WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOI หรญญา สจนยบีโอไอ เดินหน้ากระตุ้น- ดึงลงทุน มั่นใจครึ่งปีทะลุ 2 แสนล้าน กระตุ้นนักลงทุนเดินหน้า'เมืองนวัตกรรมอาหาร'

    บีโอไอ เผยนักลงทุนไทยและต่างประเทศ ตอบรับนโยบายส่งเสริมการลงทุน ชี้คำขอ 2 เดือนแรกปี 2559 เพิ่มเกือบ 100%เทียบกับปี 2558 มั่นใจสถิติลงทุนครึ่งปีแรกแตะกว่า 200,000 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าจัดโรดโชว์ดึงลงทุนต่างประเทศเพิ่ม ทั้งเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอเมริกา

      นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่าภายหลังบีโอไอได้ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนในกิจการเป้าหมาย และการส่งเสริมลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์ ประกอบกับการเดินหน้าจัดกิจกรรมชักจูงการลงทุนเพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการแก่นักลงทุนโดยตรงทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันมีนักลงทุนแสดงความสนใจยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนภายใต้มาตรการต่างๆเพิ่มขึ้นซึ่งบีโอไอมั่นใจว่าภายในครึ่งปีแรกของปี 2559 นี้ จะมีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท โดยจำนวนนี้มั่นใจว่าจะเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท

       ทั้งนี้ มั่นใจว่า การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนตลอดทั้งปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 450,000 ล้านบาท โดยในช่วง 2 เดือนแรก ที่ผ่านมา (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2559) การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน มีจำนวนทั้งสิ้น 187 โครงการ เงินลงทุนรวม 32,440 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 96 จากช่วงเดียวกันปี 2558 ที่มีมูลค่าเงินลงทุน 16,500 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) จำนวน 120 โครงการ เงินลงทุน 12,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าลงทุน 1,918 ล้านบาท

     สำหรับ โครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.45 เป็นกิจการใน10 อุตสาหกรรมตามเป้าหมายของรัฐบาลโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมกลุ่มดิจิทัลรองมาเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์เป็นต้น

      ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2559 บีโอไอ ได้เดินสายจัดกิจกรรมเพื่อชี้แจงนโนยบายต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง เช่น ชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายคลัสเตอร์ อุตสาหกรรมเป้าหมายแก่นักลงทุนในภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพบว่านักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความมั่นใจที่จะลงทุนในประเทศไทยต่อไป และล่าสุดภายหลังจากผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น 4 ราย ประกอบด้วย บริษัทโตโยต้า บริษัท อีซูซุ บริษัทนิสสัน และบริษัทฮอนด้า ได้เข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้แจ้งยืนยันที่จะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถรุ่นใหม่ ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง รวมถึงจะมีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์ในประเทศไทยอีกด้วย

     สำหรับ การจัดกิจกรรมในต่างประเทศ ที่ผ่านมาได้เดินสายจัดกิจกรรมในหลายประเทศอาทิ ญี่ปุ่น อินเดีย เยอรมนี โดยในวันที่ 24 มีนาคม นี้จะเดินทางไปสาธารณรัฐเกาหลี ร่วมกับคณะของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ พร้อมกับจัดงานสัมมนานโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนต่างๆ ให้นักลงทุนเกิดความชัดเจนมากขึ้น เบื้องต้นคาดว่าจะมีนักธุรกิจเกาหลีใต้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 500 คน โดยบีโอไอจะจัดให้มีกิจกรรมพบปะหารือรายบริษัท ในกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำของเกาหลี อาทิ ดิจิทัล ไอซีที ซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมเหล็ก

      "จากการจัดกิจกรรมเพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจกับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนส่วนใหญ่ตอบรับกับนโยบายต่างๆ ของไทย และมีจำนวนมากที่ยืนยันจะลงทุน หรือขยายการลงทุนในไทยต่อไป นอกจากนี้จากการที่บีโอไอได้อนุมัติการลงทุนไปแล้วในปี 2558 จำนวน 800,000 ล้านบาทนั้น ได้มีการลงทุนแล้วในปี 2558 ประมาณ 500,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2559 จะมีเม็ดเงินลงทุนจริงไม่ต่ำกว่า 600,000-700,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการเร่งรัดการลงทุน" นางหิรัญญา กล่าว

