WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รมว.คลัง มั่นใจ มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

     นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศของกระทรวงการคลังที่เสนอนี้ เป็นการส่งเสริมให้มีการใช้จ่ายในประเทศมากขึ้น อีกทั้งจะช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยวและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในประเทศ อันจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

    ด้านนายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศที่เสนอในครั้งนี้ มีผลกระทบต่อการบริหารการจัดเก็บภาษีอากรไม่มากนัก แต่ผลของมาตรการดังกล่าวจะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โดยผู้เสียภาษีจะสามารถใช้สิทธิหักเป็นรายจ่ายหรือหักเป็นค่าลดหย่อนได้ ภายหลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558”

    อนึ่งวานนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว และจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ  ดังนี้

   1. ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีการจัดโครงการอบรมสัมมนาภายในประเทศให้แก่ลูกจ้าง ทั้งกรณีที่ดำเนินการเองและกรณีจ้างผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ สามารถนำรายจ่ายจากการจ่ายค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่งหรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง

   รวมถึงรายจ่ายที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีได้เป็นจำนวน 2 เท่าของที่จ่ายจริง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558

    2. ให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการจ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม

   สำหรับ การเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ นำมาหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ

    ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว และจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ ดังนี้

    1. ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีการจัดโครงการอบรมสัมมนาภายในประเทศให้แก่ลูกจ้าง ทั้งกรณีที่ดำเนินการเองและกรณีจ้างผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ สามารถนำรายจ่ายจากการจ่ายค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่งหรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรายจ่ายที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีได้เป็นจำนวน 2 เท่าของที่จ่ายจริง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558

    2. ให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการจ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ นำมาหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558

    นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า “มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศของกระทรวงการคลังที่เสนอนี้ เป็นการส่งเสริมให้มีการใช้จ่ายในประเทศมากขึ้น อีกทั้งจะช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยวและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในประเทศ อันจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ”

    นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศที่เสนอในครั้งนี้ มีผลกระทบต่อการบริหารการจัดเก็บภาษีอากรไม่มากนัก แต่ผลของมาตรการดังกล่าวจะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โดยผู้เสียภาษีจะสามารถใช้สิทธิหักเป็นรายจ่ายหรือหักเป็นค่าลดหย่อนได้ ภายหลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558”

                        สำนักวิชาการแผนภาษี กรมสรรพากร โทร. 0 2272 9214 กระทรวงการคลัง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!