WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaC TCJA

สัมมนา ถอดรหัสความสำเร็จการแก้ปัญหาความยากจนของจีน

        สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน  ร่วมกับ สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน กำหนดจัดสัมมนาหัวข้อ 'ถอดรหัสความสำเร็จการแก้ปัญหาความยากจนของจีน' ขึ้นในวันนี้ (18 ธ.ค.) ณ ห้อง salon A โรงแรมโรงแรมสวิสโซเทล รัชดา กรุงเทพ 

        นายภูวนารถ ณ สงขลา นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีนกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ในโอกาสที่สาธารณรัฐประชาชนจีนได้กำหนดเป้าหมายให้ ปี 2020 เป็นปีที่จีนจะแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศให้หมดสิ้น และก้าวสู่สังคมพอกินพอใช้ ซึ่งล่าสุดจีนได้ยืนยันถึงความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจนได้ภายในปีนี้แล้ว ทางสมาคมฯจึงเห็นว่า เป็นประเด็นสำคัญในการที่ประเทศไทยควรที่จะต้องเรียนรู้จากความสำเร็จดังกล่าว

        โดยมี ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานและปาฐกถาพิเศษหัวข้อ 'ความจำเป็นในการแก้ปัญหาความยากจนของไทย' และนายหยาง ซิน อุปทูต รักษาการแทนเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ 'ความสำเร็จและความคืบหน้าในการแก้ปัญหาความยากจนของประเทศจีน'

        และเสวนาในหัวข้อ 'ถอดรหัสการแก้ปัญหาความยากจนในจีน ก้าวที่ไทยต้องเดิน' โดยคณะวิทยากรประกอบด้วย ดร.โภคิน พลกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกฤชฐา โภคาสถิตย์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerceกระทรวงเกษตรฯ นายหลี่ เฟิง ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด(มหาชน) พลโทรังษี กิติญาณทรัพย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก โดยมี รศ.พ.ต.ต.ดร.ดนุวศิน เจริญ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางธุรกิจ นิด้า เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

        จากนี้ สมาคมฯยังได้ร่วมมือกับ ศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน จัดงานเปิดตัวหนังสือ 'คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับขจัดความยากจนอย่างตรงจุด' (ภาษาไทย-จีน) โดยที่จะมี พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง ประธานศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน เป็นผู้กล่าวแนะนำหนังสือดังกล่าวด้วย

        สำหรับ งานสัมมนาครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด(มหาชน) ศูนย์แพทย์แผนจีนพุทธเมตตาถังหมิง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน) และบริษัทคันทรี กรุ๊ป

 1aaaC TCJA1

ความสำเร็จและความคืบหน้าในการแก้ปัญหาความยากจนของจีน

         นายหยาง ซิน อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตจีน เปิดเผยเบื้องหลังความสำเร็จ ในการขจัดความยากจนว่า จีนได้ทำบัญชีรายชื่ออำเภอที่ยากจนยากไร้ไว้ เพื่อเร่งพัฒนาอำเภอเหล่านั้น และทยอยเอาชื่ออำเภอที่พ้นขีดความยากจนแล้วออกจากบัญชีเพื่อแสดงว่าอำเภอนั้นได้หลุดพ้นความยากจนแล้ว

อำเภอยากจน 9 แห่งสุดท้ายของมณฑลกุ้ยโจว ได้หลุดพ้นจากความยากจน

จีนประสบความสำเร็จในการขจัด ความยากจนตามกรอบเวลาที่ตั้งไว้

 

2012-2020

  • คนจนในชนบททั้งหมดหลุดพ้นจากความยากจนตามมาตรฐานปัจจุบัน
  • อำเภอยากจน 832 แห่งหลุดพ้นจากความยากจนทั้งหมด
  • ขจัดความยากจนขั้นสูงสุด(absolute poverty)

 และความยากจนระดับภูมิภาค( regional poverty)

