WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

อังกฤษเปิดการประชุม Conference on Inclusive Capitalism หวังผลักดันความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในระบบทุนนิยม

ลอนดอน--26 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

   เหล่าชายและหญิงผู้ควบคุมสินทรัพย์สภาพคล่องสัดส่วนหนึ่งในสามของโลก รวมตัวกันเพื่อร่วมกันสรุป และผลักดันให้ความยุติธรรมเป็นรากฐานในการทำธุรกิจทั่วโลก

    ความเสมอภาค โอกาส และความรับผิดชอบ เป็นหัวใจหลักของการประชุมพิเศษ ณ กรุงลอนดอน ซึ่งบรรยายโดยคลินตัน ลาการ์ด และคาร์นีย์

   การประชุมว่าด้วยทุนนิยมที่ครอบคลุม (Conference on Inclusive Capitalism) เปิดทางให้ภาคธุรกิจและเหล่านักลงทุนก้าวเป็นผู้นำ ในการปรับเทียบทางสังคมหลังวิกฤติการเงิน

    วิทยากร: เจ้าฟ้าชายแห่งเวลส์ - บิล คลินตัน คริสติน ลาการ์ด มาร์ค คาร์นีย์ ลอว์เรนซ์ เอช ซัมเมอร์ส พอล โพลแมน เซอร์ ชาร์ลีย์ เมย์ฟิลด์ จิน หลี่กุน อีริก ชมิดต์ ลอร์ด เดวิด เซนส์เบอรี่

    คณะผู้แทนจากทั่วโลกทั้ง 250 ราย จาก 37 ประเทศ และ 35 ภาคธุรกิจ มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการเป็นมูลค่าราว 30 ล้านล้านดอลลาร์ หรือหนึ่งในสามของโลก

    การประชุมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนครั้งนี้ เป็นการรวบรวมบรรดาผู้นำจากเหล่านักลงทุนสถาบัน ผู้จัดการกองทุน องค์กร กองทุนความมั่งคั่งแห?งชาติ และสถาบันการเงินชั้นนำจากทั่วโลก เพื่อเข้าร่วมการประชุมในวันนี้ โดยคณะผู้แทนของการประชุม Conference on Inclusive Capitalism มีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือเพื่อค้นหาแนวทางปฏิบัติในการกำหนดระบบนายทุนครั้งใหม่ เพื่อก่อให้เกิดกลไกที่ครอบคลุม ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสอันดีทางเศรษฐกิจและความรุ่งเรืองร่วมกัน

   การอภิปรายว่าด้วยบทบาทและจุดประสงค์ของธุรกิจนี้ได้ถือกำเนิดขึ้นนับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤติการเงิน เหล่าผู้นำต่างตั้งคำถามว่า ภาคสาธารณะจะเดินหน้าสนับสนุนระบบที่ส่งเสริมความไม่เสมอภาค อีกทั้งเปิดโอกาสหรือแม้แต่ให้รางวัลแก่พฤติกรรมที่ขัดต่อศีลธรรม และเหยียบย่ำความสำคัญของเป้าหมายทางสังคม โดยเน้นผลลัพธ์การดำเนินงานในไตรมาสต่อไปเป็นหลักหรือไม่

   ดังนั้น เพื่อทำให้ระบบทุนนิยมและตลาดเสรี มีความครอบคลุมกับสังคมโดยรวม จึงจำเป็นต้องมีเสียงตอบรับที่แข็งกร้าว และได้รับความร่วมมือจากเหล่าผู้ที่มีอำนาจ ผลกระทบจากนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ก่อตัวอย่างรวดเร็ว ประกอบกับกระแสโลกาภิวัตน์ที่ขยายตัวต่อเนื่องในธุรกิจและแนวคิดดำเนินงาน ตลอดจนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงก่อให้เกิดเสียงตอบรับอันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจำเป็นกว่าที่เคยมีมา