     นางหิรัญญา กล่าวว่า นอกจากนี้บีโอไอยังมีแผนจัดกิจกรรมต่อเนื่อง โดยในเดือนเมษายน จะจัดกิจกรรมชักจูงการลงทุน และพบหารือรายบริษัท ที่ไต้หวัน เพื่อชักชวนกลุ่มอุตสาหกรรมไบโอเทคโนโลยี และอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพบปะหารือรายบริษัทและชักชวนให้เข้ามาลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมอุปกรณ์อัตโนมัติและหุ่นยนต์ รวมถึงชี้แจงนโยบายส่งเสริมการลงทุน เพื่อดึงดูดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

BOI คาดครึ่งแรกปี 59 จะมียอดขอรับส่งเสริมลงทุนกว่า 2 แสนลบ. มั่นใจทั้งปีได้ตามเป้า 4.5 แสนลบ.หลังโรดโชว์ต่อเนื่อง

       นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)  เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีนักลงทุนแสดงความสนใจยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนภายใต้มาตรการ ต่างๆเพิ่มขึ้น โดยทางบีโอไอมั่นใจว่าภายในครึ่งปีแรกของปี 2559 นี้ จะมีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท โดยจำนวนนี้มั่นใจว่าจะเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท

     ทั้งนี้ มั่นใจว่าการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนตลอดทั้งปีนี้จะเป็นไปตามเป้า หมายที่ตั้งไว้ 450,000 ล้านบาท  โดยในช่วง 2 เดือนแรก ที่ผ่านมา  (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2559) การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน มีจำนวนทั้งสิ้น 187 โครงการ เงินลงทุนรวม 32,440 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 96% จากช่วงเดียวกันปี 2558 ที่มีมูลค่าเงินลงทุน 16,500 ล้านบาท  โดยเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) จำนวน 120 โครงการ เงินลงทุน 12,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าลงทุน 1,918 ล้านบาท

      สำหรับ โครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่หรือ 68.45% เป็นกิจการใน 10 อุตสาหกรรมตามเป้าหมายของรัฐบาลโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมกลุ่มดิจิทัลรองมาเป็น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์เป็นต้น

    ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2559 บีโอไอ ได้เดินสายจัดกิจกรรมเพื่อชี้แจงนโนยบายต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง เช่น ชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายคลัสเตอร์ อุตสาหกรรมเป้าหมายแก่นักลงทุนในภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งพบว่านักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความมั่นใจที่จะลงทุนในประเทศไทยต่อไป และล่าสุดภายหลังจากผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น 4 ราย ประกอบด้วย  บริษัทโตโยต้า บริษัท อีซูซุ บริษัทนิสสัน และบริษัทฮอนด้า ได้เข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้แจ้งยืนยันที่จะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถรุ่นใหม่ ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง รวมถึงจะมีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์ในประเทศไทยอีกด้วย

     สำหรับการจัดกิจกรรมในต่างประเทศ ที่ผ่านมาได้เดินสายจัดกิจกรรมในหลายประเทศอาทิ ญี่ปุ่น อินเดีย เยอรมนี โดยในวันที่ 24 มีนาคม นี้จะเดินทางไปสาธารณรัฐเกาหลี ร่วมกับคณะของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ พร้อมกับจัดงานสัมมนานโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนต่างๆ ให้นักลงทุนเกิดความชัดเจนมากขึ้น  เบื้องต้นคาดว่าจะมีนักธุรกิจเกาหลีใต้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 500 คน โดยบีโอไอจะจัดให้มีกิจกรรมพบปะหารือรายบริษัท ในกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำของเกาหลี อาทิ ดิจิทัล ไอซีที ซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมเหล็ก

     "จากการจัดกิจกรรมเพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจกับนักลงทุนทั้งในและต่าง ประเทศอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนส่วนใหญ่ตอบรับกับนโยบายต่างๆ ของไทย และมีจำนวนมากที่ยืนยันจะลงทุน หรือขยายการลงทุนในไทยต่อไป นอกจากนี้จากการที่บีโอไอได้อนุมัติการลงทุนไปแล้วในปี 2558 จำนวน 800,000 ล้านบาทนั้น ได้มีการลงทุนแล้วในปี 2558 ประมาณ 500,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2559 จะมีเม็ดเงินลงทุนจริงไม่ต่ำกว่า 600,000-700,000 ล้านบาท  ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการเร่งรัดการลงทุน" นางหิรัญญา กล่าว

    นอกจากนี้บีโอไอยังมีแผนจัดกิจกรรมต่อเนื่อง โดยในเดือนเมษายน จะจัดกิจกรรมชักจูงการลงทุน และพบหารือรายบริษัท ที่ไต้หวัน เพื่อชักชวนกลุ่มอุตสาหกรรมไบโอเทคโนโลยี และอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพบปะหารือรายบริษัทและชักชวนให้เข้ามาลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมอุปกรณ์ อัตโนมัติและหุ่นยนต์  รวมถึงชี้แจงนโยบายส่งเสริมการลงทุน เพื่อดึงดูดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา  เป็นต้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

บีโอไอโชว์มาตรการลงทุนเอกชน

     บ้านเมือง : นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ภายหลังบีโอไอได้ออกมาตรการ ส่งเสริมการลงทุนในกิจการเป้าหมาย และการส่งเสริมลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์ ประกอบกับการเดินหน้าจัดกิจกรรมชักจูงการลงทุนเพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการแก่นักลงทุนโดยตรงทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันมีนักลงทุนแสดงความสนใจยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนภายใต้มาตรการต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งบีโอไอมั่นใจว่าภายในครึ่งปีแรกของปี 2559 จะมีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท โดยจำนวนนี้มั่นใจว่าจะเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท

      อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนตลอดทั้งปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 450,000 ล้านบาท โดยในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2559) การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน มีจำนวนทั้งสิ้น 187 โครงการ เงินลงทุนรวม 32,440 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 96 จากช่วงเดียวกันปี 2558 ที่มีมูลค่าเงินลงทุน 16,500 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) จำนวน 120 โครงการ เงินลงทุน 12,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าลงทุน 1,918 ล้านบาท ตั้งแต่ต้นปี 2559 บีโอไอได้เดินสายจัดกิจกรรมเพื่อชี้แจงนโยบายต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เช่น ชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายคลัสเตอร์ อุตสาหกรรมเป้าหมายแก่นักลงทุนในภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพบว่านักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความมั่นใจที่จะลงทุนในประเทศไทยต่อไป และล่าสุดภายหลังจาก ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น 4 ราย ประกอบด้วย บริษัท โตโยต้า บริษัท อีซูซุ บริษัท นิสสัน และบริษัท ฮอนด้า ได้เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้แจ้งยืนยันที่จะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง รวมถึงจะมีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์ในประเทศไทยอีกด้วย

       สำหรับ การจัดกิจกรรมในต่างประเทศ ที่ผ่านมาได้เดินสายจัดกิจกรรมในหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น อินเดีย เยอรมนี โดยในวันที่ 24 มีนาคมนี้ จะเดินทางไปสาธารณรัฐเกาหลี ร่วมกับคณะของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ พร้อมกับจัดงานสัมมนานโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนต่างๆ ให้นักลงทุนเกิดความชัดเจนมากขึ้น เบื้องต้นคาดว่าจะมีนักธุรกิจเกาหลีใต้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 500 คน โดยบีโอไอจะจัดให้มีกิจกรรมพบปะหารือรายบริษัท ในกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำของเกาหลี อาทิ ดิจิตอล ไอซีที ซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมเหล็ก

