- Details
- Category: CHINA
- Published: Sunday, 07 July 2024 09:00
- Hits: 7666
เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง เข้าร่วมงานประชุมอาหารค่ำผู้บริหารระดับสูงสู่อนาคตไทย-จีน
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง เข้าร่วมงานประชุมอาหารค่ำผู้บริหารระดับสูงสู่อนาคตไทย-จีน และกล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยมีนายโภคิน พลกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายกสมาคมกิตติมศักดิ์ และผู้คนจากแวดวงธุรกิจไทยกว่า 100 คนเข้าร่วมงาน
เอกอัครราชทูตหาน กล่าวว่า จีนและไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดีที่เชื่อมโยงกันด้วยภูเขาและสายน้ำ เป็นญาติที่ดีด้วยสายเลือดและเป็นหุ้นส่วนที่ดีที่มีอนาคตร่วมกัน ปัจจุบันความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างทั้งสองประเทศกำลังได้รับแรงผลักดัน และความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันยังคงสร้างความก้าวหน้าครั้งใหม่
จีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทย เป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรของไทยที่ใหญ่ที่สุด และเป็นแหล่งนักท่องเที่ยวต่างชาติขนาดใหญ่ที่สุดมาหลายปี ขณะเดียวกันจีนก็ได้เป็นแหล่งลงทุนจากต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดของไทย การลงทุนของจีนนำมาซึ่งประสิทธิภาพการผลิตขั้นสูง เพิ่มการจ้างงาน รายได้จากภาษี และการส่งออกของประเทศไทย
ปลูกฝังผู้มีความรู้ความสามารถเพื่อให้บริการด้านสวัสดิการสังคม มีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศไทยและนำผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่มาสู่ชาวไทย ด้วยการพัฒนาที่เปิดกว้างและมีคุณภาพสูงของเศรษฐกิจจีน ความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องของโครงการการเชื่อมต่อกัน เช่น รถไฟจีน-ไทย และความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องของความร่วมมือระดับภูมิภาค ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน-ไทยกำลังได้รับโอกาสการพัฒนาใหม่ๆ และมีอนาคตสดใส
เอกอัครราชทูตหาน ยังชี้ให้เห็นว่า ประเด็นต่างๆ ที่มีอยู่ในความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน-ไทยควรได้รับการพิจารณาอย่างครอบคลุมและถูกต้อง ขณะที่ต้องให้ความสำคัญและพยายามแก้ไขแรงกดดันทางการแข่งขันที่คนบางคนต้องเผชิญภายใต้กลไกของตลาด เราก็ควรรักษาสถานการณ์โดยรวมของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างทั้งสองประเทศอย่างหนักแน่น เพื่อบรรลุความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของจีนและไทย
นายสมคิด และนายโภคินเน้นย้ำว่า ไทยและจีนมีความสัมพันธ์แบบ 'พี่น้องกัน' จีนได้ช่วยเหลือประเทศไทยอย่างจริงใจมาโดยตลอด การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนและไทยได้ก่อให้เกิดประโยชน์ที่จับต้องได้แก่ประชาชนของทั้งสองประเทศ สิ่งที่เรียกว่า ‘ทุนจีนไหลทะลักเข้ามา’ ทำให้เกิด“คลื่นล้มละลาย”ในโรงงานของไทยนั้นไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และไม่สามารถเป็นตัวแทนความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทยได้
ทั้งยังเรียกร้องให้มีการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนด้านการเมือง ประชาชนและวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เร่งการก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย และเพิ่มความร่วมมือในด้านใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ เศรษฐกิจสีเขียว และเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการพัฒนาของแต่ละประเทศและความสุขของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น