    เนื่องด้วยความสำเร็จของบุคคลทั่วไป รวมถึงขนาดของทรัพยากรที่มีอยู่ การประชุม Conference on Inclusive Capitalism ครั้งนี้ จึงถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งภาคธุรกิจสามารถก้าวขึ้นมา เพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ที่เป็นอยู่

    การประชุม Conference on Inclusive Capitalism ยังให้การสนับสนุนทุกความพยายาม ที่จะส่งเสริมผลประโยชน์เชิงสังคมและเศรษฐกิจของการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม การประชุม Conference on Inclusive Capitalism เชื่อว่ามีขอบข่ายการดำเนินงานอยู่ 3 ประการ ที่ภาคธุรกิจจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญและลึกล้ำ ซึ่งเป็นประเด็นที่การประชุมจะมุ่งเน้นได้แก่:

   การส่งเสริมพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบ ซึ่งสนับสนุนความซื่อสัตย์และหลักความยุติธรรมของระบบ พร้อมคุ้มครองผลประโยชน์แก่บุคคลและบริษัทที่ทำงานภายในระบบ

   การสร้างบันไดสู่โอกาสทางเศรษฐกิจผ่านการยกระดับการให้ความรู้ อบรมทักษะ สร้างงาน และนวัตกรรม

   การลงทุนระยะยาวโดยเน้นไปที่ผลตอบแทนสูงสุด สำหรับผู้ที่เดิมพันกับเสถียรภาพของระบบทุนนิยม แทนที่จะเน้นแค่เพียงผลตอบแทนรวดเร็วที่สุดสำหรับผู้ถือหุ้น

   “การประชุม Conference on Inclusive Capitalism มีจุดประสงค์ที่จะรับมือกับความคลาดเคลื่อนอันร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากระบบทุนนิยมที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลากว่า 30 ปี เช่น การสูญเสียความเชื่อมั่นของสาธารณชนที่มีต่อธุรกิจ ความไม่เสมอภาคทางรายได้ที่สูงขึ้นทั่วโลก แนวโน้มหวังผลในระยะสั้นๆในตลาดเงินทุน รวมถึงปัญหาต่างๆในแง่ของศีลธรรมและคุณค่าของระบบ เมื่อกล่าวถึงสาระสำคัญแล้ว การประชุม Conference on Inclusive Capitalism ให้ความสำคัญในการกอบกู้บทบาทของระบบทุนนิยม ในฐานะกลไลสู่โอกาสสำหรับทุกๆคนลินน์ ฟอเรสเตอร์ เดอ โรธส์ไชลด์ ซีอีโอของ EL Rothschild เจ้าภาพร่วมและผู้ก่อตั้งการประชุม Conference on Inclusive Capitalism กล่าว เราจะต่อสู้กับความไม่เสมอภาคของความหวัง ที่ปรากฎอยู่ในระบบทุกๆวันนี้ ด้วยการประชุม Conference on Inclusive Capitalism”

   นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ และวิทยากรหลัก กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมา เหล่านักเศรษฐศาสตร์ได้ประเมินความสำคัญของความไม่เสมอภาคต่ำไป โดยนักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ต่างเน้นไปที่การขยายตัวของเศรษฐกิจและตัวเลขบนกราฟ มากกว่าการกระจายตัว แต่ในปัจจุบัน เรามีความตระหนักมากขึ้นต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความไม่เสมอภาค ยกตัวอย่างง่ายๆคือ การกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันอย่างรุนแรง สามารถบั่นทอนการขยายตัวและความยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งอาจนำไปสู่การกีดกันทางเศรษฐกิจ รวมถึงศักยภาพที่ถูกมองข้ามไปเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ การเล็งเห็นถึงข้อเท็จจริงจากการประชุมว่าด้วยระบบทุนนิยมที่ครอบคลุมครั้งนี้ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสู่อนาคตอันรุ่งเรืองในระยะยาวสำหรับทุกๆคน

