WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOI หรญญา สจนยบีโอไอ รุกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2559 แจ้งนักลงทุนเร่งขอรับสิทธิประโยชน์ตามนโยบายรัฐบาล

      บีโอไอ เผยแผนการดำเนินงานเชิงรุกปี 2559 หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ เร่งสร้างความเข้าใจระดับภูมิภาค และต่างประเทศ  ดึงดูดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน ภายในปี 2559 เผยการลงทุนปี 2558 ก่อให้เกิดการจ้างงาน การใช้วัตถุดิบในประเทศกว่า 781,000 ล้านบาทต่อปี และสร้างรายได้จากการส่งออก 1,164,000 ล้านบาทต่อปี

     นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานส่งเสริมการลงทุนในปี 2559 ว่า  บีโอไอ จะเร่งเดินหน้าชี้แจงทำความเข้าใจกับนักลงทุนถึงนโยบายและมาตรการสำคัญต่างๆ ในการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น  โดยตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2559 นี้ กำหนดจะเริ่มเดินสายชักจูงการลงทุนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ  รวมถึงจัดกิจกรรมพบปะนักลงทุนในต่างประเทศที่มีศักยภาพในการลงทุนตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง

  ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญในการจัดกิจกรรม  บีโอไอ จะเน้นสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาตต และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการให้ข้อมูลรายละเอียดและสร้างความเข้าใจในส่วนของนโยบายที่จะสิ้นสุดการให้ส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2559 นี้ ได้แก่  มาตรการเร่งรัดการลงทุน ซึ่งเปิดให้ภาคเอกชนที่สนใจต้องยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในเดือนมิถุนายน 2559 เช่นเดียวกับการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนใน 6 กิจการเป้าหมายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่จะต้องยื่นภายในเดือนมิถุนายน 2559  ด้านนโยบายส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์ จะต้องยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2559   

  นอกจากนี้ บีโอไอยังอยู่ระหว่างจัดทำผลสำรวจความพร้อมของนักลงทุนเกี่ยวกับมาตรการเร่งรัดการลงทุนด้วย  เบื้องต้นคาดว่ามีโครงการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มที่สามารถยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการดังกล่าวได้จำนวนกว่า 1,600 โครงการ

   “ปีนี้บีโอไอจะเน้นกระตุ้นให้นักลงทุนเร่งตัดสินใจลงทุนตามนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากมีบางส่วนที่ภาคเอกชนต้องรีบตัดสินใจโดยเร็วเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น  โดยมั่นใจว่าหากนักธุรกิจมีการลงทุนตามนโยบายต่างๆ  นอกจากจะช่วยผลักดันให้การลงทุนปีนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดว่าจะมีมูลค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนอยู่ที่ประมาณ  450,000 ล้านบาทแล้ว  การลงทุนของภาคเอกชนยังจะช่วยเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมากนางหิรัญญา กล่าว    

  นางหิรัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับภาพรวมการลงทุนในปี 2558 ที่ผ่านมา มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 800,000 ล้านบาท ซึ่งได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศในหลายด้าน อาทิ   เพิ่มการจ้างงานแรงงานไทย  183,000 คน เกิดการใช้วัตถุดิบในประเทศมูลค่าประมาณ 781,000 ล้านบาทต่อปี และสร้างรายได้จากการส่งออกประมาณ 1,164,000 ล้านบาทต่อปี

   ทั้งนี้ โครงการที่ได้รับอนุมัติเป็นกิจการเป้าหมายที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ประกอบ โครงการในกลุ่มเศรษฐกิจดิจิทัล เช่น ซอฟต์แวร์, CLOUD SERVICE จำนวน 183 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 18,900 ล้านบาท โครงการในกลุ่ม IHQ ITC จำนวน 127 โครงการ มูลค่ารวม 3,030 ล้านบาท

