WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Airbus

ฝูงบินที่ปฏิบัติการในภูมิภาคออสเตรเลียแปซิฟิคใต้จะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในปี 2576

   โดยระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่ง รวมถึงแนวโน้มการเดินทางที่เพิ่มขึ้น คือปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตของฝูงบิน

   ฝูงเครื่องบินสำหรับผู้โดยสารที่ถูกปฏิบัติการในภูมิภาคออสเตรเลียแปซิฟิคใต้จะเพิ่มจำนวนจาก 700 ลำในปัจจุบัน เป็นจำนวนกว่า 1,200 ลำ ในปี 2576 โดยจะมีจำนวนเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบการเติบโตทางการบินกับตลาดที่มีความสำคัญแห่งอื่นๆ เช่น อเมริกาเหนือและยุโรปแล้ว ภูมิภาคออสเตรเลียแปซิฟิคใต้เป็นภูมิภาคที่มีแนวโน้มการเดินทางต่อคนสูงที่สุดในโลก

   การคาดการณ์ตลาดโลก (Airbus’ Global Market: GMF) ของแอร์บัสระบุว่า การจราจรระหว่างประเทศของภูมิภาคออสเตรเลียแปซิฟิคใต้จะเพิ่มขึ้นด้วยอัตราร้อยละ 4.5 ในทุกปี โดยการจราจรที่เดินทางออกจากหรือไปสู่ตลาดที่กำลังพัฒนาที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงจะเติบโตเร็วขึ้นกว่าเดิม ด้วยการเดินทางไปยังเอเชียที่มีอัตราร้อยละ 5.1 ละตินอเมริกา ร้อยละ 6.2 แอฟริกา ร้อยละ 6.3 และตะวันออกกลางร้อยละ 5.4 ซึ่งต่างเป็นอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกทั้งหมด (ร้อยละ 4.7)

   ในขณะที่ฝูงบินที่ปฏิบัติการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคใต้จะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 70 เครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมกว่าเท่าตัว จากจำนวนเครื่องบินราว 290 ลำในปัจจุบัน เป็น 640 ลำในปี 2576 ในอีก 20 ปีข้างหน้า ฝูงเครื่องบินผู้โดยสารที่ให้บริการแก่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคใต้จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นราว 500 ลำ (ประกอบด้วยเครื่องบินทางเดินเดี่ยว เช่น เครื่องบินแอร์บัส เอ320 เครื่องบินแอร์บัส เอ320 นีโอ จำนวน 146 ลำ และเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างที่มีจำนวนที่นั่งระหว่าง 250 ไปจนถึงกว่า 500 ที่นั่ง เช่น เครื่องบินแอร์บัส เอ330 เครื่องบินแอร์บัส เอ330 นีโอ เครื่องบินแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี และเครื่องบินแอร์บัส เอ380 จำนวน จำนวน 353 ลำ) แนวโน้มการเดินทางของภูมิภาคออสเตรเลียแปซิฟิคใต้ (ซึ่งมีอัตราการเดินทางกว่า 3 ครั้งต่อคน) เป็นอัตราที่สูงกว่าแนวโน้มในการเดินทางของอเมริกาเหนือเกือบเท่าตัว และจะยังมีแนวโน้มการเดินทางที่สูงสุดในโลกต่อไปในอนาคต ด้วยอัตราการเดินทางกว่า 4 ครั้งต่อคนในปี 2576 สำหรับตลาดภายในประเทศ การจราจรที่เดินทางออกจากและไปสู่สนามบินที่มีการใช้บริการมากที่สุดในออสเตรเลีย (ซิดนีย์ เมลเบิร์น แอดิเลด บริสเบน และเพิร์ธ) จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ด้วยจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นราว 90 ล้านคนต่อปี ในปี 2576

  ในปัจจุบัน การจราจรระหว่างประเทศราวร้อยละ 70 เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่กว้างกว่า ซึ่งรวมสาธารณรัฐประชาชนจีนเอาไว้ด้วย และมีแนวโน้มที่จะเติบโตในอนาคต เนื่องจากภูมิภาคดังกล่าวจะกลายเป็นแหล่งกำเนิดค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทั่วโลกในอัตราร้อยละ 40 ในปี 2576 สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นตลาดส่งออกเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย และการเชื่อมต่อทางอากาศที่เพิ่มขึ้นจะช่วยกระตุ้นธุรกิจและการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ ในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวชาวจีนต่างระบุว่าออสเตรเลียคือหนึ่งในจุดหมายปลายทางอันดับต้นของพวกเขา การคาดการณ์การท่องเที่ยวขาเข้าของประเทศออสเตรเลียระบุว่าจะมีนักท่องเที่ยวราว 10 ล้านคนต่อปี ในปี 2565 ในปัจจุบัน ร้อยละ 99.7 ของนักท่องเที่ยวเหล่านี้ไปยังประเทศออสเตรเลียทางอากาศ และในอนาคต จะมีปริมาณนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังประเทศออสเตรเลียด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ330 นีโอ เพิ่มขึ้น รวมถึง เครื่องบินแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี และเครื่องบินแอร์บัส เอ380 สำหรับเส้นทางที่มีผู้โดยสารหนาแน่นกว่า

