WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOIหรญญา สจนยBOI เผยผลโรดโชว์ญี่ปุ่น ผู้ผลิตหุ่นยนต์-เครื่องจักร-ผลิตภัณฑ์การแพทย์สนใจลงทุนไทย-เล็งจีบอีก 4 ชาติลงทุนอุตฯเป้าหมาย

     นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยถึงผลการเดินทางไปชักจูงการลงทุน ณ กรุงโตเกียว เมืองนาโกย่า และจังหวัดโทยาม่า ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 19 – 23 เมษายน 2559 ว่า การเดินทางมาโรดโชว์ในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่เน้นเข้าถึงกลุ่มบริษัทเป้าหมายที่ต้องการชักชวนให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งบีโอไอได้ประชุมร่วมกับสมาคมผู้ผลิตหุ่นยนต์ของญี่ปุ่น (Japan Robot Association) โดยมีนักลงทุนในเข้าร่วมประชุม 16 บริษัท และได้รับฟังนโยบายส่งเสริมการลงทุนคลัสเตอร์ ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคตของประเทศไทย

      ทั้งนี้ บีโอไอยังได้พบปะหารือกับบริษัทชั้นนำอีก 6 บริษัทในกลุ่มผลิตเครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ซึ่งพบว่าทุกบริษัทมีความพร้อมที่จะลงทุนหรือขยายการลงทุนในประเทศไทยทั้งการผลิตและการตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามชาติ (International Headquarters:IHQ)

      สำหรับ การพบปะหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดโทยาม่า ทำให้ทราบว่า นักลงทุนในจังหวัดโทยาม่ามีการลงทุนในประเทศไทยทั้งสิ้น 62 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยจังหวัดโทยาม่ามีความโดดเด่นทั้งอุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมเครื่องจักร และผู้ว่าราชการจังหวัดโทยาม่าคาดว่าจะมีนักลงทุนจากโทยาม่าไปลงทุนในประเทศไทยอีกเป็นจำนวนมาก

     นอกจากนี้ บีโอไอยังได้เดินทางไปศึกษาเรื่องการส่งเสริมการลงทุนท้องถิ่นของญี่ปุ่น ที่พิพิธภัณฑ์ปลาหมึกเรืองแสง (Hotaruika Museum) ของเมืองโทยาม่า ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนขนาดเล็กที่นำจุดเด่นของเมืองมาจัดแสดง รวมทั้งมีการจำหน่ายสินค้าเด่นๆ ที่สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมการลงทุนระดับท้องถิ่นของไทย ตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนท้องถิ่นต่อไป

      สำหรับ ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2559 บีโอไอมีแผนจะจัดกิจกรรมเดินสายชักจูงการลงทุนในประเทศเป้าหมายอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศรัสเซีย เยอรมนี อินเดีย และจีน โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะชักชวนให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย คือ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และการสื่อสาร ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอากาศยาน เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ชีววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ ไบโอเทคโนโลยี และนาโนเทคโนโลยี สำนักงานใหญ่ข้ามชาติ (IHQ) และกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (ITC) เคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เครื่องมือแพทย์ และยา

 อินโฟเควสท์

บีโอไอ เผยมูลค่าคำขอการลงทุนช่วง 3 เดือนแรกปี 59 อยู่ที่ 8.9 หมื่นลบ. คาดQ2/59 อีกกว่า 1 แสนลบ. ดันทั้งปีแตะ 4.5 แสนลบ.

   บีโอไอ เผย มูลค่าคำขอการลงทุนช่วง 3 เดือนแรกปี 59 อยู่ที่ 8.9 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น 234% จากงวดเดียวกันปี 58 มีคำขอ 2.69 หมื่นลบ.  คาด Q2/59 จะมีคำขอรับการส่งเสริมกว่า 1 แสนลบ. ดันครึ่งแรกปีมีมูลค่าคำขอ 2 แสนลบ. ตั้งเป้าคำขอส่งเสริมลงทุนปี 59 มูลค่า 4.5 แสนลบ. และลงทุนจริง 6-7 แสนลบ.  

  นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า การส่งเสริมการลงทุนในไตรมาสแรกปี 2559 (ม.ค.- มี.ค.) เทียบกับปี 2558 พบว่า มูลค่าคำขอเพิ่มขึ้น 234% หรือจาก 26,930 ล้านบาท เป็น 89,900 ล้านบาท  และจำนวนโครงการเพิ่มขึ้น 98% จาก 157 โครงการ เป็น 311 โครงการ แต่หากเป็นรายเดือนมี.ค. พบว่าอยู่ที่ 54,010 ล้านบาท จากเดือนมี.ค. 2558 อยู่ที่ 10,380 ล้านบาท

   โดยประเทศญี่ปุ่นยังลงทุนในไทยเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็น 30% ของมูลค่า FDI โดยการลงทุนจากญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นการผลิตชิ้นส่วนระบบเครื่องยนต์ 7,200 ล้านบาท และการผลิตรถยนต์ 2,875 ล้านบาท

   ส่วนการลงทุนจากเนเธอร์แลนด์ เป็นอันดับสอง โดยเป็นการผลิตเคมีภัณฑ์ หรือโพลิเมอร์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4,000 ล้านบาท คอนแทคเลนส์ 2,401 ล้านบาท เลนส์แก้วตาเทียม 1,813 ล้านบาท และชิ้นส่วนยานพาหนะ 1,754 ล้านบาท สำหรับการลงทุนจากจีนเป็นการผลิต ซิลิกา 1,400 ล้านบาท ชิ้นส่วนโซลาร์เซลล์ 728 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์เหล็ก 700 ล้านบาทและขนส่งทางอากาศ 700 ล้านบาท การลงทุนจากเกาหลี เป็นการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง 3,541 ล้านบาท