   โครงการในกลุ่ม พลังงานทดแทนและการประหยัดพลังงาน เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จำนวน 248 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 166,590 ล้านบาท และโครงการในกลุ่มวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เช่น การวิจัยพัฒนา การผลิตเครื่องมือแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ การออกแบบทางวิศวกรรม จำนวน 126 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 30,240 ล้านบาท เป็นต้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย 

บีโอไอเร่งลงทุน 6 แสนล้าน หวังดันลงทุนภาคเอกชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

      บีโอไอจี้ 1,600 โครงการ มูลค่าลงทุนกว่า 6 แสนล้านบาท เร่งลงทุนในปีนี้ คาดได้มูลค่าลงทุนจริงที่ชัดเจนในสัปดาห์หน้า มั่นใจการลงทุนภาคเอกชนยังเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ระบุ เตรียมแยกนโยบายส่งเสริมนักลงทุนไทยให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ เน้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แปรรูปเกษตร มุ่งผลักดันผู้ประกอบการไทยขยายธุรกิจทั่วประเทศ

      นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานส่งเสริมการลงทุนในปีนี้ ว่า บีโอไอจะเร่งรัดโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนให้เร่งลงทุนให้เร็วที่สุด จากการประเมินพบว่าระหว่างปี 57-58 มีโครงการที่เข้าข่ายจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่ม หากลงทุนตั้งโรงงานและดำเนินการผลิตได้ทันในปี 60 ตามนโยบายส่งเสริมล่าสุดของรัฐบาล ซึ่งโครงการที่เข้าข่ายตามนโยบายส่งเสริมใหม่นี้มี 1,600 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 600,000 ล้านบาท กระจายไปทั่วทุกอุตสาหกรรม ซึ่งได้ดำเนินการติดต่อสอบถามผู้ประกอบการเหล่านี้ และในสัปดาห์หน้าก็จะได้ตัวเลขที่ชัดเจนว่าในจำนวนนี้จะมีการลงทุนจริงและเปิดดำเนินกิจการได้ภายในปี 59-60 กี่โครงการและมูลค่าการลงทุนเท่าไร
“โดยทั่วไปแต่ละปีจะมีการลงทุนจริงๆประมาณ 500,000 ล้านบาท ซึ่งหากเร่งรัดให้ผู้ที่ได้รับการอนุมัติทั้ง 1,600 โครงการเร่งลงทุนได้ภายในกรอบเวลาที่กำหนด ก็จะทำให้ตัวเลขการลงทุนจริงสูงกว่าที่ผ่านมา ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะได้ผลสรุปที่ชัดเจนว่าในปีนี้จะมียอดการลงทุนจริงเท่าไร”

     นางหิรัญญากล่าวต่อว่า บีโอไอ มีแผนที่จะแยกนโยบายให้การส่งเสริมนักลงทุนของประเทศไทยออกมาเป็นพิเศษ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งส่งเสริมให้นักลงทุนในท้องถิ่นขยายการลงทุนเพิ่ม และเกิดธุรกิจใหม่ๆ เนื่องจากผู้ประกอบการไทยเหล่านี้ มีมูลค่าโครงการลงทุนน้อยกว่าการลงทุนของต่างชาติ และความพร้อมในด้านต่างๆที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องมีแผนในการส่งเสริมอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น ในธุรกิจท่องเที่ยวกำหนดให้ต้องมีวงเงินไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไปจึงจะได้รับการส่งเสริมฯ ซึ่งในวงเงินลงทุนนี้อาจจะมากเกินไปสำหรับนักธุรกิจท้องถิ่น จึงจะปรับลดวงเงินการลงทุน และเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับคนไทย ส่วนโครงการที่จะส่งเสริมจะเน้นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และแปรรูปการเกษตร เพื่อให้ชุมชนในท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการลงทุนสูงสุด ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน มี.ค.นี้