  • ประชากรมากถึง 100 ล้าน คนได้พ้นจากความยากจน

ถอดรหัสความสำเร็จการแก้ปัญหาความยากจนของจีน

ความมุ่งมั่น เจตนารมณ์เดิมและพันธกิจพรรคคอมมิวนิสต์จีน

- สร้างความสุขให้แก่ประชาชนจีน

- ฟื้นฟูประชาชาติจีนให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง

ยุทธศาสตร์ 3 ก้าว

ปี ค.ศ.1990 เศรษฐกิจจีนจะโตเป็น 2 เท่าของปี 1980 สังคมพ้นจากสภาพความยากจน

ปี ค.ศ.2000 เศรษฐกิจจีนจะโตเป็น 2 เท่าของปี 1990 ประชาชน

กินดีอยู่ดีโดยพื้นฐาน

กลางศตวรรษที่ 21 จีนจะเจริญรุ่งเรืองระดับโลก สังคมโดยรวมมีความมั่งคั่ง ร่ำรวย ถ้วนหน้า

จำนวนคนยากจน

- เข้าเยี่ยมหมู่บ้านยากจนกว่า 20 แห่ง

- เรียกประชุมระดับสูงสุดเพื่อประเมินผลการแก้ไขความยากจนติดต่อกัน 4 ปี

- จัดประชุมสัมมนาการแก้ไขความยากจนติดต่อกัน 6 ปี

- เข้าร่วมวันแก้ไขความยากจนแห่งชาติจีนติดต่อกัน6 ปี

- เน้นย้ำการแก้ไขความยากจนในคำอวยพรปีใหม่ติดต่อกัน 6  ปี

- หารือกับผู้แทนสภาฯเรื่องการแก้ไขความยากจนช่วงการประชุมสองสภาฯติดต่อกัน 7 ปี

ถอดรหัสความสำเร็จการแก้ปัญหาความยากจนของจีน

ความมุ่งมั่น

ความทุ่มเท

- แบ่งอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐบาลกลาง รัฐบาลมณฑลและรัฐบาลอำเภอ

- ร่วมมือระหว่างรัฐบาล การตลาดและสังคม

- ระบบการแก้ไขความยากจนที่ครอบคลุมระหว่างภูมิภาค ฝ่ายและหน่วยงานที่ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วม

การคลัง

               เงินทุนแก้ไขความยากจนเฉพาะกิจของรัฐบาลกลางและรัฐบาลมณฑลเติบโตเฉลี่ย 22.7% และ 26.9%ต่อปีตามลำดับ

การเงิน

- เงินกู้พิเศษสำหรับการย้ายถิ่นฐานเพื่อแก้ไขความยากจน 350 พันล้านหยวน

- สินเชื่อ micro credit เพื่อแก้ไขความยากจนกว่า 430 พันล้านหยวน

- เงินกู้ re-lending เพื่อแก้ไขความยากจนกว่า 160 พันล้านหยวน

ผู้มีความสามารถ

        ส่งคณะทำงาน 255,000 คณะ และข้าราชการ 2.9 ล้านคน ไปทำงานประจำหมู่บ้านยากจน ปัจจุบันยังมีผู้ดำรงตำแหน่ง 918,000 คน

ความร่วมมือ

        มณฑลที่พัฒนาทางเศรษฐกิจ 342 แห่งในภาคตะวันออกช่วยเหลืออำเภอยากจน 570 แห่งในภาคตะวันตก

บริษัท

- บริษัทเอกชน 46,200 แห่งช่วยเหลือหมู่บ้าน 51,200 แห่ง

- ลงทุน 52.7 พันล้านหยวนในอุตสาหกรรมแก้ไขความยากจน

- บริจาค 10.9 พันล้านหยวนกับโครงการสวัสดิการสาธารณะ

- สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ยากจนกว่า 6.2 ล้านคน

รายได้ของผู้ยากจนในจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก

         รายได้ต่อหัวต่อปีของอำเภอยากจนเพิ่มขึ้นจาก 6,079 หยวน ในปี 2013 เป็น 11,567 หยวนในปี 2019 อัตราการเติบโตเฉลี่ย 9.7% ต่อปี