    นายพอล โพลแมน ซีอีโอของ Unilever และผู้แทนการประชุม กล่าวว่า สาระสำคัญของระบบทุนนิยมกำลังตกอยู่ภายใต้การคุกคาม เราจึงจำเป็นต้องชี้ทางสู่เหตุผลแก่ชาวโลก และยกให้ผลประโยชน์ส่วนร่วมมาก่อนส่วนตน โดยการรวมตัวกันของบรรดาผู้นำทางธุรกิจและการเงินทั่วโลก ถือเป็นโอกาสให้เราสามารถก้าวถึงจุดเปลี่ยน ซึ่งภาคธุรกิจ รัฐบาล และการเงินได้ร่วมมือกัน เพื่อยกระดับโครงสร้างทางจริยธรรมในรูปแบบใหม่สู่การขยายตัวในภายภาคหน้า

    ฟิโอนา วูลฟ์ นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน และเจ้าภาพร่วมของการประชุม Conference on Inclusive Capitalism กล่าวว่า ระบบทุนนิยมแบบครอบคลุมไม่ได้เป็นเพียงแนวคิดที่ดีเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญหากระบบทุนนิยมต้องการจะอยู่ยืนยงต่อไป คุณไม่จำเป็นต้องเป็นนักเศรษฐศาสตร์ เพื่อที่จะวิตกกังวลเกี่ยวกับทิศทางของความไม่เสมอภาคที่เกิดขึ้นอยู่ ทั้งนี้หากระบบทุนนิยมนั้นเป็นเรื่องของการรับใช้มนุษยชาติ ก็จำเป็นต้องเฟ้นหาแนวทางที่ครอบคลุมผู้คนในภาคส่วนที่มากกว่าเดิม ด้วยวิธีที่มากกว่าเดิมผ่านการตอบแทน นี่เป็นความท้าทายของเรา ซึ่งเราต้องยอมรับมัน

สื่อมวลชนทั้งหมด

   การประชุมจะถูกจัดขึ้นภายใต้กฎ Chatham House Rule ยกเว้นการกล่าวสุนทรพจน์ของวิทยากรหลัก ซึ่งจะถูกการบันทึกการบรรยายในงาน

    สามารถรับชมการถ่ายทอดสดการประชุมได้ที่ https://www.ft-live.com/ft-events/conference-on-inclusive-capitalism/sessions/live-stream

          9:05 น. - เจ้าฟ้าชายแห่งเวลส์

          9.15 น. คริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

          13:35 น. ลอว์เรนซ์ เอช ซัมเมอร์ส ศาสตราจารย์ตำแหน่ง Charles W. Eliot จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

          17:00 น. ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ Clinton Foundation และประธานาธิบดีคนที่ 42 ของสหรัฐอเมริกา

          20:00 น. มาร์ค คาร์นีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ

    เนื่องจากการประชุมครั้งนี้อยู่ภายใต้กฎ The Chatham House Rule เราจึงไม่สามารถตอบรับคำร้องจากสื่อมวลชนที่ต้องการเข้าร่วมการประชุมได้

    รายการอภิปรายข้างต้นจะถูกรวบรวมโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ส และถ่ายทอดสดผ่าน LiveU ด้วยมาตรฐานความคมชัดปกติ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อขอรับฟีดได้ทาง inclusivecapitalism.press@edelman.com

    กรุณาติดต่อสำนักงานสื่อมวลชนที่ Inclusivecapitalism.press@edelman.com หากต้องการขอรับการสัมภาษณ์ร่วมกับโฆษกการประชุม

    เกี่ยวกับการประชุม Conference on Inclusive Capitalism

     แนวคิดในการจัดการประชุม Conference on Inclusive Capitalism ถือกำเนิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2555 เพื่อตอบรับคำเชิญของเทศบาลนครลอนดอนถึง E.L Rothschild เพื่อจัดการประชุมครั้งสำคัญระดับโลก ซึ่งจะมอบแนวทางการดำเนินงานสำหรับบรรดานักลงทุนและธุรกิจต่างๆ ในการตอบรับผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นมากมายจากวิกฤติการเงิน เช่น ความไม่เสมอภาคทางรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ข้อครหาระดับองค์กรขนาดใหญ่และทางการเงิน รวมถึงการสูญเสียความเชื่อมั่นของสาธารณชนที่มีต่อธุรกิจ อัตราการว่างงานที่สูงเป็นประวัติการณ์อย่างยาวนาน และแนวทางดำเนินงานระยะสั้นๆในการบริหารจัดการและเป็นเจ้าของบริษัท

