WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ChinafacecriThai

ASEAN Tourism Forum (ATF) 2024 ตลาดสำคัญการท่องเที่ยวในอาเซียน มาจากกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน ‘การท่องเที่ยวคุณภาพและความรับผิดชอบ-การปกป้องอนาคตของอาเซียน’จัด

เรียบเรียงโดย :  ดร.กฤตติกา เศวตอมรกุล รองคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร

เมื่อวันที่ 24 ถึง 27 มกราคม 2567 ที่ผ่านมาได้มีการประชุมการท่องเที่ยวอาเซียน (ATF) ประจำปี 2567 ในหัวข้อ ‘การท่องเที่ยวคุณภาพและความรับผิดชอบ – การปกป้องอนาคตของอาเซียน’จัดขึ้นที่กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  โดยลาวเป็นประธานหมุนเวียนของอาเซียนในปี 2567

การประชุมการท่องเที่ยวอาเซียน (ATF) เป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งปีนี้ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวภาคอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกของอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ซึ่ง ATF ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยแต่ละปีประเทศสมาชิกจะถูกหมุนเวียนในการเป็นเจ้าภาพ

โดยในปีนี้ ลาว จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN TOURISM FORUM 2024 ระหว่างวันที่ 22 ถึง 27 มกราคม 2567 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ ในหัวข้อ 'การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและมีความรับผิดชอบ – ความยั่งยืนของอนาคตอาเซียน' โดยมีเป้าหมาย คือ การเสริมสร้างความร่วมมือในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวร่วมกันในอาเซี่ยนต่อไป เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มากขึ้น

และในขณะเดียวกันก็เพื่อมีส่วนร่วมกับชุมชนอาเซียนและเพื่อความยั่งยืนของการท่องเที่ยวภายในภูมิภาค ซึ่งในหลายๆ ฟอรั่มเวทีแลกเปลี่ยนล้วนแล้วแต่พูดถึงเรื่องกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพจากประเทศจีน ทำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนและจีน ที่ถือว่าเกี่ยวข้องกันอย่างปฏิเสธไม่ได้

การประชุมการท่องเที่ยวอาเซียน (ATF) ได้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยน ระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม 2567 ซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจ จากวิทยากรที่มีชื่อเสียงทั้งในและนอกอาเซียน ดังนี้

1. ทำให้ความยั่งยืนเป็นเรื่องน่าสนใจ – ทำการตลาดความยั่งยืนได้อย่างไร? วิทยากร: แคทเธอรีน เจอร์เมียร์-ฮาเมล ซีอีโอ Destination Mekong; Michael Massey ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สมาคมโรงแรมภูเก็ต, Tom Chanthaphone ผู้อำนวยการ The Hiker Travel

2. คำแนะนำที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการใช้ TikTok เพื่อการท่องเที่ยว วิทยากร: Ariel Koh จาก Malaysia Food & Travel

3. การใช้การเดินทางแบบผจญภัยเพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน วิทยากร: Hannah Pearson ผู้อำนวยการภูมิภาค APAC, ATTA; อินธี เดือนสะหวัน หัวหน้ากลุ่มอินทิรา

4. ประสบการณ์ความยั่งยืนที่ไม่เหมือนใครทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วิทยากร: Inthira Group, Panorama Destination, Worldwide Travel, Khiri Travel, Sanctuary Hotel, Souphattra Hotel

5. ฉันเป็นนักบิน… ถามฉันได้ทุกอย่าง! วิทยากร: กัปตันเซซิเลีย ซานดรีนา เจ้าหน้าที่อาวุโสคนแรก จอร์กี เรย์ฮาน อาดีน นูโกรโฮ

6. นักท่องเที่ยวชาวจีนรุ่นใหม่ต้องการอะไรจริงๆ? วิทยากร: Gary Bowerman ผู้อำนวยการ Check-In Asia

7. การท่องเที่ยวโดยชุมชน: ส่องประเทศลาว วิทยากร: Janina Bikova ที่ปรึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า Peta McClean ผู้ร่วมก่อตั้ง Tuk Tuk Safari

8. เพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวด้วยการเล่าเรื่องราว: คู่มือภาครัฐ วิทยากร: ดร. สมพวัน สุขปัญญา

9. เทรนด์การเดินทางทั่ว APAC มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วิทยากร: Xinyi Liang-Pholsena บรรณาธิการอาวุโส Travel Weekly Asia, Hannah Pearson, Pear Anderson

10. ทำความเข้าใจกับการรับรองความยั่งยืน  วิทยากร: Connor Bedard ผู้จัดการโครงการ SUSTOUR ลาว; ดวงมาลา พรมมาวงศ์ กรรมการผู้จัดการ EXO ลาว; อลิชิต เพ็งสะหวัน ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล/ฝ่ายการเรียนรู้ โรงแรมเมซอง สุวรรณภูมิ; ผู้ดำเนินรายการ: Jason Rolan หุ้นส่วนอาวุโส RDK Group

11. นวัตกรรมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน วิทยากร: จัสมิน ลาล ฟักมะวี ผู้ประสานงานโครงการ ฝ่ายอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน สถาบันลุ่มน้ำโขง

สำหรับ ประเทศไทยในงานสัมมนาการท่องเที่ยวอาเซียน (ATF) 2024 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เน้นย้ำทิศทางการฟื้นฟูประเทศไทยมุ่งสู่การท่องเที่ยวที่มีความหมายมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูงและยั่งยืน นำเสนอประสบการณ์การเดินทางที่มีความหมายมากมาย สะท้อนถึงความอ่อนโยนของศิลปวัฒนธรรมไทย และเป้าหมายที่ยั่งยืน

ในขณะเดียวกัน ก็เน้นย้ำถึงดินแดนที่เป็นสถานที่หรือจุดหมายปลายทางระดับโลกสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีอีกด้วย ซึ่งตลาดสำคัญของการท่องเที่ยวในอาเซียน ก็มาจากกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนนั่นเอง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยโดย นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย และ นายหวังอี้ สมาชิกกรมการเมือง, ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกลางด้านกิจการต่างประเทศประจำพรรคคอมมิวนิสต์จีน

และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตรา ซึ่งกันและกัน สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา และหนังสือเดินทางกึ่งราชการ 

โดยความตกลงฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2567 ซึ่งเชื่อว่าหลังจากวันที่ 1 มีนาคม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระหว่างไทย-จีน จะเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล

https://www.facebook.com/ChinafacecriThai

 

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!