WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการศึกษาเผยการโฆษณาผ่านแอพมือถือ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมทำให้ผู้บริโภคอยากซื้อสินค้ามากขึ้น

         เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส และซานฟรานซิสโก--(บิสิเนส ไวร์)--16 มิ.ย. 2557

         ผลการศึกษาที่อ้างอิงจากการแสดงออกทางใบหน้า ไบโอเมตริก และการสำรวจโดย Kiip และ IPG Media Lab พบว่า ในการโฆษณาผ่านทางแอพพลิเคชั่นมือถือนั้น การโฆษณาแบบเสนอรางวัลกระตุ้นให้ผู้บริโภคอยากมีส่วนร่วมมากกว่าแบนเนอร์โฆษณา

         Kiip ร่วมกับ IPG Media Lab ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ IPG Mediabrands เปิดเผยผลการศึกษาประสิทธิภาพของการโฆษณาแบบอิงช่วงเวลาที่มีความครอบคลุมเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรม โดยนายแชด สโตลเลอร์ หุ้นส่วนผู้จัดการของ IPG Media Lab และนายไบรอัน หว่อง ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Kiip ได้เปิดเผยผลการค้นพบครั้งสำคัญจากการศึกษาดังกล่าวเป็นครั้งแรก ณ เทศกาล Cannes Lions International Festival of Creativity โดยแสดงให้เห็นว่า การเสนอรางวัลในช่วงเวลาที่เหมาะสมระหว่างที่ผู้บริโภคกำลังใช้แอพมือถือนั้น จะช่วยขับเคลื่อนความตั้งใจซื้อและความพึงพอใจในแบรนด์ได้มากกว่าแบนเนอร์โฆษณาแบบดั้งเดิ

         นายสโตลเลอร์ กล่าวว่า “ข้อมูลของเราบ่งชี้ว่า การเสนอรางวัลเปิดโอกาสให้แบรนด์ต่างๆ สามารถแสดงความยินดีกับผู้บริโภคในช่วงเวลาที่ผู้บริโภครู้สึกมีความสุข ความสนใจ และอยากมีส่วนร่วมมากที่สุด ทั้งนี้ การใช้ข้อมูลเชิงลึกของเราจัดการกับความท้าทายทางการตลาดว่าด้วยการใช้สื่อทางมือถืออย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้แบรนด์ต่างๆสามารถกระตุ้นความสนใจของลูกค้าได้ด้วยวิธีการที่แปลกใหม่และมีประสิทธิภาพ”

         นายหว่อง กล่าวว่า “ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การเสนอรางวัลเป็นกลยุทธ์การตลาดทางมือถือที่เหนือกว่าแบนเนอร์โฆษณา สิ่งนี้พิสูจน์ว่า Kiip สามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจในแบรนด์ได้ด้วยการเสนอรางวัลตามพฤติกรรมของผู้บริโภค และเข้าถึงผู้บริโภคในช่วงเวลาที่พวกเขารู้สึกว่าอยากมีส่วนร่วมสูงสุดและเปิดใจมากที่สุด นี่เป็นบทพิสูจน์ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาสำหรับโมเดลการตลาดแบบอิงช่วงเวลาของเรา และน่าจะทำให้บรรดานักการตลาดที่อาศัยแต่แบนเนอร์โฆษณาหันมาพิจารณากลยุทธ์การโฆษณาทางมือถือเสียใหม่”

         การศึกษานี้เป็นการสำรวจผู้บริโภคจำนวน 1,344 ราย โดยใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกและการถอดรหัสการแสดงออกทางใบหน้าล่าสุด และมีการประเมินปฏิกิริยาตอบสนองต่อโฆษณาทางมือถือแบบต่างๆในช่วงเวลาสัมฤทธิผล ซึ่งเป็นช่วงเวลาพิเศษเมื่อผู้บริโภคบรรลุเป้าหมายต่างๆระหว่างการใช้แอพ การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวัดผลด้านต่างๆ ได้แก่

         - อารมณ์และระดับความเข้มข้นของอารมณ์ ณ ช่วงเวลาสัมฤทธิผล
         - ระดับการตอบสนองของผู้บริโภคต่อรางวัลเมื่อเทียบกับโฆษณา
         - การจดจำแบรนด์
         - ระดับความพึงพอใจและการรับรู้แบรนด์
         - ความตั้งใจซื้อ

         ตัวอย่างของช่วงเวลาสัมฤทธิผลประกอบด้วย การเคลียร์รายการสิ่งที่ต้องทำใน to-do list การลงบันทึกการออกกำลังกาย การจัดรายชื่อเพลงเข้าเพลย์ลิสต์ การทำบุ๊กมาร์กสูตรอาหารใหม่ๆ และการเลเวลอัพในเกม เป็นต้น ทั้งนี้ บรรดาแบรนด์ต่างๆจากอุตสาหกรรมความบันเทิง CPG และยานยนต์ ได้ร่วมจัดหารางวัลในการวิจัยครั้งนี้

         รางวัลมีส่วนช่วยเพิ่มความตั้งใจซื้อ

         ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคทางมือถือมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่นำเสนอรางวัลในช่วงเวลาอันเหมาะสมมากกว่า เมื่อเทียบกับการนำเสนอเพียงแบนเนอร์โฆษณา

