WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1 Wellness

ศูนย์บริการเชิงสุขภาพ (Wellness Hub) ย้ำความพร้อมการเป็นศูนย์กลางสุขภาพระดับโลกของไทย ที่ รักษ (รัก-ษะ) ศูนย์บริการสุขภาพและการแพทย์

    ไทยพร้อมเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพ เพื่อสร้างเศรษฐกิจของประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ พาสื่อมวลชนศึกษาดูงานศูนย์บริการเชิงสุขภาพ (Wellness Hub) ย้ำความพร้อมการเป็นศูนย์กลางสุขภาพระดับโลกของไทย

สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ พาสื่อมวลชนศึกษาดูงานศูนย์บริการเชิงสุขภาพ (Wellness Hub) ย้ำความพร้อมการเป็นศูนย์กลางสุขภาพระดับโลกของไทย ที่ รักษ (รัก-ษะ) ศูนย์บริการสุขภาพและการแพทย์ อำเภอบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีสื่อมวลชนต่างประเทศ จากรัสเซีย อินเดีย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน  อังกฤษ  และสื่อไทยรวมถึงสื่อกรมประชาสัมพันธ์ กว่า 30 คน เข้าร่วม 

รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (นางสุดฤทัย เลิศเกษม) กล่าวว่า เมื่อปีที่ผ่านมา ที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 2565 นอกจากนโยบายสำคัญที่ไทยผลักดัน เช่น ด้านการค้า การลงทุน เศรษฐกิจ BCG อีกเรื่องสำคัญคือนโยบายด้านสาธารณสุข ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ มีส่วนสำคัญในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) 

โดย Wellness หรือการส่งเสริมบริการสุขภาพ  เพื่อสร้างสมดุลให้กับชีวิตเป็นเทรนด์ที่ต่างชาติให้สนใจ ซึ่งสำหรับกิจกรรมครั้งนี้ เป็นการมุ่งเน้นความพร้อมของไทยด้านการเป็นศูนย์กลางส่งเสริมสุขภาพนานาชาติ (Wellness Hub) ที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ของไทย หรือ Medical & Wellness Tourism และก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพระดับโลก โดยพัฒนาศักยภาพของสถานบริการสุขภาพทุกระดับให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน

ที่ผ่านมาไทยยังได้รับการยอมรับในระดับสากล เมื่อปี 2564 Medical Hub Tourism Association จัดอันดับให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยติดอันดับ 5 ของโลก ด้วยเหตุผลด้านแพทย์ไทยมีศักยภาพและชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

คุณภาพและมาตรฐานการรักษาในระดับสากล ค่ารักษาพยาบาลที่สมเหตุสมผล รวมถึงความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลยังได้อำนวยความสะดวกผู้ที่เดินทางมาใช้บริการด้านสุขภาพ  รวมถึงการขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักรไทยสำหรับกลุ่มพำนักระยะยาว (Long Stay)

กิจกรรมช่วงเสวนา สื่อมวลชนได้รับฟังภาพรวมยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ การส่งเสริมบริการสุขภาพดึงการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ความพร้อมของสถานประกอบการ ตลอดจนการสื่อสารการตลาดเพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยนายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นางกันยารัตน์ กุยสุวรรณ รองผู้อำนวยการส่วน

ส่งเสริมอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันและแผนดั้งเดิม พร้อมศึกษานวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ (Vitalife Scientific) เพื่อส่งเสริมสุขภาพและเวชศาสตร์ชะลอวัย และการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Wellness) อาทิ นวดแผนไทย นวดกดจุดฝ่าเท้า และนวดน้ำมัน เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์การเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพควบคู่กับการท่องเที่ยวของไทยให้เป็นที่รู้จักต่อไป

ทั้งนี้ รักษ ซึ่งเป็นศูนย์บริการทางการแพทย์และสุขภาพ ถือเป็นหนึ่งในสถานประกอบการด้านสุขภาพของไทยที่ประสบความสำเร็จ ให้บริการครบวงจรทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการแพทย์แผนดั้งเดิม ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ มีมาตรฐานการบริการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวต่างประเทศ อย่างไรก็ดี สถานบริการด้านสุขภาพที่ได้มาตรฐานสามารถพบได้ทั่วประเทศ และให้บริการที่หลากหลาย

รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า กรมประชาสัมพันธ์ มีส่วนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์นโยบายของรัฐบาลในการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) ศูนย์กลางบริการการแพทย์ (Medical Service Hub) ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub)

และศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Product Hub) สำหรับกิจกรรมครั้งนี้มุ่งเน้นความพร้อมของไทยด้านการเป็นศูนย์กลางส่งเสริมสุขภาพนานาชาติ (Wellness Hub) ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ของไทย หรือ Medical & Wellness Tourism และก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพระดับโลก

    โดยพัฒนาศักยภาพของสถานบริการสุขภาพทุกระดับให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน ที่ผ่านมาไทยยังได้รับการยอมรับในระดับสากล เมื่อปี 2564 Medical Hub Tourism Association จัดอันดับให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยติดอันดับ 5 ของโลก ด้วยเหตุผลด้านแพทย์ไทยมีศักยภาพและชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ คุณภาพและมาตรฐานการรักษาในระดับสากล ค่ารักษาพยาบาลที่สมเหตุสมผล รวมถึงความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน

     รัฐบาลยังได้อำนวยความสะดวกผู้ที่เดินทางมาใช้บริการด้านสุขภาพ โดยขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักรไทยรวม 90 วัน สำหรับผู้ป่วยและผู้ติดตาม กรณีเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งประกอบด้วยกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงการขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักรไทยสำหรับกลุ่มพำนักระยะยาว (Long Stay) จากเดิม 1 ปี ขยายเป็น 10 ปี

#จีน #ไทย #สุขภาพ #cctv #cgtn #cmg

 

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!