WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3A1หาน จื้อเฉียง

'หาน จื้อเฉียง' แบ่งปันโอกาสใหม่จาก RCEP เปิดหน้าใหม่แห่งความร่วมมือแบบเปิดกว้าง

หาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย

        วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 'ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค' (RCEP) โดยมีสมาชิก 15 ประเทศรวมทั้งจีน ประเทศอาเซียนและอื่นๆ เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ในการนี้ เขตการค้าเสรีที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด ประชากรเข้าร่วมมากที่สุด องค์ประกอบหลากหลายที่สุดและมีศักยภาพการพัฒนามากที่สุดในโลกได้สร้างขึ้นอย่างเป็นทางการ การที่ RCEP มีผลบังคับใช้ตามเวลากำหนด จะเป็นการเพิ่มพลังขับเคลื่อนใหม่สำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของภูมิภาคและโลก และเป็นการสร้างโอกาสใหม่สำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีน-อาเซียนและจีน-ไทย

      หลายปีที่ผ่านมา การพัฒนาของระบบพหุภาคีและโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้เจอแรงต้านทาน สหรัฐฯถอนตัวจากการเป็นภาคีของสนธิสัญญาต่างๆ ทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซ้ำเติมโดยการระบาดของโควิด-19 ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกขาดแคลนกำลัง การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเกิดความผันผวน ห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

     ในโอกาสนี้ จีนและประเทศในภูมิภาคได้อาศัยความสามัคคีและความ เอาชนะอุปสรรคต่างๆ นานา ได้ประสบความสำเร็จในการบูรณาการและยกระดับกติกาการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเป็นครั้งแรก ทำให้ความตกลงที่ครอบคลุม ทันสมัย มีคุณภาพและเอื้อประโยชน์ต่อกันมีผลบังคับใช้ แสดงให้สังคมโลกเห็นถึงเส้นทางที่ถูกต้องและเป็นธรรมแห่งระบบพหุภาคีนิยมและการค้าเสรี และเป็นการอัดฉีดแรงกระตุ้นเข้าสู่เศรษฐกิจโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

       ในฐานะประเทศสมาชิกแรกๆ ที่ได้อนุมัติ RCEP จีนและอาเซียนได้ก้าวไปข้างหน้าด้วยกันมาโดยตลอด และได้นำร่องสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ร่วมกันพัฒนา “สายแถบและเส้นทาง” อย่างมีคุณภาพ  ร่วมกันนำทิศทางที่ถูกต้องสำหรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก และส่งเสริมการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค เมื่อไม่นานมานี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงและผู้นำของประเทศอาเซียนได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดจีน-อาเซียนสมัยพิเศษเพื่อฉลองครบรอบ30 ปีความสัมพันธ์จีน-อาเซียน และประกาศสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน ซึ่งเป็นการกำหนดไมล์สโตนใหม่สำหรับการพัฒนาของความสัมพันธฺ์ระหว่างกัน

     แถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดได้แสดงความยินดีที่ RCEP มีผลบังคับใช้ โดยเน้นย้ำว่าจีนกับประเทศอาเซียนจะร่วมกันปฏิบัติตามความตกลงอย่างมีประสิทธิผล สร้างประโยชน์แก่ผู้ประกอบการและประชาชนในภูมิภาค ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายได้กระชับความร่วมมือในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสังคมหลังการระบาดของโควิด-19  RCEP จะช่วยส่งเสริมให้จีนและประเทศอาเซียนใช้ประโยชน์จากจุดแข็งซึ่งกันและกัน สร้างสภาพแวดล้อมที่อำนวยต่อการค้าและการลงทุนในภูมิภาค

     และส่งเสริมให้ห่วงโซ่การผลิต ห่วงโซ่อุปทาน และห่วงโซ่มูลค่าผสมผสานอย่างบูรณาการ กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนโดยรวมของภูมิภาค และสร้างประโยชน์อันแท้จริงแก่ทั้งประชาชนจีนและประชาชนในประเทศอาเซียน

