WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

12614 UNHCRการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย ได้รับคำมั่นสัญญาที่จะดำเนินการให้ผู้ลี้ภัยเป็นส่วนหนึ่งในสังคม การพัฒนาการศึกษา และการจ้างงาน

          ในการประชุมระดับสูง ณ นครเจนีวา รัฐบาล สถาบันการเงินนานาชาติ ผู้นำทางธุรกิจ นักมนุษยธรรม นักพัฒนา ผู้ลี้ภัย และตัวแทนจากภาคประชาสังคม ได้ให้คำมั่นสัญญาร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและครอบคลุมหลากหลายหัวข้อเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและชุมชนที่มอบที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะคำมั่นสัญญาที่สำคัญสำหรับการช่วยเหลือในระยะยาวที่เป็นเรื่องใหม่ นั่นคือการให้ผู้ลี้ภัยเป็นส่วนหนึ่งในสังคม

          จากการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยที่มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดกว่า 3,000 คน รวมถึงผู้ลี้ภัย และคณะผู้แทนอีกกว่า 750 คน ทุกภาคส่วนได้ให้คำมั่นสัญญารวมทั้งหมด 770 เรื่องในหลากหลายหัวข้อ โดยคำมั่นสัญญาดังกล่าวรวมถึงการจ้างงาน การให้สิทธิ์เด็กผู้ลี้ภัยเข้ารับการศึกษาในโรงเรียน นโยบายใหม่ๆ จากรัฐบาล และทางออกอื่นๆ เช่น การตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม การใช้พลังงานสะอาด การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการสนับสนุนชุมชนและประเทศที่มอบที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยเพิ่มมากขึ้น

          การสนับสนุนส่วนใหญ่มาจากรัฐบาล ภาคประชาสังคม กลุ่มผู้ลี้ภัยเอง รวมถึงสมาคมกีฬา กลุ่มศาสนา และภาคเอกชน แสดงให้เห็นว่าการร่วมมือ คือ กุญแจสู่ความสำเร็จในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและประเทศรองรับผู้ลี้ภัยที่ยังมีความขาดแคลนด้านทรัพยากร

          ติดตามคำมั่นสัญญาทั้งหมดจากการประชุมได้ที่นี่ นอกจากนี้ยังมีคำมั่นอีกส่วนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เช่น การเพิ่มตำแหน่งงาน การจัดหาสถานศึกษา และการลดความยากจน โดยมีการตรวจวัดความคืบหน้าเป็นระยะ และการประชุมติดตามผลจะเกิดขึ้นในอีก 2 ปี

          “การสนับสนุนผู้ขอลี้ภัยจากสาธารณชนนั้นมีความสั่นคลอนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และหลายๆ ครั้งชุมชนต่างๆ ที่รองรับผู้ลี้ภัย รู้สึกจมอยู่กับปัญหาหรือถูกลืม” ฟิลลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กล่าว “ที่จริงแล้วสถานการณ์ผู้ลี้ภัยกลายเป็นวิกฤตได้ เพียงเพราะเราปล่อยให้มันเกิดขึ้น เราคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เราเผิกเฉยต่อการวางแผนหรือทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วน และเรามองข้ามชุมชนต่างๆ ที่ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัย ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ทำให้เราได้เห็นการตัดสินใจร่วมกันในการเปลี่ยนแนวทางไปสู่การหาทางออกในระยะยาว”

          จากการวิเคราะห์เบื้องต้นระบุว่า มีคำมั่นหลักในการสนับสนุนด้านงบประมาณเช่นกัน กลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) ได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะมอบเงินจำนวนกว่า 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ผ่านงบประมาณ Funding Window ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผู้ลี้ภัยและชุมชนที่ให้ที่พักพิง รวมถึงพิจารณาจัดตั้งงบประมาณ Funding Window อีกส่วนเพื่อกระตุ้นความร่วมมือภาคเอกชนและการจ้างงานผู้ลี้ภัยและชุมชนที่ให้ที่พักพิง นอกจากนี้ยังมีการประกาศจากธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างทวีปอเมริกา (Inter-American Development Bank) อีกเป็นจำนวน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ รวมถึงอีกหลายรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและชุมชนที่มอบที่พักพิงจำนวนกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งหมดนี้เพื่อมุ่งเน้นการส่งเสริมการอยู่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของผู้ลี้ภัย และการพัฒนาในระยะยาวสำหรับชุมชนที่รองรับผู้ลี้ภัย คำมั่นสัญญามุ่งเน้นที่จะให้ความช่วยเหลือส่วนใหญ่ไปที่ผู้ลี้ภัยซึ่งมีจำนวน 25.9 ล้านคนทั่วโลก ที่ต้องพลัดถิ่นเป็นเวลาหลายปี หรือแม้แต่หลายทศวรรษ

          ภาคเอกชนได้ให้คำมั่นสัญญาที่ครอบคลุมหลากหลายประเด็นที่สุดเท่าที่เคยมีมาเพื่อช่วยเหลือผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่น โดยเฉพาะการสนับสนุนการจ้างงานผู้ลี้ภัย ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการคืนศักดิ์ศรีแก่ผู้ลี้ภัยและให้พวกเขาได้ตอบแทนให้ชุมชนที่มอบที่พักพิง นอกจากคำมั่นสัญญาด้านมนุษยธรรมและการพัฒนาแล้ว กลุ่มธุรกิจต่างๆ ยังให้คำมั่นสัญญาในการสนับสนุนงบประมาณอีกกว่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐ และยังมีการจัดหางานอย่างน้อย 15,000 ตำแหน่งเพื่อผู้ลี้ภัยที่เกิดขึ้นจากการประชุมครั้งนี้ และยังได้รับบริการให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายอีกกว่า 125,000 ชั่วโมงต่อปี

          การประชุมครั้งนี้ มุ่งเน้นที่ 6 ประเด็นหลัก ได้แก่ การศึกษา การจ้างงาน พลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน ความรับผิดชอบร่วมกัน การให้ความคุ้มครอง และทางออกด้านต่างๆ เช่น การตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม โดยคำมั่นส่วนใหญ่เน้นในด้านการให้ความคุ้มครองและการศึกษา โดยเรื่องแรกเกี่ยวข้องกับการปรับกฎหมายและนโยบายให้เอื้อต่อผู้ลี้ภัยที่จะอยู่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบภายในประเทศ และในเรื่องการศึกษาเกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวนเด็กผู้ลี้ภัยให้ได้ไปโรงเรียน และพัฒนาคุณภาพชีวิตในอนาคต

          คำถามที่ว่าจะสร้างรูปแบบในการเดินทางกลับประเทศโดยสมัครใจที่ปลอดภัยและดีที่สุดได้อย่างไร เป็นอีกหัวข้อหลักของการหารือ โดยได้รับคำมั่นสัญญาจากประเทศต้นทางหลายประเทศเกี่ยวกับการเดินทางกลับประเทศโดยสมัครใจ และการดำเนินการให้ผู้ลี้ภัยและชุมชนผู้พลัดถิ่นต่างๆ สามารถกลับเข้ามาอยู่ร่วมกัน

          การประชุมครั้งนี้ คือ เนื้อหาหลักของข้อตกลงโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย (Global Compact on Refugees) ที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ภายใต้ข้อตกลงนี้ การประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยจะจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี โดยการประชุมครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในพ.ศ. 2566

 


AO12614

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!