WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

จีนยุคใหม่

'โอกาสประชาคมโลกจากการปฏิรูปเชิงลึกของจีนยุคใหม่'

     การเสวนาเรื่อง 'โอกาสประชาคมโลกจากการปฏิรูปเชิงลึกของจีนยุคใหม่' จัดขึ้นโดย CMG ที่กรุงเทพฯ

      สถานีวิทยุโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน (China Media Group หรือ CMG) ได้จัดการเสวนาเรื่อง 'โอกาสประชาคมโลกจากการปฏิรูปเชิงลึกของจีนยุคใหม่' เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) กรุงเทพมหานคร 

     โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาคมโลกเข้าใจนโยบายดำเนินการปฏิรูปเชิงลึกของประเทศจีนหลังการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่20 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา

       ซึ่งภายในงานได้มีการจัดแสดงภาพผลงานสร้างสรรค์ของนักเรียนนักศึกษาในหัวข้อ 'ความทันสมัยที่มีอัตลักษณ์ของจีนในสายตาของฉัน'โดย นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมถ่ายภาพกับคณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ท่ามกลางสื่อมวลชนที่มารายงานข่าวกว่า 20 สื่อ

      นายเซิ่น ไห่สง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสื่อสารมวลชนและผู้อำนวยการ China Media Group (CMG) ได้กล่าวผ่านคลิปวิดิโอความว่า CMG มุ่งมั่นที่จะบอกเล่าเรื่องราวของการปฏิรูปและการเปิดประเทศของจีน รวมถึงเรื่องราวของความทันสมัยแบบจีนมาโดยตลอด พร้อมทั้งสร้างสะพานและสายสัมพันธ์ระหว่างจีนกับทั่วโลกอย่างแข็งขัน เพื่อการแลกเปลี่ยน การเจรจา และการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  

      นายหลี่ เฟิง รองผู้อำนวยการ และ บรรณาธิการใหญ่ CMG ASIA-PACIFIC ได้กล่าวต้อนรับผู้มีเกียรติทุกท่านว่า ทาง CMG ได้จัดการเสวนาเรื่อง โอกาสประชาคมโลกจากการปฏิรูปเชิงลึกของจีนยุคใหม่ ขึ้นในประเทศไทย

     ซึ่งการประชุมใหญ่ครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ 20 ได้รับรอง ได้รับรองมติอย่างเป็นทางการ ว่าด้วย การปฏิรูปรอบด้านอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเพื่อเดินหน้าการสร้างความทันสมัยแบบจีน ทาง CMG จึงได้จัดการเสวนา เพื่อแบ่งปันเรื่องนี้กับประเทศไทย

จีนยุคใหม่

     ด้าน ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ได้กล่าวว่า การปฏิรูปเชิงลึกของจีนในยุคใหม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ลึกซึ้ง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่เพียงแต่เปลี่ยนโฉมภูมิทัศน์ของจีนเท่านั้น แต่ยังสร้างโอกาสมากมายสำหรับระดับโลก ทั้งการทำงานร่วมกัน เทคโนโลยี และ นวัตกรรมที่แลกเปลี่ยนกัน หนึ่งในประเด็นที่น่าจับตามองมากที่สุดคือ การศึกษาของจีน

      โดยเฉพาะความมุ่งมั่นของจีนต่อความพัฒนาความก้าวหน้าทางการศึกษา อันจะเห็นได้จากการให้ความสำคัญการลงทุนด้านการวิจัย การพัฒนา และความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ อันเป็นการเปิดช่องทางใหม่ๆ สำหรับสถาบันการศึกษาทั่วโลกในการมีส่วนร่วมและสร้างความร่วมมือที่ประสบผลสำเร็จไปด้วยกัน 

      หลังจากผู้จัดและผู้ร่วมจัดงานได้กล่าวต้อนรับ ได้มีช่วงเวลาสำคัญของงาน คือ การกล่าวปาฐกถาโดย นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ซึ่งได้เปิดเผยว่า ปีนี้ถือเป็นวันครบรอบ 75 ปีของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และปีหน้าจะครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและไทย

      เรายินดีที่จะทำงานร่วมกับเพื่อนจากทุกสาขาอาชีพในประเทศไทย เพื่อปฏิบัติตามเป้าหมายของการสร้างชุมชนจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกันที่กำหนดโดยผู้นำของทั้งสองประเทศ สนับสนุนซึ่งกันและกัน และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดบนเส้นทางสู่ความทันสมัยของเรา ส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ไทยให้ดียิ่งขึ้น และเขียนบทใหม่ในยุคจีนและไทยเป็นครอบครัวเดียวกัน

       โดย นายหาน จื้อเฉียง  กล่าวต่อไปว่า เมื่อสักครู่ได้มีโอกาสเยี่ยมชมผลงานศิลปะของนักเรียน นักศึกษาไทยที่สร้างสรรค์รูปด้วยตัวเองเกี่ยวกับการพัฒนาของประเทศจีนและความสัมพันธ์จีน-ไทย มีความรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก

      ซึ่งทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความใกล้ชิด มีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับประเทศจีน โดยมีนักศึกษาชาวจีนจำนวน 2,000 กว่าคนมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ขณะที่ทางการจีนพร้อมสนับสนุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาให้กับมหาวิทยาลัยแห่งนี้

      ทางด้านนายลิขิต วรานนท์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและสร้างดาวเทียมสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาถึงโครงการความร่วมมือด้านการสำรวจดวงจันทร์ไทย-จีนว่า ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีการร่วมมือกันทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

       อย่างเช่น องค์การความร่วมมือด้านอวกาศภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค หรือ APSCO (Asia-Pacific Space Cooperation Organization) ซึ่งเป็นองค์การที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอวกาศหลากหลายกิจกรรม อย่างเช่นการพัฒนาดาวเทียม และการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านการพัฒนากำลังคน ผ่านการมอบทุนการศึกษา และเปิดโอกาสให้นักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมในมิติต่างๆ     

      นายไกรสินธุ์ วงศ์สุรไกร กรรมการเลขาธิการสภาธุรกิจไทย-จีน และ รองเลขาธิการสภาหอการค้าฯ กล่าวว่า สำหรับมติจากการประชุมของจีนเกี่ยวกับการปฏิรูปอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น และการผลักดันความทันสมัยแบบจีนให้ก้าวหน้านั้น มีจุดหนึ่งที่เห็นว่า พวกเราควรนำมาศึกษาและหาทางนำมาปรับใช้ในประเทศไทย คือการพัฒนาสู่ความทันสมัย อันคงไว้ซึ่งรูปแบบของประเพณี และวัฒนธรรมดั้งเดิม 

       ดร.วิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน เปิดเผยว่า ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ที่เสนอโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ช่วยให้โลกเชื่อมต่ออย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การขยายการเปิดประเทศระดับสูงเพิ่มเติมของจีนจะนำโอกาสมาสู่เศรษฐกิจโลก

      ดร.กำพล มหานุกูล นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน กล่าวปาฐกถาก่อนจบงานความว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มากล่าวถึงความสัมพันธ์ไทย-จีน ในมุมมองของสื่อมวลชน ซึ่งถือเป็นแนวหน้าของการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศทั้งสอง ยิ่งในวาระอันสำคัญนี้ ยิ่งเป็นโอกาสอันดีที่สื่อมวลชนจะได้ติดตาม เรียนรู้ ทำความเข้าใจไปด้วยกัน

#จีน #ไทย #หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง #BRI #cctv #cgtn #cmg

 

Click Donate Support Web 

TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!