    ประเทศจีนและประเทศไทยต่างส่งเสริมการค้าเสรีและสนับสนุนความร่วมมือในภูมิภาค RCEP ทำให้เกิดโอกาสสำหรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค จะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน-ไทย จีนเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของไทย 9 ปีติดต่อกัน ในปี พ.ศ. 2564 มูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศทะลุหนึ่งแสนล้านดอลลาร์สหรัฐทั้งๆที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 วิสาหกิจจีนทางด้านอีคอมเมิร์ซ โทรคมนาคม ยานยนต์ และเซลล์แสงอาทิตย์ได้มาลงทุนสร้างโรงงานในประเทศไทย

       ขณะเดียวกัน สินค้าเกษตร ยาง และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยได้รับความนิยมในตลาดจีน หลังจาก RCEP มีผลบังคับใช้ จีนและไทยจะเปิดตลาดมากขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ประมง การผลิตกระดาษ ชิ้นส่วนรถยนต์ และโลหะ รายการสินค้ากว่า 90%จะลดภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ในที่สุด ภาระผูกพันอย่างมีคุณภาพแบบระบุรายการที่ไม่เปิดเสรีสำหรับการลงทุน(Negative List)ในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ภาคบริการ เช่น การเกษตรและการผลิต จะดึงดูดผู้ประกอบการจีนเข้ามาลงทุนและสร้างโรงงานในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้การวางแผนและนโยบายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างกันสมบูณ์ยิ่งขึ้น  ข้อกำหนดเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซและทรัพย์สินทางปัญญาใน RCEP จะช่วยอำนวยความสะดวกต่อความร่วมมือด้านอีคอมเมิร์ซข้ามชาติและเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีนไทย ส่งเสริมการไหลเวียนของทรัพยากรด้านนวัตกรรมระหว่างสองประเทศ และร่วมกันคว้าโอกาสใหม่ในยุคดิจิทัล

            ปัจจุบันนี้ จีนกำลังเร่งสร้างรูปแบบการพัฒนาแบบการหมุนเวียนคู่ ส่งเสริมการพัฒนา 'สายแถบและเส้นทาง' อย่างมีคุณภาพ ขยายวงเพื่อนของการค้าเสรี และยกระดับความร่วมมือและการเปิดกว้างสู่ภายนอกอย่างต่อเนื่อง ประเทศจีนยินดีร่วมมือกับประเทศไทยและประเทศสมาชิกทั้งหลาย เพื่อใช้โอกาสใหม่ให้ดี ให้เกิดผลประโยชน์จาก RCEP เพิ่มพลังขับเคลื่อนใหม่สำหรับการฟื้นตัวและการพัฒนาของเศรษฐกิจภูมิภาคและโลก เพื่อเป็นพลังบวกในการสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปิดกว้างและเพิ่มผลประโยชน์ให้ชาวโลก

https://www.facebook.com/ChineseEmbassyinBangkok/

 

1aaa1Mอรมน ทรัพย์ทวีธรรม 

อธิบดีกรมเจรจาการค้าของไทยชี้ RCEP จะส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคหลังโควิด-19 อย่างมีพลัง

       เมื่อเร็วๆ นี้ นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าของไทยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวซินหวา ว่าการบังคับใช้ RCEP จะกระตุ้นกิจกรรมการค้าการลงทุนที่ตกต่ำเนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคหลังโควิด-19 อย่างมีพลัง

     การบังคับใช้ RCEP เหมาะกับเวลา จะเปิดโอกาสที่ดีให้กับประเทศสมาชิกต่างๆ ในการฟื้นตัวหลังโควิด-19 เธอกล่าวว่า RCEP เป็นตัวอย่างผลักดันความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในภูมิภาคอำนวยประโยชน์แก่ประเทศต่าง ๆ โดย RCEP ทำให้การเข้าตลาดของสินค้า การบริการและการลงทุนจากประเทศสมาชิกต่าง ๆ มีการผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น ผลักดันให้กลายเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น ยกระดับความเป็นอิสระและความสะดวกสบายด้านการค้าการลงทุน วิสาหกิจและนักลงทุนจากธุรกิจต่าง ๆ ล้วนสามารถได้รับผลประโยชน์จากเรื่องนี้

https://www.facebook.com/ChinafacecriThai/

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!