      นอกจากนี้ บีโอไอจะพิจารณาออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนใน 3 คลัสเตอร์ใหม่ ได้แก่ คลัสเตอร์หุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม คลัสเตอร์เมดิคัลฮับ ที่ประกอบด้วยการส่งเสริมธุรกิจบริการทางการแพทย์ทุกด้าน การผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ และการวิจัยผลิตยา และคลัสเตอร์ชิ้นส่วนอากาศยานและการซ่อมบำรุงอากาศยาน โดยจะให้สิทธิประโยชน์มากน้อยแล้วแต่ประเภทของกิจการ ซึ่งจะได้ข้อสรุปภายใน 3 เดือนข้างหน้า รวมทั้งจะประเมินสถานการณ์การลงทุนจากต่างประเทศจากสถานการณ์ล่าสุดอีกครั้ง เพื่อกำหนดเป้าหมายการลงทุนต่างชาติที่ชัดเจน และปรับเปลี่ยนแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์

     นางหิรัญญา กล่าวว่า ในส่วนของยอดคำขอรับการส่งเสริมสะสมตั้งแต่ปี 57-58 มีมูลค่าการลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกัน ก็มีการทยอยขอรับคืนคำขออนุมัติไปแล้วมูลค่ากว่า 2,000 โครงการ คงเหลือยอดคำขอบีโอไอ ประมาณ 2 ล้านล้านบาท ที่จะทยอยอนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนต่อปี ซึ่งโครงการที่คืนคำขอไปนี้ส่วนใหญ่ขาดความพร้อมในการดำเนินการ แต่เข้ามายื่นขอเพื่อรักษาสิทธิส่งเสริมการลงทุนในนโยบายการส่งเสริมเดิม

      นอกจากนี้ บีโอไอ จะเร่งเดินหน้าชี้แจงทำความเข้าใจกับนักลงทุน ถึงนโยบายและมาตรการสำคัญต่างๆในการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมยิ่งขึ้นโดยตั้งแต่เดือน ม.ค.นี้ กำหนดจะเริ่มเดินสายชักจูงการลงทุนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ รวมถึงจัดกิจกรรมพบปะนักลงทุนในต่างประเทศที่มีศักยภาพในการลงทุนตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยประเด็นสำคัญในการจัดกิจกรรม จะเน้นสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โดยเฉพาะการให้ข้อมูลรายละเอียดของนโยบาย ที่จะสิ้นสุดการให้ส่งเสริมการลงทุนในปีนี้ ได้แก่ มาตรการเร่งรัดการลงทุน ซึ่งเปิดให้ภาคเอกชนที่สนใจ ต้องยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในเดือน มิ.ย.59 เช่นเดียวกับการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนใน 6 กิจการเป้าหมายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่จะต้องยื่นภายใน มิ.ย. ด้านนโยบายส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์ จะต้องยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายใน 30 ธ.ค.นี้ “ปีนี้บีโอไอจะเน้นกระตุ้นให้นักลงทุนเร่งตัดสินใจลงทุนตามนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากมีบางส่วนที่ภาคเอกชนต้องรีบตัดสินใจเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น มั่นใจว่าหากนักธุรกิจลงทุนตามนโยบายต่างๆ นอกจากจะช่วยผลักดันให้การลงทุนปีนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดว่าจะมีมูลค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนอยู่ที่ 450,000 ล้านบาทแล้ว การลงทุนภาคเอกชนยังจะเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมาก”

     สำหรับภาพรวมการลงทุนในปีที่ผ่านมา มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนคิดเป็นมูลค่ารวม 800,000 ล้านบาท ซึ่งได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศในหลายด้าน เช่น เพิ่มการจ้างงานแรงงานไทย 183,000 คน เกิดการใช้วัตถุดิบในประเทศมูลค่า 781,000 ล้านบาทต่อปี และสร้างรายได้จากการส่งออก 1.16 ล้านล้านบาทต่อปี.

ที่มา : www.thairath.co.th

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!