         รายได้สุทธิต่อหัวต่อปีของผู้ยากจนที่ลงทะเบียนแล้วทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจาก 3,416 หยวน ในปี 2015 เป็น 9,808 หยวนในปี 2019 อัตราการเติบโตเฉลี่ย 30.2%ต่อปี

การแก้ไขความยากจนของกระทรวงการต่างประเทศจีน

- อำเภอจินผิง

- อำเภอหมาลี่ปัว

- กว่า 100 คนเข้าร่วมในการแก้ไขความยากจน

- ข้าราชการ 39 คนไปประจำการที่สองอำเภอ

- เดินทางกว่า 1 ล้านกิโลเมตรจากคุนหมิงไปยังสองอำเภอ ซึ่งเป็นระยะทางถึง 25 เท่าของความยาวเส้นศูนย์สูตร

- ดำเนินโครงการแก้ไขความยากจนกว่า 1,600 โครงการ

- เดือนพฤษภาคมปีนี้ สองอำเภอบรรลุเป้าหมายขจัดความยากจน

หมู่บ้านหนิวกุ่นถาง ตำบลหมาลี่ อำเภอหมาลี่ปัว

ถอดรหัสความสำเร็จการแก้ปัญหาความยากจนของจีน

ความมุ่งมั่น

ความทุ่มเท

ความแม่นยำ

ความสบายใจ 2 ประการ

  1. เรื่องปากท้อง

2.เครื่องนุ่งห่ม

หลักประกัน 3 ประการ

1.การศึกษาภาคบังคับ

2.การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน

3.หลักประกันบ้านพักที่ปลอดภัย

การแก้ไขความยากจนอย่างตรงจุด

ปี 2013 ปรับให้เข้ากับสภาพท้องถิ่น  จำแนกแยกประเภท

- กลุ่มเป้าหมายตรงจุด 

- การจัดเตรียมโครงการตรงจุด

- การใช้เงินทุนตรงจุด

- มาตรการประยุกต์ใช้ในแต่ละครอบครัวตรงจุด

- การส่งบุคลากรตามความเหมาะสมของแต่ละหมู่บ้านตรงจุด

- ผลการแก้ไขความยากจนตรงจุด

ปี 2014 สร้างการจดทะเบียนทำให้ข้อมูลความยากจนเข้าถึงหมู่บ้าน ครัวเรือนและบุคคลเป็นครั้งแรก

แก้ความยากจนอย่างตรงจุด

ภาคอุตสาหกรรม

- โซลาร์เซลล์

- อีคอมเมิร์ซ

- การท่องเที่ยว

- การจ้างงาน

- การศึกษา

- สุขภาพ

- ปรับปรุงบ้านที่ทรุดโทรม

- ระบบนิเวศ

- ย้ายถิ่นฐานผู้ยากจน

อำเภอหลายสุ่ย มณฑลเหอเป่ย

ปี 2012 ผู้ยากจน 1 แสนกว่าคน

ปี 2015 ผู้ยากจน 2 หมื่นกว่าคน

การจำแนกแยกประเภท

- หมู่บ้านยากจน 33 แห่ง

- หมู่บ้านหลักในจุดชมวิว 1 แห่ง

- หมู่บ้านรอบจุดชมวิว 18 แห่ง

- หมู่บ้านรอบนอกจุดชมวิว 14 แห่ง

ประชากรยากจน

- ผู้ที่ไม่สามารถทำงานได้ 1328 ราย

- ผู้ที่สามารถทำงานได้ แต่ขาดทักษะ 835 ราย

- ผู้ที่มีความสามารถในการทำงานและตั้งใจจะกลับบ้านเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ

- สร้างหรือปรับปรุงถนน 35.8 กิโลเมตรและสะพาน 13 สะพาน

- วางหรือปรับปรุงโครงข่ายท่อส่งน้ำ 15,100 เมตร

- ปรับปรุงโครงข่ายไฟฟ้าของหมู่บ้าน 15 แห่ง

- สร้างหรือปรับปรุงห้องสุขา 2,729 ห้อง  

คุณูปการจีนต่อการแก้ไขความยากจนโลก

- ช่วยสร้างศูนย์สาธิตเทคโนโลยีการเกษตร 24 แห่งในแอฟริกา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ 500,000 กว่าคนในท้องถิ่น

