WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOI ปลื้ม นลท.ญี่ปุ่นยันจะขยายการลงทุนอุตสาหกรรมในไทยต่อไป ยกเป็นเป้าหมายหลักของกลุ่มยานยนต์

  บีโอไอเผยผลการเดินทางไปชักจูงการลงทุนใน 3 เมืองอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น โตเกียว นาโกย่า และโอซาก้า นักลงทุนญี่ปุ่นขานรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ของไทย และยืนยันจะขยายการลงทุนในไทยต่อไป กระทรวงอุตสาหกรรมและบีโอไอเตรียมจับคู่ธุรกิจรองรับเอสเอ็มอีจากญี่ปุ่นที่จะเข้ามาลงทุนในไทยด้านผู้ว่าฯ จังหวัดไอจิ แหล่งลงทุนยานยนต์ญี่ปุ่นระบุ ไทยยังเป็นเป้าหมายหลักของกลุ่มยานยนต์

  นางหิรัญญา สุจินัย รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยถึงผลการเดินทางไปชักจูงการลงทุนในประเทศญี่ปุ่น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุลรองนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย พร้อมด้วยนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะของบีโอไอ ว่า การจัดสัมมนาชี้แจงนโยบายใหม่ของบีโอไอประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ทั้งในเรื่องของความเชื่อมั่นและการชี้แจงนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยนักลงทุนญี่ปุ่นยังยืนยันที่จะขยายการลงทุนในประเทศไทยต่อไป ส่วนเรื่องนโยบายใหม่ นักลงทุนญี่ปุ่นก็เข้าใจถึงความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมที่บีโอไอและรัฐบาลหันมาให้ความสำคัญ ได้แก่ กิจการสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (International Headquarters: IHQ) และกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (International Trading Centers: ITC) รวมถึงการลงทุนเพิ่มในด้านการวิจัย พัฒนา และการฝึกอบรมบุคลากร และกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดิจิจตอลอีโคโนมี โดยเฉพาะด้านซอต์แวร์ ซึ่งเป็นนโยบายที่ทั้งบีโอไอและรัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นในไทย 

  สำหรับ การพบปะหารือกับองค์กรเอกชนชั้นนำของญี่ปุ่น ได้แก่ สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) สมาพันธ์เศรษฐกิจคันไซ (Kankeiren) และหอการค้าและอุตสาหกรรมนาโกย่า (Nagoya Chamber of Commerce&Industry)ก็สามารถสร้างความเข้าใจต่อนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยเช่นกัน

  ซึ่งภาคเอกชนญี่ปุ่นก็แสดงความสนใจต่อนโยบายที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการค้าในภูมิภาคอย่างมาก และต้องการให้มีการชี้แจงในรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนในด้านนี้   

 นอกจากนี้ การพบหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดไอจิซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมโดยเฉพาะด้านยานยนต์ของญี่ปุ่นและมีบริษัทมากกว่า 280 รายเข้ามาลงทุนในไทยอยู่แล้วนั้น ได้รับคำยืนยันว่าประเทศไทยยังเป็นเป้าหมายการลงทุนของบริษัทจากจังหวัดไอจิ และผู้ว่าราชการจังหวัดไอจิก็มีแผนการนำคณะนักธุรกิจญี่ปุ่นเดินทางมาขยายความร่วมมือทางธุรกิจกับประเทศไทยอย่างต่อเนื่องทุกปี

  ส่วนการชักชวนกิจการเอสเอ็มอีญี่ปุ่นให้เข้ามาลงทุนในไทยนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมและบีโอไอจะเน้นการให้บริการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ผ่านหน่วยงานในสังกัด เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและหน่วยพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม หรือ BUILD ของบีโอไอ เพื่อสนับสนุนให้การลงทุนของ เอสเอ็มอีญี่ปุ่นในไทยสามารถดำเนินการได้ราบรื่น โดยจะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย ซึ่งเอสเอ็มอีญี่ปุ่นมีศักยภาพในด้านการผลิต ขณะที่ผู้ร่วมทุนฝ่ายไทยจะช่วยด้านการบริหารจัดการ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!