับนิเวศวิทยาการเลี้ยงผึ้ง เข้าไปอยู่ในวิชาหมวดการงานอาชีพของนักศึกษาระดับมัธยมปลายในโรงเรียนเป้าหมาย โดยนักวิชาการจากซินเจนทาและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดลจะไปร่วมถ่ายทอดความรู้เชิงทฤษฎีและเปิดโอกาสให้ฝึกปฏิบัติจริงในหลายด้าน อาทิ การศึกษาสภาพแวดล้อม ชีววิทยาและพฤติกรรมของผึ้งต่างๆ การบริหารจัดการรังผึ้งและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้ง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเกิดความเข้าใจจากการปฏิบัติจริง แต่ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงได้มีการปรับรูปแบบเป็นการเรียนออนไลน์แทน

          เช่นเดียวกับ โรงเรียนมะขามสรรเสริญ นายสุพร พงศ์วิฑูรย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนและที่ปรึกษาโครงการโรงเรียนต้นแบบในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี กล่าวสนับสนุนว่า โครงการรักษ์ผึ้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ด้านการศึกษาที่ว่าลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้เป็นการเสริมความรู้และทักษะการประกอบสัมมนาอาชีพที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยโครงการดังกล่าว ให้ทั้งความรู้และแนวทางการปฏิบัติ อีกยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ปัจจุบันมีโรงเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรีเข้าร่วมเป็นโรงเรียนต้นแบบแล้ว 5 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดวังจะอ้าย โรงเรียนวัดหนองสลุด โรงเรียนวัดมะทาย โรงเรียนบ้านมะขาม และโรงเรียนมะขามสรรเสริญ รวมทั้งมีแผนจะขยายไปยังโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ทั่วตะวันออกในอนาคต

          “ความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ โรงเรียนต้นแบบเครือข่าย และศูนย์เครือข่ายทั้งหมดนี้ เป็นความมุ่งมั่นและตั้งใจของซินเจนทา ในการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาช่วยเหลือเกษตรกรและภาคการเกษตรของไทย โดย โครงการรักษ์ผึ้ง เป็นหนึ่งตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการผสมผสานวิถีแห่งธรรมชาติเข้ากับนวัตกรรมการเลี้ยงผึ้งและการบริหารการเพาะปลูกผลไม้ได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ ทำให้สามารถดูแลและรักษาผลผลิต สร้างผลกำไร ลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้แก่เกษตรกรและชุมชนโดยรอบได้อีกด้วยนางสาววัชรีภรณ์ กล่าวสรุป 

          สำหรับเกษตรกร โรงเรียน ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการรักษ์ผึ้งติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ 088-445-6406 หรือ https://na.mahidol.ac.th/academic/ 

 

A5878

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!