   ในปี 2576 จำนวนเมืองขนาดใหญ่ด้านการบินทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเป็นจำนวน 91 เมือง โดยเมืองขนาดใหญ่ด้านการบินในปัจจุบันอย่างซิดนีย์และเมลเบิร์น จะถูกสมทบด้วยเมืองเพิร์ธ บริสเบน และอ็อคแลนด์ ในปี 2576 เมืองศูนย์กลางความมั่งคั่งทั้ง 91 แห่งจะกลายเป็นแหล่งที่มาของค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทั่วโลกด้วยอัตราร้อยละ 35 และจะถูกบริการด้วยเครื่องบินที่มีความสามารถในการจุผู้โดยสารในระดับสูง เช่น เครื่องบินแอร์บัส เอ380 โดยมีการจราจรที่มีพิสัยการบินระยะไกลที่เดินทางออกจากหรือไปสู่เมืองขนาดใหญ่ด้านการบินเหล่านั้นในอัตราร้อยละ 95

   การคมนาคมทางอากาศทำให้การเดินทางระยะไกลในภูมิภาคออสเตรเลียแปซิฟิคใต้ที่มีความกว้างใหญ่เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ และช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อในระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งช่วยสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น ใน 10 ปีที่ผ่านมา การจราจรภายในประเทศออสเตรเลียได้มีอัตราเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 90 และยังมีการคาดการณ์แนวโน้มในเชิงบวกอย่างต่อเนื่อง

   ในอีก 20 ปีข้างหน้า (2557-2576) ทั่วโลก ตามการคาดการณ์ตลาดโลกของแอร์บัส การจราจรของผู้โดยสารจะเติบโตขึ้นร้อยละ 4.7 ต่อปี ซึ่งผลักดันให้เกิดความต้องการที่มีต่อเครื่องบินบรรทุกสินค้าและเครื่องบินสำหรับผู้โดยสารลำใหม่ราว 31,400 ราย (โดยมีที่นั่งผู้โดยสารจำนวน 100 ที่นั่งขึ้นไป) ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 4.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ฝูงเครื่องบินบรรทุกสินค้าและเครื่องบินผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นจากจำนวน 18,500 ลำในปัจจุบันเป็น 37,500 ลำในปี 2576 ซึ่งเป็นจำนวนเครื่องบินที่เพิ่มขึ้นราว 19,000 ลำ โดยเครื่องบินบรรทุกสินค้าและเครื่องบินสำหรับผู้โดยสารที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าและเก่ากว่าจำนวน 12,400 ลำจะถูกปลดประจำการ

Airbus-

Fleets serving Australia South Pacific to almost double by 2033 Strong economies, tourism and propensity to travel driving growth

  The passenger aircraft fleet serving the Australia South Pacific region will grow from some 700 aircraft today to over 1,200 by 2033, with a doubling in the number of widebody aircraft. With aviation growth comparable with other mature markets such as North America and Europe, the region has the world’s highest propensity to travel per capita.

   Airbus’ Global Market Forecast (GMF) shows international traffic serving the Australia South Pacific region will grow annually at 4.5%. Traffic to and from neighbouring developing markets will grow even quicker with traffic to Asia growing at 5.1%, Latin America 6.2%, Africa 6.3% and the Middle East 5.4%, which are all well above the world average (4.7%)

   While the fleet serving the region will increase by 70%, widebody aircraft will more than double from some 290 today to over 640 by 2033. In 20 years, the passenger fleet serving the region will increase by nearly 500 aircraft (146 single aisles like the A320 and A320neo and 353 wide-bodies from 250 to over 500 seats such as the A330, A330neo, A350 XWB and the A380). The region’s propensity to travel (over three trips per capita) is almost double that of North America and it will remain the world’s highest at over four trips per capita by 2033. Domestically, traffic to and from Australia’s busiest airports, (Sydney, Melbourne, Adelaide, Brisbane and Perth) is set to double with an additional ~90 million passengers a year by 2033.

   Today, some 70% of international traffic is within the wider Asia Pacific region including China (PRC) and this is set to grow as it becomes home to 40% of the world’s GDP by 2033. The PRC is Australia’s single biggest export market and increased air links will fuel business and tourism between the two. Today, Chinese travellers indicate Australia among their top destinations. Forecasts for Australian inbound tourism generally suggest nearly 10 million visitors a year by 2022. Today, 99.7% of these tourists arrive by air, and in the future will increasingly arrive on aircraft like the A330neo and for denser routes the A350 XWB and A380.

   By 2033, the number of aviation mega-cities globally will double to 91. Today’s mega cities of Sydney and Melbourne will be joined by Perth, Brisbane and Auckland by 2033. These 91 centres of wealth will account for 35% of global GDP and will be served by high capacity aircraft like the A380, with some 95% of all long haul traffic travelling to from or through them.

    Air transportation makes it possible to travel the region’s vast distances and helps connectivity at a global and country level providing economic benefits. In the last 10 years, Australia’s domestic traffic increased by nearly 90% for example, with a positive trend forecast to continue.

    Globally, in the next 20 years (2014-2033), according to Airbus’ Global Market Forecast, passenger traffic will grow annually at 4.7% driving a need for around 31,400 new passenger and freighter aircraft (100 seats and above) worth US$4.6 trillion. The passenger and freighter fleet will increase from today’s 18,500 aircraft to 37,500 by 2033, an increase of nearly 19,000 aircraft. Some 12,400 older less fuel efficient passenger and freighter aircraft will be retired.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!