WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

10430 ESG Symposium2023

เปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างไร โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

          “ยุคโลกร้อนสิ้นสุดลง และยุคโลกเดือดมาถึงแล้ว” คำประกาศเตือนเมื่อไม่กี่เดือนก่อนจากเลขาธิการสหประชาชาติ ถือเป็นสัญญาณไซเรนต่อทุกคนว่า โลกกำลังเผชิญกับสภาพอากาศสุดขั้วยิ่งกว่ายุคโลกร้อน ซึ่งจะกลายเป็น “ภาวะปกติใหม่” ที่ทุกฝ่ายต้องปรับตัวรับมือไปพร้อมกัน

          ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นรวดเร็วและต่อเนื่อง ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งเอสเอ็มอี เกษตรกร ชุมชน และภาคแรงงาน ต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอดในสถานการณ์นี้อย่างไร เพราะหากไม่ปรับตัวหรือปรับตัวช้าเกินไป ก็อาจจะไม่ทันการณ์

          เมื่อเร็วๆ นี้ มีการจัดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “Just Transition ร่วมเปลี่ยนผ่านไปด้วยกัน...สู่สังคมคาร์บอนต่ำ” ส่วนหนึ่งของงาน ESG Symposium 2023: ร่วม เร่ง เปลี่ยน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งเอสซีจีชวนทุกภาคส่วนมาร่วมระดมสมองในเรื่องนี้ มีวิทยากรหลายท่านร่วมแบ่งปันข้อเสนอและทางออกต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วนที่กำลังปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

 

          เปลี่ยนก่อน รอดก่อน

          นายพิชาญ ทิพวงษ์ ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชนป่าภูถ้ำ จ.ขอนแก่น ตัวอย่างหนึ่งของผู้ที่เริ่มปรับตัวรับมือวิกฤติโลกเดือดแล้ว เล่าที่มาที่ไปว่า ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความแห้งแล้ง เกษตรกรขาดน้ำไม่สามารถทำมาหากินได้ แต่เมื่อฤดูฝนมาถึงก็ตกหนักจนไม่มีที่เก็บน้ำ ซึ่งถือปัญหาใหญ่

 

10430 พิชาญ ทิพวงษ์

 

          จนกระทั่ง สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) และเอสซีจี เข้ามาให้ความรู้กับเกษตรกรในพื้นที่ ทำให้สามารถหาวิธีเก็บน้ำ 2 ปี ข้ามแล้ง 4 ปีได้ ด้วยการทำฝายชะลอน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ทำให้ป่าเสื่อมโทรมกลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นทั้งแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ แหล่งพลังงาน แหล่งหาของป่าเพิ่มรายได้ให้ชาวบ้าน เพิ่มพื้นที่สีเขียว และฟื้นคืนป่าต้นน้ำ

          พิชาญเล่าต่อว่า เมื่อจัดการปัญหาป่าต้นน้ำได้แล้ว ก็ดำเนินการต่อในการเก็บน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ด้วยการสนับสนุนจากเอสซีจี ผ่านโครงการ “เอสซีจีร้อยใจ 108 ชุมชน รอดภัยแล้ง” ทำให้สามารถเก็บน้ำข้ามแล้ง 4 ปี 

          “ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน พื้นที่ผมไม่เคยแล้ง ไม่เคยขาดน้ำ จากการจัดการน้ำแบบนี้ ตอนนี้มีน้ำทุกที่ น้ำเต็มทุกบ่อ”

          สำหรับสิ่งที่ภาคเกษตรอยากให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือ พิชาญเผยว่า อยากได้รับการสนับสนุนในการเปลี่ยนผ่านภาคเกษตรสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เช่น เครื่องมือทางการเกษตรที่เทคโนโลยีทันสมัย และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ขณะเดียวกันยังเห็นว่า รัฐควรมีนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม วนเกษตร เป็นต้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาโลกเดือดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

          สนับสนุนเกษตรด้วย “การจัดการน้ำ”

          หนึ่งในองค์การมหาชนที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนภาคการเกษตรเพื่อรับมือกับภาวะโลกเดือด คือ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์การจัดการน้ำในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย

 

10430 ดร รอยบุญ รัศมีเทศ

 

          ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ ผู้อำนวยการสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ระบุว่า “น้ำ” เป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพราะเพิ่มน้ำเท่ากับเพิ่มป่า และยังเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร ทำให้เศรษฐกิจยั่งยืน

          ดร.รอยบุญ เสริมว่า ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยมีความแปรปรวน เกิดน้ำท่วมมากขึ้น ทั้งมีฝนทิ้งช่วง “การมีข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการน้ำ” จึงเป็นสิ่งสำคัญในการรับมือปัญหาโลกร้อน สสน.มีความพร้อม เพราะมีคลังข้อมูลจาก 52 หน่วยงาน ซึ่งมากพอที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำทั่วประเทศ ตั้งใจที่จะช่วยเหลือภาครัฐและคนไทยทุกคน ด้วยการถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ และพร้อมที่จะดำเนินการกับทุกฝ่ายได้ทันที