- โครงการ 'สายแถบและเส้นทาง' ช่วยให้ 7.6 ล้านคนหลุดพ้นจากความยากจนแบบสุดขีด และอีก 32 ล้านคนหลุดพ้นจากความยากจนระดับปานกลาง

 

 

ความร่วมมือในการแก้ไขความยากจนระหว่างจีน-ไทย

‘ความจำเป็นในการแก้ปัญหาความยากจนของไทย’

         ดร.สรรเสริญ สมะลาภา กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชื่นชมจีนแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยอดเยี่ยม

         ดร.สรรเสริญ สมะลาภา กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เข้าร่วมเป็นประธานในพิธี และได้กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ ‘ความจำเป็นในการแก้ปัญหาความยากจนของไทย’

         ขณะกล่าวปาฐกถา ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ได้แสดงความชื่นชมจีนที่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนภายในประเทศได้อย่างยอดเยี่ยม โดยระบุว่า เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศจีนสามารถประกาศชัยชนะต่อความยากจนได้สำเร็จ ซึ่งได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติ และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ในการแก้ปัญหาความยากจน ความสำแร็วนี้ ไม่เพียงแต่เป็นก้าวสำคัญในการฟื้นฟูชาติ แต่ยังถือเป็นการขจัดความยากจนครั้งใหญ่และครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลกอีกด้วย

        ดร.สรรเสริญ สมะลาภา เห็นว่า การที่จีนสามารถขจัดความยากจนได้ดีนั้น เหตุผลสำคัญประการหนึ่งเกิดจากการใช้นโยบายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่ มาตรการบรรเทาปัญหาความยากจนแบบตรงจุด ถูกต้อง แม่นยำ ทันต่อสถานการณ์ เหมาะสมและแตกต่างตามลักษณะและความต้องการของคนจนแต่ละกลุ่มและภูมิภาค และยังมีการตรวจสอบจากหน่วยงานบุคคลที่ 3 อย่างต่อเนื่อง

        นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังออกมาตรการที่ใช้ประโยชน์จากการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซและการเติบโตของการบริโภคของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีการใช้มาตรการล็อคดาวน์ ทำให้คนใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น จึงมีการใช้การทำโฆษณาด้วยวิธี live streaming เพื่อขายสินค้าเกษตรจากพื้นที่ยากจน และภาครัฐได้ให้แรงจูงใจแก่ผู้บริโภคและบริษัทต่าง ๆ ในการซื้อสินค้าและบริการจากพื้นที่ยากจน และยังมีการสร้างกลไกในการรองรับสินค้าที่มาจากครัวเรือนที่ยากจน เพื่อจำหน่ายในร้านหรือผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก

        ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ยังระบุด้วยว่า ไทยกับจีนสามารถร่วมมือเพื่อสานต่อนโยบายในการลดความยากจน และพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ของทั้งสองประเทศได้ ทั้งการสร้างความร่วมมือผ่านการทำความตกลงทางการค้า ซึ่งมีตัวอย่างแล้วคือ การทำ Mini FTA กับมณฑลไหหลำ รวมทั้งความร่วมมือในการเปิดด่านการค้าชายแดนของจีน อาทิ ด่านรถไฟผิงเสียง ด่านโหยวอี้กวน และด่านตงซิง ที่ช่วยทำให้ผู้ส่งออกของทั้งสองประเทศสามารถทำการค้าได้อย่างสะดวกขึ้น และความร่วมมือด้านอีคอมเมิร์ซและการทำการตลาดในรูปแบบออนไลน์ ที่สามารถเห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม หวังว่า ความร่วมมือเหล่านี้จะขยายเพิ่มมากขึ้น เพื่อผลประโยชน์อย่างยั่งยืนของประชาชนของทั้งสองประเทศ       

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!