   โครงการใหญ่ที่คาดว่า จะยื่นขอรับการส่งเสริมไตรมาส 2/59 คาดว่าจะมีคำขอภายใต้นโยบายคลัสเตอร์ไม่น้อยกว่า 80,000 ล้านบาท ในอุตสาหกรรมต่าง ๆเช่น เคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ชิ้นส่วนยานยนต์ ยางอากาศยาน ระบบอัตโนมัติ สิ่งทอ นอกจากนี้คาดว่าจะมีโครงการใหญ่อื่นๆ ยื่นคำขอไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทในอุตสาหกรรมต่าง ๆเช่น เคมีภัณฑ์ เกษตรและอาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์โลหะ และการผลิตไฟฟ้า

   "โดยภาพรวมคาดว่าในไตรมาส 2 จะมีคำขอรับการส่งเสริมกว่า 1 แสนล้านบาท ทำให้รวมครึ่งแรกปีนี้จะมีมูลค่าคำขอประมาณ 200,000 ล้านบาท คิดเป็น 45% ของเป้าหมายทั้งปีนี้่ ซึ่งเป้าหมายการส่งเสริมการลงทุนปีนี้  บีโอไอตั้งเป้าคำขอรับการส่งเสริม 450,000 ล้านบาท จากปี 58 อยู่ที่ 217,300 ล้านบาท ขณะที่การลงทุนจริงในปี 59 บีโอไอตั้งเป้าไว้ 6-7 แสนล้านบาท ขณะที่ปี 58 อยู่ที่ 497,700 ล้านบาท"นางหิรัญญา กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

บีโอไอ เผยผู้ผลิตหุ่นยนต์-เครื่องจักรอัตโนมัติญี่ปุ่นสนใจลงทุนในไทย เตรียมโรดโชว์ รัสเซีย-เยอรมนี-อินเดีย-จีน ดึงผู้ลงทุนเพิ่ม

      บีโอไอ เผยผลการเดินทางไปชักจูงการลงทุนที่ กรุงโตเกียว เมืองนาโกย่า และโทยาม่า ประเทศญี่ปุ่น   โดยบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรกลอัตโนมัติและหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นมีความพร้อมที่จะลงทุนในประเทศไทย รวมทั้งมีแผนจะตั้งสำนักงานใหญ่ในไทยด้วย ขณะที่การหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดโทยาม่าพบว่า มีนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมยาและเครื่องจักรจากโทยาม่ามีแผนจะเข้ามาลงทุนในไทย พร้อมเตรียมจัดกิจกรรมโรดโชว์ชักจูงการลงทุนในอีก 4 ประเทศเป้าหมาย รัสเซีย เยอรมนี อินเดีย และจีน

     นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยถึงผลการเดินทางไปชักจูงการลงทุน ณ กรุงโตเกียว เมืองนาโกย่า และจังหวัดโทยาม่า ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 19 – 23 เมษายน 2559 ว่า การเดินทางมาโรดโชว์ในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่เน้นเข้าถึงกลุ่มบริษัทเป้าหมายที่ต้องการชักชวนให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งบีโอไอได้ประชุมร่วมกับสมาคมผู้ผลิตหุ่นยนต์ของญี่ปุ่น (Japan Robot Association) โดยมีนักลงทุนในเข้าร่วมประชุม 16 บริษัท และได้รับฟังนโยบายส่งเสริมการลงทุนคลัสเตอร์    ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคตของประเทศไทย

    ทั้งนี้ บีโอไอยังได้พบปะหารือกับบริษัทชั้นนำอีก 6 บริษัทในกลุ่มผลิตเครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ซึ่งพบว่าทุกบริษัทมีความพร้อมที่จะลงทุนหรือขยายการลงทุนในประเทศไทยทั้งการผลิตและการตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามชาติ (International Headquarters:IHQ)

    สำหรับ การพบปะหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดโทยาม่า ทำให้ทราบว่า นักลงทุนในจังหวัดโทยาม่ามีการลงทุนในประเทศไทยทั้งสิ้น 62 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยจังหวัดโทยาม่ามีความโดดเด่นทั้งอุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมเครื่องจักร และผู้ว่าราชการจังหวัดโทยาม่าคาดว่าจะมีนักลงทุนจากโทยาม่าไปลงทุนในประเทศไทยอีกเป็นจำนวนมาก

    นอกจากนี้ บีโอไอยังได้เดินทางไปศึกษาเรื่องการส่งเสริมการลงทุนท้องถิ่นของญี่ปุ่น ที่พิพิธภัณฑ์ปลาหมึกเรืองแสง (Hotaruika Museum) ของเมืองโทยาม่า ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนขนาดเล็กที่นำจุดเด่นของเมืองมาจัดแสดง รวมทั้งมีการจำหน่ายสินค้าเด่นๆ ที่สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมการลงทุนระดับท้องถิ่นของไทย ตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนท้องถิ่นต่อไป

   สำหรับ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายน 2559 บีโอไอมีแผนจะจัดกิจกรรมเดินสายชักจูงการลงทุนในประเทศเป้าหมายอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศรัสเซีย เยอรมนี อินเดีย และจีน โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะชักชวนให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย คือ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และการสื่อสาร ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอากาศยาน เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ชีววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ ไบโอเทคโนโลยี และนาโนเทคโนโลยี สำนักงานใหญ่ข้ามชาติ (IHQ) และกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (ITC) เคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เครื่องมือแพทย์ และยา

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!