BOI กระตุ้นศก.-ดึงลงทุนมั่นใจครึ่งปีแรกยอดส่งเสริมทะลุ 2 แสนล้าน

     แนวหน้า : 'บีโอไอ' ตีปี๊บนักลงทุนไทยและต่างประเทศ ตอบรับนโยบายส่งเสริมการลงทุน แห่ยื่นคำขอ 2 เดือนแรกปี'59 เพิ่มเกือบ 100% เทียบกับปีที่แล้ว มั่นใจสถิติลงทุนครึ่งปีแรกแตะกว่า 200,000 ล้านบาท พร้อมเดินหน้า จัดโรดโชว์ดึงลงทุนต่างประเทศเพิ่ม ทั้งเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอเมริกา

      นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่าภายหลัง บีโอไอได้ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนในกิจการเป้าหมาย และการส่งเสริมลงทุนในรูปแบบ คลัสเตอร์ ประกอบกับการเดินหน้าจัดกิจกรรมชักจูงการลงทุนเพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการแก่นักลงทุนโดยตรงทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันมีนักลงทุนแสดงความสนใจยื่นคำขอรับส่งเสริม การลงทุนภายใต้มาตรการต่างๆ เพิ่มขึ้นซึ่งบีโอไอมั่นใจว่าภายในครึ่งปีแรกของปี 2559 นี้ จะมีโครงการยื่นขอรับส่งเสริม การลงทุนไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท โดยจำนวนนี้มั่นใจว่าจะเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท

    ทั้งนี้ มั่นใจว่า การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนตลอดทั้งปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 450,000 ล้านบาท โดยในช่วง 2 เดือนแรก ที่ผ่านมา (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2559) การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน มีจำนวนทั้งสิ้น 187 โครงการ เงินลงทุน รวม 32,440 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 96 จากช่วงเดียวกันปี 2558 ที่มีมูลค่าเงินลงทุน 16,500 ล้านบาท โดยเป็น การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) จำนวน 120 โครงการ เงินลงทุน 12,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าลงทุน 1,918 ล้านบาท

     สำหรับ โครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริม การลงทุนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.45 เป็นกิจการใน 10 อุตสาหกรรมตามเป้าหมายของรัฐบาลโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมกลุ่มดิจิทัลรองมาเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์เป็นต้น

      ขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากประเทศ ญี่ปุ่น 4 ราย ประกอบด้วย บริษัทโตโยต้า บริษัท อีซูซุ บริษัทนิสสัน และบริษัทฮอนด้า ได้เข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อเร็วๆ นี้ ก็ได้แจ้งยืนยันที่จะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง รวมถึงจะมีการ จัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์ในประเทศไทยอีกด้วย

     สำหรับ การจัดกิจกรรมในต่างประเทศ ที่ผ่านมาได้เดินสาย จัดกิจกรรมในหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น อินเดีย เยอรมนี โดยในวันที่ 24 มี.ค.นี้จะเดินทางไปสาธารณรัฐเกาหลี ร่วมกับ คณะของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ พร้อมกับจัดงานสัมมนานโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนต่างๆ ให้นักลงทุนเกิดความชัดเจนมากขึ้น เบื้องต้นคาดว่าจะมีนักธุรกิจเกาหลีใต้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 500 คน โดยบีโอไอจะจัดให้มีกิจกรรมพบปะหารือรายบริษัท ในกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำของเกาหลี อาทิ ดิจิทัล ไอซีที ซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมเหล็ก

       นอกจากนี้ จากการที่บีโอไอได้อนุมัติการลงทุนไปในปี 2558 จำนวน 800,000 ล้านบาทนั้น ล่าสุดได้มีการลงทุนแล้วในปี 2558 ประมาณ 500,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2559 จะมีเม็ดเงินลงทุนจริงไม่ต่ำกว่า 600,000-700,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการเร่งรัดการลงทุน

บีโอไอ หวังลงทุนจริงปีนี้แตะ 7 แสนล้าน

      ไทยโพสต์ : วิภาวดีรังสิต * บีโอไอคาดปีนี้จะมีเม็ดเงินลงทุนจริง 6-7 แสนล้านบาท หลัง 2 เดือนยื่นขอส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเกือบ 100%

    นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ปัจจุ บันมีนักลงทุนแสดงความสนใจยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนภายใต้มาตรการต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยใน 2 เดือนแรกของปี 2559 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน มีการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 187 โครงการ เงินลงทุนรวม 32,440 ล้านบาท จากปี 2558 ที่มีมูลค่าเงินลงทุน 16,500 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 96%

     โดยเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จำนวน 120 โครงการเงินลงทุน 12,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5 เท่าตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าลงทุน 1,918 ล้านบาท ซึ่งบีโอไอคาดว่า ภายในครึ่งปีแรกจะมีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้มั่นใจว่าจะเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท

    สำหรับ โครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่เป็นกิจการใน 10 อุตสาหกรรมตามเป้าหมายของรัฐบาล โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมกลุ่มดิจิทัล รองมาเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

    "จากการที่บีโอไอได้อนุมัติการลงทุนไปแล้วในปี 58 จำนวน 800,000 ล้านบาท ได้มีการลงทุนแล้วประมาณ 500,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 59 นี้ จะมีเม็ดเงินลงทุนจริงไม่ต่ำกว่า 600,000-700,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการเร่งรัดการลงทุนของรัฐบาล" นางหิรัญญากล่าว

    นางหิรัญญา กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปี 2559 บีโอไอได้เดินสายจัดกิจกรรมเพื่อชี้แจงนโยบายต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศอย่าง ต่อเนื่องโดยล่าสุดภายหลังจาก ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น 4 รายได้เข้าพบ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้แจ้งยืนยันที่จะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง รวมถึงจะมีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์ในประเทศไทยอีกด้วย.

บีโอไอ เร่งแจงสิทธิประโยชน์คลัสเตอร์ กระตุ้นนักลงทุนเดินหน้า'เมืองนวัตกรรมอาหาร'

   แนวหน้า : นายเจษฎา ศรศึก ผู้อำนวยการสำนักพัฒนา ปัจจัยสนับสนุนการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 มีนาคม 2559 บีโอไอจะจัดสัมมนาในหัวข้อ  "ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปสู่อนาคต" เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ถึงสิทธิประโยชน์และบริการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป ซึ่งเป็น หนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล

      โดยภายในงานจะมีการบรรยายพิเศษ แบบเจาะลึกยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนของ บีโอไอในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเกษตร แปรรูป รวมถึงการบรรยายเรื่องนโยบาย "Supe Cluster : เมืองนวัตกรรมอาหาร" จากผู้แทน ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ(สวทน.)  เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการลงทุน "เมืองนวัตกรรมอาหาร" หลังจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ได้เห็นชอบให้มีมาตรการ ส่งเสริมการลงทุนดังกล่าว โดยกำหนดให้เป็นหนึ่งในนโยบายที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ใน รูปแบบซูเปอร์คลัสเตอร์

     นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษจากผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ถึงแนวทางการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและบริการสนับสนุนภาคเอกชนด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงกิจกรรมการเปิดคลินิกให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่สนใจ

    สำหรับ นโยบายส่งเสริมการลงทุน'เมืองนวัตกรรมอาหาร' ประกอบด้วย กิจการ นิคมหรือเขตอุตสาหกรรมด้านนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) โดยได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยไม่จำกัดวงเงินภาษีที่ได้รับยกเว้น ขณะที่ กิจการเป้าหมายที่ตั้งใน Food Innopolis  จะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ 1.สิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ทั่วไป อาทิ ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เพิ่มเติมจากสิทธิประโยชน์พื้นฐานอีก 5 ปี ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร เป็นต้น

   2.สิทธิประโยชน์ในรูปแบบซูเปอร์คลัสเตอร์ หากลงทุนภายใต้เงื่อนไขของการส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบซูเปอร์คลัสเตอร์ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยการ กำหนดวงเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นให้เป็นไปตามสิทธิ พื้นฐานของประเภทกิจการนั้นๆ และลดหย่อน ภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เพิ่มเติมอีก 5 ปี

    ส่วนกิจการเป้าหมาย เช่น กิจการปรับปรุง พันธุ์พืชหรือสัตว์ (ที่ไม่เข้าข่ายกิจการเทคโนโลยี ชีวภาพ) กิจการบริการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ กิจการวิจัยและพัฒนา กิจการเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!