   การประชุมจัดขึ้นโดย E.L. Rothschild ร่วมกับ Financial Times Live, Edelman และอาสาสมัครรายอื่นๆอีกมากมาย รวมถึงการสนับสนุนอันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จากเหล่าองค์กรต่างๆ ซึ่งได้แก่ มูลนิธิ Tony Elumelu Foundation จากแอฟริกา, มูลนิธิ Rockefeller Foundation และ Ford Foundation จากสหรัฐอเมริกา, มูลนิธิ Gatsby Charitable Foundation และ Blavatnik Family Foundation จากสหราชอาณาจักร, เครือ Sunshine Kaidi New Energy Group จากจีน และสถาบัน Entrepreneurial Citizenship Institute (ICE) จากบราซิล

   ระบบทุนนิยมแบบครอบคลุม (Inclusive Capitalism) เป็นคำที่เกิดขึ้นจากความพยายามของผู้คนที่ต้องการทุนนิยมอย่างมีจิตสำนึก ศีลธรรม และเหมาะสมถูกต้อง ตลอดจนความพยายามต่างๆนานาที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกมีความยั่งยืนมากกว่าเดิม โดยทำให้เศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับสังคมและโลก ความพยายามทั้งหมดตั้งอยู่บนจุดยืนที่ว่า ระบบทุนนิยมจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนในวงกว้างเพื่อการเติบโต ซึ่งจะดำรงรักษาได้หากตลาดสามารถส่งมอบผลประโยชน์ด้านรายได้และมาตรฐานความเป็นอยู่อย่างกว้างขวาง ระบบทุนนิยมแบบครอบคลุมเล็งเห็นว่า แรงจูงใจด้านรายได้เพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถพึ่งพาได้มากนักสำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาความไม่เสมอภาค การฉ้อโกง และการบั่นทอนความเชื่อมั่น หรือความเสียหายต่อภาคสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมทั่วโลก หัวใจหลักของการประชุมมองว่า บรรดาธุรกิจและนักลงทุนต้องตระหนักถึงบทบาทของตนเอวในสังคมนอกเหนือไปจากผลการดำเนินงาน และมีความรับผิดชอบเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองเมื่อสาธารณชนขาดความเชื่อมั่นที่มีต่อตลาด

  การประชุม Conference on Inclusive Capitalism จะตีพิมพ์บทความที่เขียนโดยเหล่าผู้ร่วมการประชุม เพื่อเป็นมรดกตกทอด โดยบทความดังกล่าวจะประกอบไปด้วยข้อเสนอจากผู้ร่วมการประชุม เพื่อทำให้ระบบทุนนิยมมีความครอบคลุมมากขึ้น สำหรับข้อมูลอัพเดทและความคืบหน้า ในการทำให้ระบบทุนนิยมมีความครอบคลุมยิ่งขึ้น สามารถรับชมได้ที่ http://www.conferenceoninclusivecapitalism2014.com ภายหลังการประชุมปิดฉากลง นอกจากนี้ยังจะมีการเปิดเผยภาพเคลื่อนไหวจากการประชุม รวมถึงการสัมภาษณ์กับผู้ร่วมงาน และไฮไลท์ของความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นผู้นำทางความคิด จากคณะผู้แทนว่าด้วยระบบทุนนิยมแบบครอบคลุม

           แหล่งข่าว: การประชุม Conference on Inclusive Capitalism

           บริษัท อินโฟเควสท์ จำกัด 888/178 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 17  ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 02-253-5000 อีเมล: mr@infoquest.co.th   เว็บไซต์ www.infoquest.co.th

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!