WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3A1RCEP

นักวิเคราะห์มาเลเซีย เผยกับสื่อหลักของจีน 'RCEP หนุนเศรษฐกิจอาเซียนฟื้นตัวหลังวิกฤติโควิด-19'

     ในการให้สัมภาษณ์กับ Xinhua สื่อหลักของจีน  Oh Ei Sun หัวหน้าที่ปรึกษาของศูนย์วิจัยแปซิฟิกของมาเลเซีย กล่าวว่า นอกเหนือจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก RCEP ยังเป็นชัยชนะสำหรับลัทธิพหุภาคีและการผลักดันที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของจีน เพื่อให้การค้าเสรีทั่วโลกมีความครอบคลุมและสมดุล

      “จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (ASEAN) ซึ่งอาเซียน โดยรวมก็กลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีนด้วย”Oh กล่าว

      นักวิเคราะห์มาเลเซีย อธิบายว่า "จากความสำเร็จอย่างมากนั้น มันจึงไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะไม่ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมถึงสิทธิทางเศรษฐกิจที่สำคัญอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลียด้วย โดย RCEP จะกลายเป็นกลุ่มการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก และจากนั้นก็จะทำหน้าที่เป็นแสงนำทางสำหรับการเคลื่อนไหวการค้าเสรีในโลก

     เขายังกล่าวอีกว่า สิ่งนี้จะกระตุ้นความพยายามในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังเกิดโรคระบาดโดยประเทศที่เข้าร่วม ซึ่งช่วยให้สามารถบูรณาการห่วงโซ่อุปทาน มาตรฐานทั่วไป และโครงสร้างพื้นฐานได้ดีขึ้นผ่านโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ที่จีนริเริ่ม ทำให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และเทคโนโลยีระหว่างสมาชิก RCEP

      ข้อตกลงทางการค้าดังกล่าวจะเป็นการสาธิตความสำเร็จและประโยชน์ของลัทธิพหุภาคีเหนือแนวทางการค้าโลกที่เป็นแบบชาตินิยมจำกัดในวงแคบ ซึ่งจะช่วยพัฒนาประเทศที่พัฒนาน้อย ทำให้เกิดการแบ่งปันความมั่งคั่งอย่างทั่วถึงและสมดุล

     "มันไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไปที่จะเป็นชาตินิยมและเพียงแค่จำกัดการผลิต การตลาด อยู่เพียงในประเทศ แต่มันสมเหตุสมผลกว่าที่จะกระจายความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น ขยายฐานการผลิตไปยังประเทศอาเซียนอื่นๆ หรือแม้แต่ประเทศอื่นๆ อย่าง ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ เป็นต้น และในทำนองเดียวกัน ต้องสำรวจตลาดนอกประเทศหรือแม้แต่นอกอาเซียน”Oh อธิบาย

     “ตอนนี้ด้วย RCEP ทำให้สามารถเข้าไปในตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ได้ รวมทั้งตลาดญี่ปุ่น ตลาดเกาหลีใต้ หรือลงใต้ไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้อีกด้วย” เขากล่าวเสริม

      RCEP ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2022 เป็นต้นมา ประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ รวมทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งครอบคลุมประมาณร้อยละ 30 ของประชากรโลก รวมทั้งผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและ ปริมาณการค้า

       ในขณะที่มาเลเซียเป็นผู้ลงนาม แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาเนื่องจากความล่าช้าในการดำเนินการของรัฐสภาที่เกิดจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ

      RCEP คาดว่าจะได้รับการให้สัตยาบันเมื่อสภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฎรของรัฐสภามาเลเซียมีการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์นี้

แหล่งข้อมูล:

https://english.cctv.com/.../ARTIlrXfor8gr3ZDodjYbII82201...

#จีน #มาเลเซีย #อาเซียน #ASEAN #เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ #RCEP #ธุรกิจ #ตลาด #CGTN #CCTV #CMG

บทวิเคราะห์: RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้สะท้อนแนวคิดพหุภาคีนิยมและการเปิดกว้างเป็นหนทางที่ถูกต้อง

     ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 2022 ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งมีสมาชิก 15 ประเทศ เริ่มมีผลบังคับใช้กับ 10 ประเทศแล้ว อันได้แก่ ไทย บรูไน กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย และจะมีผลบังคับใช้กับเกาหลีใต้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีนี้ ส่วนประเทศสมาชิกที่เหลือก็จะทยอยมีผลบังคับใช้ตามมาหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการอนุมัติภายในประเทศ

      นักสังเกตการณ์มองว่า การที่ RCEP มีผลบังคับใช้นั้น แสดงให้เห็นอย่างทรงพลังว่า แม้ว่าโลกปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ แต่พฤติกรรมทวนกระแส เช่น ลัทธิกีดกันทางการค้าและลัทธิเอกภาคีนิยม เป็นต้น ไม่ใช่ความปรารถนาของผู้คนทั้งหลาย เมื่อโลกาภิวัตน์พัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ เป็นเวลานานมาแล้วที่โลกได้เข้าสู่ภาวะ “ในคุณมีฉัน ในฉันมีคุณ” ความปรารถนาอันแรงกล้าของประชาคมระหว่างประเทศในการสนับสนุนความร่วมมือและการเปิดกว้างนั้นมิอาจต้านทานได้ การกระทำที่ตัวเองต้องมาก่อน ผูกขาดความได้เปรียบ และปิดประเทศกีดกันภายนอกนั้น มีแต่จะได้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับเป้าหมายเท่านั้น ในยุคหลังโควิด-19 การเปิดกว้างและการเชื่อมโยงกันเป็นแนวโน้มทั่วไป พหุภาคีนิยม การขยายการเปิดประเทศ และการค้าเสรีเท่านั้น จึงเป็นกระแสและหนทางที่ถูกต้องของโลก

       RCEP ครอบคลุมประชากรในโลก 2,200 ล้านคน ยอดมูลค่าทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการค้าต่างครองสัดส่วน 30% ของโลก เป็นเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุด มีขนาดเศรษฐกิจและการค้าที่ใหญ่ที่สุด และมีศักยภาพในการพัฒนามากที่สุดในโลก เมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้แล้ว สินค้ามากกว่าร้อยละ 90 ภายในภูมิภาคจะค่อยๆบรรลุอัตราภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ นอกจากนี้ RCEP ได้กําหนดบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในด้านการค้าภาคบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา อีคอมเมิร์ซและอื่นๆ ซึ่งดัชนีชี้วัดเหล่านี้ล้วนอยู่ในระดับนำหน้าของโลก จึงถือเป็นข้อตกลงทางเศรษฐกิจและการค้าที่ครอบคลุม ทันสมัย มีคุณภาพสูง และสะท้อนถึงการอำนวยผลประโยชน์แก่กัน การไหลเวียนของปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจต่างๆ ภายในภูมิภาคจะราบรื่นมากยิ่งขึ้น และห่วงโซ่อุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าจะมีความมั่นคงและได้รับการพัฒนาอีกระดับ

      ไม่ว่าการให้สินค้าต่างประเทศ"เข้ามา"มากขึ้น หรือช่วยให้วิสาหกิจภายในประเทศ"ออกไป"มากขึ้น ผลที่ได้รับโดยตรงมากที่สุดจากการบังคับใช้ความตกลง RCEP นั้น คือการส่งเสริมกระบวนการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคให้มีความคืบหน้าเร็วยิ่งขึ้น นําตลาดที่กว้างใหญ่ยิ่งขึ้น สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น และโอกาสทางการค้าและการลงทุนที่หลากหลายยิ่งขึ้นให้กับบริษัทห้างร้านจากประเทศที่มีส่วนร่วม

      บุคคลประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นพ้องกันว่า การเริ่มดำเนินการของเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกครั้งนี้ จะนํามาซึ่งผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมต่อบริษัทห้างร้านในประเทศของตน และจะกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนและเร่งกระบวนการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจจีนให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีนCMGว่า เชื่อว่า RCEP จะช่วยส่งเสริมการส่งออกและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย

      การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา(อังค์ถัด)คาดว่า อัตราภาษีศุลกากรที่ต่ำจะกระตุ้นการค้าประมาณ 17,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯระหว่างประเทศภาคีสมาชิก RCEP ทั้งยังจะ"ทำให้เกิดศูนย์กลางสำคัญแห่งใหม่ของการค้าโลก"

      กล่าวสําหรับประเทศจีนแล้ว การที่ RCEP มีผลบังคับใช้นั้นถือเป็น "ป้ายบอกระยะทางใหม่" แห่งการเปิดประเทศ ทั้งยังถือเป็นการปฏิบัติตามคํามั่นสัญญาอันแน่วแน่ในการเปิดประเทศอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งจะทําให้จีนก้าวหน้าไปอีกระดับบนหนทางแห่งการเปิดประเทศเชิงระบบ และกลายเป็นสะพานเชื่อมการหมุนเวียนภายในประเทศกับการหมุนเวียนระหว่างประเทศ

      ทางการจีนแสดงว่าในอนาคตจีนจะใช้ประโยชน์ความได้เปรียบจากตลาดที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษและศักยภาพอุปสงค์ภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น และร่วมกับบรรดาหุ้นส่วนในภูมิภาคทำ"เค้ก"เศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคให้มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น รวมทั้งให้บริษัทห้างร้านจำนวนมากยิ่งขึ้นได้มีโอกาสแบ่งปันโอกาสทางการตลาดของจีน และให้ผู้บริโภคจำนวนมากยิ่งขึ้นได้รับประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม เพื่ออัดฉีดพลังชีวิตและพลังขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องแก่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโลก

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

sme 720x100

GC 720x100

TU720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

NHA720x100   

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!