         1. ความตั้งใจซื้อ – การนำเสนอรางวัลทำให้ความตั้งใจซื้อของลูกค้าพุ่งขึ้นถึง 82% เมื่อเทียบกับแบนเนอร์โฆษณาที่ขยับขึ้นเพียง 6% และการนำเสนอรางวัลในช่วงเวลาที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นความตั้งใจซื้อของลูกค้ามากกว่าถึง 14 เท่า
         2. ความดึงดูดใจในวงกว้าง – การนำเสนอรางวัลสามารถกระตุ้นความตั้งใจซื้อได้มากกว่าแบนเนอร์โฆษณา ไม่ว่าจะเป็นแอพประเภทใด (เช่น แอพแนว Productivity และเกม) หรืออุตสาหกรรมใดก็ตาม (เช่น CPG, ยานยนต์ และบันเทิง)

         รางวัลสร้างผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจในแบรนด์

         ผลการวิจัยพบว่า การนำเสนอรางวัลมีประสิทธิภาพมากกว่าแบนเนอร์โฆษณาในหลายๆด้าน ได้แก่

         1. การรับรู้แบรนด์ – การนำเสนอรางวัลมีประสิทธิภาพมากกว่าแบนเนอร์โฆษณาในแง่ของการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ (เช่น คุณภาพแบรนด์ และความเคารพต่อแบรนด์) ในทุกสภาพแวดล้อมที่ใช้ประกอบการทดสอบ ยกตัวอย่างเช่น รางวัลทำให้ความเคารพต่อแบรนด์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 14% ขณะที่แบนเนอร์โฆษณาทำให้ความเคารพต่อแบรนด์ลดลง 7%
         2. ความสามารถในการจดจำและความพึงพอใจต่อแบรนด์ – แม้ว่าแบนเนอร์โฆษณาจะทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้มากกว่ารางวัล แต่ผลการวิจัยค้นพบว่าการโฆษณาประเภทนี้ส่งผลเสียต่อแบรนด์ โดยทำให้ความพึงพอใจแบรนด์ลดลง 6% ขณะที่การนำเสนอรางวัลจากแบรนด์เดียวกันส่งผลให้ความพึงพอใจแบรนด์เพิ่มขึ้น 10%

         สามารถรับชมรายงานฉบับเต็มได้ที่: http://labt.ag/1mSnwHt 

         เกี่ยวกับ Kiip 

         Kiip (อ่านว่า “คีพ”) เป็นผู้กำหนดนิยามใหม่ในการเชื่อมโยงแบรนด์กับผู้บริโภค ผ่านการนำเสนอรางวัลแบบอิงช่วงเวลา โดยเฉพาะใน “ช่วงเวลาสัมฤทธิผล” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้บริโภคบรรลุเป้าหมายในการใช้แอพต่างๆในชีวิตประจำวัน กลยุทธ์การตลาดบนมือถือแบบใหม่นี้กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญ โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากความรู้สึกเชิงบวกระหว่างผู้ใช้งาน ผู้พัฒนาแอพ และนักโฆษณา ทั้งนี้ บริษัทได้รับการสนับสนุนจาก Hummer Winblad, Relay Ventures, True Ventures, Verizon Ventures, Digital Garage, IPG และอื่นๆอีกมากมาย จนสามารถระดมทุนได้ถึง 15.4 ล้านดอลลาร์ ณ ปัจจุบัน

         เกี่ยวกับ IPG Media Lab 

         IPG Media Lab เป็นองค์กรวิจัย ทดสอบ และสร้างความเปลี่ยนแปลง เราช่วยให้บรรดาสื่อมวลชนและบริษัทโฆษณาสามารถคว้าโอกาสทางการสื่อสารที่เกิดขึ้นมาใหม่ได้ ด้วยการนำเสนอความชำนาญ ทรัพยากร และบริการให้คำปรึกษา เพื่อขับเคลื่อนผลลัพธ์ การเรียนรู้ และกลยุทธ์ที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ IPG Media Lab เป็นส่วนหนึ่งของ IPG Mediabrands บริษัทด้านนวัตกรรมสื่อและการลงทุนในเครือ IPG สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ipglab.com หรือติดตาม @ipglab

         สามารถรับชมรูปภาพและสื่อมัลติมิเดียได้ที่
         http://www.businesswire.com/multimedia/home/20140616006205/en/

         ติดต่อ: 
         ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Kiip
         Katy Kenealy
         โทร. 801-828-6056
         อีเมล: katy@methodcommunications.com
         หรือ
         IPG Mediabrands/IPG Media Lab
         Rachael Wolfson
         โทร. 212-883-4749
         อีเมล: Rachael.wolfson@mbww.com
         Daniel Friedman
         โทร. 212-883-4780
         อีเมล: Daniel.friedman@mbww.com

 
หมายเหตุ:

ไทย บิสิเนส นิวส์ คือผู้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ซึ่งส่งจากบริษัทและองค์กรหลายพันแห่งทั่วโลกไปยัง สื่อมวลชน ตลาดการเงิน นักลงทุน เว็บไซต์สำหรับให้บริการข้อมูล ฐานข้อมูล ฯลฯ 

ไทย บิสิเนส นิวส์ เป็นธุรกิจในเครือบริษัท สตูดิโอ มาเจนตา ลิมิเต็ด (Studio Magenta Limited) จัดตั้ง ขึ้นในปีพ.ศ. 2547 เพื่อแปลและเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ โดยท่านสามารถนำข่าวประชาสัมพันธ์ดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อในบริการและสื่อของท่านได้ 

หากท่านสนใจลงทะเบียนรับข่าวของไทย บิสิเนส ไวร์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หรือต้องการดูข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด กรุณาเยี่ยมชมที่เว็บไซต์ http://www.thaibusinessnews.com/

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!