- Details
- Category: สิ่งแวดล้อม
- Published: Sunday, 13 October 2024 23:07
- Hits: 626
AIS ดึงพลังกรีนพาร์ทเนอร์ ยกระดับ HUB OF E-WASTE รวมพลังสร้างความตระหนักรู้ สู่ภารกิจ Decarbonization พร้อมส่งแคมเปญ ‘อุ่นใจ ไปรฯ ทั่วไทย ตามล่าหา E-Waste’ ในวัน International E-Waste Day
วันขยะอิเล็กทรอนิกส์สากล หรือ International E-Waste Day 14 ตุลาคมปีนี้ AIS ในฐานะองค์กรไทยรายแรกที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก WEEE Forum (Waste Electrical and Electronic Equipment) องค์กรนานาชาติที่รวบรวมข้อมูลด้านขยะอิเล็กทรอนิกส์และมีสมาชิกจากหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก ขอเป็นแกนกลางเดินหน้าดึงศักยภาพกรีนพาร์ทเนอร์ทั้งภาครัฐและเอกชนไทยรวมกว่า 220 องค์กร ร่วมยกระดับการทำงานของ HUB OF E-WASTE หรือ ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ จากการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธีผ่านการสร้างความตระหนักรู้ สู่ภารกิจ Decarbonization ที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีเป้าหมายในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีแบบปราศจากการฝังกลบหรือ Zero E-Waste to Landfill พร้อมเปิดตัวแคมเปญ “อุ่นใจ ไปรฯ ทั่วไทย ตามล่าหา E-Waste” สร้างปรากฎการณ์ครั้งสำคัญกับ “อุ่นใจ” และ “พี่ไปรฯ” ที่จะเดินทางไปเชิญชวนพันธมิตรทั้ง 220 องค์กรทั่วไทย มาร่วมตามล่าหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในบ้านแล้วนำมาฝากทิ้งกับ AIS และพาร์ทเนอร์กว่า 2,700 จุดทั่วประเทศ
นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “เราขอใช้วาระวัน International E-Waste ในปีนี้ ยกระดับความเข้มข้นในการทำงาน ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงรับมือกับวิกฤติโลกเดือดที่กำลังสร้างผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม โดยดึงพลังของ Green Partnership และศักยภาพของดิจิทัล มาร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ด้วยการใช้พลังจากการสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาและการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี สู่การทำงานในเชิงนโยบายและลงมือปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม ที่จะมีส่วนสำคัญต่อภารกิจ Decarbonization หรือ การมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของแต่ละองค์กร และประเทศ จากการเก็บ E-Waste เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้มหาศาล”
จากรายงาน Global E-waste Monitor (GEM) ประจำปี 2024 โดย UN ระบุว่าในปัจจุบันมีขยะอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นทั่วโลกกว่า 62,000 ล้านกิโลกรัม โดยมีการเปรียบเทียบให้เห็นภาพจำลองการใช้รถบรรทุกจำนวน 1.55 ล้านคัน บรรทุกขยะอิเล็กทรอนิกส์เรียงรายอยู่ตามแนวเส้นศูนย์สูตรของโลก อีกทั้งยังคาดว่าปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มขึ้นเป็น 82,000 ล้านกิโลกรัมภายในปี 2030 ซึ่งหากขยะเหล่านี้ตกค้างและไม่ได้เข้าสู่กระบวนการจัดการรีไซเคิลที่ถูกต้อง ก็จะนำมาซึ่งอันตรายจากสารพิษและปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่จะสร้างผลกระทบมหาศาลโดยตรงกับโลกและตัวเราเช่นกัน
“กว่า 5 ปีที่ผ่านมา ของความมุ่งมั่นรณรงค์ในเรื่องนี้ โดย AIS ได้ประกาศความพร้อมสู่การเป็น HUB OF E-WASTE หรือ ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของไทยในทุกด้าน ทั้งการเป็นศูนย์กลางความรู้ที่รวบรวมข้อมูลด้านการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์, ศูนย์กลางเครือข่าย Green Community สร้างชุมชนให้เกิดความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วม, ศูนย์กลางความร่วมมือในการขยายจุดรับทิ้งขยะ E-Waste ร่วมกันมากกว่า 2,700 จุดทั่วประเทศ, ศูนย์กลางระบบจัดการ E-Waste ที่ทำงานร่วมกับไปรษณีย์ไทย ในการรับขยะ E-Waste รวมถึงการติดตามสถานะขยะ E-Waste ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ผ่านแอป E-Waste+ ที่สามารถตรวจสอบและติดตามได้ว่าขยะ E-Waste ทุกชิ้นจะถูกนำส่งเข้าสู่กระบวนการ
รีไซเคิลในโรงงานที่ได้รับมาตรฐาน และศูนย์กลางการจัดการและรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีเป้าหมายหลักที่การบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี โดยปราศจากการฝังกลบ หรือ Zero E-Waste to Landfill เหล่านี้ถือเป็นนโยบายสำคัญยิ่งในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้ศักยภาพของดิจิทัล และพลังของ Green Partnership ที่แข็งแกร่งทุกภาคส่วน อันจะเป็นการร่วมขับเคลื่อนการแก้ปัญหา E-Waste ให้ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด”
นอกเหนือจากเป้าหมายในการแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นส่วนสำคัญกับภารกิจ Decarbonization แล้ว ในปีนี้ WEEE Forum (Waste Electrical and Electronic Equipment) องค์กรนานาชาติที่รวบรวมข้อมูลด้านขยะอิเล็กทรอนิกส์และมีสมาชิกจากหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก ยังได้กำหนดแนวคิดในวาระของวันขยะอิเล็กทรอนิกส์สากล 14 ตุลาคม 2567 ว่า “Join the e-waste hunt - retrieve, recycle, and revive ร่วมค้นหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ - ดึงกลับมา รีไซเคิล และฟื้นคืนชีพ” ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจของ HUB OF E-WASTE จึงเป็นที่มาของ แคมเปญ “อุ่นใจ ไปรฯ ทั่วไทย ตามล่าหา E-Waste” ที่เชิญชวนพาร์ทเนอร์ทั้ง 220 องค์กร ให้เข้ามามีส่วนร่วมค้นหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงส่งต่อแนวคิด รณรงค์ การค้นหาขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อฝากให้ “อุ่นใจและพี่ไปรฯ” นำไปจัดการอย่างถูกวิธี และนัดรวมพลังประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Social Media ของแต่ละองค์กรที่คาดว่าจะสามารถสร้างการตระหนักและการรับรู้ถึงภัยของ E-Waste เข้าถึงกลุ่มผู้ติดตามมากกว่า 6 ล้านคนในวันดังกล่าว
“AIS ขอเป็นแกนกลางด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยเราขอเชิญชวนให้ทุกองค์กรทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับ HUB OF E-WASTE และ Green Network ร่วมกันส่งต่อพลังการต่อสู้กับปัญหาครั้งนี้ไปยังเพื่อน ครอบครัว และคนใกล้ตัวทุกคน เพื่อโลกของเรา” นางสายชล กล่าวทิ้งท้าย
10364