WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ทีเส็บผนึกกำลังรัฐ-เอกชนกำหนดยุทธศาสตร์เดินหน้าประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการจัดงานมหกรรมนานาชาติของเอเชีย

ประเดิมสร้างประวัติศาสตร์ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนมากกว่า 20 หน่วยงาน จัดงาน ASEAN Festival รับ AEC

     สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)หรือ ทีเส็บกางแผนกลยุทธ์ส่งเสริมการจัดงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์ ประจำปี 2558 พร้อมเดินหน้าส่งเสริมให้ไทยเป็นเจ้าภาพงานระดับโลกในรูปแบบใหม่ ๆโดยเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มโอกาสให้ไทยชนะการประมูลสิทธิ์เป็นเจ้าภาพงานที่มีชื่อเสียงระดับโลกล่าสุด เร่งระดมความคิดเห็นภาคีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและไมซ์ พร้อม ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย รวมพลังกำหนดยุทธศาสตร์สะท้อนความต้องการภาคเอกชนเพื่อเดินหน้าประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการจัดงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์ของเอเชียมุ่งหวังเพิ่มยอดนักเดินทางต่างชาติ เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของประเทศ

     นายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บเปิดเผยว่า“ทีเส็บ เร่งขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานอุตสาหกรรมไมซ์ตามยุทธศาสตร์มุ่งส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับโลกในรูปแบบใหม่ๆ ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) กลยุทธ์การดึงงาน (Win) โดยจะเร่งประมูลสิทธิ์การจัดงานและเพิ่มจำนวนนักเดินทางต่างชาติผ่านการจัดงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์2) กลยุทธ์การส่งเสริม (Promote) เน้นการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยในฐานะจุดหมายของการจัดงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์ผ่านสื่อต่างประเทศ และ 3) กลยุทธ์การพัฒนา(Develop) เดินหน้ายกระดับงานมหกรรมนานาชาติในประเทศให้เป็นงานระดับภูมิภาคและระดับโลกพร้อมพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือภาครัฐและเอกชนจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อตอกย้ำบทบาทของทีเส็บในการส่งเสริมการจัดงานในทุกขั้นตอนเพื่อให้ไทยได้รับโอกาสการเป็นเจ้าภาพงานระดับโลกควบคู่ไปกับการสนับสนุนด้านการทำตลาดในต่างประเทศและการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของประเทศ”

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับโลก

     ภายใต้กลยุทธ์การดึงงงาน (Win)ทีเส็บ เร่งดำเนินการส่งเสริมการจัดงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์ เพื่อนำรายได้เข้าประเทศผ่านการดึงงานมหกรรมนานาชาติและอีเวนท์ โดยเพิ่มสัดส่วนนักเดินทางต่างชาติ ที่เข้าร่วมงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์ พร้อมกระตุ้นให้ไมซ์ซิตี้มีตารางการจัดงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์ขนาดใหญ่ (10,000 คนขึ้นไป) ระยะเวลาในการจัดงานอย่างต่ำ 3 วัน เป็นประจำ

    กลยุทธ์การส่งเสริม (Promote)ทีเส็บจัดกิจกรรมโรดโชว์เพื่อโปรโมทประเทศไทยในฐานะจุดหมายการจัดงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์ ในตลาดสำคัญในยุโรปอาทิ สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นตลาดผู้จัดงานสำคัญระดับโลก ส่วนตลาดเอเชีย อาทิ ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศมีนโยบายสนับสนุนการจัดมหกรรมนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเอางานมาจัดในต่างประเทศเพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และประเทศออสเตรเลีย อันเป็นประเทศที่มีวิวัฒนาการของการจัดงานระดับโลกอย่างชัดเจน อีกทั้งยังเป็นประเทศเจ้าภาพจัดงานสำคัญระดับโลกมากมาย

    ส่วนกลยุทธ์การพัฒนา(Develop)ผ่านการดำเนินงานสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับพันธมิตรในภาคส่วนต่าง ๆ นั้น  ยังสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยได้จัดให้มีการระดมความคิดเห็นร่วมกันกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไมซ์ จำนวนกว่า 20 หน่วยงานเพื่อเริ่มต้นการบูรณาการความร่วมมือและกำหนดทิศทางกลยุทธ์ประเทศไทยในการส่งเสริมการจัดงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์ร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชนโดยผลที่ได้รับการการระดมความคิดเห็นจะถูกนำมาบูรณาการเป็นแผนการดำเนินงานส่งเสริมร่วมกันเพื่อหน่วยงานหลักในระดับประเทศที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทีเส็บ และหอการค้าไทย อีกทั้งยังดำเนินการพัฒนาและยกระดับงานมหกรรมนานาชาติในประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

     นายนพรัตน์ กล่าวต่อไปว่า “เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พร้อมตอกย้ำการเป็นจุดหมายปลายทางของการจัดงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์ ทีเส็บได้ดำเนินงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาคีหลัก โดยในเบื้องต้นได้เสนอกรอบการทำงานทิศทางกลยุทธ์ครอบคลุมใน 5 มิติได้แก่ 1) จำนวนและคุณภาพของนักเดินทางต่างชาติ 2)เนื้อหาและคุณภาพการจัดงาน3)บูรณาการความร่วมมือภาครัฐ4) บูรณาการด้านการตลาดเชิงรุก และ 5) การจัดทำข้อมูลเชิงลึก Intelligence Report ของอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรม”

ทิศทางกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านการจัดงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์

    มิติด้านจำนวนและคุณภาพนักเดินทางต่างชาติ มุ่งเน้นเพิ่มจำนวนนักเดินทางคุณภาพจากต่างชาติที่เข้าร่วมงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์ ในประเทศไทย และส่งเสริมการจัดงานมหกรรมนานาชาติในเมืองหลักเพื่อให้ดึงดูดนักเดินทางคุณภาพมากขึ้น ขณะที่มิติของเนื้อหาและคุณภาพการจัดงานมุ่งเน้นการสร้างงานที่ตรงกับบุคลิกลักษณะของประเทศ ได้แก่ ศิลปะและวัฒนธรรม วิถีชีวิตและกิจกรรมสร้างสรรค์ ความบันเทิง การท่องเที่ยวและกีฬาพร้อมกับส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่มีคุณภาพตรงตามความเป็นตัวตนของแต่ละเมือง(City DNA) โดยใช้เนื้อหาทางวัฒนธรรมสร้างความแตกต่างให้กับแต่ละงาน เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของประเทศ

      มิติด้านการบูรณาการความร่วมมือภาครัฐเพื่อร่วมกันพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางหารจัดงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์ของเอเชีย มิติด้านการบูรณาการตลาดเชิงรุก ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน อาทิ สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) และสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) เพื่อเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายธุรกิจระหว่างผู้จัดงานในต่างประเทศกับผู้ประกอบการไมซ์ไทย และเพิ่มบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลกผ่านการดึงงานระดับโลกเข้าประเทศ และมิติด้านการจัดทำข้อมูลเชิงลึก เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวร่วมกันต่อไป

การสร้างงานมหกรรมนานาชาติเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

      ผลสำเร็จของการจัดงานมหกรรมนานาชาติขึ้นอยู่กับการสร้างความแตกต่างด้วยเนื้อหาทางวัฒนธรรม โดยประเทศไทยมีความได้เปรียบทั้งในด้านประวัติศาสตร์อันยาวนาน และศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม รวมถึงสถานที่จัดงานที่มีความหลากหลายทั้งในกรุงเทพฯ ไมซ์ซิตี้รวมถึงจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ โดยการจัดงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์ตามจังหวัดต่าง ๆ จะเน้นการสร้างงานที่มาจากความเป็นตัวตนของจังหวัดแต่ละจังหวัด (City DNA) เพื่อสร้างความแตกต่าง และเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ โดยทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกสถานที่จัดงานของทั้งผู้จัดงานจากทั้งในและต่างประเทศ

     พร้อมกันนี้ ประเทศไทยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านไมซ์ที่มีคุณภาพ มีสาธารณูปโภค การคมนาคมสะดวกสบาย รวมถึงการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง มีศักยภาพส่งเสริมการจัดงานระดับโลกได้เป็นอย่างดี พร้อมกันนี้ การประมูลสิทธิ์การจัดงาน และดึงงานระดับโลกมาจัดในประเทศไทย นอกจากจะเป็นการเพิ่มจำนวนนักเดินทางต่างชาติแล้ว ยังจะเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงบวกของประเทศไทย อีกด้วย

    “ผลจากการระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 20 หน่วยงานต่างมีมติร่วมกัน ในการใช้งานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์ เป็นเครื่องมือในขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ การสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะผู้นำของอาเซียน ด้วยจุดแข็งของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการจัดงานมหกรรมนานาชาติและเมกะอีเวนท์ ซึ่งในลำดับต่อไปจะประเดิมจัดงาน ASEAN Festival ภายใต้แนวคิด Countdown to AEC ซึ่งเป็นการผนึกกำลังของหน่วยงานภาคเอกชนและสนับสนุนโดยภาครัฐ ในช่วงปลายปีนี้ ในส่วนของทีเส็บจะเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในการนำเสนอโครงการนี้สู่คณะรัฐมนตรีภายในเร็วๆ นี้”นายนพรัตน์

    โดยปัจจุบัน มีงานที่อยู่ในความสนใจภายใต้ 4 คลัสเตอร์หลักของการจัดงานเมกะอีเวนท์ได้แก่ งานด้านศิลปะและวัฒนธรรมงานด้านวิถีชีวิตและกิจกรรมสร้างสรรค์ งานด้านความบันเทิง และงานด้านการท่องเที่ยวและกีฬา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

ส่วนงานสื่อสารองค์กร  สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)

นางสาวอริสรา ธนูแผลง              ผู้จัดการอาวุโส   โทรศัพท์ 02-694-6095              อีเมลarisara_t@tceb.or.th

นายพิษณุ พลายแก้ว                  ผู้จัดการ                                    โทรศัพท์ 02-694-6000              อีเมลpishnu_p@tceb.or.th

นางสาวกนกวรรณ กะดีแดง                                  ผู้จัดการ                                                                            โทรศัพท์02-694-6006                              อีเมลkanokwan_k@tceb.or.th

นางสาวขวัญชนก อดทน            ผู้ปฏิบัติการ       โทรศัพท์ 02-694-6096              อีเมลkwanchanok_o@tceb.or.th

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!