          “คำตอบของคาร์บอนเครดิต ปัจจัยสำคัญคือ น้ำ เพราะตอบโจทย์ไปถึงอากาศ ภาคเกษตร และป่าไม้” ดร.รอยบุญกล่าว “เราพร้อมจะถ่ายทอดความรู้และทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน”


        โอกาสจากการเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด

          นายผจญ ศรีบุญเรือง รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในอุตสาหกรรมพลังงานนั้น มีทั้งด้านอุปทาน (supply side) และด้านอุปสงค์ (demand side) ในสมัยก่อนความต้องการในฝั่งผู้บริโภคมักคาดหวังเพียงว่า พลังงานจะต้องมั่นคง ต่อเนื่อง และราคาถูก ซึ่งตัวที่ตอบโจทย์ที่สุดในขณะนั้นคือ “พลังงานฟอสซิล”

 

10430 ผจญ ศรีบุญเรือง

 

          แต่ปัจจุบัน กฎกติกาการค้าโลกเปลี่ยนแปลงไปมากเพื่ออิงกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ทำให้ต้องการ “พลังงานสะอาด” เพิ่มเข้ามา ซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่ ขณะเดียวกันก็อาจเป็น “โอกาส” ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยเช่นกัน หากปรับตัวได้เร็วกว่าประเทศอื่น

          “ถ้าเราปรับตัวได้ทัน ทำได้ดีกว่าประเทศอื่น ก็สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันได้”

          นอกจากนี้ ผจญมองว่า ไทยควรเพิ่มการกระตุ้นเตือนให้เอสเอ็มอี ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงเรื่องสังคมคาร์บอนต่ำกว่าเป็นเรื่องสำคัญ

          “เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ในขณะนี้ ยังไม่ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังจะมากระทบต่อธุรกิจ กระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพราะถ้าปรับตัวไม่ทันจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน” ผจญระบุ

 

          อัปสกิลแรงงาน รับสังคมคาร์บอนต่ำ

 

10430 นที ราชฉวาง

 

          เมื่ออุตสาหกรรมกำลังเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนมากขึ้น แรงงานก็ต้องปรับตัวเช่นกัน นายนที ราชฉวาง ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า กรมแรงงานมีภารกิจในการฝึกอบรม สร้างมาตรฐานฝีมือแรงงาน และการให้ความรู้ด้านกฎหมายแรงงานแก่แรงงาน โดยจะมีหลักสูตร Green Job หรือ Green Skill ตัวอย่างเช่น หลักสูตรพลังงานสะอาด รถยนต์ไฟฟ้า โซลาร์รูฟท็อป ซึ่งจะเริ่มจากการอบรมทักษะที่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการก่อน โดยจะสนับสนุนทั้งแรงงานใหม่ แรงงานเดิมที่ต้องการเพิ่มทักษะ และแรงงานนอกระบบ 

          “การเปลี่ยนจากรถยนต์สันดาป เป็นรถยนต์ไฟฟ้า แรงงานกลุ่มนี้ต้องไม่ถูกทิ้ง โดยนำความรู้เดิมไปต่อยอด ซึ่งถือเป็นแรงงานจำนวนมากซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญ” นทีระบุ 

 

10430 SCG จันทนิดา สาริกะภูติ

 

          นางจันทนิดา สาริกะภูติ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินและการลงทุน เอสซีจี กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำเป็นสิ่งที่ต้องทำให้เกิด แต่ระหว่างทางของการเปลี่ยนผ่าน มีปัญหารออยู่ และความสามารถในการรับมือหรือแก้ปัญหาของแต่ละคน แต่ละประเทศยังไม่เท่ากัน การแบ่งปัน สนับสนุน และความร่วมมือในการเปลี่ยนผ่าน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องช่วยกันผลักดันให้เกิด โดยไม่ทิ้งให้บางกลุ่มต้องรับมือฝ่ายเดียว ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะร่วมกันพลิกภาวะโลกเดือดนี้ให้เป็น “โอกาส” ในการร่วม เร่ง เปลี่ยน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพื่ออยู่รอดไปด้วยกัน

          สำหรับผู้ที่สนใจสามารถรับชมงาน ESG Symposium 2023: ร่วม เร่ง เปลี่ยน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ ย้อนหลัง ได้ที่ Youtube และ Facebook ของเอสซีจี ข้อมูลเพิ่มเติม www.scg.com

 

 

A10430

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!